1. SistaCafe
  2. นอนน้อยทำให้อ้วน จริงไหม? เมื่อการนอนส่งผลต่อสุขภาพและน้ำหนักได้

" นอนน้อย เกี่ยวอะไรกับ การทำให้อ้วน ? "


ดอลลี่เชื่อว่าเมื่อจั่วหัวเข้าเรื่องมาเพื่อน ๆ หลายคนคงตั้งคำถามนี้ขึ้นมากันอย่างแน่นอน ดอลลี่ก็คนนึงล่ะค่ะที่คิดว่าไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกันเลย แค่นอนน้อยเองนะ ถึงกับส่งผลต่อน้ำหนักเราเลยเหรอ อะ ! แต่มาถึงขนาดเป็นหัวข้อเรื่องนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ล่ะนะว่าต้องเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน กับ

อนน้อยทำให้อ้วนจริงไหม ? เมื่อการนอนส่งผลต่อสุขภาพและน้ำหนัก


ถ้าอยากรู้กันแล้วตามมาไขข้อสงสัยกันเล้ย

Let's Go !


‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿‿

นอนน้อยทำให้อ้วน จริงไหม ?

คำตอบของคำถามนี้ ถ้าหากให้ตอบแบบตรง ๆ แล้วละก็ ดอลลี่ต้องขอตอบว่า


" จริงค่ะซิส! "




เพราะหากเรานอนไม่พอจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเลปตินที่ควบคุมความอิ่ม ทำให้ต่ำลง

ร่างกายจะไม่รู้สึกอิ่มอย่างที่ควรจะเป็นนั่นเอง

ในทางตรงกันข้ามฮอร์โมนเกรลินที่ควบคุมความหิวจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น


ส่งผลให้รับประทานอาหารมากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ง่ายกว่าปกตินั่นเองค่ะ



ผลกระทบของการนอนไม่พอเป็นระยะเวลานาน

1. ประสิทธิภาพในกรทำงาน ความสามารถในการคิด และการตัดสินใจลดลง

2. เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติหตุในชีวิตประจำวัน ทั้งที่ทำงาน และการขับขี่ยานยนต์

3. เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

4. เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

5. เพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะอ้วนและโรคเบาหวาน

6. คุณภาพชีวิต และความกระตือรือร้น ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง

นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักยังไงบ้าง ?

นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักข้อที่ 1. การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อความอยากอาหาร

เมื่อเวลาของการนอนหลับลดลง อันจะ


ส่งผลให้ระดับระดับฮอร์โมนเลปตินลดลง และระดับฮอร์โมนเกรลินเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนเลปตินมีผลทำให้เบื่ออาหาร และฮอร์โมนเกรลินส่วนใหญ่ผลิตจากกระเพาะอาหารทำให้รู้สึกหิว


เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทั้งสองนี้ ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น คนที่นอนหลับพักผ่อนน้อยจึงรู้สึกหิวอาหาร และบริโภคอาหารมากกว่าคนที่นอนหลับเพียงพอนั่นเอง



นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักข้อที่ 2. สมองส่วนที่ควบคุมความอยากอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง

สมองส่วนที่ความคุมความอยากอาหาร คือไฮโปทาลามัส

ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนที่ทำให้อยากอาหารและส่วนที่ทำให้เบื่ออาหารเช่นเดียวกับการส่งผลต่อระดับฮอร์โมน ดังนั้นการนอนหลับที่ผิดปกติก็จะส่งผลให้ สมองส่วนที่ทำให้อยากอาหารและระบบการให้รางวัลถูกกระตุ้น และส่งผลให้คนที่นอนหลับผิดปกติรู้สึกหิวมากขึ้น



นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักข้อที่ 3. ระยะเวลาในการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

เมื่อเรานอนน้อย เราก็จะมีระยะเวลาการตื่นที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีระยะเวลารับประทานอาหารมากขึ้นเช่นเดียวกัน

โดยอาหารที่รับประทานส่วนใหญ่จะเป็นอาหารว่างและเครื่องดื่มซึ่งมีพลังงานสูง นอกจากนี้บางคนที่ต้องนอนดึกอาจจะต้องการทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเพื่อลดความง่วง ซึ่งส่งผลให้ได้รับพลังงานมากขึ้นไปจากเดิม มากเกินกว่าที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน อันจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น



นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักข้อที่ 4. ออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันลดลง

สำหรับคนที่นอนหลับน้อย จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน ซึ่ง

ส่งผลให้กิจกรรมทางกายในแต่ละวันลดลง

รวมถึงการออกกำลังกายด้วยเช่นกัน เมื่อการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายที่ลดลง ส่งผลทำให้การเผาผลาญพลังงานของร่างกายลดลง และพลังงานที่เหลือจากการรับประทานอาหารก็จะไปสะสมเป็นไขมันมากขึ้น คนที่นอนหลับน้อยและนอนหลับไม่มีคุณภาพจึงมีโอกาสที่จะน้ำหนักขึ้น



♡⃛ ─────────────────────⠀♡⃛

หวังว่าเพื่อน ๆ ทุกคนจะคลายข้อสงสัยและได้คำตอบจากคำถามแล้วนะคะ เนื่องจากระยะเวลาการนอนที่น้อยลง ส่งผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบ 100% ดังนั้นสำหรับผู้ที่ทำการควบคุมน้ำหนักอยู่


นอกจากการใส่ใจในเรื่องการบริโภค และการออกกำลังกายแล้วระยะเวลาและคุณภาพการนอนที่เหมาะสมก็มีส่วนช่วยในการป้องกันน้ำหนักที่จะเพิ่มมากขึ้น และทำให้มีสุขภาพที่ดีได้


สำหรับวันนี้ดอลลี่ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่กับสาระดีๆ แบบนี้ได้อีกที่

https://sistacafe.com/

ในครั้งหน้านะค้า



บ๊าย บาย~




บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้

🔮 ดูดวงกับ SistaCafe ผ่าน Line Official !
รูปภาพสำหรับป๊อปอัพลอย:1