รูปภาพ:

MILIAเริ่มกันด้วยผื่นชนิดแรก ภาษาการแพทย์เรียกว่า Milia มิ-เลีย เป็นพหูพจน์ ถ้ามีตุ่มเดี่ยวๆก็เรียก Milium

-ภาษาไทยให้ชื่อผื่นแบบนี้ว่า "สิวข้าวสาร" ทำให้คนสับสนว่ามันเป็นสิว-เป็นซิสต์ใต้ผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นตุ่มรูปโดมสีขาวคล้ายเมล็ดข้าว-สีขาวๆภายในซิสต์คือโปรตีนเคอราติน

สาเหต-เป็นมาแต่กำเนิด พบได้ในทารก ส่วนใหญ่หายเอง-สัมพันธ์กับโรคผิวหนังตุ่มน้ำบางชนิด-บางคนก็ไม่พบสาเหตที่ชัดเจน แต่ถ้ามีใช้สกินแคร์เยอะๆให่สงสัยว่าอาจเกิดจากครีมที่ใช้ได้เช่นกัน

การรักษา-หายเองได้ แต่ใช้เวลาค่อนข้างนาน-เปิดผิวแล้วกดออก สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้เข็ม เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือ CO2 laser

รูปภาพ:

สำหรับผื่นที่คล้ายๆสิวตัวต่อมาคือ....Syringomaอ่านว่า ไซ-ริง-โก-มา (ใครไม่อยากอ่านยาวดูสรุปในรูปเลยจ้า)

จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตรงกัน เนื่องจากในภาษาไทยนิยามโรคผิวหนังไม่ได้มีจำกัดความชัดเจน มีการเรียกสลับกันไปมา อย่างเช่น ผื่นในรูปนี้ ภาษาไทยเรียกว่า "สิวหิน" แต่บางคนก็เรียก Milia หรือสิวข้าวสาร ว่าสิวหิน (ลองเสิชดูใน google ได้) ทำให้เกิดความสับสนกันไปหมด จึงขอเรียกเป็นภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานเพื่อความเข้าใจตรงกัน

สำหรับตัว Syringoma มันคือเนื้องอกไม่อันตรายของต่อมเหงื่อชนิดมีท่อ (eccrine) ซึ่งจุดกำเนิดของต่อมเหงื่อมันอยู่ชั้นหนังแท้หรือภาษาง่ายๆคือรากมันลึกนั่นเอง ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก

ลักษณะผื่นส่วนใหญ่มักพบผื่นแบบนี้เกิดตรงผิวรอบๆตา มีลักษณะเป็นผื่นสีเนื้อนูน เล็กๆจำนวนมาก ผิวด้านบนราบ พบในเพศหญิงมากกว่า

สาเหตส่วนใหญ่ก็บรรพบุรุษให้มา หรือบางคนก็ไม่ทราบสาเหต เกิดขึ้นเอง นึกถึงพวก ไฝ ขี้แมลงวัน บางคนพยายามหาสาเหตแต่ของบางอย่างมันก็ยังไม่มีคำตอบเนอะ อย่าไปเครียด ไม่อันตรายก็ดีแล้วค่ะ ^^

การรักษาสามารถใช้เลเซอร์ CO2 หรือเครื่องจี้ กำจัดส่วนด้านบนของผื่นออกได้ ผิวก็จะเรียบชั่วคราว ที่ไม่สามารถเอาออกทั้งรากได้ก็เพราะผิวใต้ตาบางและรากมันอยู่ลึกมากทำให้เกิดแผลเป็นถาวรได้ จึงไม่ควรทำ และการที่รากมันยังอยู่ สักพักเนื้องอกก็จะโตขึ้นมาใหม่

รูปภาพ:

มาถึงผื่นที่ 3"โรคต่อมไขมันโต หรือ sebaceous hyperplasia"

คือเนื้องอกของต่อมไขมันที่ทำหน้าที่ผลิต ไขมันsebum บนหน้าเรานั่นเอง เซลต่อมไขมันที่เพิ่มจำนวนผิดปกติขึ้นมา ทำให้เห็นเป็นตุ่มนูนสีเหลืองๆและมักมีแอ่งบุ๋มตรงกลาง มีหลายขนาด ถ้าขนาดใหญ่มักดูออกได้ชัดเจนว่าไม่ใช่สิว แต่ถ้าเป็นขนาดเล็กๆ บางทีลูบผิวแล้วสะดุดนึกว่าเป็นสิวได้ แต่ถ้ามองดีๆก็จะเห็นลักษณะจำเพาะข้างต้น บางคนขึ้นที่จมูกก็เห็นเป็นลักษณะผิวจมูกไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่มีสาเหตชัดเจน ส่วนใหญ่ก็เป็นตามกรรมพันธุ์

การรักษาเนื่องจากตัวเนื้องอกอยู่ชั้นหนังแท้ จึงไม่สามารถเอาออกได้หมดเพราะจะเกิดแผลเป็น มีแต่การรักษาให้เรียบชั่วคราว ส่วนใหญ่ใช้ เครื่องจี้ไฟฟ้า Laser CO2 ผ่าตัดส่วนด้านบนออก

รูปภาพ:

คุ้นๆกันไหม ใครเคยเจอเจ้าตุ่มคล้ายๆสิวแบบนี้บ้าง ลูบหน้าแล้วสะดุดตลอดทายาสิวก็ไม่หาย ถ้าเหมือนในรูปละก็ มันคือ "กระเนื้อ" ค่ะ

กระเนื้อ หรือ Seborrheic keratosisเป็นเนื้องอกของผิวหนังชนิดไม่อันตราย ระยะแรกๆมักขึ้นเป็นตุ่มแบน สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งเป็นระยะที่คนมักสับสนเพราะคล้ายสิว แต่พอมันโตขึ้นลักษณะจะชัดเจน คือเป็นก้อนเนื้อผิวมัน ขรุขระสีเข้ม (ประมาณว่าเหมือนมีลูกเกดมาแปะอยู่บนหน้าเรา) ขึ้นได้ทั้งที่ผิวหน้า และตามลำตัว สำหรับสีมีได้หลากหลายมากตั้งแต่สีเนื้อ จนถึงสีดำ แต่สำคัญคือในตุ่มเดียวกันต้องเป็นสีเดียวกันนะคะ ถ้ามีหลายสีปนกันต้องระวังอาจเป็นเนื้องงอกชนิดอันตราย (ไว้เล่าแยกในอีกโพสต์เรื่องการดูว่าเนื้องอกแบบไหนควรสงสัยว่าเป็นมะเร็ง) สำหรับกระเนื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่บางคนก็มีคันได้

สาเหตไม่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นจากกรรมพันธุ์ และแสงแดด

การรักษาหลายคนอ่านโพสต์ก่อนหน้าแล้วท้อใจว่าไม่หายขาด แต่ถ้าเป็นกระเนื้อละก็ ข่าวดีค่ะ สามารถตัดออกได้หมด ไม่ว่าจะด้วยการ ใช้เครื่องจี้ ,Laser Co2, จี้ด้วยความเย็น หรือการผ่าออกก็ได้ เพราะเป็นเนื้องอกที่อยู่แค่ในชั้นหนังกำพร้าของเรา จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็นหลุม

รูปภาพ:

มาถึงผื่นสุดท้ายในซีรี่ส์ "เหมือนสิวแต่ไม่ใช่สิว" เรามาดูผื่นบริเวณต้นแขนต้นขาที่มีความคล้ายสิวมากๆนั่นก็คือ "ขนคุด หรือ Keratosis pilaris" นั่นเองค่ะ

ขนคุดเกิดจากการหนาตัวขึ้นของผิวหนังของรูขุมขน เกิดเป็นตุ่มนูน ถ้าลูบๆผิวไปจะรู้สึกสากๆ ส่วนใหญ่พบบริเวณต้นแขนและต้นขา บางคนรอบๆผื่นแดงทำให้ดูคล้ายสิวอักเสบ

สาเหตยังไม่ทราบชัดเจนนัก มีเป็นสมมติฐานดังนี้1 เนื่องจากมักพบขนคุดในคนที่มีประวัติภูมิแพ้ ผิวแห้ง จึงเชื่อว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของเกราะผิวหนัง (skin barrier)2 มีงานวิจัยพบการขดงอของเส้นขนภายในรูขุมขนของผู้ที่มีขนคุด นำไปสู้สมมติฐานว่าขนคุดเกิดจาก ความผิดปกติของการงอกของเส้นขน (Int J Trichology. 2012 Oct-Dec; 4(4): 255–258)

การรักษา-Exfoliationเพื่อลดการหนาตัวของผิวหนังรอบรูขุมขน ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ urea , lactic acid, salicylic acid หรือ retinoid แต่ส่วนใหญ่สารกลุ่ม exfoliation อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองและแดงมากกว่าเดิมได้ ควรใช้อย่างระมัดระวัง-Moisturizerอย่างที่รู้ว่าโรคนี้มักเกิดในคนผิวแห้ง การทาครีมให้ความชุ่มชื้นผิว ช่วยบรรเทาอาการได้- ครีมที่มีส่วนผสมในการเสริมเกราะป้องกันผิว ช่วยเสริมให้ผิวแข็งแรงป้องกันผิวแห้งขาดน้ำ-IPLมีงานวิจัยว่าการรักษาด้วย IPL ช่วยทำให้ผิวเรียบขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ-Laserเช่น long pulse 1064nm Nd:YAG เลเซอร์กลุ่มนี้เดิมทีใช้ในการกำจัดขนเป็นปกติอยู่แล้ว และมีวิจัยว่าช่วยให้ขนคุดดีขึ้นได้จบแล้วนะคะสำหรับซีรี่ส์นี้ หากเป็นประโยชน์อย่าลืมกดแชร์ หรือติดตามบทความใหม่ๆได้ทางเฟซบุ๊กของเราเลยนะคะ