สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ยวันแม่ที่ผ่านมา หลุดๆ ทานเยอะกันไปบ้างรึปล่าว ไม่เป็นไรนะค้า กลับมาฟิตใหม่ก็ยังไม่สายเราเริ่มใหม่ได้ทุกวัน ( แต่เริ่มใหม่บ่อยๆก็ไม่ดีเด้อ ) แน่นอนค่ะว่ากลับมาเจอบทความของเราทีไรต้องมีเรื่องดีๆ มาแชร์ให้เพื่อนๆ แน่นอนค่ะ ว่าแต่เรื่องดีๆ ที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้างนั้นเลื่อนเมาส์ลงไปด้านล่างตามเราไปอ่านกันเลยดีกว่าค่ะ
หลายๆ คนมักมองข้ามกิจกรรมง่ายๆ อย่างการอ่านฉลากโภชนาการตามซองขนมหรืออาหารต่างๆ ซึ่งเราอยากจะบอกเลยว่า การยอมสละเวลาเพื่อสิ่งเหล่านี้เนี่ยนับว่าคุ้มค่ามากๆ เพราะจะเป็นการฝึกนิสัยให้เราเป็นผู้ที่เลือกรับประทาน และจัดสรรตารางอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้นบทความวันนี้ของเราจึงเกี่ยวกับการสอนอ่านฉลากโภชนาการที่ถูกต้องและง่ายๆนั่นเองค่ะ
ข้อดีของการฝึกอ่านฉลากโภชนาการ
ข้อดีของการใส่ใจอ่านฉลากเนี่ยมีมากมายเลยน้า เริ่มจาก
1. รู้จำนวนพลังงานที่รับเข้าไปในร่างกาย นั่นก็แปลว่าเราจะสามารถจัดสรรตารางการทานของเราได้อย่างเหมาะสม เช่นวันนี้ทานขนมนี้ไปเท่านี้แคลอรี่ละน้า ทานอย่างอื่นเพิ่มได้อีกเท่าไหร่ยังไงดี
2. ทราบสารอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไป ซึ่งแน่นอนค่ะฉลากเค้าจะเขียนชัดเจนไว้อยู่แล้ว เราก็จะทราบปริมาณสารอาหารที่ทานเข้าไป ตัวอย่างเช่น ทานโปรตีนไปแล้วเท่าไหร่ ไขมันขนมซองนี้เท่าไหร่จะเกินที่ต้องการแต่ละวันไหมถ้ารวมกับผัดกระเพราตอนกลางวัน อะไรประมาณนี้ค่ะ
3.มั่นใจได้ว่าอาหารที่เราเลือกนั้น ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
4. คำนวน จัดการตารางอาหารของตัวองได้ง่ายขึ้น รู้ปริมาณสารอาหาร จำนวนพลังงานที่ตนเองได้รับจากอาหาร
อ่านฉลากยังไงดี!
นี่แหละที่ทำให้หลายคนไม่อยากอ่านหรือมองข้าม ส่วนนึงก็เป็นเพราะว่าอ่านฉลากไม่เข้าใจตรงไหนเป็นอะไรยังไงฟร้ะ ใครเป็นแบบนี้ต้องปักหมุดบทความนี้ไว้เลยค่ะ วันนี้เราจะมาบอกต่อไอเดียการอ่านฉลากง่ายๆ แบบครบครันกันเด้อพี่น้อง
ก่อนอืิ่ีนเราก็ต้องทราบกันก่นว่าฉลากโภชนาการนั้นมีทั้งหมด 2 แบบด้วยกันค่ะ คือฉลากโภชนาการแบบเต็มและแบบย่อ
สองอันนี้ต่างกันอย่างไร?
1. ฉลากโภชนาการแบบเต็ม
เป็นฉลากที่แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญควรทราบ 15 รายการ สำหรับฉลากที่มีความสูงจำกัด
2. ฉลากโภชาการแบบย่อ
ใช้ในกรณีที่สารอาหารตั้งแต่ 8 รายการ จากจำนวนที่กำหนดไว้ 15 รายการนั้น ซึ่งเจ้าตัวที่เราตัดออกนั้นจะมีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นศูนย์ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงให้เต็มรูปแบบ
รูปประเภทฉลากไปแล้ว มาดูกันต่อเลยค่ะว่าเราควรอ่านฉลากอย่างไร
วิธีอ่านฉลากก็ง่ายๆ ค่ะ อย่างที่ infographic เขียนบอกไว้เลย คือ
1. ดูปริมาณ 1 หน่วยบริโภค จะบอกเราทั้งจำนวนแคลอรี่ที่ได้รับ ปริมาณโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรส สารอาหารต่างๆ ที่มีในหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งตรงนี้ดูได้จากฉลากข้างหลังซองค่ะ
2. ดูหน่วยบริโภคต่อปริมาณบรรจุในหนึ่งซองหรือกล่อง บางคนจะดูแค่จำนวนแคลอรี่เท่านั้นซึ่งบางทีจำนวนแคลอรี่หลังซองที่เขียนไว้จะเป็นเพียงต่อ 1 serve เท่านั้น แต่ แต่ แต่ ซองนี้อาจจะ serve ได้ 4-5 ครั้งก็ได้นะคะ ฉะนั้นแปลว่าเราต้องคูณจำนวนแคลอรี่ไปตามจำนวน serve จึงจะทราบ Real calories count ที่แท้จริงในอาหารซองนั้นๆ ค่ะ
3. ดูคุณค่าทางโภชนาการ
ไม่ใช่เน้นแต่แคลน้อย แคลต่ำ แต่รสชาติหวานไม่ให้พลังงานและสารอาหารใดๆ เลย จะทานเพื่อ??? เก็บแคลไว้ทานอย่างอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะดีกว่าไหมเอ่ย
4. ดูปริมาณที่แนะนำต่อวัน
เปรียบเทียบอาหาร สารอาหารที่ตัวเองได้รับแล้วคำนวนว่าร่างกายต้องการ ขาด และมีแนวโน้มที่จะรับประทานเกินอะไรอย่างไร เพื่อที่จะได้จัดตารางการทานของตัวเองได้อย่างถูกต้องนั่นเองค่ะ
สำหรับใครที่อยู่ในชั่วโมงเร่งรีบ มองหาฉลากจีดีเอ หรือฉลากหวานมันเค็มดูค่ะ เพราะให้รายละเอียดคร่าวๆ เหมาะสำหรับเวลาเร่งรีบจริงๆ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ บทความที่เรานำมาฝากวันนี้ก็หวังว่าจะมีประโยชน์และถูกใจนำไปใช้ได้จริงนะคะ สำหรับวันนี้ก็ต้องลากันไปก่อนค่ะ ด้วยรักและสุขภาพดี :)