------------------------------------------------

แต่สำหรับคนที่ยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายหรือยังไปไม่ถึงหมุดที่ปักเอาไว้ ว่าเราต้องเดินทางไปที่นั่นที่นี่ให้ได้ บางคนตั้งใจเขียนในปฏิทินไว้เลยว่า อีกสองปีข้างหน้าเราเดินทางไปต่างประเทศ แต่พอเงินเดือนออกจริงๆ กลายเป็นว่าไม่ได้ไป เพราะต้นเดือนค่าใช้จ่ายมากมาย จิปาถะ เข้ากลางเดือนเริ่มทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือปลากระป๋องแล้ว จนแล้วจนเล่าก็ไม่มีเงินออมไว้สำหรับเดินทางไปตามฝันของตัวเองสักที  และก็ไม่รู้จะมีวิธีการออมเงินหรือประหยัดเงินอย่างไร ให้ไว้ใช้สำหรับการเดินทางและมีเงินเก็บไว้ใช้ในอนาคต

ในทางกลับกันช่วงนี้น่าจะเป็นเวลาที่สำคัญที่เราจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการคิดวางแผนการเก็บเงินและตั้งเป้าหมายการเดินทางไว้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้นที่สามารถออกเดินทางได้วันนี้เรามีแนวคิดความรู้เกี่ยวกับการออมและประหยัดเงินอย่างไร ให้มีไว้สำหรับการเดินทางและไว้ใช้ในอนาคต รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายให้กับตัวเอง

รูปภาพ:

1. เตือนตัวเองอยู่เสมอ ว่าเรามีเป้าหมาย

แน่นอนว่า ช่วงนี้ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เราจะออกเดินทางไปไหน แต่ทุกคนควรต้องมีเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น อีก 2 ปีข้างหน้าเราจะเดินทางขับรถ Road Trip เป็นเวลา 1 เดือน หรือปีนี้เราจะเก็บเงินตามแผนให้ได้ เราก็ควรที่จะทำให้สำเร็จ

การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายได้นั้นเราต้องคอยเตือนตัวเองเสมอ หลายๆ คนอาจมีวิธีการเตือนตัวเองหลายรูปแบบ เช่น จดในสมุดโน๊ต ปฏิทิน หรือเขียนบอร์ดตั้งไว้ในจุดที่สะดุดตา เมื่อเรามองเห็นจะทำให้เรานึกถึงเป้าหมายและทำตามวิธีการที่เราวางแผนไว้ได้สำเร็จ

2. รู้รายได้และควบคุมรายจ่าย

รูปภาพ:

ทุกคนย่อมรู้อยู่แล้ว ว่ารายได้ต่อเดือนของตัวเองเท่าไหร่ แต่รายจ่ายนี่สิเป็นตัวกำหนดเงินออมที่จะได้เลย ถ้าหากเรากำลังคิดจะวางแผนออมเงิน ลองทำบันทึกรายรับรายจ่าย หรือง่ายๆ เขียนไว้ในปฏิทิน เพราะจะได้รู้ว่าเดือนๆ นึง เราใช้เงินในแต่ละวันเท่าไหร่บ้าง จะได้ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป หรือจัดสรรแบ่งส่วนของเงินเดือนเช่น เงินเดือน 30,000 บาท- จ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ( ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ) รวมแล้วประมาณ 9,000 บาท- ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 15,000 บาท ( 1 เดือน )- แบ่งเก็บเป็นเงินออม 3,000 บาท- แบ่งเก็บสำหรับทริปการเดินทาง 2,000 บาท- แบ่งเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน 1,000 บาทในการออมเงินนั้นมีมากมายหลายวิธี บางคนอาจหาทริคการออมเงินง่ายๆ ตามอินเทอร์เน็ต เช่นเก็บ 10% ของเงินเดือน เก็บแบงค์ 50 ฝากบัญชีประจำระยะยาว หรือจะนำไปลงทุนก็สามารถทำได้เช่นกัน

รูปภาพ:

3. กำหนดเป้าหมายของเงินออมในการเดินทางออกทริป

สำหรับข้อนี้ ทุกคนน่าจะมีอยู่ในใจแล้วว่าเป้าหมายการออมเงินเราคืออะไร เช่น จะออมไว้เพื่อเดินทางหรือเพื่อออมเงินใช้จ่ายในอนาคต เพราะบางคนก็เอาเงินที่ออมไว้สำหรับอนาคตข้างหน้ามาใช้ก่อน พอถึงเวลาได้เดินทางจริงๆ กลับมาเงินหมดต้องมานั่งนับหนึ่งใหม่ ดังนั้นควรแยกส่วนของค่าใช้จ่ายออกจากกันจะดีที่สุด

รูปภาพ:

4. รู้จักรักษาสุขภาพตัวเอง

การรักษาสุขภาพของตัวเอง ข้อนี้สำคัญมากๆ ดังสุภาษิตว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ หากเรามีแผนจะเดินทางก็มัวแต่ขยันทำงานหาเงินจนลืมไปว่าสุขภาพตัวเองนั้น เริ่มจะอ่อนแอลงทุกๆ วัน ฉะนั้นหันกลับมาดูแลตัวเอง พยายามออกกำลังกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ จะได้มีพลังในการใช้ชีวิตและได้ออกเดินทางอย่างสนุกสนานและคุ้มค่าแต่สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ เรายังคงต้องอยู่บ้าน และต้องดูแลตัวเองให้ดีๆ ปฏิบัติตามกฎและมาตรการที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยต่อตัวเองและคนรอบข้างนะจ๊ะ

อ่านคอนเทนต์ทางด้านการเงิน การลงทุนดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญได้ที่ KKP Advice Center คลิกhttps://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/home