1. SistaCafe
  2. ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นใช่การตรวจภายในหรือไม่

• การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของการตรวจภายในซึ่งประกอบด้วยอีก 2 ขั้นตอน คือ การตรวจโดย การดู การคลำอวัยวะภายนอกและภายในอุ้งเชิงกรานของสตรี และการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการอัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนล่าง


• การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนี้ตรวจเพื่อค้นหารอยโรคที่ปากมดลูกตั้งแต่รอยโรคระยะก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า


• รอยโรคระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งปากมดลูก ส่วนมากมักไม่มีอาการใด ๆ บ่งบอกว่าเป็นโรคนี้ กว่าจะมีอาการมักเกิดการลุกลามจากมะเร็งแล้ว เช่น ตกขาว, เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, ปวดท้องน้อย, ท่อไตบวมจากการอุดกั้นของมะเร็งที่ลุกลามมาจนอาจเกิดภาวะไตวาย เป็นต้น


การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีวิธีที่ใช้ในการตรวจ ดังนี้

1.Conventional Pap smearเป็นวิธีที่ใช้ตรวจกันมานานที่สุด โดยจะนำเนื้อเยื่อที่เก็บได้จากปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์ผิดปกติ สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ประมาณ 50 %2.Liquid based cytologyวิธีที่พัฒนาขึ้นมาจาก Pap smear ให้ตรวจหาความผิดปกติได้ดีขึ้นจากเนื้อเยื่อของปากมดลูก ซึ่งตรวจพบได้ประมาณ 70 %

3.HPV testingคือ การตรวจหาไวรัส HPV สายพันธุ์รุนแรงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้มาตรวจร่วมกับ วิธีที่ 1 และ 2 เพื่อให้คัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติได้เกือบ 100 %


สตรีควรตรวจการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เมื่อ

• อายุตั้งแต่ 21-25 ปี หรือมีเพศสัมพันธ์แล้วอย่างน้อย 3 ปี

• ผู้หญิงที่เคยมีตรวจผิดปกติแล้ว ควรตรวจสม่ำเสมอตามแพทย์นัด

• ผู้ที่ได้รับ HPV vaccine แล้วยังคงต้องตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ ผู้ที่ไม่ได้รับ vaccine

การตรวจภายในนั้น ควรตรวจทุก 1 ปี ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น อาจตรวจได้ทุก 3 ปี


การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหยุดได้ เมื่อ


• เมื่ออายุ 65-70 ปี โดยที่ผลการตรวจคัดกรองปกติ 3 ครั้ง ใน 10 ปี ก่อนหยุดตรวจ


• ผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้ว ร่วมกับมีผลการตรวจก่อนหน้าปกติ


การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น แต่ถ้าผลพบความผิดปกติ สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสHPVสายพันธุ์รุนแรง รอยโรคระยะก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะแรกที่ไม่เห็นด้วยตาเปล่า ควรกลับมาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมโดยการตรวจด้วยกล้องขยายทางช่องคลอด หรือที่เรียกว่าColposcopyสามารถช่วยหารอยโรคผิดปกติที่ปากมดลูก และอาจตัดชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ไปตรวจยืนยันวินิจฉัยโรคก่อนจึงจะสามารถพิจารณาการรักษาตามความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้รอยโรคพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในอนาคต



Call Center :


1645

กด

1

หรือ

02

-

487

-

2000E-mail :

[email protected]

Website :

http://thonburihospital.com/2015_new

FB :https://www.facebook.com/thonburihospitalclub

IG :

https://www.instagram.com/thonburi_hospital





เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้