อาการประหม่า และตื่นเต้นเกินปกติ เป็นรีแอคชั่นธรรมชาติของร่างกาย เมื่อต้องอยู่ในเหตุการณ์ที่ตึงเครียด

ไม่ว่าใครก็น่าจะเคยมีอาการแปลกๆ มวนท้อง เมื่อต้องทำข้อสอบ หรือทำอะไรยากๆ หรือแม้กระทั่งมีอาการมือสั่นเมื่อต้องไปพูดต่อหน้าคนเยอะๆ บางคนห้ามอาการมือสั่นไม่ได้ด้วยซ้ำ


อาการประหม่า ตื่นเต้น หรือวิตกกังวลนั้น สามารถเกิดได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่

เมืออยู่ในเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกประหม่า

แต่สำหรับบางคน อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ วัน ในกิจวัตรประจำวัน

และหากใครมีอาการแบบนี้ คุณหมอเรียกว่าอาการของ "

โรควิตกกังวล

" โดยในโรคเดียวกันนี้ก็ยัง

แบ่งออกเป็นหลายประเภทอีกต่างหาก เช่น โรคตื่นตระหนก โรควิตกกังวลทั่วไป หรืออาการโฟเบีย เป็นต้น


โดยปกติแล้ว ร่างกายเราจะหลั่งสารอะดรีนาลีนออกมา เมื่อต้องเผชิญกับภาวะความเครียดทางอารมณ์ หรือร่างกายและระดับสารอะดรีนาลีนจะลดลงเอง หลังพ้นจากสภาวะเครียดไปแล้ว

ซึ่งจะมีช่วงระยะสั้นๆ

แต่สำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวล

จะไม่ใช่ อาการป่วยทางจิต หรือทางร่างกาย หรือแม้กระทั่งสารจากยา และพันธุกรรม

จะทำให้ระดับอะดรีนาลีนสูง และมีระยะยาวนานกว่าปกติ

ซึ่งระดับอะดรีนาลีนที่สูง และยาวนานผิดปกติอันเกิดจากโรควิตกกังวลนั้น

จะก่อให้เกิดอาการทางร่างกายอะไรบ้าง ลองไปเช็คด้านล่างกันได้เลย!


6 อาการทางร่างกาย ของคนเป็น "โรควิตกกังวล"


1. กระวนกระวายใจ และตื่นตระหนกผิดปกติ

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/d0/fd/a7/d0fda77c36d3eb2ad17c3854f00c7651.jpg

ในกรณีของผู้ที่เป็น

โรควิตกกังวลทั่วไป หรือ GAD

(

Generalized anxiety disorder) เป็นภาวะของผู้ที่

มีอาการวิตกกังวลมากๆ แม้กระทั่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน และอาจจะเป็นติดต่อกันหลายเดือน

อาจจะมากกว่า 6 เดือนด้วยซ้ำ โดยอาการวิตกกังวลอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายๆ เรื่องพร้อมกัน

ส่วนใหญ่มักจะเป็นมีอาการ

วิตกกังวลเกินกว่าเหตุ จนเป็นผลเสียต่อกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

และมักจะ

เกิดร่วมกับอาการทางร่างกายอย่างเช่นอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ


2. มีปัญหาในการใช้สมาธิ

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/5a/56/b2/5a56b2f3564af99c0a4785a40fa0e354.jpg

ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล มักจะกระวนกระวาย และกังวลอะไรไปหลายๆ เรื่อง

ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อสมาธิโดยตรง

จึงทำให้ส่งผลต่อการทำงาน การเรียน การอ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

อย่างการคุยกับคนอื่นด้วย

ภาวะเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วย

ไม่สามารถสงบจิตใจได้ และมักจะไม่คิดอะไร นอกจากเหตุผลที่ทำให้ตัวเองมีสภาวะตื่นตระหนก หรือคิดอะไรที่ยิ่งทำให้ตัวเองรู้สึกกังวลเข้าไปใหญ่


3. นอนไม่หลับ

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/5d/04/2f/5d042f117191569ce0a0326719d5fe8b.jpg

อาการหลักของๆ คนที่มีสภาวะเครียด หรือกังวลอะไรสักอย่าง ก็มักจะลงเอยด้วยการนอนไม่หลับ

อย่างในคนปกติทั่วไป ขนาดมีเรื่องที่สงสัย อยากรู้ เรื่องน่าตื่นเต้น หรือเครียดอะไรสักอย่าง ก็มักจะเก็บเอาไปคิดในช่วงก่อนนอน จนทำให้บางวันนอนไม่หลับไปเลยก็มีบ่อยๆ

แต่สำหรับ

คนที่มีอาการวิตกกังวล จะหลับยากมากๆ กว่าปกติ เพราะจิตใจไม่สามารถผ่อนคลายได้ ซึ่งเกิดจากความตื่นตระหนก กระวนกระวายในหลายๆ เรื่อง ทำให้จิตใจไม่สงบ

ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการนอนไม่หลับแถมมาด้วย

บางวันอาจจะใช้เวลาในการหลับนานมากกว่าคนทั่วไป และบางวันอาจจะไม่ได้นอนเลยก็มี


4. เสียวแปลบปลาบที่มือ หรือ เท้า

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/6c/55/bd/6c55bd456d3be2b99bcaff220ddd361a.jpg

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น

โรคแพนิค เกิดจากการที่ระบบประสาททำงานผิดปกติ

จึงทำให้เกิดอาการทางกายขึ้นมาหลายอย่าง อย่างเช่นเกิด

อาการแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก คล้ายๆ หัวใจจะวาย

โดยส่วนใหญ่แล้วจะอาการ

อาจจะเกิดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย จึงจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งวิตกกังวลหนักกว่าเก่า

ด้วยอาการแพนิคที่เกิดขึ้น จะมีอาการที่ทำให้ไม่สบายตัวหลายๆ อย่าง

ไม่ว่าจะหายใจไม่เต็มอิ่ม หรือใจเต้นรัว

ซึ่งทำให้บางครั้งเราก็คิดว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ

สำหรับใครทีมีอาการเหล่านี้ลองให้หมอไปตรวจดู

ถ้าไม่พบอาการผิดปกติทางหัวใจ ก็น่าจะเป็นอาการแพนิค ซึ่งบางทีอาจจะเกิดร่วมกับโรคซึมเศร้าด้วยก็เป็นได้


5. อาหารไม่ย่อย

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/44/5a/60/445a60c8a2ce6091ad258dfc983e459d.jpg

อาการเครียด และความวิตกกังวล สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยทางร่างกายของเราหลายๆ อย่าง

ไม่ว่าจะเป็นในระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่ายก็ตาม

อย่างบางคนเมื่อเครียด อาจจะเกิดอาการท้องผูก อาการคลื่นไส้ และอาหารไม่ย่อย

แต่ใครที่มีปัญหาเหล่านี้ ต้องระวังให้ดีว่า

อาจจะเป็นโรควิตกกังวล เพราะความกังวลก็ก่อให้เกิดความผิดปกติเรื้อรังกับระบบย่อยของเราได้เช่นกัน


6. วิงเวียนศีรษะ จะเป็นลม

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/7e/4c/01/7e4c01882f3a9dd363103ee1127238d5.jpg

เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะตึงเครียด หรืออยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัว

และตื่นตระหนก ผู้ป่วยอาจจะ

เกิดอาการวิตกกังวลกำเริบขึ้นมาอย่างฉับพลัน

โดยบางครั้งอาจจะเป็นโดยไม่มีสัญญาณเตือน ซึ่่งอาการที่ร่วมด้วยคือการ

วิงเวียนศีรษะ บางครั้งก็อาจรู้สึกเหมือนจะเป็นลม คลื่นไส้ และบางทีอาจเกิดอาการชาที่มือหรือเท้า

นอกจากนี้ก็จะมีอาการใจสั่น ตัวสั่น เหงื่อออก กลัวความตาย หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจอยู่ในข่ายโรคหวาดระแวงก็เป็นได้


อาการวิตกกังวลเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากสารเคมีในร่างกายที่หลั่ง และทำงานผิดปกติ

โดยมีผลมาจากจิตใจของเราเอง

ถึงแม้อาจจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่อาการต่างๆ ก็อาจเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจทำให้เสี่ยงอันตรายได้ อย่างการเป็นลม วิงเวียนอย่างฉับพลัน

ถ้าพบว่าตัวเองเข้าข่าย

ต้องรีบไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ