1. SistaCafe
  2. เครื่องแบบนักเรียน รวมเหตุผลของทีมใส่ VS ไม่ใส่ แบทเทิลกัน !!

(ซิสชวนทอล์ค เรื่องเครื่องแบบหรือยูนิฟอร์ม ที่กำลังเป็นประเด็น 1.เกริ่นถึงเทรนด์ทั้งมุมที่คนไม่ใส่ และมุมที่คนยังชื่นชอบการใส่อยู่ ยกตัวอย่างประกอบ เช่น ทีมไม่ใส่ : น้องนักเรียนกรุงเทพคริสเตียน, น้องๆ นักเรียนโรงเรียนเตรียมพัฒน์ฯ, etc. / ทีมใส่ เช่น Mark Zuckerberg, Steve Jobs , Barack Obama หรือยกเคสอื่นๆ ที่มองเห็นมาก็ได้ 2. ยกข้อดีและของแต่ละทีม เหตุผลที่น่าสนใจและเมกเซนส์มา 3. ลองแนะนำแนวทางทางออกของปัญหามาเพิ่มเติมตอนท้าย เช่น เริ่มจากสัปดาห์ละวันเหมือนโรงเรียนนำร่อง, สวมเครื่องแบบที่รุ่นพี่ส่งต่อรุ่นน้องเพื่อเซฟรายจ่าย เป็นต้น 4. ปิดท้ายด้วยการย้ำว่า ขึ้นอยู่กับความสะดวกและกาลเทศะเป็นหลัก หรือตั้งคำถามเป็นเชิงปลายเปิด ชวนให้คนมาพูดคุยทิ้งไว้ก็ได้ )


ทักทายค่ะเพื่อน ๆ

สำหรับบทความนี้จะชวนเพื่อน ๆ มา Talk พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพูดถึงและชวนถกถามกันอยู่ในยุคนี้ อย่างเรื่องของ

เครื่องแบบนักเรียนว่ามีความจำเป็นมากแค่ไหนในการแต่งตัว ซึ่งก็เป็นประเด็นที่มาพร้อมกับหลากหลายความคิดเห็น

มีทั้งกลุ่มที่เห็นว่ามีความจำเป็น อย่างอาชีพที่ต้องแต่งเครื่องแบบ



เพื่อความน่าเชื่อถือ หมอ ตำรวจ หรือสตีฟ จอบส์ที่แต่งตัวในแพทเทิร์นเดิม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ภาพจำให้กับตัวเอง และกลุ่มที่มองว่าไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ อย่างบางโรงเรียนที่มีการละเว้นการแต่งเครื่องแบบชุดนักเรียน บทความนี้เลยจะ

ชวนเพื่อน ๆ มาพูดคุยถึงความจำเป็นในการแต่งเครื่องแบบ มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการแต่งตัว



ความคิดเห็นของคนเลือกใส่ เครื่องแบบนักเรียน

เครื่องแบบมีไว้ทำไม? รวมเหตุผลของทีมใส่ VS ไม่ใส่ แบทเทิลกัน !!


มาส่องเหตุผลของทีมใส่กันก่อนเลยดีกว่า

สำหรับทีมใส่จากหลายเหตุผลมักจะมีเรื่องของหน้าที่การงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้มีความจำเป็นต้องแต่งเครื่องแบบ

ซึ่งข้อดีของการแต่งเครื่องแบบจากเหตุผลของทีมใส่ เรารวบรวมมาให้บางส่วนเอาไว้ว่า






ช่วยในเรื่องของความปลอดภัย


อาชีพบางอย่างที่มีความเสี่ยง เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย มีความจำเป็นที่ต้องใส่เครื่องแบบด้วยเหมือนกัน อย่างนักดับเพลิง เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความจำเป็นต้องใส่เครื่องแบบที่ใช้วัสดุที่มีความทนทาน ช่างต่าง ๆ ที่ต้องใส่เครื่องแบบรัดกุม เพื่อป้องกันความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วย



ช่วยบ่งบอกถึงตำแหน่งหน้าที่



ในบางอาชีพการแต่งเครื่องแบบก็มีความจำเป็นทางจิตวิทยา เพื่อให้ดูมีภูมิฐาน มีความน่าเชื่อถือ อย่าง

ตำแหน่งเซลล์ ขายประกัน หมอ ต่าง ๆ บางที่ก็มีการแต่งยูนิฟอร์ม เพื่อบ่งบอกแผนกในการทำงาน ป้องกันความสับสนได้ด้วย

และ

ส่วนตัวมีความคิดเห็นเสริม

ด้วยว่า การแต่งเครื่องแบบเหมือนการสวมหัวโขน แบ่งแยกการแต่งตัว ชัดเจน พอ

แต่งยูนิฟอร์มก็อาจจะทำให้รู้สึกว่าเรากำลังทำงาน ทำหน้าที่ตามเครื่องแบบที่ใส่ พอใส่ชุดไปรเวทก็ให้ความรู้สึกว่าได้พักผ่อน





ช่วยในเรื่องของความปลอดภัย




อาชีพบางอย่างที่มีความเสี่ยง เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย มีความจำเป็นที่ต้องใส่เครื่องแบบด้วยเหมือนกัน อย่าง

นักดับเพลิง เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความจำเป็นต้องใส่เครื่องแบบที่ใช้วัสดุที่มีความทนทาน ช่างต่าง ๆ ที่ต้องใส่เครื่องแบบรัดกุม เพื่อป้องกันความปลอดภัย

ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วย




ช่วยประหยัดเวลา



สำหรับบางคนก็เลือกแต่งเครื่องแบบเพื่อให้ง่ายก็ต่อใช้ชีวิต เพราะ

ยูนิฟอร์มมีความสำเร็จรูป จัดมาให้ครบเซตเรียบร้อย เลยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเลือก

แมทช์เสื้อผ้าให้ยุ่งยากเสียเวลาอีก อย่างสตีฟ จอบส์ และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ก็เลือกที่จะแต่งตัวเป็นยูนิฟอร์มเดิมซ้ำ ๆ เพรา

ะมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กให้เหตุผลว่าอยากเคลียร์ชีวิตตัวเองให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้



ความคิดเห็นของคนเลือกไม่ใส่เครื่องแบบนักเรียน



ตามมาส่องเหตุผลทางฝั่งของคนที่เลือกไม่แต่งเครื่องแบบบ้างดีกว่า

สำหรับคนที่คิดว่าการแต่งเครื่องแบบไม่มีความจำเป็นเท่าไร ในการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตประจำวัน พวกเขามีความเห็นที่น่าสนใจเอาไว้ว่ายังไง

เราได้รวบรวมเหตุผลของคนที่เลือกไม่แต่งเครื่องแบบเอาไว้ดังนี้




ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายยิบย่อยในการแต่งเครื่องแบบ



ถ้าพูดถึงการแต่งเครื่องแบบ นอกจากเสื้อผ้ายังมีอุปกรณ์แต่งกายพร้อมกับเครื่องแบบอยู่อีกหลายชิ้น ซึ่ง

ถ้านับรวมกันเรียกได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่พอสมควร สำหรับค่าใช้จ่ายเครื่องแบบที่พอจะสำรวจได้จากสำนักข่าว PPTV อย่างชุดนักเรียน มีราคาค่าเฉลี่ยอยู่ในหลัก 1000 เลยทีเดียว

และในราคานี้ยังไม่นับรวมกับชุดลูกเสือ เนตรนารี ชุดพละ และชุดอื่น ๆ



พร้อมกับอุปกรณ์แต่งกายต่าง ๆ อย่างรองเท้า ถุงเท้า เนกไท และอื่น ๆ ตามระเบียบของโรงเรียนด้วย และ

ในราคาเครื่องแบบสูงถึงหลักพัน แต่จากการสำรวจพบว่าการใช้ชุดนักเรียนขั้นต่ำของแต่ละบ้านอายุการใช้งานจะอยู่ที่ 3 ปีถ้าเทียบกับชุดไปรเวทที่มีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยอาจจะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า

ประหยัดค่าใช้จ่ายและนำเอาไปใช้ในการศึกษาส่วนอื่น ๆ ได้มากกว่า




ช่วยให้ทำงาน และใช้ชีวิตได้คล่องตัวมากกว่า



เครื่องแบบบางชุดโดยเฉพาะชุดที่เป็นกระโปรง

อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน สำหรับงานที่จำเป็นต้องลุย หรือแม้แต่การยืน นั่ง บางครั้งก็ยังไม่ค่อยสะดวกสบาย ไม่คล่องตัวสักเท่าไร ถ้าเลือกแต่งกายชุดไปรเวท สามารถใส่กางเกงได้

อาจจะทำช่วยให้ทำงานและใช้ชีวิตได้คล่องตัว ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย





ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเป็นตัวของตัวเอง



จากกรณีศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่ได้มีการจัดวันในการแต่งกายไปรเวท พบว่าการละเว้นการแต่งชุดเครื่องแบบนักเรีย

น ช่วยพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

ทางผอ. ของโรงเรียน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความสุขของนีกเรียนเอาไว้ด้วย

พอนักเรียนมีความสุขในการแต่งตัว ก็เริ่มมีความผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลทำให้ได้เห็นความสามารถในหลาย ๆ ด้านในตัวของนักเรียนแต่ละคนชัดเจนขึ้นด้วย




และนี่ก็คือ

มุมมองจากทั้ง 2 ฝั่งต่อความจำเป็นในการแต่งหรือไม่แต่งเครื่องแบบ

ที่เรารวบเหตุผลมาชวน Talk ในบทความนี้

แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ยังคงมีการถกถามกันอยู่เรื่อย ๆ หลายกลุ่มเลยได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับประเด็นนี้เอาไว้หลากหลายด้วย

อย่างเช่น




ทดลองใส่ชุดไปเวทในบางวัน



มีหลายสถานศึกษาและหลายออฟฟิศได้มีการทดลองให้ใส่ชุดไปรเวทได้ในบางวัน สำหรับ

ผลที่ได้จากการทดลองใส่ชุดไปรเวท ดูเหมือนจะส่งผลดีต่อนักเรียนและพนักงาน ในเรื่องของการสร้างความมั่นใจ

ตัวอย่างจากกรณีศึกษาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ที่ทดลองใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียน ก็พบว่าเด็กมีความสุขมากขึ้น ได้เห็นความสามารถในตัวเด็กแต่ละคน ทำให้เกิดความกล้าแสดงออกมากขึ้นด้วย




ลดทอนอุปกรณ์เครื่องแบบบางอย่างให้ใส่ร่วมกันได้



สำหรับข้อนี้หลายโรงเรียนเริ่มมีการนำไปปรับใช้กันแล้ว

ตัวอย่างจากชุดลูกเสือเนตรนารี ที่มีทั้งชุดและอุปกรณ์แต่งกายจำนวนมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับชุดมากขึ้น เลยได้มีการปรับลดชุดออกไป

และสามารถใส่เครื่องแบบลูกเสือเนตรนารีกับชุดนักเรียนได้





รียูสส่งต่อเครื่องแบบจากพี่สู่น้อง



สำหรับใครที่มีพี่น้องญาติ หรือรุ่นพี่ที่มีเครื่องแบบเหล่านี้อยู่แล้ว

ลองส่งต่อชุดเครื่องแบบจากพี่สู่น้อง ให้น้อง ๆ รับช่วงต่อเสื้อผ้าที่ยังสภาพดีจากพี่ ๆ มาใส่ นอกจากจะเป็นการเซฟค่าใช้จ่าย

การนำกลับมาใช้ซ้ำยังเป็นการลดขยะให้โลกได้ด้วย ได้ประโยชน์หลายต่อเลย







จากความคิดเห็นของทั้งฝั่งไม่ใส่และยังคงเลือกใส่

เครื่องแบบนักเรียน

อยู่

เหตุผลของทั้ง 2 ฝั่งก็เป็นเหตุผลที่น่าสนใจและชวนให้กลับมาคิด ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงจะขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ว่าใครสะดวกแบบไหน พร้อมกับคำนึงถึงเรื่องกาลเทศะไปด้ว


ว่าแต่เพื่อน ๆ

https://sistacafe.com/

ล่ะคะ อยู่ทีมไหนกันเลือกใส่หรือไม่ใส่เครื่องแบบ


ลองคอมเมนต์มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้น้า




Designer :tt.

Writer :chollychon

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลิงก์รูปภาพ

https://drive.google.com/drive/folders/1r6i-Hc2w7XJ57f0T1ayyrjYi-Wv5tFEH?usp=sharing

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้