เมื่อไม่นานมานี้หลายๆ คนคงได้ยิน

ประเด็นร้อนแรงที่กลายเป็นกระแสวิพากย์วิจารย์ในโซเชี่ยลฯ อย่างดุเดือด

เกี่ยวกับเรื่องราวของไอดอลชื่อดัง

" ลิซ่า BLACKPINK "

หลังจากน้องลิซ่าได้ไปเที่ยวคาเฟ่แห่งหนึ่งและโพสต์รูปลง Instagram ส่วนตัวของเธอ ต่อมาเจ้าของคาเฟ่ดังกล่าวได้นำรูปน้องไปโพสต์และคอมเมนต์ในเชิงสนุกปาก ทั้งการเปิดประมูลโซฟาที่น้องนั่ง โถสุขภัณฑ์ที่น้องใช้ ไปจนถึงการคอมเมนต์ในเชิงสองแง่สองง่ามกับกลุ่มเพื่อน สร้างความไม่พอใจให้กับแฟนคลับสาวลิซ่ารวมถึงผู้หญิงอีกหลายๆ คน จนเกิดเป็นแฮชแท็ก

#มูนคาเฟ่ชั่นต่ำ


ติดเทรนด์ Twitter อันดับหนึ่งในชั่วข้ามคืน

_____________________________________________

จากประเด็นนี้เพื่อนๆ คิดว่าเป็นเพียงคำพูดหยอกล้อขำๆ ที่สังคมเล่นใหญ่ไปเองหรือนี้คือsexual harassmentซึ่งแฝงมากับความตลกร้ายที่คนไทยเคยชิน

_____________________________________________

รูปภาพ:

เราได้ยินประโยคที่ว่า

" ถ้าไม่ใช่ลิซ่าก็คงไม่ดราม่าหรอก "

หรือ

" วงนี้แตะไม่ได้ "

ก็ได้แต่นึกสงสัยในใจ

ทำไมเรื่อง sexual harassment ถึงกลายเป็นประเด็นพาดพิงไปถึงกลุ่มแฟนคลับได้

หรือแท้จริงแล้วสังคมไทยยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการคุกคามทางเพศเลยแม้แต่น้อย

● ไม่ใช่เพราะเป็น ลิซ่า แต่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนๆ ก็ไม่ควรได้รับสิ่งนี้ ●

" การคุกคามทางเพศ " หรือ sexual harassment

ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิดทางกายภาพเท่านั้น ไม่ใช่ว่าการแตะเนื้อต้องตัว หรือกระทำชำเราอีกฝ่ายซะก่อนแล้วจะเรียกว่าเป็นการคุกคามทางเพศ แต่

sexual harassment มันคือการกระทำใดๆ ก็ตามที่เมื่อทำแล้วส่งผลให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย หรือรู้สึกว่าตนเองได้รับการคุกคามทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น

การพูดจา , มุกตลกเรื่องเพศ , การแซว , สายตาจาบจ้วง หรือแม้แต่การพิมพ์แทะโลมบนโซเชี่ยลฯ

ทั้งหมดทั้งมวลก็นับเป็น sexual harassment ทั้งสิ้น

ดังนั้นกรณีของน้องลิซ่าจากถ้อยคำที่เจ้าของร้านใช้คอมเมนต์พูดคุยกันถือได้ว่าเป็นsexual harassmentรูปแบบหนึ่ง

จากเหตุการณ์นี้ส่วนตัวเราคิดว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่อง

แฟนคลับหวงศิลปินเท่านั้น

แต่เป็นกรณีที่ใครหลายๆ คนต้องการส่งเสียงบอกว่า sexual harassment ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับใคร ไม่ว่าจะเป็น ลิซ่า หรือผู้หญิงคนไหนก็ตาม


สังคมไทยควรเปลี่ยนความคิดใหม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แล้ว

● สนุกปาก ลำบากใจ ค่านิยมตลกร้ายที่สังคมไทยควรเปลี่ยน ●

" คนไทยเป็นคนตลก " แต่บางครั้งคนฟังไม่ขำตาม

ต้องยอมรับว่าโดยพื้นฐาน

ค่านิยมและการ

ปลูกฝังของคนไทยถูกสร้างให้เคยชินกับสิ่งที่เรียกว่าการแซวเล่นขำๆ

แม้แต่สื่อบันเทิงเองก็มักจะมีมุกตลกเรื่องเพศ การแซวรูปลักษณ์ออกมาให้เห็นผ่านละคร เกมส์โชว์ต่างๆ ยาวนานตั้งแต่ยุคอดีตมาจนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่าเป็นอะไรที่ขายได้เพราะทุกคนรู้ว่าธรรมชาติของคนไทยชอบเสพอะไรที่คลายเครียด

แต่รู้หรือไม่ว่าการทำซ้ำจนเคยชินส่งผลให้การกระทำเหล่านั้นถูกปลูกฝังในหัวคนไทยให้กลายเป็นแค่ เรื่องธรรมดา เรื่องแซวกันขำๆ ทั้งที่จริงแล้ว คำพูดหยอกเอินต่างๆ สร้างผลกระทบต่อผู้ฟัง และเป็นการคุกคามทางเพศ หรือsexual harassment ที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้กระทำไม่รู้ตัว

อย่างกรณีของน้องลิซ่าแม้ว่าทางเจ้าของร้านจะออกมาขอโทษแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มิวายคอมเมนต์ปิดท้ายมาว่า

" ถ้าอ่านกันจริงๆ ผมยังไม่ได้ล่วงเกินอะไรน้องเลยนะครับ "

ทำให้รู้ได้ว่าจากสิ่งที่พวกเขาคอมเมนต์กันไปอย่างสนุกปากนั้น พวกเขายังคงคิดว่าเป็นเพียงแค่การพูดเล่นขำๆ กันในกลุ่มเพื่อน ไม่ได้ล่วงเกินผู้ถูกกระทำและไม่น่าเป็นเรื่องใหญ่จนกลายเป็น sexual harassment ไปได้ ยิ่งเป็นเรื่องน่าห่วงว่าค่านิยมที่เคยชินนี้จะสร้างความเข้าใจผิดให้กับคนไทยเกี่ยวกับปัญหาการคุกคามทางเพศไปอีกนานแค่ไหนกัน

รูปภาพ:

_____________________________________________คนสวยให้พี่ไปส่งไหมจ๊ะ , แม่ให้กินอะไรทำไมขาวอย่างนี้ , เป็นเมียพี่ไหมน้องนมใหญ่จัง , เต็มไม้เต็มมือ , ขอดมหน่อย , มีปัญหาใส่ชุด นศ. มาหาพี่การแซวขำๆ แบบไร้รสนิยมเหล่านี้ ควรจะหายไปได้หรือยัง ?_____________________________________________

● หมดยุคเรื่องธรรมดาของผู้ชาย รู้จัก be kind , be respect ●

เข้าสู่ปี 2020 แล้ว โลกเปลี่ยนไปแล้วเช่นกันค่ะ

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ทุกคนเท่าเทียมกัน

โปรดลบภาพสังคมชายเป็นใหญ่ในอดีตไปให้สิ้น ถึงเวลาที่สังคมจะโยนค่านิยมเดิมๆ ทิ้งไป และทำความเข้าใจกันใหม่ว่าการคุยกันอย่างคะนองปากในเรืองเพศของผู้ชาย (บางกลุ่ม) ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ถ้าพวกคุณยังคุยกันในพื้นที่สาธารณะ

สิ่งสำคัญมากๆ ที่ควรปลูกฝังในสังคมไทยคือการ

be kind และ be respect ต่อผู้อื่น

ปัญหาการคุกคามทางเพศจะไม่เกิดขึ้น ถ้าทุกคนรู้จักใจดีและให้เกียรติต่อกัน หากลองมองย้อนกลับไป เวลาที่มีข่าวการโดนคุกคามทางเพศ บางคนมักจะกล่าวอ้างว่าเพราะผู้โดนกระทำแต่งตัวแบบนั้นไง รูปร่างแบบนี้ไงเลยเป็นที่มาให้โดน sexual harassment

จนเกิดแคมเปญ'Don't Tell Me How to Dress'ที่คุณซินดี้ปลุกกระแสสังคมขึ้นมา แคมเปญนี้นำเสนอเรื่องราวของเหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ แสดงให้เห็นว่าไม่มีเหยื่อคนไหนที่แต่งตัวหวาบหวิว หรือล่อตาล่อใจชวนให้เกิดการคุกคามทางเพศเลยแม้แต่น้อย แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังตกเป็นเหยื่อในเรื่องนี้อยู่ดี

รูปภาพ:

_____________________________________________

เป็นสิ่งเดียวกันที่ว่า ถ้าจุดเริ่มต้นทุกคนรู้จัก respect ต่อผู้อื่น เคารพและเข้าใจว่า" ไม่ว่าเขาจะมีรูปร่างอย่างไร ลักษณะการแต่งตัวแบบไหน ก็ไม่มีใครที่มีสิทธิ์ใช้คำพูดวิจารณ์จาบจ้วงหรือกระทำใดๆ ต่อร่างกายผู้อื่น "ปัญหานี้ก็จะหายไปจากสังคมไทย


_____________________________________________

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องลิซ่า ควรเป็น case study ที่สะท้อนปัญหา Sexual Harassment ในสังคมไทย

ให้เราทุกคนตระหนักถึงการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังสักที ร่วมกันพยายามเปลี่ยนทัศนติของคนในสังคมเกี่ยวกับ Sexual Harassment ให้ถูกต้อง

รู้จัก 'คิดให้เยอะขึ้น' ต่อผู้อื่น และหยุด 'ไม่คิดอะไร' ต่อตัวเองเมื่อถูกกระทำ

หยุดแสดงท่าทีว่าฉันไม่เป็นอะไร หรือขำแห้งๆ ไปกับ การแซวขำๆ หรือมุกตลกเรื่องเพศที่เราถูกคุกคาม

หากยังมีคนมองว่า คำพูดติดตลกประเภทเหยียดเพศ ล้อเลียนเรื่องเพศ หยอกเล่นด้วยความเอ็นดู เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดาๆ ในอนาคตข้างหน้าก็จะมี " เหยื่อ " จากการคุกคามทางเพศเพิ่มขึ้นไปอีก และอาจจะไม่จบแค่เพียงคุกคามแต่จะต่อเนื่องไปถึงการลวนลามหรือขืนใจในที่สุด

เราหวังจริงๆ ว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้จะมีพลังมากพอที่จะกระเพื่อมสังคมให้เดินหน้าในเรื่อง Sexual Harassment ต่อไปไม่ใช่เป็นเพียงกระแสที่พัดหายไปกับสายลมเหมือนอย่างที่ผ่านมา