รูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121014303444370500.jpg

ชิเมะนะวะ ( しめ縄 ) คือเชือกที่ทำจากฟางข้าวและป่าน ซึ่งมีความหมายทางด้านจิตวิญญาณในศาสนาชินโต จึงพบได้ตามศาลเจ้าและบ้านเรือนทั่วญี่ปุ่น บางครั้งมีการนำเชือกชิเมะนะวะไปใช้เป้นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการชำระล้าง และยังใช้ในการทำเครื่องหมายบอกพื้นที่ ระหว่างพื้นที่ของคนทั่วไปและพื้นที่ของเทพเจ้า ซึ่งเชือกชิเมะนะวะที่นักท่องเที่ยวพบได้บ่อยก็คือ เชือกชิเมะนะวะขนาดใหญ่ที่แขวนอยู่ในศาลเจ้า โดยเชือกชิเมะนะวะที่ศาลเจ้าอิซูโมะไทฉะ ( Izumo Taisha ) น่าจะเป็นเชือกที่มีอายุมากที่สุดในญี่ปุ่น และมาน้ำหนักมากถึง 5 ตัน

สำหรับเชือกชิเมะนะวะขนาดย่อมลงมานั้น มีไว้สำหรับไล่วิญญาณร้าย สามารถพบได้ตามบ้านคนและตามสำนักงาน และในทริปจ.ฟุกุชิมะล่าสุด เราได้ออกไปนอกเมือง ในเขตไอซุ และได้เข้าร่วมเวิร์กชอปกับคุณ Kumiko Inomata ผู้เชี่ยวชาญในการทำเชือกชิเมะนะวะ เพื่อเอาไปแขวนไว้หน้าประตูอพาร์ตเมนต์เล็กๆ ในโตเกียวของเรา ในการเตรียมตัวเข้าสู่ปีใหม่!

รูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121015053413425800.jpg

บริเวณเขตไอซุ ในจังหวัดฟุกุชิมะ มีความเกี่ยวข้องกับป่าน โดยมีประวัติศาสตร์ของการปลูกพืชเพื่อใช้ในทางศาสนา แม้ว่าชาวบ้านยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น แต่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ส่วนนี้ได้หายไปจากชาวบ้านส่วนใหญ่ คุณ Kumiko Inomata จึงเข้ามาที่นี่ เพื่อเป็นหัวหน้ากิจกรรมเวิร์กชอปในไอซุ ผู้สร้างผลิตเชือกชิเมะนะวะ รวมถึงงานฝีมืออื่นๆ ที่ใช้ฟางข้าวและป่าน และยังส่งต่อความรู้นี้ให้แก่ผู้อื่น เราได้เริ่มทำเวิร์กชอปจากการทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ และเรียนรู้ว่าทำไมมันถึงเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อวัฒนธรรมไอซุ

รูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121016204428374000.jpg

เรามาเริ่มทำเชือกกันเลยดีกว่า แบ่งฟางข้าวออกเป็นสามส่วน เพื่อที่จะนำมาถักเป็นทรงโกโบจิเมะ ( ごぼう締め ) หรือรากโกโบที่มีรูปทรงเรียวยาวนั่นเอง โดยเริ่มจากบิดฟางสองส่วน การถักฟางที่ดูเหมือนจะง่าย นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ในระหว่างที่ถักนั้นต้องคอยฉีดน้ำเพื่อให้ฟางไม่แห้งและแตกออกจากกัน

รูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121015112488611000.jpgรูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121016210905925700.jpg

อย่าลืมว่าก่อนหน้านี้เราได้บอกไปว่า ต้องแบ่งฟางออกเป็นสามส่วน จากนั้นนำมากาโมะช่อสุดท้ายมาถักเข้าด้วยกัน แล้วม้วนฟางแต่ละเส้นไปทางเดียวกันกับสองเส้นแรก ตลอดเวลาที่ถักเชือกคุณ Inomata บอกว่าให้หาวิธีการถักของตัวเอง เราก็จะได้เชือกที่มีลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องสุดท้ายแล้วเราก็ถักเสร็จเรียบร้อย ออกมาเป็นเชือกชิเมะนะวะ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ซะทีเดียว

รูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121016020088035300.jpg

ขั้นแรกให้วางเชือกลง ออกแรงผลักเชือกด้วยมือ ให้ครบทุกด้าน เพื่อให้เชือกออกมาสวยและเข้าที่ขั้นสุดท้าย ให้นำรวงข้าวแห้งและป่านมาผูกกันเป็นห่วง ใช้ฝ่ามือหมุนเส้นป่านให้เป็นเส้นบางๆ เอามือมาถูกันเหมือนเวลาที่อากาศหนาว เพื่อให้เส้นใยของป่านรวมตัวกัน

รูปภาพ:https://img.japankuru.com/prg_img/img/img2020121015150564114800.jpg

นี่ผลงานของเราเอง! เชือกชิเมะนะวะ ที่ทำจากมาโกโมะและเซมะ พร้อมที่จะคอยป้องกันเราจากวิญญาณชั่วร้ายในปี 2021 ปีนี้เป็นปีที่หนักหน่วงจริงๆ หวังว่าเชือกชิเมะนะวะนี้จะทำให้ทุกคนโชคดีหากสนใจอยากลองทำเชือกชิเมะนะวะด้วยตัวเองสามารถติดต่อไปที่คุณ Kumiko Inomata และจองได้ที่https://yuimaru-asa.info/