1. SistaCafe
  2. รวมลิสต์! เครื่องประดับชุดไทย พร้อมทริค " แมทช์เครื่องประดับไทย " ยังไงให้ปัง ไม่ดูแปลก ?


สวัสดีค่า เพื่อน ๆ สาวซิส



ยกมือไหว้งาม ๆ หนึ่งที แบบว่าบทความนี้อยากรับบทสาวงามอย่างไทยบ้างน่ะสิ

ช่วงนี้เห็นเทรนด์แฟชั่นแบบไทยสมัยเก่ากำลังมาแรง อย่างแฟชั่นผ้าไทยประยุกต์ เอาผ้าไทยมาตัดเย็บใหม่ในสไตล์โมเดิร์นทันสมัย

ดูสวยเก๋เป็นเอกลักษณ์ไปอีกแบบ แต่ว่าแมทช์แฟชั่นผ้าไทยประยุกต์แล้ว



จะขาดเครื่องประดับเพิ่มความปังไปได้ยังไง

สำหรับเครื่องประดับที่เข้ากับชุดไทย ก็มีมากมายหลายชิ้นให้เลือกแมทช์เลย บทความนี้เลย

ขนเอาเครื่องประดับชุดไทย และทริคแมทช์เครื่องประดับไทยเข้ากับชุดแบบคุมโทนเข้ากัน


ไม่ดูเป็นลิเกหลงโรงมาฝากกันด้วย จะเป็นยังไง ลองตามไปดูกันเลย



✦ ย้อนรอยเครื่องประดับชุดไทย ✦


ก่อนตามไปส่องเครื่องประดับไทยโบราณ มาย้อนรอยกันหน่อยดีกว่า ว่าเครื่องประดับไทยมีที่มาที่ไปยังไง จากที่ได้ตามไปหาข้อมูลมาคร่าว ๆ ได้ความว่า

ในอดีตเครื่องประดับทอง ยังถือว่าเป็นศิลปะที่มีความละเอียดประณีต ชาวบ้านทั่วไปจะมองว่าเป็นของมีค่า มีราคาสูง




ที่ส่วนใหญ่จะนิยมในหมู่เจ้านายชั้นสูงเท่านั้น

แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน เริ่มมีการค้าขายทั้งในประเทศและกับต่างประเทศมากขึ้น มุมมองของคนทั่วไปกับเครื่องประดับก็เปลี่ยนไป คนที่พอมีฐานะก็เริ่มซื้อเครื่องประดับมาใส่เพื่อเสริมบารมี

มากขึ้น ซึ่ง

เครื่องประดับชุดไทยมีอยู่หลายชิ้นด้วยกัน ชิ้นไหนเรียกว่ายังไง? ต้องใส่แบบไหน?

ลองตามไปดูกันเลย




รวมลิสต์ ' เครื่องประดับชุดไทย ' ชื่ออะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร?

ลูกไม้ปลายมือ



มาเริ่มกันที่เครื่องประดับ

" ลูกไม้ปลายมือ "

เครื่องประดับชุดไทยที่มักจะใส่เป็นชิ้นแรก ลูกไม้ปลายมือเป็นสร้อยข้อมือแบบหนึ่ง

ตัวสร้อยจะมีเครื่องประดับทองและอัญมณีห้อยอยู่รอบ ๆ เหมือนกับดอกไม้หรือลูกไม้ สร้อยลูกไม้ปลายมือเป็นเครื่องประดับชุดไทยที่ใส่ตรงปลายสุดของข้อมือทั้ง 2 ข้าง

เลยเรียกเครื่องประดับชิ้นนี้ว่าลูกไม้ปลายมือค่า




ปะวะหล่ำ



เครื่องประดับชิ้นต่อมาเรียกว่า

" ปะวะหล่ำ "

เป็นสร้อยข้อมืออีกแบบหนึ่งเครื่องประดับชิ้นนี้

ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีน ที่มีความเชื่อว่าเครื่องประดับชิ้นนี้เป็นเหมือนโคมไฟที่ให้ความสว่างสไว เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้า

รูปทรงของสร้องปะวะหล่ำเลยเป็น

ทรงตุ้มกลม ๆ คล้ายกับโคมไฟ

และปกติจะใส่ปะวะหล่ำเป็นชิ้นที่ 2 ถัดจากสร้อยลูกไม้ปลายมือ




กำไล



เครื่องประดับชิ้นต่อมาที่มักจะใส่ถัดจากปะวะหล่ำ นั่นก็คือ

" กำไล "

เครื่องประดับใส่ตรงข้อมือที่มีชิ้นหนากว่าสร้อย

ส่วนใหญ่จะฉลุลวดลายไทยสวยงามไว้ด้วย กำไลชุดไทยเลยมีอยู่หลากหลายแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกำไลหัวบัว กำไลหัวกระดุม กำไลกระดุม กำไลนพเก้า กำไลดอกพิกุล

และอีกมากมายเลยค่า




รัดแขน



ต่อมาเป็นเครื่องประดับที่เรียกว่า

" รัดแขน "

เป็นกำไลที่ใช้รัดแขน

มีหลากหลายรูปแบบและหลายลวดลาย

ในอดีตเครื่องประดับชิ้นนี้เหมือนเป็นไอเทมบ่งบอกฐานะ ประหนึ่งสร้อยแบรนด์เนมในยุคโบราณ เพราะรัดแขนเป็นเครื่องประดับที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตในการทำค่อนข้างสูง เลยมีราคาแพง

และยังเป็นเครื่องประดับที่ฮอตฮิตกันมาในหมู่หญิงสาวชั้นสูงด้วยค่า




สังวาล



ต่อด้วย

" สังวาล "

เครื่องประดับที่เป็นสายสร้อยยาว

มีหลากหลายรูปแบบทั้งสร้อยเส้นเล็ก เส้นใหญ่ ฉลุดเป็นลวดลายไทย ลายดอกไม้ต่าง ๆ

สาว ๆ ไทยสมัยโบราณจะใช้ประดับด้วยการสะพายคาดบนไหล่ แต่งเข้ากับชุดไทยแบบสไบเฉลียง และสังวาลก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องประดับหรูหราดูแพง

เป็นของมีราคาที่สาวไทยในยุคโบราณใส่เพื่อบ่งบอกฐานะด้วยเหมือนกัน คนสมัยโบราณเชื่อว่าการแต่งน้อยดูไม่สมฐานะ ยิ่งจัดเครื่องประดับเยอะ ๆ ยิ่งปัง ดูเป็นไฮโซท่านหนึ่งค่า




สร้อยคอและทับทรวง



ต่อมาเป็น

" สร้อยคอ "

ในสมัยโบราณสร้อยทองคำ ถือเป็นเครื่องประดับที่เป็นที่นิยมมาก

สร้อยคอในสมัยโบราณมีการออกแบบลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม และมีการนำอัญมณี อย่างเพชร พลอย ทับทิม มาประกอบเพิ่มความวิจิตรสวยงามยิ่งขึ้นไปอีก



ส่วน

" ทับทรวง "

เครื่องประดับคล้ายกับสร้อยคอ มีเครื่องประดับอีกชิ้นหนึ่งที่เรียกว่าตาบ อยู่ติดกับสร้อย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ฉลุลวดลายสวยงาม ประดับด้วยเพชรพลอย ใช้ใส่ประดับอก

ในสมัยก่อนเครื่องประดับชิ้นนี้เป็นเหมือนไอเทมแรร์หายาก เพราะเป็นเครื่องประดับที่มีการออกแบบอย่างประณีต มีแค่ช่างทองหลวงในวังเท่านั้นที่สามารถทำทับทรวงได้




ต่างหู



สำหรับ

" ต่างหู "

ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องประดับฮอตฮิต นิยมใส่กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สาวไทยในยุคอดีตก็มักจะใส่ต่างหู เพื่อเพิ่มความมั่นใจ เสริมบุคลิกภาพ สร้างจุดเด่นให้กับใบหน้าด้วยเหมือนกัน

ซึ่งต่างหูสำหรับชุดไทยก็มีอยู่หลายแบบ อย่างต่างหูปะวะหล่ำ ที่ได้รับอิทธิพลจากจีน จะมีลักษณะเป็นตุ้มคล้ายโคมไฟ ต่างหูพวงเต่าร้างลักษณะเป็นพวงสร้อยห้อยลงมา ต่างหูรูปดอกบทสัตบงกต

เป็นต้นค่า




ปั้นเหน่ง



ส่วนเครื่องประดับที่เรียกว่า

" ปั้นเหน่ง "

คือเครื่องประดับชุดไทยที่ใช้ประดับเอว ใส่ได้ทั้งเวลานุ่งผ้าซิ่นและนุ่งโจงกระเบน ถ้าเป็นยุคสมัยใหม่

น่าจะเทียบเป็นหัวเข็มขัดได้ค่ะ ปั้นเหน่งเป็นเครื่องประดับที่มีหัวเป็นโลหะ ฉลุลวดลายสวยงาม ประดับไปด้วยเพชรพลอยอัญมณีต่าง ๆ ใส่พร้อมกับสายคาดหรือเข็มขัด

ค่า




ปิ่นปักผม



ส่วน

" ปิ่นปักผม "

ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องดับที่สาวไทยในอดีตนิยมหยิบมาเสริมความสวยงาม

ปิ่นปักผมสามารถทำมาจากวัสดุหลายแบบ ทั้งจากเหล็ก เงิน และทอง ส่วนรูปทรงและลวดลายตรงหัวปิ่นมีทั้งแบบเรียบง่าย และแบบที่มีลายแกะสลักสวยงาม ทำจากทองเหลือง เงิน และทองคำ พร้อมกับประดับพลอย

เพิ่มความสวยงามดูแพงด้วยค่า




++ ทริคแมทช์เครื่องประดับเข้ากับชุดไทย ++



1. เลือกชุดไทยก่อนเป็นอันดับแรก



เครื่องประดับสำหรับชุดไทยมีมากมายหลายแบบ ชุดไทยก็มีหลายแบบหลายยุคด้วยเหมือนกัน และ

ทั้งชุดและเครื่องประดับเป็นสิ่งที่มีลวดลายเยอะเหมือนกันทั้งคู่ สำหรับขั้นตอนที่จะทำให้เครื่องประดับแมทช์ชุดมากสุด นั่นก็คือการเลือกแบบชุดไทยที่อยากใส่ให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาเลือกประดับให้เข้ากันทีหลัง

ไม่จำเป็นต้องใส่ครบทั้งหมดในลิสต์เครื่องประดับที่ต้องมี เลือกตามความเหมาะสม เข้ากับชุดไทยของซิสได้เลย



2. เลือกเครื่องประดับคุมโทนกับชุดไทย



สำหรับเครื่องประดับชุดไทย ส่วนใหญ่จะมี 3 โทนสี อย่างสีทอง สีเงิน และสีนากโบราณ หรือในยุคนี้เรียกว่าสี Rose Glod

ซิสที่เลือกชุดไทยในสีโทนร้อน อย่างสีทอง สีแดง สีน้ำตาล หรือสีชมพู ควรเลือกเครื่องประดับในโทนสีเดียวกัน

อย่างเครื่องประดับสีทอง และสีนากโบราณ

ส่วนชุดไทยสีขาว สีฟ้าอมเทา ควรเลือกชุดเครื่องประดับเป็นสีเงิน

จะคุมโทนเข้ากันไม่มีจุดไหนโดดไปจากกันค่า



3. ควรระวังเครื่องประดับที่มีอัญมณีหลากสี



ถ้าไม่อยากแต่งชุดไทยไปทาง เครื่องประดับไปอีกทาง ควรระวังเครื่องประดับแวววาว หรือเครื่องประดับที่มีอัญมณีหลากสีเอาไว้ เพราะอย่างที่บอกไปว่าทั้งเครื่องประดับและชุดไทยมาพร้อมกับลวดลายเยอะอยู่แล้ว

ถ้าไม่แมทช์ให้ดีสามารถแย่งซีนกันได้ง่าย ๆ เลย สำหรับใครที่เลือกเครื่องประดับที่มีหลากสี ควรเช็กเครื่องประดับกับชุดก่อน ลองนำมาทาบกับชุดดูเพื่อให้แน่ใจว่าเข้ากันได้ ไม่มีการแย่งซีน

กันเกิดขึ้น



4. เลือกจำนวนเครื่องประดับให้เหมาะสม



สำหรับชุดไทยที่มีดีเทลเยอะ เลือกใส่เครื่องประดับทั้งหมด อาจจะดูจัดเต็มเกินพอดี

ลองเลือกเครื่องประดับที่เหมาะกับเรามาเติมตรงส่วนที่อยากเพิ่มออร่าโดดเด่น เครื่องประดับเซตหลัก ๆ ที่ควรมีก็คือ ต่างหู สร้อยคอ และเข็มขัด กำไลข้อมือ

อย่างละเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ช่วยเสริมความงามอย่างไทยให้ซิสได้แล้ว


5. เลือกเครื่องประดับน้อย ๆ สำหรับชุดไทยรัชกาลที่ 5



สำหรับซิสที่เลือกแต่งชุดไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีจุดเด่นคือการนุ่งโจงกระเบน และเสื้อแขนหมูแฮมพอง ๆ พร้อมกับลูกไม้ระบายกรุบ เป็นชุดไทยที่มีความจัดเต็มในระดับนึงอยู่แล้ว

เครื่องประดับที่มีดีไซน์เรียบง่ายและชิ้นเล็ก น่าจะเหมาะกับชุดไทยแบบนี้มากที่สุด อย่างสร้อยมุกยาว หรือต่างหูมุกเล็ก ๆ

ก็เสริมออร่าโดดเด่นให้กับชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แล้ว



6. เครื่องประดับที่เหมาะกับชุดไทยสไบ



ชุดไทยสไบส่วนใหญ่จะมี 3 แบบ คือชุดไทยจักรี ชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยศิวาลัย

เครื่องประดับที่ขาดไม่ได้สำหรับชุดไทยแบบสไบ ก็คือเข็มขัด เข็มขัดที่เหมาะก็มีหลากหลายแบบ อย่างเข็มขัดทองเหลือง เข็มขัดเงิน สามารถเลือกแมทช์เข้ากับโทนสีของชุดไทย

ได้เลย






และนี่ก็คือ

เครื่องประดับชุดไทยส่วนหนึ่ง พร้อมกับทริคแมทช์เครื่องประดับไทยเข้ากับชุด

ที่เราเอามาฝากเพื่อน ๆ ในบทความนี้ค่า

หลังจากตามไปส่องเครื่องประดับไทยสวย ๆ เป็นเอกลักษณ์มาแล้วซิสพอจะมีไอเดียแมทช์เครื่องประดับไทยเข้ากับแฟชั่นเก๋ ๆ บ้างแล้วรึยัง

ถ้ายังไม่รู้จะเอาไปแมทช์กับอะไร



ลองหยิบชุดผ้าไทยประยุกต์มาใส่

แมทช์กับเครื่องประดับไทยสวยปัง คงจะเป๊ะเวอร์น่าดู

ส่วนใครยังไม่มีชุดไทยประยุกต์สไตล์ชิค ๆ อินเทรนด์ ลองตามไปส่องแบรนด์ชุดผ้าไทยประยุกต์จากบทความด้านล่างได้เลย

ส่วนวันนี้ขอตัวไปแมทช์ชุดไทยประยุกต์ พร้อมเครื่องประดับไทยเก๋ ๆ บ้างแล้ว สวัสด่ค่าซิส ( ไหว้ย่อ )




เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้

🔮 ดูดวงกับ SistaCafe ผ่าน Line Official !
รูปภาพสำหรับป๊อปอัพลอย:1