1. SistaCafe
  2. วิธียื่นภาษี 101 ครั้งแรกสำหรับมือใหม่ ไล่ขั้นตอนครบตั้งแต่ต้นจนจบ

ช่วงต้นปีของทุกปีมากับความวุ่นวายในการเสียเงิน เพราะเป็นช่วงยื่นภาษี ซึ่งใครเป็นมือใหม่ไม่จะเป็น First Jobber หรือฟรีแลนซ์ อาจจะมีข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการยื่นภาษีครั้งแรกเพราะการยื่นภาษีครั้งแรกนั้นต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ถ้าเงินเดือนไม่ถึงต้องยื่นภาษีไหม เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้เราจะมาไขข้อควรรู้ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมเอกสารจนถึงสุดท้ายว่ายื่นตรงไหนยังไง ดังนั้นเราไปดูกันเลยว่า วิธียื่นภาษี 101 สำหรับมือใหม่ต้องใช้เอกสารหรือทำขั้นตอนไหนได้บ้างกัน!


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

อาชีพแบบไหน ต้องยื่นอะไรบ้าง ?


ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ หรือฟรีแลนซ์ การเตรียมเอกสารในการยื่นภาษี 101 เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากการยื่นภาษี 101 มีหลายประเภทซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของรายได้ รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษีก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสำหรับการยื่นภาษีครั้งแรกต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างไปดูกัน


การยื่นภาษีเงินได้จากเงินเดือน (ภ.ง.ด.91) สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมี 2 แบบด้วยกันคือ

  • ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น เงินปันผล|หรือการค้าขายแบบบุคคลธรรมดา
  • ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่มีรายได้เสริม เช่น พนักงานบริษัท

ต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

เป็นเอกสารที่แสดงจำนวนเงินที่นายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของพนักงาน โดยหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) สามารถใช้ยื่นภาษีได้ทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์

  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี

เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนบิดามารดา ค่าลดหย่อนกองทุนสำหรับเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าบริจาค เป็นต้น



การยื่นภาษีเงินได้สำหรับฟรีแลนซ์ (ภ.ง.ด.90) สำหรับผู้ที่มีรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น นักเขียน นักแปล นักออกแบบ หรืออื่นๆ จะต้องยื่นภาษีด้วยแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  • หนังสือรับรองการหักภาษีณที่จ่าย (50ทวิ) จากผู้ว่าจ้าง

สำหรับใครที่เป็นพนักงานฟรีแลนซ์ที่เงินค่าจ้างเกิน 1000 บาทขึ้นไป อย่าลืมขอหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย จากนายจ้างได้ กรณีที่ค่าจ้างต่ำกว่า 1000 บาท อาจจะเก็บหลักฐานเป็นสลิปการโอนเงินเนื่องจากจะต้องนำมาคิดรวมเป็นเงินพึงประเมิน สำหรับใช้คำนวณเงินได้สุทธิ โดยสูตรการคิดเงินได้สุทธิมาจาก เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี

ฟรีแลนซ์สามารถลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการโดยใช้ใบกำกับภาษีที่ได้จากร้านค้า นำเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีจากการทำประกันการลงทุน


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

วิธียื่นภาษี 101 ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์


ขั้นตอนที่ 1: เตรียมเอกสาร

รวบรวมเอกสารตามลิสต์นี้มาไว้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วและเผื่อสถานการณ์ที่สรรพากรเรียกตรวจ

  • หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษี (50 ทวิ) หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีเพื่อคำนวณเงินได้ของทั้งปี
  • สิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้คำนวณค่ารถหย่อน อย่างเช่น ใบเสร็จรับเงินบริจาค ใบกำกับภาษีจากการซื้อของช่วงช้อปช่วยชาติ เอกสารชำระค่าเบี้ยประกันสุขภาพ หนังสือรับรองชำระเบี้ยประกันชีวิต เอกสารรับรองการซื้อ RMF และ LTE
  • เอกสารประกอบถ้ายื่นค่าลดหย่อนที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น ทะเบียนสมรส เอกสารรับรองบุตรหรือสูติบัตรของบุตร หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา เอกสารชำระค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่า อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
  • เอกสารประกอบถ้ายื่นค่าลดหย่อนอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น เอกสารเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย หลักฐานการเป็นสมาชิกและจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ หรือหลักฐานกรณีซ่อมแซมบ้านและรถที่เสียหายจากน้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 2 : ลงทะเบียน

เปิดเว็บไซต์กรมสรรพากร ใครที่เคยยื่นแล้วก็สามารถที่จะ log in เข้าไปได้เลย ส่วนใครที่ยื่นครั้งแรกก็ลงทะเบียนและกรอกข้อมูลทุกอย่างให้ครบถ้วนและถูกต้อง


ขั้นตอนที่ 3 :กรอกข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อน

ใส่รายละเอียดข้อมูลแล้วกรอกตัวเลขลงไปทีละช่อง ซึ่งส่วนนี้จะค่อนข้างสับสนแต่หลักการคือต้องดูก่อนว่าเรามีเงินได้และค่าลดหย่อนอะไรบ้าง


ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบการคำนวณภาษีและยืนยัน

เมื่อกรอกทุกอย่างครบถ้วนระบบจะคำนวณให้อัตโนมัติ ซึ่งเราควรตรวจทวนความเรียบร้อยและเลือกอะไรนิดหน่อยก่อนกดยืนยัน

  • เราจะบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมืองไหม (อันนี้แล้วแต่)
  • ถ้ามีการเสียภาษีเกิน 3000 บาท เราสามารถเลือกผ่อนได้ 3 งวด
  • แต่ถ้าใครได้ภาษีคืนและต้องการขอคืนภาษี อย่าลืมเลือกคำว่า “ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี” ด้วย

ส่วนที่เราจะเสียภาษีเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ารายได้สุทธิใน 1 ปี เราตกอยู่ช่วงไหน

ไม่เกิน 150,000 บาท = ได้รับการยกเว้น

150,001 - 300,000 บาท = 5%

300,001 - 500,000 บาท = 10%

500,001 - 750,000 บาท = 15%

750,001 - 1,000,000 บาท = 20%

1,000,001 - 2,000,000 บาท = 25%

2,000,001 - 5,000,000 บาท = 30%

5,000,001 บาทขึ้นไป = 35%


ขั้นตอนที่ 5 : จ่ายเงิน/ตรวจสอบการคืนภาษี

เราสามารถเลือกวิธีการจ่ายเงินได้ว่าจะผ่านอะไร เช่น โมบายแบงก์กิ้ง, ATM, บัตรเครดิต, จ่ายชำระถ้าเราต้องจ่ายภาษีก็จะมีหน้าจอให้เลือกวิธีการจ่ายผ่านที่หน่วยรับชำระ หรืออื่นๆ ส่วนคนที่ได้คืนภาษีก็รอไปก่อน


✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax ต้องทำอย่างไร ?


หากไม่เคยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรแนะนำให้สมัครสมาชิกไว้ก่อน เพราะว่าต้องใช้รหัสผ่านจากเว็บไซต์มากรอกลงในแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยขั้นตอนการสมัครสมาชิกก็ไม่ยุ่งยากด้วยเช่นกัน สามารถทำตามนี้ได้

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ efiling.rd.go.th คลิก “สมัครสมาชิก”
  • กรอกหมายเลขบัตรประชาชนรวมถึงข้อมูลต่างๆ ลงทะเบียนตามขั้นตอนได้
  • ตั้งค่ารหัสผ่าน จำรหัสนั้นไว้เพื่อนำมาใช้ยื่นภาษีผ่าน แอปพลิเคชัน RD Smart Tax

สำหรับการเข้าสู่ระบบ RD Smart Tax ด้วยการกรอกเลขบัตรประชาชน หรือบัตรประจำผู้เสียภาษีอากร และรหัสผ่านที่เราได้ทำการลงทะเบียนเอาไว้ สามารถยื่นภาษีหรือถ้ายังไม่ทราบว่าต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่สามารถทดลองคำนวณภาษีได้ด้วย ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทั้งระบบ iOS และ Android


ลดหย่อนภาษีช้อปดีมีคืน ปี 2568


ช่วงต้นปีหลายคนอาจกำลังตั้งตารอมาตรการลดหย่อนภาษีจากรัฐบาล เช่น มาตรการช้อปมีคืนที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปี 2566 และ Easy E-Receipt ที่ใช้ในปี 2567 และสำหรับปีนี้รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Easy E-Receipt 2.0” เพื่อช่วยลดหย่อนภาษีในปี 2568 ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50,000 บาท ทั้งมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ที่ต่างจากปีที่ผ่านมาด้วย

โดย Easy E-Receipt 2.0 เป็นการลดหย่อนภาษีในปี 2568 เป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายสำหรับเป็นการลดหย่อนภาษีในปี 2568 กระตุ้นการใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคล (ยกเว้นนิติบุคคล) เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีกำลังซื้อสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีได้ โดยนำจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและบริการมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จ่ายจริง

โดยสิทธิประโยชน์จะคล้ายๆ ในช่วงปี (2563-2566), Easy E-Receipt (2567) และ Easy E-Receipt 2.0 (2568) แต่จะมีเงินลดหย่อนภาษี เงื่อนไขในการซื้อสินค้าและหลักฐานที่เอาไปใช้ลดหย่อนที่แตกต่างกันไปในแต่ละปีเท่านั้น

Easy E-Receipt 2.0 ซื้ออะไรได้บ้าง

  • สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)เท่านั้น
  • สินค้าและบริการที่กำหนด ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ทุกประเภท จากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม (VAT) ซึ่งสามารถออกใบรับในรูปแบบ (e-Receipt) อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
  • สินค้าและบริการจากร้านวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

  • สุรา เบียร์ ไวน์ยาสูบ
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา
  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าโทรศัพท์และค่าอินเตอร์เน็ต
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม และโฮมสเตย์
  • ค่ารักษาพยาบาล ค่าศัลยกรรม ทองคำ บัตรกำนัล (Gift Voucher)
  • ค่าสินค้าและบริการที่มีข้อตกลงนอกเหนือจากวันที่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ. 2568

โดยมาตรการจะต้องรอลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2568 ผช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. 2569) โดยในขั้นตอนยื่นแบบแสดงรายการภาษีจะมีช่องที่ให้กรอกส่วนลดค่าลดหย่อน ก็ให้กรอกตัวเลขมูลค่าสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือสินค้าที่มีภาษี 7% มาบวกรวมกัน


ใครที่มีสิทธิ์เข้าร่วม Easy E-Receipt 2.0 ได้บ้าง

มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ที่ถูกนำหาแทนช้อปดีมีคืน ก็มีเงื่อนไขที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ผู้ที่จะสามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้จะต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2568 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2569 เท่านั้นโดยจะได้รับการลดหย่อนดังนี้

  • มันได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 (ได้รับการยกเว้นภาษี) ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้
  • เงินได้ต่อปี 150,001 - 300,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 2500 บาท
  • เงินได้ต่อปี 300,001 - 500,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 5000 บาท
  • เงินได้ต่อปี 500,001 - 750,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 7500 บาท
  • เงินได้ต่อปี 750,001 - 1,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
  • เงินได้ต่อปี 1,000,001 - 2,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 12,500 บาท
  • เงินได้ต่อปี 2,000,001 - 5,000,000 บาท ลดหย่อน ภาษีสูงสุด 15,000 บาท
  • เงินได้ต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไปลดลงภาษีสูงสุด 17,500 บาท

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ วิธียื่นภาษี 101 เห็นได้เลยว่าไม่ว่าจะอาชีพไหนถ้าเงินรวมรายปีถึงเกณฑ์ก็ต้องเสียภาษีเช่นกันหมดทุกคน ซึ่งใครที่เป็น First Jobber ไม่เพียงแค่เงินเดือนเท่านั้นที่นำมาคิด เพราะยังรวมไปถึงเงินได้พึ่งประเมิน เช่น โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชั่น และรายได้อื่นๆ ที่ได้จากการทำงานรวมกันทั้งปีมาคิด หากเฉลี่ยแล้วได้ 360,000 บาท จะต้องเสียภาษีอยู่ที่อัตราละ 5% หรือประมาณ 2,500 บาท แต่ถ้ารายได้ต่ำกว่า 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีนั่นเอง ซึ่งทั้งนี้รวมไปถึงชาวฟรีแลนด์ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้การเสียภาษีนั้นก็สามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ นั่นคือการที่เรานำค่าใช้จ่ายต่างๆ มาหักลดหย่อนภาษีไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา เป็นต้น ซึ่งการนำมาลดหย่อนเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยลดภาษีของเราได้ในแต่ละปี ดังนั้นแล้วเมื่อเราพบว่ารายได้รวมต่อปีมีเกณฑ์ต้องเสียภาษีให้รีบดำเนินการยื่นเรื่องเอกสารและรีบขอชำระ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหรือค่าใช้จ่ายบานปลายตามมา ซึ่งวิธีการยื่นนั้นรวบรวมมาให้ชาวซิสเรียบร้อย ดังนั้นใครมือใหม่ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้กันดูได้


ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก Freepik

ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก ALLWELLHEALTHCARE, The MATTER, CIMB THAI


บทความอื่นๆ ที่แนะนำ

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้