ลูกผู้หญิงต้องทำงานบ้าน ?

เมื่อแต่งงาน มีลูกแล้ว ต้องลาออกจากงาน เพื่อมาเลี้ยงลูกเท่านั้น ?

ยังมีอีกหลากหลายชุดความคิดแบบเดียวกันนี้ที่สะท้อนให้เราเห็นจากสังคมเกาหลีอยู่เรื่อยๆ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า‘ชายเป็นใหญ่’ก็ยังคงวนเวียนและฝังลากในสังคมเกาหลี และยังมีให้เห็นกันอยู่จนปัจจุบัน ไม่ว่าจะผ่าน หนัง ซีรีส์ หรือวรรณกรรมต่างๆ ซึ่งไม่นานมานี้ก็ได้มี‘หนังสือนิยายกระแสดี’เรื่องหนึ่งที่ได้ออกมาตีแผ่ เรื่องราวสังคมชายเป็นใหญ่ในเกาหลีแบบเจ็บแสบ และหนังสือเล่มนี้ดังและขายดียิ่งขึ้นเมื่อมีข่าวว่า‘ ไอรีน Red Velvet ’บอกว่าเธอก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน จนมีกระแส#metooจากเหล่าผู้หญิงเกาหลีที่มีมุมมองเดียวนี้กันยกใหญ่ แต่ไม่วายมีกระแสด้านลบจากแฟนคลับชายที่แอนตี้ที่รับไม่ได้ จนถึงขั้นมีการเผารูปไอรีนออกสื่อกันเลยทีเดียว

หนังสือเล่มนี้เลยกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการกระเพื่อมกรอบความคิด' ชายเป็นใหญ่ ' ที่ฝังอยู่ในสังคมเกาหลีโดยทำให้ผู้หญิงเกาหลีกล้าที่จะออกมาพูดและปกป้องสิทธิ์ของตัวเองกันได้มากยิ่งขึ้น

รูปภาพ:

อย่างที่บอกว่าเรื่องนี้เป็นที่พูดถึงกันมาก ซึ่งถ้าใครอยู่ในแวดวงหนังสือ คงจะต้องรู้จัก นิยายแปล เรื่องดังเรื่อง“คิมจียอง เกิดปี 82”นี้เป็นแน่ เพราะเค้าได้ครองอันดับเป็นหนังสือขายดีอันดับต้น ๆ มาหลายนานเดือนทั้งในประเทศเกาหลีและประเทศไทย โดยเนื้อหาภายในนิยายเรื่องนี้ เน้นแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมระหว่าง ชาย และ หญิง ในสังคมเกาหลีผ่านชีวิตของหญิงคนหนึ่งที่มีชื่อว่า‘ คิมจียอง’ที่ต้องถูกกดจากกรอบสังคม‘ชายเป็นใหญ่’ที่ถูกครอบและส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาตลอดชีวิต จนวันนึง ภาวะการกดดันเหล่านี้หล่อหลอมทำให้เธอเปลี่ยนไปในที่สุด

รูปภาพ:

จากการที่ได้อ่านสปอยล์มาจากหลายแหล่ง ก็พอจะเดาทางของเรื่องมาได้บ้างแล้ว แต่เมื่อพอได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาอ่านเข้าจริงๆ กลับทำให้วางหนังสือเล่มนี้แทบไม่ลงเลย อ่านไปก็รู้สึกเจ็บจี๊ดเข้าที่อกตัวเองเหมือนเรา‘เป็นคิมจียอง’อย่างที่หน้าแรกของเล่มได้เขียนไว้ว่า‘เพราะเราทุกคนคือคิมจียอง’ยังไงยังงั้นเลย เนื้อหาในบางช่วงบางตอนก็รู้สึกว่า ทำไมเราเองก็เข้าใจโมเมนต์นี้ได้ถ่องแท้ขนาดนั้นนะ หรือเพราะเราเองก็ถูก กรอบความคิด ชายเป็นใหญ่ฝังไว้โดนที่เราก็ไม่ทันได้รู้สึกตัว และลืมตั้งคำถามกับเรื่องที่เราเจอด้วยซ้ำไป

อย่างเนื้อหาตอนที่ คิมจียอง พูดถึงประเด็นถกเถียงการใช้นามสกุลของลูกพวกเขา ว่า

"คนส่วนใหญ่ใช้นามสกุลตามพ่อนี่เนอะ ถ้าใช้นามสกุลของแม่ คนอื่นคงคิดว่าเด็กมีปัญหาทางบ้านหรือเปล่า แล้วคงมีเรื่องบานปลายให้เราต้องอธิบาย แก้ไข หรือตรวจสอบอีก"

หรือไม่ว่าจะเป็นตอนที่ คิมจียองเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก

“ หลายครั้งช่วงคิมจียองงัวเงียลุกมาล้างหน้ากินข้าวเตรียมไปโรงเรียน ระหว่างเธอเดินไปมาห้องน้ำ ห้องครัว กับห้องนั่งเล่น ก็ทำแม่ตกใจใหญ่เมื่อรอยเปื้อน แม่จะรีบสะกิดสีข้าง คุณคิมจียองให้รู้ตัว ทุกครั้งที่เจอแบบนี้คุณคิมจียองจะรีบเผ่นหนี เข้าห้องน้ำเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าประหนึ่งเธอทำความผิด "

นี่เป็นแค่บางช่วงบางตอนจากเนื้อหากว่า 179 หน้า เท่านั้น จากที่อ่านทั้งเล่มมาแล้ว เราเองยอมรับเลยว่า ถ้าเจอเรื่องเหล่านี้กับตัวเองบ้าง อาจจะปล่อยผ่านและมองมันเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติเพราะตัวหนังสือที่ผู้เขียน ไม่ได้ยัดเยียดความเกินจริง หรือบทสนทนาที่เหนือธรรมชาติเลย แต่กลับเป็นประโยคธรรมดาที่เกิดขึ้นในชีวิตทั่วไปจริงๆจนบางทีที่กำลังอ่านทำให้เราหลงลืมไปเลย ว่า เรากำลังถูกกดให้ต่ำ ด้วยชุดความคิด ชายเป็นใหญ่อยู่ ซึ่งบอกเลยว่า หนังสือเรื่องนี้ เป็นMaster piecesอีกเรื่องที่อยากแนะนำให้ไม่ว่าจะเพศไหน ก็ตามได้ลองอ่านกันรับรองว่า เราอาจจะเห็น คิมจียอง ในตัวเอง โผล่ออกมาในตอนใดตอนหนึ่งก็ได้นะ

แต่สำหรับใครที่ไม่ใช้สายอ่าน หรือไม่ถนัดการอ่านนิยายนัก‘ คิมจียองเกิดปี 82 ’เรื่องนี้ ได้ถูกสร้างเป็น ภาพยนตร์ เรียบร้อยแล้ว โดยมีนักแสดงนำที่เล่นเป็น คิมจียอง รับบทโดย จองยูมี และได้ กงยู มารับบท เป็นสามีของคิมจียอง

ซึ่งตัวนักแสดงหลักทั้งกงยูและจองยูมีถือว่าถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะการมารับบทที่นำในเรื่องที่ยังคงมีทั้งกระแสร้อนเดือดๆ ทั้งทางบวกและทางลบอยู่นั้น อาจจะทำให้กระแสโจมตีไปที่ตัวหลักทั้งสองได้ โดยการที่ กงยูและจองยูมี เลือกรับบทที่เนื้อหาของแทบจะทั้งเรื่องพูดถึงประเด็นชายเป็นใหญ่ในสังคมเกาหลี ก็ถือว่า เป็นการตัดสินใจที่หินอยู่พอสมควรเลย และนี่เองก็อาจจะเป็นการสะท้อนความคิดและตัวตนของพวกเขากับประเด็นนี้ ที่อยากจะส่งผ่านบทไปเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมเกาหลี ด้วยเช่นกัน หากอยากเห็นชีวิตของคิมจียองผ่านแผ่นฟิล์ม ก็ลองไปดูกันได้ กับ 'คิมจียองเกิดปี 82 '

รูปภาพ:

________________________________________________

และแม้‘ คิมจียอง เกิดปี 82 ’จะทำให้คนในสังคมเกาหลีเองได้กลับมาตระหนัก และได้ลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนไม่ว่าจะสร้าง mindset ของผู้ชายใหม่ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเองมีสิทธิ์เสรีภาพได้มากขึ้น แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ก็ยังคงมีกรอบความคิด‘ ชายเป็นใหญ่ ’ก็หลงเหลือให้เห็นอยู่

ถ้าสังคม ชายเป็นใหญ่ ยังมีอยู่ แล้วใครต้องตกเป็น รอง ?

รูปภาพ:

นอกจากมา เปิดหนังสือตีแผ่ ชายเป็นใหญ่ ในสังคมเกาหลีให้ฟังกันแล้ว ประเด็นสำคัญของบทความนี้ที่เราอยากฝากทิ้งท้ายเอาไว้ ก็คือ จริงๆ แล้ว ชายเป็นใหญ่ ไม่ได้มีเพียงแค่ในเกาหลีเท่านั้น แต่รวมไปถึงสังคมไทย และสังคมสากลก็ยังมีให้เห็นอยู่ คำถามก็คือ“ เราจะต้องอยู่และยอมรับกรอบความคิด ชายเป็นใหญ่ นี้ต่อไป หรือ ถึงเวลาที่เราจะต้องกล้าที่จะออกมาทำเพื่อสิทธิของตัวเองได้แล้วสักที ?

แล้วคุณล่ะ คิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร?