สุขภาพเท้า อวัยวะที่ถูกใช้งานอย่างหนักในแต่ละวันนอกจากมือแล้วก็ยังมี ‘เท้า’ เพราะเท้านั้นมีหน้าที่ที่รองรับทั้งน้ำหนักตัวและใช้ในการเดินหรือวิ่งเพื่อเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งบางครั้งก็เป็นอวัยวะที่เรียกได้ว่าถูกลืมสำหรับการดูแลหรือบำรุงต่างๆ เพราะเท้านั้นเรามักจะไม่ให้ความสำคัญเนื่องจากสามารถหาสิ่งที่ปกปิดได้และไม่เผยให้คนอื่นเห็นบ่อย และเท้ายังอยู่ในจุดที่ต่ำกว่าสายตาจึงไม่ได้อยู่ในสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆ นั่นเอง แต่เท้านั้นกลับเป็นอวัยวะที่เราควรมั่นที่จะดูแลหรือใส่ใจสุดๆ เพราะด้วยเป็นสิ่งที่ต้องใช้งานเป็นประจำผลกระทบก็สามารถสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากวันไหนที่เราใช้เท้าแบบเต็มที่อย่างการเดินหรือยืนนานๆ จะปวดเท้าและขามากๆ นั่นเป็นเพราะปัจจัยหลายๆ อย่างที่ส่งผลกระทบดังนั้นการที่เราหันมาให้ความสำคัญสำหรับสุขภาพเท้าก็สามารถช่วยลดปัญหาของการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้ ไปทำความเข้าใจสำหรับความสำคัญของสุขภาพเท้าและพร้อมวิธีการดูแลเท้ากัน


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


สุขภาพเท้า สำคัญอย่างไร?

1. เป็นอวัยวะที่สำคัญ

เท้าเป็นอวัยวะเล็กๆ แต่มีกระดูกมากที่สุดในร่างกายคือ 28 ชิ้น ซึ่งคิดเป็นหนึ่งต่อสี่ของจำนวนกระดูกในร่างกายของเราเลยกันเลย ซึ่งนั่นทำให้ความแข็งแรงของเท้ากับข้อเท้าของเราดีมากๆ เพื่อที่จะสามารถรับน้ำหนักของมวลร่างกายได้หลายเท่าของน้ำหนักตัวเราเลยทีเดียว


2. ทำให้ร่างกายเป็นสุข

เท้าที่ซึ่งทำหน้าที่ในการพยุงกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลัง ที่จะทำให้ร่างกายมีความสมดุล ซึ่งถ้าเท้าเกิดผิดปกติหรือรูปร่างของเท้าเปลี่ยนไปอวัยวะอื่นๆ ก็จะโดนส่งผลกระทบไปด้วยและผิดปกตินั่นเอง อย่างเช่น ปวดหรือชาตามจุดต่างๆ เลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนไม่ดี กระดูกเชิงการผิดรูปร่าง ปวดหมอนรองกระดูก กระดูกสันหลังและเส้นประสาทอักเสบ และบางคนปวดหรือมึนศีรษะอีกด้วย


3. เท้าช่วยบอกอาการ

เท้ารองรับการเคลื่อนไหวของแรงดึงกล้ามเนื้อและเอ็นทั่วร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายไม่ปกติแรงดึงนี้จะลดลงและส่งผลไปถึงกระดูกเท้าทั้ง 28 ชิ้นด้วย นั่นคือรูปร่างเท้าก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามด้วยเช่นกัน เช่น ปลายเท้าบิดออก เท้าแบนลง หรือส้นเท้าเปลี่ยนรูปร่าง เป็นต้น


4. กระตุ้นฝ่าเท้าบรรเทาโรค

เท้าถือเป็นคลื่นที่สามารถสะท้อนไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย ผ่านการกดหรือนวดฝ่าเท้า หลังเท้า และข้อเท้า ซึ่งสามารถคล้ายเป็นการส่งคลื่นพลังงานรีโมทไปสู่อวัยวะต่างๆ ตามร่างกายของเราเพื่อทำการรักษาอาการที่มีความผิดปกติ อย่างเช่น การกดปลายฝ่าเท้าเพื่อที่จะสะท้อนไปศีรษะ หรือการกดกลางฝ่าเท้าเพื่อสะท้อนไปส่วนทรวงอกกับท้อง เป็นต้น


5. เท้าเป็นส่วนที่อ่อนไหว

เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับสิ่งสกปรกทุกวัน บางทีเราก็ไม่ได้ใส่รองเท้าจึงทำให้สิ่งสกปรกพวกนี้สามารถที่จะสัมผัสกับเท้าโดยตรงได้ ดังนั้นเราจึงควรระวังไม่ให้เกิดบาดแผลขึ้น หรือถ้าเป็นแผลก็ต้องปิดผ้าพันแผลอย่างดี ถ้าไม่ทำแบบนั้นเชื้อโรคก็จะสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราโดยผ่าน แผลพวกนั้น


6. ฐานที่แข็งแรง

สำหรับการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้ ‘เท้า’ เป็นหลัก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่สามารถเป็น ‘ฐานล่างของร่างกาย’ ที่สร้างความมั่นคงทุกย่างก้าวในการยืน เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ไม่ให้เกิดความพลาดพลั้งขึ้น ถ้าเท้ามีความสมบูรณ์หรือแข็งแรงก็ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้เท้าได้ และก็จะเกิดการประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถ้าเปรียบเป็นการแข่งขันก็จะได้ชัยชนะหรือแพ้ได้


7. ปัญหาที่ส่งผลอันตราย

อาการที่ผิดปกติของเท้ามีความสำคัญมากๆ เพราะสามารถทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังขึ้นได้ เช่น ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายหรือมากกว่าคนที่มีเท้าปกติ เพราะอาการเหล่านี้เกิดจากคนที่มีความพิการของเท้านั่นเอง ซึ่งต้องพึ่งการสังเกตอาการของตัวเองอยู่บ่อยๆ เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษา


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


ปัญหาสุขภาพเท้าที่พบบ่อย


  • เดินไม่สบาย ปวดฝ่าเท้า และปวดส้นเท้า
  • รองเท้ากัด และเกิดแผลที่เท้า
  • ปวด และมีอาการบวมแดงที่เท้าหลังเล่นกีฬา
  • เล็บขบ
  • หนังด้านแข็ง ตาปลา
  • เท้าผิดรูป เช่น เท้าโก่ง เท้าแบน
  • แผลเบาหวาน
  • รู้สึกใช้งานไม่สบายกับรองเท้าคู่ประจำ

บัญญัติ 10 ประการในการดูแลสุขภาพเท้า


  1. ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด และเลือกใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้งทุกซอกทุกมุมโดยเฉพาะง่ามเท้า
  2. สำรวจเท้าทุกวันว่ามีบาดแผลหรือไม่ โดยตรวจหารอยแดง รอยถลอก ตุ่มน้ำ เล็บขบ เพื่อขจัดแหล่งเชื้อโรค
  3. ทาครีมหรือโลชั่นให้ทั่วทั้งหน้าเท้า และฝ่าเท้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นโดยหลีกเลี่ยงบริเวณซอกนิ้วเท้า
  4. สวมถุงเท้าที่เป็นผ้าฝ้ายระบายความร้อนได้ดี เพื่อลดความอับชื้น
  5. เลือกใส่รองเท้าหุ้มส้นให้พอดีกับเท้า ไม่ควรที่จะใส่หลวมหรือคับเกินไปเพื่อป้องกันการเป็นตาปลา
  6. หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำอุ่น หรือน้ำร้อนโดยเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เท้าเกิดการพุพองได้
  7. การตัดเล็บควรตัดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยตัดในแนวตรงและในบริเวณมุมเล็บ เพื่อป้องกันการเกิดเล็บขบหรือให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตัดให้
  8. หมั่นนวดบริเวณเท้าอยู่เสมอ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และควรบริหารเท้าท่าละ 5-10 ครั้ง วันละ 1-2 ครั้ง จะได้เพิ่มฐานของเท้าให้แข็งแรงมากขึ้น
  9. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพื่อป้องกันเส้นเลือดตีบ
  10. หากพบว่ามีแผลที่เท้าควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาทันทีไม่ควรนิ่งนอนใจ

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿


การดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับ ‘ สุขภาพเท้า ’ ที่ถือว่าเป็นอวัยวะที่ผ่านการใช้งานในทุกๆ วัน เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะนอกจากหน้าที่ที่สำคัญแล้ว เท้ายังเป็น ตัวที่บ่งชี้หรือบ่งบอกถึงสุขภาพของเราได้ อย่างเช่นการกระจายน้ำหนักของเท้าในแต่ละจุด หากมีการกระจายน้ำหนักไม่สมดุล ก็สามารถกลายมาเป็นสาเหตุของปัญหาเท้าสำหรับการเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้หากเกิดอันตรายกับเท้าแล้วนั้นจะเป็นการหมายถึงความไม่สุขสบายที่จะเกิดขึ้น และอาจจะเกิดความพิการขึ้นได้เช่นกัน


บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด




เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้