ตอนยอน ต๊ะตอนยอน ~
สวัสดีเจ้า สาว ๆSistaCafe
วันนี้ขอเปิดตัวมาด้วยความพื้นเมืองน้อยนึงเน้อเจ้า เพราะ
ส่องโซเชียลช่วงนี้ก็เห็นว่าเทรนด์ภาษาถิ่นกำลังมาแรงเวอร์
หลายรายการเขาก็ออกมาสอนภาษาถิ่นในแบบฉบับของตัวเองกันเยอะ ไม่ว่าจะ
เบบี้มายด์รายการ South Korea ทำหร่อยแล้วหล่าว
รายการสอนภาษาใต้แบบซิทคอมแจกจ่ายความฮา หรือว่า
รายการสอนคำเมืองแบบแซ่บของคำเมืองกับคำผกา
วันนี้เลยชวนสาวซิสมาตามเทรนด์ซะหน่อย เดี๋ยวจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง กับ
15 คำเมืองไม่คุ้นหู แต่อู้แล้วบ่มีเอาท์
ส่วนจะมีคำไหนบ้างตามไปผ่อกันเลยเจ้าา
☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆
1. โคะ / โค้ว
คำอุทานยอดฮิตของหมู่เฮาจาวเหนือ ถ้าจะให้แปลก็คงเหมือนคำว่า
' โอ้โห, อื้อหือ '
เป็นคำอุทานที่แสดงอาการประหลาดใจ ตกใจ
เวลาเจอชาวเหนือ
เจอเหตุการณ์แปลกประหลาดใด ๆ ก็จะโคะไว้ก่อน เหมือนเป็นคำติดปากยังไงอย่างงั้น
จนมีคนเคยบอกว่าถ้าจะดูว่าใครเป็นคนเหนือให้ดูที่คำอุทาน ใคร
' โคะ '
ออกมาก็คือนั่นแหละคนบ้านเดียวกันแน่นอน
2. อ้ออ๊อย
สำหรับคำนี้เวลาพูดต้องดัดเสียงสาม เสียงสี่ไปด้วยนะคะซิส เพราะคำว่า
' อ้ออ๊อย '
ในภาษาเหนือแสดงถึงอาการเอ็นดู เวลาเห็นอะไรที่มันทำให้ใจบาง
ถ้าจะให้แปลเป็นภาษากลางก็นึกไม่ออกจริงๆ ค่ะว่าควรจะเป็นคำว่าอะไร ( ใครพอแปลได้ก็ลองกระซิบบอกกันหน่อย! ) เอาเป็นว่าเวลาเจออะไรที่เห็นแล้วรู้สึกปุ้กปิ้ก น่ารัก น่าเอ็นดูหมู่เฮาชาวเหนือก็จะอุทานออกมาด้วยเสียงสอง เสียงสามว่า
' อ้ออ๊อย มันหยั่งมาน่าเอ็นดูจะอี้! '
3. อะล๊ะ
อีกหนึ่งคนอุทานยอดฮิตที่ถ้าได้ยินใครอุทานก็คือมั่นใจได้เลยว่าหมู่เฮาชาวเหนือ 100% แน่นอน
' อะล๊ะ '
เป็นอุทานที่เหมือนกันกับคำว่า ' โอ๊ย ' แสดงอาการเจ็บนั่นแหละค่ะ
สมมุตินางสาวเจนนี่เดินเอานิ้วก้อยเท้าไปเตะขอบโต๊ะจนเจ็บมาก นาวสาวเจนนี่ที่เป็นคนเหนือก็จะตะโกนออกมาว่า
อะล๊ะ! เจ็บไบ้เจ็บง่าว
แบบนี้เป็นต้นค่ะซิส
4. ป๊าดโท๊ะ
ป๊าดโท๊ะ
คำอุทานที่แสดงอาการตกใจ แบบว่านี่มันสิ่งมหัศจรรย์อะไรกันเนี่ย ช่างอลังการเหลือเกิน
เพิ่มเติมอีกนิดก็คือยิ่งซิสลากเสียง ป๊าดดด ยาวเท่าไรสิ่งนั้นก็จะเพิ่มความอลังการให้กับสิ่งนั้นมากยิ่งขึ้นค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
ป๊าดดดดดโท๊ะ อ้ายซองอูหยังมาหล่อแต่หล่อว่า!
5. ปะเลอะปะเต๋อ
ปะเลอะปะเต๋อ
คือ Adverb ที่มีความหมายในภาษากลางว่ามากมายก่ายกองนั่นเองค่ะ
ชาวเหนือมักจะใช้คำนี้ต่อท้ายสิ่งของที่มีมากมายเหลือเฟือจนไม่สามารถใช้หมด ตัวอย่างเช่น
โคะ เสื้อผ้ามีปะเลอะปะเต๋อ จะซื้อมาแหมยะหยั่ง!!
( Tran: เสื้อผ้ามีตั้งเยอะตั้งแยะ จะซื้อมาอีกทำไม! )
6. จะไป
อะ ๆ ไหนลองทายกันดูสิคะซิสว่าคำว่า
' จะไป '
เป็นประโยคประเภทไหน ติ๊กต่อก ๆ ถ้าคุณว่ามันคือประโยคบอกเล่าคุณคิด... ผิดค่ะ! เพราะ
คนเมืองเขาใช้คำว่า จะไป เป็นประโยคปฏิเสธค่ะซิสส
และคำว่า
จะไป มีความหมายว่าอย่าในภาษากลางนั่นเอง
เอาล่ะพอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยคะ งั้นมาทดสอบกันหน่อยดีกว่า คำว่า ' จะไปไป ' ในคำเมืองมีความหมายว่าอย่างไร 10 คะแนน!
7. คึ
เห็นคำว่า
' คึ '
หลายคนอาจจะคิดว่ามันจะเหมือนเสียงหัวเราะแบ๊ว ๆ คึคึคึ ที่คนส่วนใหญ่ชอบใช้รึเปล่านะ ขอบอกเลยว่าคำว่า คึ ในภาษาเหนือแตกต่างจากเสียงหัวเราะในภาษากลางอย่างสิ้นเชิงเลยค่ะซิส เพราะ
คำนี้มันเป็นคำง่าย ๆ แต่ความหมายสุดลึกล้ำมาก
คนเหนือมักจะใช้คำนี้เมื่อเจอสิ่งที่รู้สึกว่ามันสุดแสนจะอลังการสวยงาม ยิ่งใหญ่ เกรียงไกรมากเวอร์
( คำ ๆ เดียวแต่ความหมายสุดลึกล้ำอย่างที่บอกมั้ยคะ )
8. งืด
ถ้าเกิดว่าได้ยินคนเหนือพูดว่า
' ฮาหยั่งมางืดแต้ว่า '
นั่นแสดงว่าเขากำลัง
อยู่ในสถาณการณ์ที่เจอปัญหาแล้วไม่สามารถคิดแก้ไขปัญหาได้ นั่นเองค่ะ
มันเลยอาจจะเกิดอาการสับสน งงงวยอยู่หน่อย ๆ แบบนี้นี่แหละค่ะคำเมืองเขาเรียกว่า
' งืด '
9. ไห้อ๋า ๆ
คำนี้ฟังดูแล้วอาจจะฟังดูตลกไปสักหน่อย แต่ความหมายกลับกันคนละทางเลยนะคะซิส คำว่า
ไห้อ๋า ๆ คืออาการของคนที่ร้องไห้สะอึกสะอื้น หรือร้องไห้จนตัวโยน
ชาวเหนือจะเรียกอาการแบบนี้ว่า
' ร้องไห้อ๋า ๆ '
หรือถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็นึกถึงมีม
' ร้องไห้หนักมาก '
นั่นแหละค่ะ
10. ตกสะเกิด
ตกสะเกิด เป็นอาการที่ชาวเหนือ
ใช้อธิบายอาการของคนสตั๊น เวลาที่เราเจออะไรที่น่าตกใจแล้วเราจะหยุดชะงักไปแป๊บนึง
หรือบางคนเรียกมันว่าอาการไปไม่เป็น อาการนี้แหละค่ะที่หมู่เฮาชาวเหนือเรียกมันว่า
' ตกสะเกิด '
ซึ่ง
ตกสะเกิดจะแตกต่างจากอาการตกใจนะคะ เพราะอาการตกใจชาวเหนือจะคำว่า ' สะดุ้ง '
นั่นเองค่ะซิส เช่น ' เจอคำถามนี้ไปเป็นดีตกสะเกิดเลย ' ( Tran: เจอคำถามนี้ไป ถึงกับสตั๊นไปเลย ) และ ' หยังมาเสียงดังจะอี้ฮั่น ปอสะดุ้งหมด ' ( Tran: ทำไมถึงเสียงดังแบบนี้ ตกใจหมดเลย )
11. เลี้ยม
คำนี้ก็เป็นคำง่าย ๆ แต่ความหมายสุดลึกล้ำอีกแล้วค่ะ คำ ๆ เดียวแต่สำหรับคนเหนือถ้าได้ฟังแล้วอาจจะรู้สึกคันยุบยิบในใจนิดหน่อย เพราะคำว่า
' เลี้ยม '
แปลว่า แหลม เป็นคำที่
คนเหนือมักจะใช้เรียกบุคคลที่ชอบแหลมไปยุ่งในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง
นั่นเองค่ะ พอรู้แบบนี้แล้ว
ขอเตือนเลยว่าอย่าเป็นคนเลี้ยมนะคะซิส
เพราะมันโอค่า
12. จ๊างมันเต๊อะ
คิดว่าในชีวิตของ
ทุกคนน่าจะต้องได้ใช้คำนี้บ่อย ๆ ในสถานการณ์ที่อะไร ๆ ก็ไม่เป็นใจสักอย่าง
นะคะซิส
' จ๊างมันเต๊อะ '
แปลในภาษากลางก็เหมือนกับคำว่า
' ช่างมันเถอะ '
เราว่าเป็นคำที่ใช้บ่งบอกอาการปลงได้ดีเลยทีเดียว อะ ๆ สำหรับใครที่เจอกับสถานการณ์อิหยังวะต่าง ๆ ในชีวิต
ตะโกนคำนี้ออกมาดัง ๆ แล้ว Let's it go เลยค่ะ จ๊างมันเต๊อะ จ๊างมัน!!
13. สัปปะลี้
สัปปะลี้ คำนี้
ชาวเหนือจะใช้เรียกบุคคลที่เอาแน่เอานอนไม่ได้
แบบว่าวันนี้พูดอีกอย่าง อีกวันนึงกลับพูดอีกอย่างนึง สับสนงงงวยว่า
ตกลงว่าจะเธอเอายังไงกับชั้น ไม่รู้ว่าเธอมาแบบไหน
ประมาณนี้ ซึ่งคนที่เกิดอาการแบบนี้คนเหนือจะเรียกว่า
' คนสัปปะหลี้ '
เน้อเจ้า
14. ซอบมอง ๆ
ซอบมอง ๆ เป็นคำที่
ใช้แสดงอาการเวลาที่คนเหนือสะใจกับสิ่งใดมาก ๆ ก็จะอุทานออกมาว่า หือ ซอบมอง ๆ( ลองเอาไปพูดกันดูนะคะ 555555 )
และถ้าเกิดจะแปลคำนี้ให้ดูเป็นกันเองขึ้นอีกนิดนึง
' ซอบมอง ๆ '
ก็แปลง่าย ๆ ว่า
' สมน้ำหน้า '
นั่นเองค่ะซิสสส
15. กั๊ดอก
มันกั๊ดอก ต้องอกออก
' กั๊ดอก '
เป็นอาการของคนที่อึดอัด อยากจะพูดแต่ดันพูดไม่ออกบอกไม่ถูก
แบบว่าอยู่ภายในใจเป็นหมื่นล้านคำ บอกให้เธอฟังไม่ได้สักคำ
แบบว่ามันกั๊ดอกกั๊ดใจแต่ว่า
นั่นเองค่ะซิส นอกจากนั้นคำว่า
' กั๊ด ' อย่างเดียว ยังสามารถแปลว่า จุก, แน่น, อึดอัด
ได้ด้วย เช่น ' กินข้าวแลงนักล้ำ เป็นดีกั๊ดต๊อง ' ( Tran: กินข้าวเย็นเยอะเกิน อิ่มจนจุกเลย ) แต่ไม่ได้หมายความว่าเจ็บหรือปวดนะคะ ถ้าจะบอกว่าปวดหัว จะพูดว่า ' กั๊ดหัว ' ไม่ได้
☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆
ป๊าดดดดโท๊ะ มันหยั่งมาล้ำแต้ว่าอิหล้าเหย
เราว่าคำเมืองหรือคำภาษาถิ่นในแต่ละภาคมันเป็นอะไรที่มีเสน่ห์มากเลยนะคะซิส เพราะ
นอกจากจะเป็นภาษาที่ช่วยบ่งบอกภูมิภาคของคนในพื้นที่นั้น ๆ ได้แล้ว ยังสามารถบ่งบอกการดำเนินชีวิตของคนในภูมิภาคนั้น ๆ ได้อีกด้วย
นะคะ และสำหรับที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเติบโตไปพัฒนาประเทศไทยต่อไปในอนาคต
เรื่องภาษาที่ถือว่าเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่ดีงามแบบนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ด้วยเหมือนกันเนอะ
อะ ๆ เมาท์มายาวแล้ว
สำหรับวันนี้ก็ต้องขอตัวลาไปก่อนเน้อเจ้า แล้วปะกั๋นใหม่ กับบทความหื้อความรู้แบบนี้เตื้อหน้า ถ้าชอบก่อย่าลืมแชร์เป๋นกำลังใจหื้ออิน้องโตยเน้อ
(。・ω・。)