
น่ากลัวไหมอะ ❓❗ ชวนมารู้จัก ' ภาวะหมดไฟ ( Burnout Syndrome ) ' อันตรายไหม? แก้ไขได้รึเปล่า?
พูดถึงช่วงนี้เราก็ยังต้องทำงาน ต้องเรียนกันอยู่แม้ว่าโรคระบาดต่าง ๆ จะยังอยู่ แถมภาระงานและการบ้านก็เพิ่มขึ้นด้วย จนหลาย ๆ ครั้งก็ทำให้เรารู้สึก ' หมดไฟ ' ในการทำงาน วันนี้เราเลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักภาวะนี้กัน!
สวัสดีค่าทุกค้นนนนนนนน ♥
เปิดมาแบบสดใส ๆ แม้เนื้อหาบทความวันนี้จะค่อนข้างซีเรียสหน่อย ๆ เพราะวันนี้เราจะมาพูดกันถึง ' ภาวะหมดไฟ ' หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Burnout Syndrome นั่นเองค่า เชื่อเลยว่าหลาย ๆ คนในช่วงนี้ประสบปัญหานี้กันเยอะแน่ ๆ เลย เพราะด้วยการทำงานที่มีทั้ง Work From Home และต้องเข้าบริษัท หรือการเรียน การสอบออนไลน์ต่าง ๆ ยิ่งทำให้ภาวะนี้มันรุนแรงขึ้น ซึ่งหลาย ๆ คนเวลาประสบภาวะนี้ก็มักจะไม่ค่อยรู้ตัวกันสักเท่าไหร่ว่ากำลังเจอปัญหานี้ วันนี้เราก็เลยอยากจะพาทุกคนมารู้จักมันให้มากขึ้น พร้อมไปเช็กกันรึยังเอ่ย? ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยเลยค่า ♥
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
♨ ภาวะหมดไฟคืออะไร ? ♨
ภาวะหมดไฟในการทำงานหรือการเรียน คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน แล้วไม่ได้รับการจัดการหรือแก้ไขให้ดีขึ้นนั่นเอง โดยอาการจะแบ่งออกมาได้ 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1. รู้สึกเหนื่อยล้า หมดพลัง สูญเสียพลังจิตใจ : ก็คือใจไม่เอาอะไรแล้ว ไม่มีแรงจูงใจ มีความช่างมันกับทุกสิ่งสูงมาก ๆ รู้สึกเหมือนไม่มีแรง ไม่มีพลังในการใช้ชีวิต

3. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง : เมื่อเครียดก็ทำให้สมองไม่แล่น ทำงานออกมาได้ไม่ดีพอ แล้วก็อาจจะส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมันค่อย ๆ แย่ลงด้วย
ใครที่เข้าข่าย 3 กลุ่มนี้ให้สันนิษฐานไว้เลยนะคะว่าเราอาจจะเริ่มมีภาวะหมดไฟแล้ว ...
♨ แบบไหนถึงจะเสี่ยงภาวะหมดไฟ ? ♨
2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ : เราอาจจะไม่ค่อยได้มีปากเสียงในการเสนองานหรือขอลำดับงานอะไรเลย เพราะต้องทำตามเพื่อนหรือหัวหน้าสั่งตลอด ทำให้เราไม่ค่อยได้ตัดสินใจ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการหมดไฟได้เหมือนกันนะ

5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ : เมื่อทำอะไรเพื่อน ๆ หรือคนในที่ทำงานไม่เชื่อใจก็ทำให้ส่งผลกับจิตใจเหมือนกันเน้อ
6. ระบบภายในที่ทำงานหรือโรงเรียนมีปัญหา : ทำให้เราเกิดความไม่พอใจในระบบ ส่งผลต่อการทำงานและการเรียนได้ด้วยเช่นกัน
♨ แล้วมันมีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง ? ♨
แน่นอนว่าก่อนจะเข้าสู่การเป็นภาวะหมดไฟ มันจะต้องมีสัญญาณเตือนเพื่อให้เราพอจะรับรู้ได้แล้วว่ามันไม่ปกติ โดยเราจะแบ่งออกเป็น 3 สัญญาณหลัก ๆ ก็คือ ...
• ทางอารมณ์ : ก็จะเศร้า หดหู่ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่พอใจในงานที่ทำ
• ทางความคิด : เริ่มมองโลกในแง่ร้าย ระแวงง่ายขึ้น โทษคนอื่น ไม่มั่นใจในตัวเองและความสามารถตัวเอง หนีปัญหา
• ทางพฤติกรรม : เริ่มมีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่กระตือรือร้น ทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง เริ่มเข้าเรียนหรือทำงานสายบ่อย ๆ การบริหารจัดการเวลาแย่ลง
ใครที่มีอาการเหล่านี้ก็รับรู้ได้เลยนะคะว่าร่างกายของเราเริ่มส่งสัญญาณเตือนแล้ว T - T

♨ แล้วมันส่งผลกระทบกับสุขภาพไหม ? ♨
แน่นอนค่ะว่ามันเป็นภาวะที่เกิดจากความเครียด ยังไงก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายแน่นอน โดยส่งผลได้เป็น 3 ด้านหลัก ๆ ก็คือ ...
• ด้านร่างกาย : เราอาจจะมีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ หรือเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ เนื่องจากต้องโหมงานหรือปั่นงานหนัก ๆ ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง
• ด้านจิตใจ : ด้านนี้เป็นด้านที่เรียกได้ว่าน่าจะหนักที่สุดเลยค่ะ คือบางคนก็สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกว่ามันไม่มีทางจะดีขึ้นเลย แล้วยิ่งปล่อยไวนานวัน ก็จะยิ่งส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ ซึ่งบางคนอาจจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์ด้วย
• ด้านการทำงาน/การเรียน : พอทำงานหรือไปเรียนแล้วไม่มีความสุข มีแต่เรื่องเครียด ๆ ก็จะทำให้เราขาดงานบ่อย ขาดเรียนบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนลดลง จนอาจจะคิดถึงเรื่องการลาออกในที่สุด

♨ วิธีแก้ไขภาวะหมดไฟล่ะ ? ♨
มีปัญหาก็ต้องมีทางแก้สิค้า~ ถ้าเรารู้สึกว่าเฮ้ย เนี่ยฉันเป็นตรงตามที่อ่านมาเป๊ะเลย ฉันต้องแก้ไขอะไรยังไงบ้าง วิธีแก้ไขเบื้องต้นเลยก็คือ ...
1. เราต้องพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา และความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เราลดหย่อนความตึงเครียดลงไปได้ รวมถึงทักษะการสื่อสาร อย่างการพูดต่อรอง ยืนหยัดเพื่อรักษาสิทธิของเราเอาไว้ อะไรพวกนี้ก็ต้องค่อย ๆ พูดหรือหาวิธีพูดด้วยน้าจะได้ไม่มีปัญหากัน
2. ยอมรับความแตกต่างของทุกคน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น

3. หาที่ปรึกษาหรือไปพบแพทย์ : ก็คือหาคนที่รับฟังการระบายความรู้สึกของเรานั่นเองค่ะ ถ้ามีเพื่อน พ่อแม่ พี่น้องที่สนิทก็แนะนำให้ลองไปพูดคุยกับเขาดูนะคะ แต่ถ้ากลัวว่าจะไม่มีใครฟังแนะนำให้พบจิตแพทย์เลยค่ะ อันนี้ช่วยได้โดยตรงเลยด้วย
4. ร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย หรือไปเที่ยว ไปคอนเสิร์ต ออกไปเปิดหูเปิดตาเพื่อผ่อนคลายความเครียดให้ลดลงไปบ้างนั่นเอง
แต่ถ้าเราทำทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำเลยว่าต้องไปพบจิตแพทย์นะคะ ไม่งั้นมันอาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าที่บอกมาด้านบนเน้อ ยังไงก็ขอให้ทุกคนผ่านภาวะนี้ไปได้น้า