เพื่อนกินหาง่าย เพื่อน(รักกันจน)ตายหายากเป็นประโยคคลาสสิคที่ยังใช้ได้เสมอไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็ตาม ไม่เชื่อก็ลองสังเกตดูสิจ๊ะ ถ้าเราเอ่ยปากว่าจะเลี้ยงข้าวเลี้ยงขนม แต่ละคนรีบแจ้นเข้าหาเราอย่างไวเชียว แต่ถ้าเราจะถามหาความช่วยเหลือในยามลำบาก ต้องรอแล้วรออีก คัดแล้วคัดอีกกว่าจะได้คนที่เป็นฮีโร่เราเลยแหละ

เพราะเข้าใจความลำบากดี บางคนถึงยอมให้เพื่อนยืมเงิน แต่เคยฉุกคิดบ้างรึเปล่าว่า' คนที่เราให้ยืมไปนั้น เขาจะเห็นแก่ความเป็นเพื่อนเราบ้างมั้ย รีบหาเงินมาให้เราบ้างมั้ยนะ? '

อย่าไว้ใจในความสัมพันธ์

' เพื่อนเราไม่ได้น่ารักกับเราเสมอไป 'ไม่ว่าจะสนิทกันมากแค่ไหน เพื่อไม่ให้เสียทั้งเงิน เสียทั้งเพื่อน สแกนให้ดีก่อนจะตกลงให้ความช่วยเหลือ

#1 สังเกตให้ดีว่าเพื่อนคนนี้เรารู้จัก 'มากแค่ไหน'

รูปภาพ:http://cdn1.listovative.com/wp-content/uploads/2014/11/female-friends-shopping-together.jpg

ก่อนจะถามกลับไปว่า' จะเอาเท่าไหร่? 'เราควรตั้งคำถามไว้ในหัวตัวเองว่า' ถ้าให้ยืมแล้วหายไป เราจะตามเงินได้จากใคร ที่ไหนบ้าง? '

อย่างน้อยเราต้องรู้จักภูมิหลังของคนที่เราจะให้ยืมเงินได้ลึกขนาดที่ว่าเรารู้จักคนในครอบครัวเขา, รู้จักแฟนเขา, รู้จักที่อยู่และรายละเอียดอื่นๆ ที่เราจะติดต่อกลับได้หลายช่องทาง' อย่าให้คนที่เรารู้จักแค่ตัวเขาคนเดียว 'เพราะมันเสี่ยงเกินไป หากเขาเชิดเงิน เราจะตามตัวได้ยาก

#2 ดูฐานะทางการเงิน

รูปภาพ:http://www.ecofriend.com/wp-content/uploads/2013/07/shopping-addictioni-604cs040813.jpg

ถึงแม้จะเป็นอีกข้อที่วัดอะไรไม่ได้มาก แต่ก็ควรคำนึงถึงด้วย เช่น ฐานะทางบ้านเขารวยมาก น่าจะหาเงินมาคืนเราได้ไม่ยาก ฐานะทางบ้านเขายากจนมาก เขาคงลำบากจริงๆ ถึงมาขอความช่วยเหลือเราอ๊ะ! อย่าเพิ่งนะจ๊ะ เก็บเงินไว้ก่อน มาดูข้อต่อไปประกอบการพิจารณาด้วย

#3 สังเกตไลฟ์สไตล์การใช้เงิน

รูปภาพ:http://youqueen.com/wp-content/uploads/2013/10/smiling-female-friends-doing-shopping.jpg

ถ้าเพื่อนกันจริงต้องรู้แม้กระทั่งว่านิสัยการใช้เงินของเขาเป็นยังไง อาจจะสังเกตง่ายๆ จากการกินเที่ยวที่พบเห็นบ่อยๆ นี่แหละ เช่น ติดหรูมั้ย? เรื่องมากรึเปล่า? ขอเงินทางบ้านบ่อยรึเปล่า? เล่นการพนันหรือไม่?ถ้าเขาค่อนข้างใช้เงินเสพสำราญเยอะพอควร อย่าได้ให้ความช่วยเหลือเด็ดขาด เพราะนั้นมันปัญหาของเขา เขาเลือกที่จะสุขสบายจ่ายหนักเอง ก็ต้องรับผิดชอบเอง ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะไปรับผิดชอบแต่ถ้าเป็นเหตุผลอื่น เช่น ยืมมาหมุนเงินธุรกิจ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ต้องสืบทราบหรือมีหลักฐานเอกสารจริงๆ ว่าเขาลำบากจริง ถึงจะให้กู้ยืมได้

#4 ต้องมั่นใจในตัวเองว่า เราก็มีวินัย และยึดถือคำสัญญาเช่นกัน

รูปภาพ:http://youqueen.com/wp-content/uploads/2013/10/smiling-female-friends-doing-shopping.jpg

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ใช่ว่าจะเกิดเพราะคนหนึ่งผิดสัญญาแต่เพียงคนเดียว เราเองก็ต้องย้อนมาดูตัวเองด้วยว่า' เอื้อต่อการให้เขาทำผิดไปเรื่อยๆ รึเปล่า? '

ถ้าเรามีจุดอ่อนต่อไปนี้ อย่าให้ใครยืมเงินเด็ดขาด

- เห็นแก่ความเป็นเพื่อนไว้ก่อน

- สบายๆ ยังไงก็ได้ จ่ายเมื่อไหร่ก็ได้

- เป็นคนที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย

- ใจอ่อน

เพราะคุณไม่สตรองพอ แม้แต่ตัวเองยังไม่มีวินัยการเงินเลย แล้วจะไปทวงเงินคนอื่นได้ยังไง

#5 เงินไม่กี่สิบบาทให้ยืมเถอะ แต่ถ้าเป็นเงินก้อนต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร

รูปภาพ:http://www.bk.ago.go.th/joomla/images/from/Untitled15.jpg

ถ้าเป็นเงินไม่กี่บาทแค่ยืมจ่ายค่าข้าว ค่าขนมเล็กน้อยตอนลืมกระเป๋าตังค์มา ไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ค่ะ ขอแค่สัญญาเป็นสัญญา ใจหนักแน่นพอ กล้าที่จะทวงเงินจนได้ครบตามจำนวนแต่ถ้าเป็นเงินก้อน 2,000 บาทขึ้นไป ควรมีการเซ็นสัญญาจริงจังค่ะ( มีคนกู้ คนที่ขอกู้ พยาน และเอกสารกู้ยืมเงินทั่วไปค่ะ ) ถ้าเราถูกเบี้ยว เราจะได้มีหลักฐานดำเนินการตามกฎหมายได้-อ่านคำแนะนำก่อนใช้ >>>http://web.krisdika.go.th/data/legalform/form_173/form_173.pdfถ้าไม่แน่ใจลองปรึกษาสำนักงานทนายความ, ทนายอาสา หรือผู้ให้คำปรึกษากฎหมายที่อยู่ในคณะนิติศาสตร์ตามมหา'ลัยต่างๆ ค่ะ-แบบฟอร์มสัญญาเงินกู้ ดาวน์โหลดได้ที่ >>>http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/GetContent?path=legalform/form_173/&file=form_173&ext=docหรือลองหาซื้อที่ร้านหนังสือ/เครื่องเขียนทั่วไปค่ะ

#6 อย่าเป็นเจ้าหนี้ที่ทุ่มเทเกินไป

รูปภาพ:http://s2.local.com/images/1/Large/Lend_a_Friend_Money_5432_1275124993.jpg

ให้เท่าที่จะให้ได้โดยที่ตัวเองต้องรู้สึกสบายๆ เซฟตัวเองเสมอทั้งในตอนนี้และในอนาคต อย่าให้แบบแม่บุญทุ่ม หน้าใหญ่ใจโตไว้ก่อน อย่าหยิบยืมคนอื่นมาช่วยเสริมอีกแรง เช่น ไปขอเงินพ่อแม่ ขอเงินแฟน เพื่อให้เพื่อนพอหยิบยืมอย่าเพิ่มความยากให้ปัญหามันยากไปกว่านี้เพราะลำพังแค่เราตัวเป็นเจ้าหนี้คนเดียวก็ไม่รู้ชะตากรรมเลยว่าจะได้คืนเต็มจำนวนรึเปล่า?


#7 แยกประเด็น 'มิตรภาพ' กับ 'เงิน' ได้

รูปภาพ:http://www.hercampus.com/sites/default/files/2015/02/02/money.jpg

เรื่องเงินก็ส่วนเงิน เรื่องเพื่อนก็ส่วนเพื่อน อย่าเห็นแก่ความเป็นเพื่อนจนลืมตัดสินตามความเป็นจริง ถ้าเคลียร์เรื่องเงินได้แล้ว จะคบกันต่อไปหรือไม่ก็สุดแท้แต่จะพิจารณากันเอาเอง

ถ้าเพื่อนเลิกคบเรา เพราะเราทวงเงิน: อย่ารู้สึกผิดที่จะใช้สิทธิเจ้าหนี้ อย่าเสียดายมิตรภาพของคนที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่ตัว

ถ้ายังคบกันได้ต่อไป: จบเรื่องเงินก็คือจบ ไม่ฟื้นฝอยหาตะเข็บกันอีก ต่างคนต่างจำไว้เป็นบทเรียนว่าเรื่องเงินไม่ควรจะล้อเล่นกับใครทั้งนั้น

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++อย่ารักคนอื่น จนลืมรักตัวเองนะคะเจ้าหนี้ทั้งหลาย

สงสารคนอื่นเมตตาคนอื่นเป็นเรื่องดี

แต่นึกถึงตัวเองบ้าง สงสารตัวเองบ้าง

มันไม่ใช่เรื่องแก่ตัวแต่อย่างใดหากไม่พร้อมจะช่วยใครจริงๆ หรือช่วยได้นิดเดียว

เพราะสุดท้ายแล้วใครก่อปัญหา คนนั้นก็ต้องแก้เอง

ใช่ว่าการไปยืมมือบุคคลอื่นมาช่วยมันจะแก้ได้ตรงจุดซะหน่อย ...

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ดีที่สุดแล้วจ้ะ : )

บทความที่เกี่ยวข้อง