1. SistaCafe
  2. โรคหลอดเลือดสมอง ภัยร้ายใกล้ตัว

โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)หรือที่คนทั่วไปอาจใช้คำว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต  เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชากรไทย ก่อให้เกิดความพิการและส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศ



โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด


หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน( Ischemic Stroke )พบได้ประมาณ 80% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่น ( ลิ่มเลือดจากหัวใจหรือจากหลอดเลือดใหญ่ ) ไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองเองก็ได้



หลอดเลือดสมองแตก

หลอดเลือดสมองแตก( Hemorrhagic Stroke)พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง



ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ(IMT : Intima–media thickness)

- เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง

- ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ

- เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย

- ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรค หลอดเลือดหัวใจ

- โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

- การสูบบุหรี่

- การใช้สารเสพติดบางชนิดเช่น โคเคน, เฮโรอีน และ ยาม้า

- โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง

- การขาดการออกกำลังกาย และ โรคอ้วน



ลักษณะอาการและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง


- อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก


- ตามองไม่เห็นภาพซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งหมด มองเห็นภาพซ้อน


-มีความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น พูดไม่คล่อง ใช้ภาษาผิดหรือไม่เข้าใจภาษา


- เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินเซปวดศีรษะรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน


- พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว กลืนลำบาก


- ความจำเสื่อม หรือหลงลืมอย่างทันทีทันใด ซึม หมดสติ


การตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาท  และระบบที่เกี่ยวข้อง อย่างละเอียดร่วมกับส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการและตรวจภาพรังสีวินิจฉัย ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ อีกทั้งภาวะและสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น- การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์( CT scan )หรือ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า( MRI/MRA )เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่- การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ( Carotid Duplex Ultrasound )เพื่อดูหลอดเลือดคอ และการไหลเวียนของเลือดบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ( Electrocardiogram )- การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด การทำงานของไตและตับ- การตรวจระดับเกลือแร่ในเลือด( Electrolyte )ช่วยแยกภาวะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ  เช่น เกลือแร่ต่ำ อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง



การรักษา

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดตีบหรือหลอดเลือดแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน- หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ในปัจจุบันมีการให้ยาละลายลิ่มเลือด( rtPA : recombinant tissue plasminogen  activator )ในผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้ามต่อการให้ยาและมีอาการในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง เมื่อติดตามผู้ป่วยที่ได้รับยาเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติสงสัยว่ามีภาวะหลอดเลือดสมองควรรีบมาโรงพยาบาลเร็วที่สุดเพื่อให้ได้การวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที- หลอดเลือดสมองแตก เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในบางกรณีที่เลือดออกมาก อยู่ในดุลพินิจของศัลยแพทย์ระบบประสาทว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วยหรือไม่




Call Center :


1645

กด

1

หรือ

02

-

487

-

2000E-mail :

[email protected]

Website :

http://thonburihospital.com/2015_new

FB :https://www.facebook.com/thonburihospitalclub

IG :

https://www.instagram.com/thonburi_hospital


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้