1. SistaCafe
  2. จริงไหม!? อายุเข้าเลข 3 แล้วสุขภาพจะแย่จนไม่ทันสังเกต

เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปที่เราต้องละเลย ซึ่งแน่นอนว่าช่วงอายุที่พึ่งเริ่มการเป็นวัยรุ่นที่ได้เริ่มลองทำหลายสิ่งหลายอย่าง ที่บางครั้งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการสะสมจนส่งผลต่อในอนาคตเมื่ออายุเริ่มบวกขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอายุที่พึ่งเริ่ม 30 หรือ 30+ ถ้ามองในมุมมองการใช้ชีวิตคือช่วงอายุที่กำลังบานสะพรั่ง ช่วงอายุที่มากประสบการณ์ทั้งเรื่องงาน เรื่องการใช้ชีวิต การ control ต่างๆ แต่สิ่งที่ต่างออกไปก็คือสุขภาพนั่นเอง โดยสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงมันไปได้เลย เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ และการละเลยในการดูแลก่อนหน้านี้ ฉะนั้นเพื่อให้เราเริ่มใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เราจะมารวบรวมสิ่งที่เมื่อเราเริ่มเข้าเลข 3 ปัญหาอะไรบ้างที่เราต้องเผชิญ และการบอกต่อสำหรับคนอายุ 30+ ที่อยากบอกเรื่องสุขภาพกับคนอื่น ที่ถ้าเริ่มทำได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะรับมือการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทัน


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


ปัญหาสุขภาพของผู้ใหญ่วัย 30

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202215%2Ff062214c-8e5b-40ca-b5e9-e034ab8cd907?v=20240825170006

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อเข้าสู่อายุวัย 30 นั้นจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ส่งผลโดยตรงกับผิวพรรณ หรือระบบทำงานภายในร่างกายที่มีการผลิตน้อยลง หรือไม่เหมือนเดิม ซึ่งสิ่งนั้นเรียกได้ว่ากำลังเข้าสู่ช่วง ‘วัยทอง‘ นั่นเอง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงที่จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเพศชายคือ ฮอร์โมน Estrogen, ฮอร์โมน Progesterone, ฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH เป็นต้น ที่มักจะทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสังเกตได้เมื่ออายุเริ่มเข้าเลข 3 มีดังนี้


อ้วนง่าย

สังเกตได้เลยว่าเมื่อทานปริมาณเท่าเดิมแถมยังทานน้อยลง แต่ทำไมร่างกายนั้นกลับรู้สึกอ้วนขึ้นง่ายกว่าเดิม โดยสาเหตุนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จึงทำให้ร่างกายนั้นมีการเบิร์นจำพวกไขมัน น้ำตาล ได้ยากมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลต่อการย่อยและรูปร่างภายนอกได้


อารมณ์ไม่คงที่

เมื่ออารมณ์ไม่คงที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมายเกิดขึ้นส่งผลให้ใน 1 วัน ผู้หญิงสามารถมีอารมณ์ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นวีน เหวี่ยงง่าย กระวนกระวาย เป็นต้น ซึ่งนอกจากส่งผลต่ออารมณ์โดยตรงแล้วนั้น ยังส่งผลต่อเนื่องไปถึงคุณภาพการนอนหลับของเราอีกด้วย ทำให้การนอนหลับนั้นนอนหลับยากขึ้นหรือเป็นการนอนหลับที่ไม่ได้คุณภาพ และระบบความจำเริ่มมีปัญหาตามมา


เจ็บป่วยง่าย ร่างกายเสื่อม

เมื่อเข้าสู่เลข 3 นั้น จะมีความเสี่ยงของโรคที่ตามมามากมายหากละเลยการดูแลใส่ใจสุขภาพไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็งโรคมะเร็งปากมดลูก โรค PCOS โรงซีสต์ในรังไข่ และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น นอกจากนี้นั้นยังตามมาด้วยสุขภาพฟันที่เริ่มมีปัญหา สายตามีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นแล้วจึงควรหมั่นเช็กสุขภาพร่างกายของตัวเองประจำ เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว


ความสนใจทางเพศน้อยลง

เพราะฮอร์โมนในร่างกายนั้นส่งผลโดยตรง เนื่องจากฮอร์โมนในช่วงวัยนี้ที่สำคัญเริ่มลดลงในบางคน จึงส่งผลให้เริ่มมีการเบื่อในเรื่องของเพศสัมพันธ์ อีกทั้งในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยนี้ก็มักจะมีปัญหาเรื่องของรังไข่ที่ไม่แข็งแรง อีกทั้งยังมีโอกาสตั้งครรภ์ยากขึ้น จึงเป็นช่วงอายุที่คุณหมอไม่แนะนำให้มีลูก เพราะด้วยอายุที่มากเสี่ยงต่อทารกที่เกิดมา อาจจะมีปัญหาเรื่องร่างกายตามมาในอนาคตได้


ผมหลุดร่วงและบางลง

ในวงจรชีวิตของเส้นผมนั้นก็จะเริ่มสั้นลง จึงเกิดเป็นผมร่วงที่ถี่ขึ้นและไม่สามารถสร้างผมเส้นใหม่ได้ทัน ซึ่งความหนาแน่นของผมที่จากปกติหนาก็เริ่มบางลงเรื่อยๆ เนื่องจากการส่งผลไม่ว่าจะเป็นความเครียด มลภาวะ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็สามารถเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เส้นผมนั้นร่วงได้ รวมไปถึงฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ที่ทำให้ร่างกายนั้นขับไขมันออกมาทางผิวหนังมากเกินไป ส่งผลให้หนังศีรษะมันขึ้น รากผมอ่อนแอ หรือฮอร์โมน Estrogen ที่น้อยลง จึงทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลง ผมเริ่มบาง มีความแห้งชี้ฟู อ่อนแอ และร่วงง่ายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง


ฮอร์โมนความสาวน้อยลง

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หรือฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตที่มีการผลิตน้อยลง และเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายนั้นเสื่อมลงเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อเข้าสู่เลข 3 เป็นต้นนั้นจะเหลือเพียง 40% สำหรับการผลิตฮอร์โมนนี้ เมื่อเทียบกับช่วงอายุวัยรุ่น เพราะเมื่อร่างกายมีการผลิตโกรทฮอร์โมนที่ความสำคัญน้อยลงก็ส่งผลหลายอย่าง เพราะข้อดีของโกรทฮอร์โมนนั้นคือดีต่อระบบการเผาผลาญในร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยลดความเครียด เสริมสร้างสมาธิ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความยืดหยุ่นของผิวให้เรียบเนียน ชุ่มชื้น ทั้งยังต้านภาวะกระดูกพรุน เสริมสร้างภูมิต้านทาน และลดการเสื่อมถอยของสายตาได้


รอยเหี่ยวย่น

โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้บอกว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งเมื่อเข้าสู่อายุเลข 3 คือรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ซึ่งแน่นอนว่าเราจะเห็นร่องรอยพวกนั้นชัดมากๆ ตอนอายุที่เยอะ แต่ถ้าเมื่อเริ่มสังเกตแล้วจะพบว่ามันเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเวลา 30 เป็นต้นไป เป็นช่วงแรกของร่องรอยที่อาจจะเริ่มขึ้นแถวหน้าผาก รอบดวงตา มุมปากเป็นรอยนิดๆ ก่อนจะขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งถ้าเราสะสมความเครียด นอนน้อย ดื่มแอลกอฮอล์เยอะหรือเป็นประจำ และยังต้องเผชิญกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อมทั้งแสงแดดจัดๆ อีก ยิ่งโดยเฉพาะใครที่ละเลยการทาครีมกันแดดเป็นประจำ พวกรอยเหี่ยวย่นนี้นั้นก็จะเกิดขึ้นได้เร็ว ทั้งยังสังเกตเห็นได้ง่ายนั่นเอง


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


เรื่องสุขภาพที่วัย 30+ อยากบอกต่อ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202215%2Ff58c3ea9-148a-4fd8-93af-e5c680af3db0?v=20240825170023

เริ่มต้นที่การเลือกการกินหรือพวกอาหารที่ส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีดังนี้


  • เพิ่มไฟเบอร์ในมื้ออาหาร

ไฟเบอร์ไม่ได้ช่วยแค่เรื่องระบบขับถ่ายเพียงเท่านั้น แต่ยังมีงานวิจัยล่าสุดที่เผยว่าการกินไฟเบอร์จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทุก 8 กรัมในไฟเบอร์ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังได้ถึง 5-27% ยิ่งคนอายุ 30 ขึ้นไป สามารถกินไฟเบอร์ต่อวันได้ 25-29 กรัม หรือ 25-31 กรัม ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก แต่สำหรับคนไทยในผลสำรวจนั้นยังพบว่ามีการกินไฟเบอร์ต่อวันได้น้อยมากๆ หรือเทียบกรัมต่อวันแล้วอยู่ที่ 11-15 กรัม เพียงเท่านั้น ฉะนั้นแล้วใครที่คาดว่าเราทานไฟเบอร์ไม่เพียงพอต่อวัน ให้ลองหาอาหารเสริมมาลองควบคู่กันดูได้


  • โอเมก้า 3 ยิ่งเสริมยิ่งดี

ในช่วงวัย 30 การเพิ่มมื้ออาหารด้วยการเสริมโอเมก้า 3 จะสามารถช่วยทั้งสุขภาพระยะสั้นได้ดี เช่น อารมณ์ดี สมองแจ่มใส ลดการอักเสบ นอกจากนี้ในเรื่องของสุขภาพในระยะยาวนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันการเกิดสมองเสื่อม แถมยังสำคัญ สุดๆ ต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อย ซึ่งเราสามารถหาได้จากปลาทะเลที่มีไขมันสูงอย่างเช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน แต่นอกจากมาจากเนื้อปลาแล้วนั้นก็ยังมาจากพืชไม่ว่าจะเป็นวอลนัท เมล็ดเจีย หรือใครสายสุขภาพเน้นการกินโอเมก้าเป็นหลักก็สามารถเริ่มต้นมื้อได้ด้วยแซลมอนที่โรยเมล็ดแฟกซ์ เมล็ดเจียในโจ๊กหรือโยเกิร์ต อีกทั้งอาจจะเลือกเป็นวอลนัท พีแคนมาเป็นของว่างก็ได้ทั้งรสมันอร่อยและดีต่อสุขภาพได้


  • เลี่ยงอาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปที่หลายคนชอบทานนั้น เช่น ไส้กรอก เบคอน ฮอทดอก ที่เป็นอาหารโปรดหรือทางเลือกใครหลายคน บอกเลยว่ายิ่งกินยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ เพราะการกินเนื้อแปรรูป 50 กรัมต่อวันหรือเทียบเท่าประมาณฮอทดอก 1 ลูก เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้เพิ่ม 16% ตามรายงานปี 2017 ของสถาบันวิจัยมะเร็งของสหรัฐฯ นอกจากการกินอาหารแปรรูปแล้วนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เสี่ยงแทรกซ้อนเข้ามาไม่ว่าจะเป็น เหล้าวันละ 2 แก้ว กินเนื้อแดงเกิน 18 ออนซ์ต่อสัปดาห์ และการขาดการออกกำลังกาย แต่หากกินธัญพืชไม่ขัดสีวันละ 3 รอบ สามารถช่วยลดมะเร็งลำไส้ถึง 17% เพราะไฟเบอร์ในธัญพืชนั้นจะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ทำให้แบคทีเรียดีในลำไส้เติบโต และทำให้ลดการอักเสบแถมยังป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ด้วย


  • ขนม ชา กาแฟ

ในขนม ชา และกาแฟนั้นเป็นแหล่งสะสมของน้ำตาลที่มีไขมันสูงเป็นจำนวนมาก แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงจนเกินกำหนดที่ร่างกายของเราต้องการต่อวัน จึงส่งผลต่อน้ำหนักและกลไกในร่างกายทำงานได้ยากกว่าเดิม และยังทำให้เกิดการอักเสบได้ง่ายอีกด้วย


  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนโดยเฉพาะสารอาหารจากวิตามินและแร่ธาตุ ที่เป็นแหล่งพลังงานชั้นดีและสำคัญต่อกลไกในร่างกายไม่ว่าจะเป็น ระบบย่อยอาหาร ต่อมไทรอยด์ ระบบประสาทและสมอง พร้อมการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง ทั้งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการทำงานของประจำเดือนในผู้หญิงให้เป็นปกติ


  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มประจำ จะเหมือนกับเป็นการไปเร่งให้ร่างกายเกิดความเสี่ยงต่อโรคได้เร็ว โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่เสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


แต่นอกจากการเลือกทานแต่สิ่งดีๆ แล้วนั้น ยังรวมไปถึงการปรับกิจวัตรประจำวันของเราเข้าไปด้วย เพราะนอกจากรับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแล้วพฤติกรรมต่างๆ ก็จะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นได้เช่นกัน อย่างเช่น


  • การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

การตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปีนั้น เพื่อเป็นการตรวจดูความสมดุลของฮอร์โมน และระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้นเรายังสามารถวางแผนการรักษาได้ทันท่วงทีเมื่อพบเจอสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย


  • การพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนให้เพียงพอนั้นควรนอนถึง 7-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่แนะนำอย่าง 4 ทุ่ม เป็นช่วงเวลานาทีทองที่ดีที่สุดและควรงดทานน้ำตาลก่อนนอน เพราะการนอนหลับที่ดีจะทำให้ฮอร์โมนมีประสิทธิภาพตรงตามเวลาในการทำงานของร่างกาย และยังช่วยซ่อมแซมร่างกายได้ดีตามธรรมชาติ ทั้งการงดทานน้ำตาลยังลดอาการหิวช่วงดึกได้ด้วย


  • การออกกำลังกายต่อสัปดาห์

แนะนำว่าควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ ประมาณวันละ 30-60 นาที ซึ่งเราสามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายได้ความสะดวกของตนเอง หรือจะเป็นวิธีคาร์ดิโอ เดินเร็วต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้สัดส่วนในร่างกายเผาผลาญได้ดี ทั้งยังกระชับสัดส่วน ลดระดับความเครียดในร่างกาย ช่วยปรับการผลิตฮอร์โมน และยังทำให้หัวใจแข็ง เป็นต้น


  • หลีกเลี่ยงภาวะเครียดสะสม หรือทำงานหนักต่อเนื่อง

นอกจากภาวะความเครียดสะสมหรือการทำงานหนักแล้ว ยังรวมไปถึงกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ในช่วงเวลาก่อนนอน เช่น การดูซีรี่ส์ การเล่นโซเชียลมีเดียสื่อต่างๆ เป็นต้น สามารถส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนความเครียด(Cortisol) การทำงานของความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบแคบลง สุดท้ายทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น


ถึงแม้ว่าเราจะดูแลสุขภาพดีมากเพียงใด แต่ก็ยังทำให้ในบางครั้งร่างกายเรายังรับวิตามินได้ไม่เพียงพอต่อวัน อีกทั้งการใช้ชีวิตของคนวัย 30+ นั้น ค่อนข้างเร่งด่วนและต้องรวดเร็วเพื่อทำเวลา อาจจะละเลยการดูแลไปบ้าง แต่ด้วยปัจจุบันมีอาหารเสริมมากมายที่พร้อมจะให้เราสามารถเลือกทานได้เมื่อรู้ว่าเราขาดอะไรและอยากเสริมอะไรเข้าไป ซึ่งใครที่สังเกตตัวเองและพบว่ารู้สึกไม่เพียงพอสามารถมองหาอาหารเสริม เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีเวลาในการดูแลตัวเองไม่เพียงพอได้


อาหารเสริมทางเลือกที่วัย 30+ ต้องมี

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F202215%2Fb9b5e919-49a0-41f9-8452-2afb74cb47d5?v=20240825170046

ผิวพรรณ

ก่อน 30 ปี : ผิวพรรณสดใสเต่งตึง

หลัง 30 ปี : ผิวพรรณเริ่มมีริ้วรอย แห้งกร้านและหย่อนคล้อย

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามินซี วิตามินเอ คอลลาเจน โอเมก้า 3 และธาตุเหล็ก


เล็บและเส้นผม

ก่อน 30 ปี : สุขภาพเล็บเงางาม เส้นผมแข็งแรง

หลัง 30 ปี : สุขภาพเล็บอ่อนแอ ปลอกหักง่าย และผมร่วงง่าย

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามิน B2 และสังกะสี


ความแข็งแรงของร่างกายร่างกาย

ก่อน 30 ปี : ร่างกายแข็งแรงไม่เคยป่วยบ่อย

หลัง 30 ปี : ร่างกายอ่อนแอลง เช่น เป็นหวัด หรือภูมิแพ้บ่อยๆ เป็นต้น

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามินซี วิตามินบี และธาตุเหล็ก


ความอดทนของร่างกาย

ก่อน 30 ปี : ร่างกายสดใสแข็งแรง กระฉับกระเฉง แม้ทำงานข้ามวันหรือนอนดึกหรือก็ตาม

หลัง 30 ปี : ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ทำงานได้ไม่อึดเหมือนเดิม และไม่มีสมาธิทำงาน

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามิน B1 วิตามิน B2 วิตามิน B3 และวิตามินบี รวมไปถึงโอเมก้า 3


กระดูกและข้อ

ก่อน 30 ปี : กระดูกและข้อแข็งแรง

หลัง 30 ปี : กระดูกและข้อเริ่มมีปัญหา เช่น เสียงลั่น หรืออาการปวด

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามินดี วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และฟอสฟอรัส


สายตา

ก่อน 30 ปี : สายตาปกติ

หลัง 30 ปี : สายตาสั้นหรือยาว

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามินเอ และวิตามิน B2


การควบคุมอารมณ์

ก่อน 30 ปี : ควบคุมอารมณ์ได้ดี

หลัง 30 ปี : เครียดง่ายและหงุดหงิดบ่อย

วิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็น : วิตามินบีรวม วิตามินซี และแมงกานีส


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


สรุป

ใครที่อายุใกล้เลข 3 เข้าทุกทีแล้วนั้น อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองทุกวันเพื่อไม่ให้เป็นการสะสมและส่งผลต่ออนาคต ซึ่งการที่เราเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ร่างกายของเรานั้นยังคงสภาพของความอ่อนเยาว์ หรือการทำงานที่เป็นปกติในร่างกายได้ดีเยี่ยม แต่ถ้าใครที่ต้องทำงานหนักเป็นประจำ ก็อย่าลืมหาเวลาพักผ่อนให้ตัวเองได้พักจากการทำงาน มาใส่ใจการดูแลตัวเองมากขึ้นด้วย หรือการหาวิตามินเสริมก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ ดังนั้นแล้วเมื่อดูแลดีจากภายในผลนั้นก็จะออกสู่ภายนอกได้ อย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยน้าา ส่วนใครที่อายุ 30+ แล้วเรายังสามารถกลับมาดูแลได้แต่อาจจะใช้เวลามากกว่าคนที่ทำประจำ แต่รับรองผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเกินคาดแน่นอน


ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : Freepik




บทความอื่นๆ ที่ซิสไม่ควรพลาด











เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้