สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว
https://sistacafe.com/
ทุกคนค่ะ ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ แน่นอนว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันต่าง ๆ ภายในบ้านอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์
ไฟดับ
นั่นเอง
ฝนตกบ่อย สภาพอากาศแปรปรวน ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ก็อาจจะส่งผลต่อการเดินทางของกระแสไฟฟ้าได้ง่ายกว่าปกติ
ทำให้ไฟอาจตก หรือดับไปเลยอยู่บ่อยครั้ง ถ้าแปบเดียวติดก็คงจะไม่มีปัญหาน่ากังวลใจอะไร แต่ถ้าดับนาน แถมยังดับในเวลากลางคืนด้วยแล้วอีก ถือว่าค่อนข้างอันตรายมาก ๆ เลยล่ะค่ะ ดังนั้นวันนี้ดอลลี่เลยจะมาบอก
วิธีรับมือไฟดับ
ควรแจ้งใคร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ
• • • • • • • • • • • • • •
เซฟตี้เฟิร์ส! 7 วิธีรับมือไฟดับ ที่ควรรู้
วิธีรับมือไฟดับ ที่ 1. หาสาเหตุที่ไฟดับ

แน่นอนว่าเมื่อไฟดับ สิ่งที่ควรจะทำอย่างแรกก็คือ
การหาต้นตอและสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟดับ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะตามมา
เช่น หากเป็นกรณีที่ไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีไฟฟ้ารั่วภายในบ้าน จะได้รู้ว่ามีอันตรายอยู่ตรงจุดไหนภายในบ้าน เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตตามมานั่นเอง เมื่อเรารับรู้ถึงสาเหตุเรียบร้อยแล้วก็จะทำให้เราทราบถึงวิธีการแก้ไขต่อไป
วิธีรับมือไฟดับที่ 2. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ทั้งหมด

ในขณะที่ไฟดับเราอาจจะทราบว่าไฟฟ้าใช้งานไม่ได้ แต่ทราบหรือไม่คะว่าในขณะที่ไฟดับนั้น ก็ยังมีกระแสไฟฟ้าที่หลงเหลืออยู่ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน และยิ่งหากเรายังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ไฟดับก็ยิ่งอันตรายเข้าไปอีก ซึ่งกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ก็มักจะมีอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เรากำลังใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น แอร์และอื่น ๆ
ดังนั้นควรที่จะทำการถอดปลั๊กและปิดสวิสต์ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ทั้งหมดเพื่อเป็นการป้องกัน และเพิ่มความปลอดภัยนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วยังเป็นการถนอมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ป้องกันไฟฟ้าช็อตที่เกิดจากไฟกระชากเมื่อไฟกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
วิธีรับมือไฟดับที่ 3. หลีกเลี่ยงการเปิดตู้เย็นขณะไฟดับ

อ๊ะ อ๊ะ ! ถ้าไม่อยากให้อาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารสดที่เราแช่อยู่ในตู้เย็นเสียจนหมด
ไม่ควรเปิดตู้เย็นในขณะที่ไฟดับอย่างเด็ดขาดเลยนะคะซิส
ควรที่จะปิดตู้เย็นให้สนิทเพื่อเป็นการรักษาความเย็นที่อยู่ภายในตู้ให้มากและนานที่สุด
เพราะไม่มีทางรู้เลยว่าไฟฟ้าจะกลับมาใช้งานปกติเมื่อไหร่ ถ้าเกิดว่าอาหารต่าง ๆ ที่เราแช่อยู่ในตู้เย็นเกิดเน่าเสียขึ้นมา งานนี้คงมีน้ำตาแตกกันบ้างล่ะนะ T^T
วิธีรับมือไฟดับที่ 4. เปิดประตูและหน้าต่างภายในบ้าน

การเปิดประตูและหน้าต่างภายในบ้าน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับ
เ
พื่อเป็นการระบายอากาศภายในบ้าน ให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ง่ายขึ้น
เพราะในขณะที่ไฟดับ ทำให้เราไม่สามารถใช้งานพัดลม หรือแอร์ที่เป็นตัวระบายความร้อนได้ และหากเราไม่เปิดประตู หรือหน้าต่างช่วยก็อาจจะทำให้ภายในบ้านของเราอับและร้อนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าไฟดับคงไม่มีใครอยากร้อนอบอ้าวอยู่ในบ้านใช่มั้ยคะซิส
วิธีรับมือไฟดับที่ 5. เตรียมอุปกรณ์สำรองไฟ

แน่นอนว่า
การเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้พร้อมต่อการรับมือกับเหตุการณ์ไฟดับย่อมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าไฟจะดับนานแค่ไหน ดังนั้นควรมีอุปกรณ์สำรองไฟต่าง ๆ ที่ควรจะเตรียม เช่น
เทียนไข ไฟฉาย
ที่ให้ความสว่างชั่วคราว หรืออาจจะทำการ
ติดตั้งไฟสำรองฉุกเฉิน
ที่ไฟจะติดขึ้นอัตโนมัติเมื่อไฟดับ หรือหากมีงบขึ้นมาหน่อยก็อาจจะซื้อ
เครื่องสำรองไฟ
มาใช้ ช่วยในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ก็จะเป็น
พาวเวอร์แบงก์
สำหรับใช้ชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพราะหากโทรศัพท์แบตหมดในขณะที่ไฟดับ อาจจะทำให้ตกอกตกใจหนักกว่าเดิมไปอีกได้นะคะซิส !
วิธีรับมือไฟดับที่ 6. กักตุนน้ำไว้ใช้

น้ำกับไฟมักจะเป็นของคู่กัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับ อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่อาจไม่คาดคิดก็อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ นั่นก็คือ
น้ำไม่ไหล
นั่นเอง เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้ น้ำประปาก็อาจจะไม่ไหลเช่นกัน
ดังนั้นแล้วให้เพื่อน ๆ ทำการกักตุนน้ำใส่ไว้ตามภาชนะ
เช่น บรรจุใส่ขวด ถัง เพื่อที่ว่าเมื่อไฟดับและน้ำไม่ไหล จะได้มีน้ำใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินนะ
วิธีรับมือไฟดับที่ 7. โทรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

เมื่อไฟดับคนที่เราควรโทรไปบอกคนแรกก็คือ
เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า
นะคะซิส ! ไม่ใช่แฟนนะ >< เพื่อเป็นการส่งไม้ต่อให้กับผู้ที่จะมาแก้ปัญหาไฟดับให้กับเราได้ โดยวิธีการติดต่อก็ง่ายมาก เพียงโทรไปตามเบอร์ ดังนี้
- เบอร์ 1130 แจ้งไปที่การไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ)
- เบอร์ 1129 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (จังหวัดอื่น ๆ )
โดยเมื่อโทรไปแล้วให้เราทำการแจ้งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า 12 หลัก (จากบิลค่าไฟ)
2. ชื่อ-นามสกุล ของผู้แจ้งเหตุ
3. หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
4. วัน และเวลาที่ไฟฟ้าดับ
5. ลักษณะของไฟฟ้าดับ เช่น ไฟฟ้าดับบริเวณกว้าง (ดับหลายหลัง) หรือไฟฟ้าดับที่บ้านหลังเดียว
6. สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ไฟฟ้าดับ
ข้อควรระวัง เมื่อเกิดไฟดับ
เมื่อไฟดับอาจจะก่อให้เกิดอันตรายและความเสี่ยงต่อเราได้ และอาจจะสร้างความเสียหายให้มากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นทั้งต่อตัวเราและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
ดังนั้นแล้วสิ่งที่ควรระวังเมื่อเกิดไฟดับก็คือ เรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง และทรัพย์สินเป็นอันดับสอง
ให้เพื่อน ๆ ตั้งสติและค่อย ๆ นึกถึงวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับตามที่ดอลลี่ได้กล่าวไปข้างต้น อย่าตื่นตระหนกมากจนเกินไป เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อตัวเรา พยายามมีสตินะคะซิส !
• • • • • • • • • • • • • •
จบไปแล้วกับ
วิธีรับมือเมื่อไฟดับ
พร้อมข้อควรระวัง
ที่ดอลลี่นำมาฝาก ขอบอกว่าเป็นความรู้และสาระที่สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างแน่นอน ดังนั้นรู้ไว้ไม่เสียหายนะคะ เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้กับทุกคน การรู้วิธีรับมือถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเราได้ สำหรับวันนี้ดอลลี่ก็ต้องขอตัวลาเพื่อน ๆ ไปก่อน แล้วพบกันใหม่กับสาระดีดีที่
https://sistacafe.com/
ได้อีกในครั้งหน้านะคะ
บ๊าย บาย~
Cr. จะทำอย่างไร…เมื่อบ้านไฟดับ มารู้วิธีรับมือที่ถูกต้องกันเถอะ
https://safesavethai.com/articles/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A/
Cr. รู้ไว้ดีกว่า ต้องทำอย่างไร เมื่อบ้านไฟดับ
https://shorturl.asia/WHSDU
Cr. ไฟดับทำไง เกิดจากอะไร มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างไรในปัจจุบัน
https://personet.co.th/what-do-the-blackouts-do/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
https://sistacafe.com/summaries/92658
https://sistacafe.com/summaries/95259
https://sistacafe.com/summaries/93359