โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด มันคืออะไร? เอาจริงๆ ตอนที่ดูข่าว แล้วเห็นรายงานข่าวนี้ งงมาก คนเราแค่ขี้เกียจ ก็เรียกว่าเป็นโรคได้แล้วหรอ มึนตึบ! เราว่ามีเพื่อนๆ หลายๆ คนที่ไม่เก็ทเหมือนกัน เพราะงั้นวันนี้ เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับโรคนี้พร้อมๆ กัน จะได้รู้ไปเลยว่า ที่เราขี้เกียจๆ กันอยู่เนี่ย เรามีแนวโน้มที่ขะป่วยเป็นโรคนี้มั้ย แล้วอาการมันเป็นยังไง รักาาได้มั้ย ไขข้อข้องใจไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ!


รูปภาพ:โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด
credits รูปภาพ: https://www.instagram.com/beginning_film/

โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด คืออะไร ?


มันคือคำถามที่ ไม่เคยคิดว่าจะได้ถามเลย มีใครบ้างไม่ชอบนอน มีใครบ้างไม่ขี้เกียจตื่น แต่ใครมันจะไปรู้ว่า ความขี้เกียจ มันสามารแปรเปลี่ยนเป็นโรคได้ด้วย! โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด (Dysania) คือ สภาวะที่ลุกออกจากเตียง ตอนตื่นนอนได้อย่างยากลำบาก ทั้งที่บางครั้งไม่ได้ง่วงนอนหรือขี้เกียจเลยด้วยซ้ำ จนทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์อย่างถึงที่สุด ไม่มีความคิดที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่น ต่อให้ลุกออกจากเตียงได้แล้ว ก็ยังจะกลับไปที่เตียงอีกครั้ง จนส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย


โรคเตียงดูด VS ขี้เกียจ มันแตกต่างกันยังไง ?


ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ยังสงสัยว่า โรคเตียงดูด กับขี้เกียจ มันต่างกันยังไง ถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่ายๆ เลยค่ะ

โรคเตียงดูด คือ ภาวะที่จะทำให้ผู้ที่เป็นไม่อยากลุกจากเตียง ซึ่งอาจเกิดจากสภาพจิตใจที่เหนื่อยล้าอย่างหนัก หรือเกิดจากผลกระทบของการเกิดโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า หรือความผิดปกติทางการนอนหลับ ซึ่งการป่วยเป็นโรคนี้ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก เป็นอาการที่ไม่อยากเจอกับผู้คน ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร รู้สึกไม่สดชื่นตลอดเวลาแม้จะนอนเต็มอิ่ม โดยความรู้สึกทั้งหมดทั้งมวลไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจทั่วๆ ไปด้วย

ส่วนอาการขี้เกียจทั่วๆ ไป ที่หลายๆ คนเป็นกันนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตสักเท่าไหร่ มันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วหายไป เมื่อได้ทำ หรือเจอะบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจ แถมไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเท่ากับโรคเตียงดูดด้วย ที่สำคัญคือ อาการขี้เกียจนั้น ถ้าเราได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่มแล้ว ก็มักจะไม่มีปัญหากับการลุกจากเตียงเพื่อทำกิจกรรมในวันถัดไปด้วย


รูปภาพ:โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด
credits รูปภาพ: https://www.pakutaso.com/20150502132post-5509.html

สาเหตุของโรคเตียงดูด


  • โรคซึมเศร้า ความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมไม่สดใส ร่าเริง
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง ความเจ็บป่วยในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเป็นระยะเวลานาน เช่น ปัญหาด้านการนอนหลับ ปวดศีรษะและข้อกระดูก
  • ภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น (Sleep Inertia) ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น กระทบต่อประสิทธิภาพความคิด การเรียนรู้
  • ง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) หลับนานเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • โรคไฟโบมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ตามร่างกาย จึงมีอาการอ่อนเพลียหลังตื่นนอน
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาต้านเศร้า ทำให้ง่วงนอน

อาการของโรคขี้เกียจ เป็นแบบไหน เราเข้าข่ายรึยัง ?


  • เริ่มจากอาการไม่อยากลุกจากเตียง เพื่อไปทำสิ่งต่างๆ แถมยังตื่นนอนตอนเช้าได้ยากแบบสุดๆ ด้วย
  • ขอเวลานอนต่อเรื่อยๆ เลื่อนนาฬิกาปลุกทุกวัน นอนได้ทั้งวัน และง่วงอยู่ตลอดเวลา
  • สามารถนอนได้ทุกที่ แม้แต่หลับบนโต๊ะ นอนตักเพื่อน และใช้เวลาไม่นานก็หลับจริงๆ
  • ไม่ว่าทุกข์หรือสุข เตียงนอนคือจุดหมายเดียวที่ใช้ในช่วงเวลานั้น
  • ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียงนอน เช่น นอนเล่นมือถือ อ่านหนังสือ ดูทีวี หรือแม้แต่กินข้าวกินขนม สูญเสียสังคม และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ถ้าใครที่ขี้เกียจตื่นเช้า แต่สามารถดึงตัวเองให้ตื่นได้ แม้จะรู้สึกขี้เกียจ ก็ยังสามารถพาตัวเองไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในโหมดร่างติดเตียงตลอดเวลา นั่นก็แปลว่า เพื่อนๆ ยังไม่เข้าข่ายเป็นโรคเตียงดูดนะคะ


รูปภาพ:โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด
credits รูปภาพ: https://www.missbbgirl.com/blog/is-it-bad-to-sleep-with-a-bra-on/

ผลเสียของโรคขี้เกียจ ส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง?


หลายๆ คนอาจจะมองว่า นี่มันสวรรค์ของคนชอบนอนเวอร์! แต่จริงๆ แล้ว การเป็นโรคนี้ มันไม่ตลกเลยนะ เพราะมันมาพร้อมกับผลกระทบที่ค่อยๆ กัดกินตัวเราอยู่นั่นเอง

อ่อนเพลียง่าย ด้วยความที่โรคนี้ เน้นนอนเป็นหลัก ผลกระทบแรกที่จะเกิดขึ้นคือ ตื่นยาก มีอาการเครียดสะสม เพราะโรคนี้ไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจธรรมดาๆ แต่เกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพ และจิตใจ รวมไปถึงอารมณ์ต่างๆ ด้วย เลยส่งผลให้สุขภาพเสื่อมโทรมไปตามๆ กัน ซึ่งอาการนอนทั้งวัน นอนมากจนเกินไป อาจจะก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็นโรคโลหิตจาง เบาหวาน โรคซึมเศร้า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และโรคลมหลับ ทั้งนี้ยังส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนด้วย ยาวไปจนอาจจะกลายเป็นอาการป่วยทางจิตได้เลย

เพราะฉะนั้นถ้าเพื่อนๆ คนไหนที่รู้สึกว่า อาการที่เกิดขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ วันสองวันไม่เท่าไหร่ ยิ่งยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี ลองปรับพฤติกรรมแล้ว ก็เหมือนเดิม แนะนำเลยว่า ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาแนวทางการรักษาที่จริงจังมากขึ้น เช่น ทานยารักษาโรค ซึ่งอาการที่ควรไปพบแพทย์แล้วจริงๆ คือ หายใจถี่หรือเจ็บหน้าอกในตอนที่หายใจ รวมไปถึงอาการปวดหัวอย่างรุนแรง, ปวดท้อง, ปวดหลัง หรือปวดกระดูกเชิงกราน ทั้งยังมีอาการซึมเศร้าหนัก ไปจนถึงมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด


รูปภาพ:

วิธีดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันโรคเตียงดูด


  1. ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เช่น งดดูทีวีและงดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน 1 ชม. เข้านอน - ตื่นนอนให้เป็นเวลา งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  2. ทานของหวาน เพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น จะได้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่นสดใสแต่ก็ต้องทานในปริมาณที่พอดีนะ
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ร่างกายมีความสดชื่น กระฉับกระเฉง พร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากค่อยเป็นค่อยไป ออกกำลังกายแบบเบาๆ เพิ่มวินัยให้กับตัวเองทีละนิด ตั้งไว้เลยว่า ออกกี่โมง วันละกี่ชั่วโมง ทำอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายเกิดพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว
  4. สุดท้ายคือไปพบแพทย์และใช้ยารักษา ถ้าลองทุกวิธีแล้ว มันยังไม่ได้ผล ควรไปปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชียวชาญเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตต่างๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการใช้ยารักษาอาการต่อไป เพื่อสุขภาพที่ดีและให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่กขึ้น
รูปภาพ:โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด
credits รูปภาพ: https://comeon-house.jp/fromhouse/114/

สรุปเลย โรคขี้เกียจ หรือโรคเตียงดูด ไม่ใช่อาการขี้เกียจทั่วๆ ไป แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาทางอารมณ์ ความรู้สึก สภาพจิดใจ ความเหนื่อยล้า และปัญหาสุขภาพต่างๆ ด้วย ฉะนั้นสิ่งแรกที่เราควรทำ เมื่อเรารู้สึกว่าฉันกำลังเป็นโรคนี้ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูก่อน ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้น แถมมีอาการน่าเป็นห่วง ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ทันที อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว บ๊ายบาย


ขอขอบคุณข้อมูล


แค่ขี้เกียจหรือเป็นโรคเตียงดูดกันนะ?

Dysania โรคเตียงดูด ที่ไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ

หลีกเลี่ยงการเสพติดการนอน สัญญาณของภาวะ Dysania “โรคเตียงดูด”


บทความแนะนำ