Guten Tag! สาวๆSistaCafeที่อยากเก่ง 'ภาษาเยอรมัน 'ทุกคนในช่วงสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่ค่อยดี หลายคนก็อยากไปเสาะหาอนาคตและชีวิตที่ดีกว่าในต่างประเทศ จึงเกิดกระแสทำกรุ๊ป ' ย้ายประเทศ ' ในโซเชียลขึ้น เพื่อรีวิว บอกลู่ทางและข้อดี ข้อเสียหากคิดจะย้ายถิ่นฐานจริงจัง ซึ่งทุกคนก็คงรู้ดีว่า ไม่มีที่ไหนบนโลกนี้เป็นสวรรค์วิมาน 100%ทุกประเทศมีสิ่งที่ต้องแลก อยู่ที่ว่าเรารับได้กับข้อเสียของที่ไหนมากกว่า อีกทั้งยังต้องพัฒนาตัวเองให้มากที่สุด เพื่อจะได้ไปแล้วไม่บ่นว่า ' อยู่ยาก ' จนสุดท้ายอยู่ไม่ไหวต้องกลับไทยค่ะ #จะหนีก็ต้องหนีให้รอดเด้อใครที่กำลังสนใจอยากปักหมุดโลเคชั่น ไปลงที่ประเทศเยอรมัน ประเทศขวัญใจของหลายๆ คน ทั้งเรื่องสถานที่สวยงาม อากาศบริสุทธิ์ กฎบ้านเมืองใช้ได้จริง ( อุ๊ปส์ ) และการศึกษาติดอันดับท็อปของโลกนั้น อย่างหนึ่งที่ควรจะต้องเตรียมตัวก่อนไปแน่ๆ คือฝึก ' ภาษาเยอรมัน ' ให้คล่องแคล่วค่ะแม้ตอนเรียนอาจยังไม่ได้ใช้มากนัก แต่ถ้าคิดจะทำงานที่นู่นยาวๆ ต้องติดต่อเอกสารราชการทุกอย่างเอง ยังไงเธอก็หนีภาษาเขาไม่พ้นหรอก รู้ไว้ยังไงก็ได้เปรียบกว่า! ในบทความนี้เราจึงมาแนะนำบทความ' 7 เคล็ดลับเรียนภาษาเยอรมัน ให้เก่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานได้จริง 'กันค่ะ

ต้องเรียนภาษาเยอรมันนานแค่ไหน ถึงเรียกว่า 'Fluent'

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/int734611.jpg

มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างหนักมากว่า ' ภาษาเยอรมันยากมาก!! ' ซึ่งก็ไม่ปฏิเสธค่ะว่ามันยากจริงๆ ( เอ้า! ) แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้ารู้ทริคในการเรียน มีวินัยและตั้งใจฝึกฝน ได้ใช้บ่อยๆหลายคนที่กำลังไฟแรงจึงเกิดคำถามว่า ถ้าทุ่มเทกับภาษานี้อย่างเต็มที่จริงๆ ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะคล่อง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า fluent ล่ะคะพี่สาววว??

คำถามนี้อาจจะต้องตอบยาวสักนิด ข้อแรก ความคล่องของภาษา ขึ้นอยู่กับว่าเธอมีเกณฑ์ของคำว่า ' fluent ' ยังไง?

เพราะแต่ละคนก็นิยามคำว่าภาษาเก่งต่างกัน บางคนสเปกสูง ต้องเข้าใจทุกอย่างในภาษาเยอรมันเกิน 95% ศัพท์เฉพาะทางต้องรู้ ศัพท์วิชาการต้องได้, บางคนแค่อ่านหนังสือพิมพ์หรือนิยายได้ก็จบ หรือบางคนแค่รู้พอจะเอาตัวรอด ทำงานในเยอรมันได้ ก็ถือว่าคล่องแล้ว ถ้ารู้เป้าหมายว่าอยากเก่งถึงระดับไหน ก็จะจัดเวลาและวิธีเรียนได้ง่ายขึ้นค่ะ

ข้อสอง ระยะเวลากว่าจะเก่งภาษาเยอรมัน ขึ้นอยู่กับว่าเธอจะ ' ขายวิญญาณ ' ให้ภาษานี้ได้มากแค่ไหน ให้เวลากับมันได้ต่อวันกี่ชั่วโมง เช่น ถ้าเธอท่องหนังสือวันละ 5-6 ชั่วโมง แม้จะเรียนมาแค่ไม่กี่เดือน เธอก็ย่อมไปไวกว่าคนที่เรียนมาหลายปีแล้ว แต่เรียนแค่สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงแน่นอนยิ่งฝึกเยอะ ฝึกหนักก็ยิ่งคุ้นชินกับภาษา พอคุ้นชินก็คล่องมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจะฝึกตอนอายุเท่าไหร่ไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องมีเวลาให้มันมากพอเท่านั้นเองค่ะ

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/FcCV36235.jpg

หากอ้างอิงจากเกณฑ์ของสถาบันเกอเธ่ ( สถาบันสอนภาษาเยอรมันชื่อดัง ) ได้บอกจำนวนชั่วโมงที่ต้องการในแต่ละระดับภาษาดังนี้ค่ะA1 60-150 ชั่วโมง( เบสิคมากๆ ไว้เอาชีวิตรอดตอนไปเที่ยวอย่างเดียว )A2 150-260 ชั่วโมง( ระดับพื้นฐาน เริ่มรู้คำศัพท์ สื่อสารง่ายๆ ได้บ้าง )B1 260-490 ชั่วโมง( สื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน )

B2  490–600 ชั่วโมง( ระดับกลางค่อนไปทางสูง พูดได้หลายหัวข้อมากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องทั่วๆ ไป )

C1 600–750 ชั่วโมง( ระดับสูง รู้ศัพท์เฉพาะ วิชาการ ใช้ชีวิต ทำงานได้แทบจะไม่มีปัญหาแล้ว )

C2 750 ชั่วโมงขึ้นไป( ใกล้เคียงเจ้าของภาษา อันนี้ก็ไม่ต้องอธิบายมากเนอะ )*หากพูดถึงความคล่องของการใช้ภาษา ตามเกณฑ์ทั่วๆ ไปก็ควรสอบวัดระดับได้ขั้นต่ำ C1 ถึงจะเรียกว่า fluent แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสอบได้คะแนนสูงแล้วจะพูดคล่อง อ่านออกทุกเรื่องอยู่ดี และจำนวนชั่วโมงเหล่านี้ก็เป็นมาตรฐานกลาง บางคนใช้เวลาเร็วกว่านี้ บางคนช้ากว่านี้ตอนนี้เธอน่าจะพอกะได้แล้วว่า จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการสอบวัดระดับ แต่ในบทความนี้จะแชร์ทริคที่ทำให้เรียนได้ไวขึ้น เป็นได้เร็วขึ้น! จะต้องทำยังไงบ้างเรามาดูกันค่า

1. ลิสต์คำที่ใช้บ่อย (High Frequency Lists) เพื่อเรียนคำศัพท์เยอรมันที่ใช้บ่อยๆ

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/WYXl34610.jpg

ในช่วงแรกๆ ที่มาคลุกคลีกับภาษาเยอรมัน การเรียนและฝึก ' คำศัพท์ ' เป็นก้าวแรกที่สำคัญมาก ไม่มีทางลัด ถ้าอยากเก่งก็ต้องจำศัพท์ให้ได้มากที่สุด แค่นั้นเลย! แต่ไม่ใช่ทุกคำที่สำคัญ โดยเฉพาะถ้าอยากเอาแค่พอสื่อสารได้ ก็ควรโฟกัสไปที่ ' คำที่ใช้บ่อย ' ของการสนทนาในชีวิตประจำวันก่อน

โดยคำภาษาเยอรมันที่ใช้บ่อย 1,000 คำ จะประกอบด้วยภาษาเขียนถึง 80% ดังนั้นถ้าเธอได้หนึ่งพันคำนี้ เธอก็เหมือนเข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนไปด้วยในเวลาเดียวกัน ถือว่าเป็นวิธีเข้าถึงภาษาระดับพื้นฐานในชีวิตจริงที่ง่ายที่สุดแล้วล่ะค่ะ

ไม่ใช่แค่เยอรมัน แต่คำศัพท์ที่ใช้บ่อยของทุกๆ ภาษา ก็สามารถเซิร์ชหาได้ตามอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ Wiktionary อีกทางหนึ่งที่อยากแนะนำคือ เรียนรู้จากคลิปที่เกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน, คลิปรีวิวของ, คลิปฮาวทูต่างๆ ในยูทูป อินสตาแกรม ติ๊กต่อกเพื่อให้คุ้นชินกับสำเนียง ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตจริง และความเร็วที่คนจริงๆ พูด จะได้ไม่งงและปรับตัวได้เร็วเมื่อไปอยู่จริง**อีกวิธีหนึ่งที่ recommend มากๆ คือใช้ Flash Card หรือบัตรจำคำศัพท์เขียนศัพท์ที่อยากท่องให้ขึ้นใจ เย็บเป็นเล่มเล็กๆ พกติดตัว นึกออกเมื่อไหร่ก็หยิบขึ้นมาท่อง คำไหนท่องได้แล้วก็แยกไว้อีกเล่ม เหลือแค่คำที่ยังจำไม่ได้ การแยกเล่มคำที่จำได้-จำไม่ได้ จะทำให้เรารู้ด้วยว่าจำไปได้จริงๆ กี่คำแล้วค่ะ

2. รู้จักกริยาพิเศษ (Modal Verbs) พูดมากขึ้น แต่ผันกริยาน้อยลง!

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/q3W134609.jpg

ต้องยอมรับกันตรงๆ ว่า ความยากอันดับต้นๆ ของภาษาเยอรมันคือการผันคำนาม สรรพนาม คุณศัพท์ ( declensions ) และการผันคำกริยา ( conjugations ) ผันมันหมดทุกอย่างเลยว่างั้นเถอะ!

กริยาจะเปลี่ยนรูปได้ตลอดตามกรณีและกาลเวลา บุรุษที่ 1 2 3 ( I, You, We, They ) และพจน์บ่งบอกจำนวน ( A, An, The ) ซับซ้อนวุ่นวายเหมือนเล่นเขาวงกตกันเลยทีเดียวค่ะซิสขาาา!

จะให้นั่งท่องจำทุกรูปที่ผันแล้วของกริยาทุกแบบ 1 2 3 4 ก็ดูจะสาหัสเกินไป โดยเฉพาะกริยารูปอดีต simple past และ imperfect กลัวจะชักดิ้นชักงอกันไปเสียก่อนลองเปลี่ยนจากเรียนรู้การผันกริยาช่วยพิเศษแค่ 7 คำ ที่ผันเพื่อสื่อความหมายได้แทบทุกอย่างที่เธอต้องการ ( modal verbs ) กันดีกว่า โดย 7 กริยาที่มักใช้บ่อยๆ มีดังนี้

können ( สามารถ ), wollen ( ต้องการ ), sollen ( ควร ), dürfen ( สามารถจะ/ อนุญาตให้ ), müssen ( ต้อง ), möchten ( ต้องการที่จะ ), mögen ( ชอบ )เมื่อนำมาใช้ในประโยค ตำแหน่งกริยานั้นจะไปอยู่ที่ลำดับสุดท้าย หรือเป็น infinitive verb ( กริยาแท้ๆ ที่ยังไม่ได้ผัน ) นั่นเอง ตัวอย่างเช่นประธาน + กริยา + กรรม>>ประธาน + กริยาช่วยที่ผันแล้ว ( modal verb ) + กรรม + กริยาหลักที่ยังไม่ได้ผัน

วิธีนี้จะทำให้เธอใช้กริยาได้ทุกแบบเพื่อนำมาแต่งประโยคได้มากมาย โดยไม่จำเป็นต้องรู้การผันทุกคำของมันก็ได้ ตราบใดที่เธอจำการผันของ modal verb ได้ ก็ใช้กริยาที่ยังไม่ได้ผันได้ลองเปรียบเทียบจาก 2 ประโยคนี้

IchgehenachHause. ( ฉันจะกลับบ้าน )

IchmöchtenachHausegehen. ( ฉันต้องการที่จะกลับบ้าน )ประโยคแรก gehen ถูกผันเป็น geheแต่ประโยคที่สอง gehen อยู่ในรูปกริยาแท้ที่ยังไม่ผัน ( infinitive verb ) แต่ใช้ modal verb เป็นmöchten ( ต้องการที่จะ ) ที่ผันเป็นmöchte แทนสองประโยคนี้ความหมายไม่เหมือนกันซะทีเดียวแต่ประโยคที่สองจะแสดงความต้องการที่ชัดเจนกว่าหากพูดกับคนเยอรมัน เขาจะเข้าใจทันทีว่าเธอต้องการที่จะสื่ออะไรค่ะ

3. หาเพื่อนเยอรมัน Native Speaker ออนไลน์ เพื่อฝึกฟัง พูด อ่าน เขียน

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/AetH34608.jpg

ข้อต่อมาที่อยากจะเชิญชวนสาวซิสให้ทำเถอะ ภาษาจะได้พัฒนาไวๆ ก็คือ ' หาเพื่อนเยอรมันออนไลน์ ' เพื่อฝึกภาษาค่ะ

ซึ่งว่ากันตามตรง ก็ต้องอาศัยดวงนิดหน่อย เพราะเราไม่ได้จ่ายตังค์จ้างเขามาฝึกภาษาให้เรา และอาจจะไม่ได้ครบฟังพูดอ่านเขียนขนาดนั้น อยู่ที่ว่าเขาจะสะดวกคุยกับเราแบบไหน เพราะคนเยอรมันก็ค่อนข้าง keep privacy พอสมควร แต่ก็ดีกว่าไม่ได้ลองละนะ!

แนะนำให้หาเพื่อนเยอรมัน ( ซึ่งควรจะเป็นเนทีฟแท้ๆ เป็น german-speaking ไม่ใช่แค่คนที่พอรู้เยอรมันเฉยๆ เพราะอาจจะสอนกันผิดๆ ถูกๆ ได้ ) ตามเว็บไซต์หรือแอปหาเพื่อนต่างชาติ เขียนอีเมลคุยกัน เช่น interpals, italki หรือในกรุ๊ปแชทออนไลน์ก็ดี ถ้าเป็นสายเกมออนไลน์ เข้าเซิร์ฟเวอร์หรือเกมที่คนเยอรมันนิยมเล่น ก็มีแนวโน้มจะเจอเพื่อนเยอรมันได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ( ถ้าไม่ซีเรียส แอปหาคู่อย่างทินเดอร์ก็หาเพื่อนได้นะ ไม่จำเป็นต้องหาแค่แฟนค่ะ )


หากสนิทกันก็ลองแกล้งๆ ขอ video call หรือคุยเสียงเฉยๆ ก็ได้ เพื่อสอนการออกเสียง คำไม่ทางการ แสลงต่างๆ ไม่ต้องกลัวพูดผิด กลัวเด๋อ พูดไปเถอะเดี๋ยวเขาแก้ให้เอง คนเราต้องเด๋อก่อนที่จะฉลาดทั้งนั้นค่ะ ถ้าเก็บงำความเด๋อไว้ ก็จะไม่มีวันเก่งนะเออ!

4. รู้จักไวยากรณ์ (Syntax) หรือการเรียงลำดับของคำในประโยค

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/dBw334606.jpg

ลำดับของการเรียงคำในประโยคหรือ ' syntax ' ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าเรียงคำมั่ว คนเยอรมันก็จะไม่เข้าใจว่าเธอจะสื่อถึงอะไร! ซึ่งในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ตาม ลำดับก็จะคล้ายกันคือ ประธาน + กริยา + กรรม ใช่ไหมคะ แต่ภาษาเยอรมันจะต่างออกไป


เช่น ถ้ามีคำใน ' ลำดับแรก ' ( หน้าสุดของประโยค ), กริยาอยู่ในลำดับที่สอง และตามด้วยประธาน เพราะกริยาจะล็อกไว้ที่อันดับสองของประโยคเสมอ เช่น jetzt habe ich einen Hund แปลให้รู้เรื่องคือตอนนี้ฉันมีหมาแล้ว แต่ถ้าแปลตรงตัวคือ ตอนนี้มีฉันหมา เป็นต้น

อีกหนึ่งตัวอย่างคือ ประโยคที่มีกริยาช่วยพิเศษ ( modal verbs ) หรือกริยาช่วย ( auxiliary verbs ) มักจะเจอในรูปอนาคตหรืออดีตที่มีสองกริยาในหนึ่งประโยค ในกรณีนี้กริยาช่วยหรือกริยาช่วยพิเศษจะอยู่ที่ลำดับสองในประโยคส่วนกริยาหลักจะถูกผลักไปอยู่ลำดับสุดท้ายเช่น ich muss meine Hausaufgaben machen ( ฉันต้องทำการบ้าน ) ประโยคนี้มีกริยาสองตัวคือ muss ( ต้อง ) และ machen ( ทำ ) ในภาษาอังกฤษ กริยาจะอยู่ติดกันเลย แต่ภาษาเยอรมันกริยาจะถูกจับแยก machen ไปอยู่ท้ายประโยค

การตั้งประโยคคำถามก็ต้องเปลี่ยนลำดับคำในประโยค ประธานกับกริยาจะสลับตำแหน่งกันเช่น จะถามว่า " รู้จักแม่ของฉันไหม " ต้องถามว่าkennstdumeine Mutter? โดยกริยาkennst ( รู้จัก )และประธานdu ( you )จะสลับตำแหน่งกันเพื่อให้เป็นคำถามนั่นเองค่ะ

5. เซตสภาพแวดล้อม ให้ได้ใช้ 'ภาษาเยอรมัน' จริงๆ ไม่ใช่แค่ในตำรา

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/NVkI34607.jpg

อยากเก่งภาษา ก็ต้องทำสภาพแวดล้อมทุกอย่างให้เหมือนอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษานั้นๆ นี่คือเรื่องจริง! แม้ตอนนี้จะติดสถานการณ์โควิด ยังบินไปเยอรมันทันทีไม่ได้ แต่เราสามารถเซตสิ่งต่างๆ รอบตัวเราให้เป็นภาษาเยอรมันได้

เช่น ช่วงเรียนพื้นฐานแรกๆ ก็ทำบัตรคำท่องจำ แปะคำที่ใช้บ่อยในห้องน้ำ ห้องนอน พอเริ่มรู้ศัพท์เยอะขึ้น ก็เปลี่ยนเมนูภาษาในมือถือ คอมพิวเตอร์เป็นภาษาเยอรมัน ฟังเพลงเยอรมัน ดูคลิป ดูหนังพากย์เยอรมันซับอังกฤษ ถ้าเลเวลเก่งขึ้นแล้วก็เปลี่ยนจากซับอังกฤษเป็นซับเยอรมัน เป็นต้นค่ะ

ต้องขอบคุณปี 2021 เพราะยุคนี้มีเทคโนโลยีโซเชียลเน็ตเวิร์ก อินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงภาษาเยอะมาก ที่สำคัญคือฟรี! เธอจะไปหาเพื่อนต่างชาติในแอป ในเว็บไซต์เพื่อนทางอีเมล์ก็ดี หรือจะแค่เลื่อนหาคลิปยูทูปที่พูดภาษาเยอรมันก็ได้ ไม่เสียเงินสักบาท ( นอกจากค่าไฟกับค่าเน็ต )ช่วงแรกๆ ที่แกรมมาร์ยังไม่เป๊ะ ให้ดูคลิปแบบที่มีซับไตเติ้ลภาษาเยอรมันขึ้นด้วย หมายถึง ในคลิปพูดเยอรมัน และมีซับเยอรมันให้เราเช็กด้วยว่า ทักษะฟังของเราตรงกับประโยคที่เขาพูดจริงๆ รึเปล่า ถ้าแก่กล้าวิชาแล้ว ก็ลองฝึกฟังเพียวๆ ทั้งคลิปในรอบแรก แล้วเปิดซับรอบสองเพื่อรีเช็ก ก็เป็นวิธีที่ดีมาก ได้ทั้งไวยากรณ์และการฟังไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

6. เรียนรู้ 'คำบุพบท' ในภาษาเยอรมัน ผ่านรูปไวยากรณ์

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/tpuB34604.jpg

ย้ำรอบที่พันล้านว่า ' ไวยากรณ์ ' นี่แหละเป็นตัวปราบเซียนในการเรียนภาษาเยอรมัน คนมาตกม้าตายไม่สามารถไปถึงระดับสูงได้ก็เพราะ grammatik เนี่ยละค่า #ร้องไห้หนักมาก


ซึ่งในไวยากรณ์เองก็ยังแข่งกันว่าใครจะยากเป็นตัวท็อปๆ ซึ่งผู้ที่ได้มงกุฎไปก็คือ ' บุรุษ ' หรือการแยกแยะบุคคล ฉัน เธอ เขา เรา นาย ท่าน นั่นเองค่ะซิสสสส!

ในภาษาเยอรมัน ลำดับของคำในประโยคจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า คำคำนั้นเป็นบุรุษที่เท่าไหร่ เป็นฉัน เป็นเธอ หรือเป็นบุรุษที่สาม จะเป็น a an หรือ the ก็อยู่ที่ว่าคำนั้นเป็นประธาน กรรมตรง ( direct object ) หรือกรรมรอง ( indirect object ) ถ้าคำนามเป็นกรรมของบุพบท ก็จะเปลี่ยนบุรุษของคำนามไปด้วย

ซึ่งคำบุพบทแต่ละคำก็จะใช้กฎแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการจำบุรุษและบุพบทควบคู่กันไปเลย จึงช่วยประหยัดเวลาและชัวร์ว่าใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้อง พูดแล้วเข้าใจแน่นอน คำกริยาที่คำนามตามหลังเป็นกรรมตรง มีดังนี้

für ( เพื่อ ), gegen ( เพื่อ ), um ( ประมาณ ), durch ( กระทั่ง ), ohne ( โดยไม่มี ), bis ( จนกระทั่ง )ส่วนบุพบทที่คำนามตามหลังเป็นกรรมรอง มีดังนี้

nach ( หลัง ), seit ( ตั้งแต่ ), aus ( จาก ), bei ( ที่ ), zu ( ถึง,ที่ ), von ( จาก ), mit ( กับ ), außer ( ยกเว้น, นอกเหนือจาก )บุพบทบางคำใช้ได้ทั้งเป็นกรรมตรงและกรรมรอง แล้วแต่บริบทตัวอย่างประโยคเช่น ichgehein den Laden ( ฉันไปร้านค้า )กริยา gehen ( ไป ) บ่งชี้ว่ามีการสลับตำแหน่งในประโยค ดังนั้นคำนามที่ตามหลังบุพบทจะต้องเป็นกรรมตรงคำที่ต่อมาจึงผันเป็น den  แปลว่าฉันไปร้านค่ะ

ส่วนประโยค ichbinin dem Laden ( ฉันอยู่ในร้านค้า ) คำว่าbin บ่งชี้ว่าไม่มีการเปลี่ยนในตำแหน่งของประโยค ดังนั้น laden ก็จะเป็นกรรมรองจึงผันเป็น dem แปลว่าฉันอยู่ในร้านค่ะ

7. ฝึกท่องคำนาม และเพศนำหน้าคำนาม ไปในเวลาเดียวกัน

รูปภาพ:https://www.i-pic.info/i/rV5W34605.jpg

แม้จะเป็นข้อสุดท้าย แต่ก็เรียกว่าเป็นโจทย์หินของผู้เรียนภาษาเยอรมันมากมาย นั่นคือ' คำนาม และเพศนำหน้านาม 'นั่นเองค่ะ! ภาษาไทยกับอังกฤษไม่มีคำบอกเพศ, ภาษาฝรั่งเศสมีสองเพศ คือเพศชายกับเพศหญิง


แต่ภาษาเยอรมันล้ำกว่านั้นจ้า มีสามเพศไปเลยเก๋ๆ! เพศชาย,เพศหญิง และเพศกลาง โดยนามชี้เฉพาะคือ der, die และ das ส่วนนามไม่ชี้เฉพาะคือ ein, eine และ ein ค่ะ

บอกตรงนี้เลยว่า ไม่ต้องถามหาหลักเหตุผลว่าคำนามนี้ ทำไมถึงใช้คำนำหน้าเพศนี้ เพราะไม่มีตรรกะที่ชัดเจนแต่อย่างใด เน้นความจำล้วนๆ แม้จะมีหลักที่พอแยกได้อยู่บ้าง ก็จะมีคำที่เป็นข้อยกเว้นอยู่ดี เช่น

der mann ( ผู้ชาย ) die frau ( ผู้หญิง ) อันนี้เข้าใจได้เพราะเพศกับคำนามตรงกัน แต่ der junge ( เด็กชาย ) กับ das Mädchen ( เด็กหญิง ) อันนี้จะงง เพราะเด็กชายตรงตามเพศ แต่เด็กหญิงเป็นเพศกลาง!?

ถ้าไม่อยากสับสน แนะนำว่าอย่าผูกติดความหมายของคำกับเพศนำหน้า ให้จำๆ มันไปว่าอันนี้ใช้กับอันนี้ รวบตึงเป็นก้อนเดียวกันไปเลย จบ!

ถ้าต้องการแยกกลุ่มคำตามเพศ แนะนำให้ทำบัตรคำ ( flash card ) โดยใช้สีบัตรแยกกัน เช่น สีเขียวคือคำเพศชาย แดงคือเพศหญิง และน้ำเงินคือเพศกลาง เป็นต้น

แล้วเขียนคำนามที่จะท่องในสีบัตรตามเพศ สมองจะจดจำสีได้ดีกว่าตัวอักษร และทำให้เราจำคำศัพท์นั้นได้เร็วกว่า ลองไปฝึกทำกันดูนะคะ

-----------------------------------------

หากเธอกำลังสนใจจะเรียนภาษาเยอรมันและอ่านมาได้ถึงตรงนี้ ขอปรบมือให้เลยดังๆ เธอสอบผ่านขั้นแรกของการเรียนแล้ว! อย่างที่เห็นว่าภาษานี้ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องอาศัยความจำ ความขยันท่อง และการฝึกนำไปใช้บ่อยๆ พอสมควร ถ้าเรียนแบบไม่ตั้งใจไปวันๆ หลายปีก็อาจจะยังไม่คล่อง เพราะมันยาก และต้องใช้ความพยายามสุดๆ !แต่ถ้าเธอมีแพชชั่นกับการไปเรียนต่อประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน อยากให้มองว่าความยากของมันก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง การได้เรียนรู้ไวยากรณ์และการแยกคำในประโยค จะทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมและนิสัยที่ทำตามกฎระเบียบของชาวเยอรมันได้มากขึ้น ยังไงเราก็เชื่อว่า ไม่มีภาษาไหนที่ยากเกินสาวๆ ซิสของเราจะเรียนรู้ได้ คนเยอรมันก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา เขายังพูดได้ เราก็ต้องพูดได้เหมือนกัน ขอให้โชคดีค่ะ แล้วพบกันใหม่

Auf Wiedersehen!!