
MILIAเริ่มกันด้วยผื่นชนิดแรก ภาษาการแพทย์เรียกว่า Milia มิ-เลีย เป็นพหูพจน์ ถ้ามีตุ่มเดี่ยวๆก็เรียก Milium
-ภาษาไทยให้ชื่อผื่นแบบนี้ว่า "สิวข้าวสาร" ทำให้คนสับสนว่ามันเป็นสิว-เป็นซิสต์ใต้ผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มรูปโดมสีขาวคล้ายเมล็ดข้าว-สีขาวๆภายในซิสต์คือโปรตีนเคอราติน
สาเหต-เป็นมาแต่กำเนิด พบได้ในทารก ส่วนใหญ่หายเอง-สัมพันธ์กับโรคผิวหนังตุ่มน้ำบางชนิด-บางคนก็ไม่พบสาเหตที่ชัดเจน แต่ถ้ามีใช้สกินแคร์เยอะๆให่สงสัยว่าอาจเกิดจากครีมที่ใช้ได้เช่นกัน
การรักษา-หายเองได้ แต่ใช้เวลาค่อนข้างนาน-เปิดผิวแล้วกดออก สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เข็ม เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือ CO2 laser

สำหรับผื่นที่คล้ายๆสิวตัวต่อมาคือ....Syringomaอ่านว่า ไซ-ริง-โก-มา (ใครไม่อยากอ่านยาวดูสรุปในรูปเลยจ้า)
จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตรงกัน เนื่องจากในภาษาไทยนิยามโรคผิวหนังไม่ได้มีจำกัดความชัดเจน มีการเรียกสลับกันไปมา อย่างเช่น ผื่นในรูปนี้ ภาษาไทยเรียกว่า "สิวหิน" แต่บางคนก็เรียก Milia หรือสิวข้าวสาร ว่าสิวหิน (ลองเสิชดูใน google ได้) ทำให้เกิดความสับสนกันไปหมด จึงขอเรียกเป็นภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานเพื่อความเข้าใจตรงกัน
สำหรับตัว Syringoma มันคือเนื้องอกไม่อันตรายของต่อมเหงื่อชนิดมีท่อ (eccrine) ซึ่งจุดกำเนิดของต่อมเหงื่อมันอยู่ชั้นหนังแท้หรือภาษาง่ายๆคือรากมันลึกนั่นเอง ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก
ลักษณะผื่นส่วนใหญ่มักพบผื่นแบบนี้เกิดตรงผิวรอบๆตา มีลักษณะเป็นผื่นสีเนื้อนูน เล็กๆจำนวนมาก ผิวด้านบนราบ พบในเพศหญิงมากกว่า
สาเหตส่วนใหญ่ก็บรรพบุรุษให้มา หรือบางคนก็ไม่ทราบสาเหต เกิดขึ้นเอง นึกถึงพวก ไฝ ขี้แมลงวัน บางคนพยายามหาสาเหตแต่ของบางอย่างมันก็ยังไม่มีคำตอบเนอะ อย่าไปเครียด ไม่อันตรายก็ดีแล้วค่ะ ^^
การรักษาสามารถใช้เลเซอร์ CO2 หรือเครื่องจี้ กำจัดส่วนด้านบนของผื่นออกได้ ผิวก็จะเรียบชั่วคราว ที่ไม่สามารถเอาออกทั้งรากได้ก็เพราะผิวใต้ตาบางและรากมันอยู่ลึกมากทำให้เกิดแผลเป็นถาวรได้ จึงไม่ควรทำ และการที่รากมันยังอยู่ สักพักเนื้องอกก็จะโตขึ้นมาใหม่

มาถึงผื่นที่ 3"โรคต่อมไขมันโต หรือ sebaceous hyperplasia"
คือเนื้องอกของต่อมไขมันที่ทำหน้าที่ผลิต ไขมันsebum บนหน้าเรานั่นเอง เซลต่อมไขมันที่เพิ่มจำนวนผิดปกติขึ้นมา ทำให้เห็นเป็นตุ่มนูนสีเหลืองๆและมักมีแอ่งบุ๋มตรงกลาง มีหลายขนาด ถ้าขนาดใหญ่มักดูออกได้ชัดเจนว่าไม่ใช่สิว แต่ถ้าเป็นขนาดเล็กๆ บางทีลูบผิวแล้วสะดุดนึกว่าเป็นสิวได้ แต่ถ้ามองดีๆก็จะเห็นลักษณะจำเพาะข้างต้น บางคนขึ้นที่จมูกก็เห็นเป็นลักษณะผิวจมูกไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่มีสาเหตชัดเจน ส่วนใหญ่ก็เป็นตามกรรมพันธุ์
การรักษาเนื่องจากตัวเนื้องอกอยู่ชั้นหนังแท้ จึงไม่สามารถเอาออกได้หมดเพราะจะเกิดแผลเป็น มีแต่การรักษาให้เรียบชั่วคราว ส่วนใหญ่ใช้ เครื่องจี้ไฟฟ้า Laser CO2 ผ่าตัดส่วนด้านบนออก

คุ้นๆกันไหม ใครเคยเจอเจ้าตุ่มคล้ายๆสิวแบบนี้บ้าง ลูบหน้าแล้วสะดุดตลอดทายาสิวก็ไม่หาย ถ้าเหมือนในรูปละก็ มันคือ "กระเนื้อ" ค่ะ
กระเนื้อ หรือ Seborrheic keratosisเป็นเนื้องอกของผิวหนังชนิดไม่อันตราย ระยะแรกๆมักขึ้นเป็นตุ่มแบน สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งเป็นระยะที่คนมักสับสนเพราะคล้ายสิว แต่พอมันโตขึ้นลักษณะจะชัดเจน คือเป็นก้อนเนื้อผิวมัน ขรุขระสีเข้ม (ประมาณว่าเหมือนมีลูกเกดมาแปะอยู่บนหน้าเรา) ขึ้นได้ทั้งที่ผิวหน้า และตามลำตัว สำหรับสีมีได้หลากหลายมากตั้งแต่สีเนื้อ จนถึงสีดำ แต่สำคัญคือในตุ่มเดียวกันต้องเป็นสีเดียวกันนะคะ ถ้ามีหลายสีปนกันต้องระวังอาจเป็นเนื้องงอกชนิดอันตราย (ไว้เล่าแยกในอีกโพสต์เรื่องการดูว่าเนื้องอกแบบไหนควรสงสัยว่าเป็นมะเร็ง) สำหรับกระเนื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่บางคนก็มีคันได้
สาเหตไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นจากกรรมพันธุ์ และแสงแดด
การรักษาหลายคนอ่านโพสต์ก่อนหน้าแล้วท้อใจว่าไม่หายขาด แต่ถ้าเป็นกระเนื้อละก็ ข่าวดีค่ะ สามารถตัดออกได้หมด ไม่ว่าจะด้วยการ ใช้เครื่องจี้ ,Laser Co2, จี้ด้วยความเย็น หรือการผ่าออกก็ได้ เพราะเป็นเนื้องอกที่อยู่แค่ในชั้นหนังกำพร้าของเรา จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็นหลุม

มาถึงผื่นสุดท้ายในซีรี่ส์ "เหมือนสิวแต่ไม่ใช่สิว" เรามาดูผื่นบริเวณต้นแขนต้นขาที่มีความคล้ายสิวมากๆนั่นก็คือ "ขนคุด หรือ Keratosis pilaris" นั่นเองค่ะ
ขนคุดเกิดจากการหนาตัวขึ้นของผิวหนังของรูขุมขน เกิดเป็นตุ่มนูน ถ้าลูบๆผิวไปจะรู้สึกสากๆ ส่วนใหญ่พบบริเวณต้นแขนและต้นขา บางคนรอบๆผื่นแดงทำให้ดูคล้ายสิวอักเสบ
สาเหตยังไม่ทราบชัดเจนนัก มีเป็นสมมติฐานดังนี้1 เนื่องจากมักพบขนคุดในคนที่มีประวัติภูมิแพ้ ผิวแห้ง จึงเชื่อว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของเกราะผิวหนัง (skin barrier)2 มีงานวิจัยพบการขดงอของเส้นขนภายในรูขุมขนของผู้ที่มีขนคุด นำไปสู้สมมติฐานว่าขนคุดเกิดจาก ความผิดปกติของการงอกของเส้นขน (Int J Trichology. 2012 Oct-Dec; 4(4): 255–258)
การรักษา-Exfoliationเพื่อลดการหนาตัวของผิวหนังรอบรูขุมขน ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ urea , lactic acid, salicylic acid หรือ retinoid แต่ส่วนใหญ่สารกลุ่ม exfoliation อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองและแดงมากกว่าเดิมได้ ควรใช้อย่างระมัดระวัง-Moisturizerอย่างที่รู้ว่าโรคนี้มักเกิดในคนผิวแห้ง การทาครีมให้ความชุ่มชื้นผิว ช่วยบรรเทาอาการได้- ครีมที่มีส่วนผสมในการเสริมเกราะป้องกันผิว ช่วยเสริมให้ผิวแข็งแรงป้องกันผิวแห้งขาดน้ำ-IPLมีงานวิจัยว่าการรักษาด้วย IPL ช่วยทำให้ผิวเรียบขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ-Laserเช่น long pulse 1064nm Nd:YAG เลเซอร์กลุ่มนี้เดิมทีใช้ในการกำจัดขนเป็นปกติอยู่แล้ว และมีวิจัยว่าช่วยให้ขนคุดดีขึ้นได้จบแล้วนะคะสำหรับซีรี่ส์นี้ หากเป็นประโยชน์อย่าลืมกดแชร์ หรือติดตามบทความใหม่ๆได้ทางเฟซบุ๊กของเราเลยนะคะ