สวัสดีค่าซิสส!! สบายดีกันรึเปล่าเอ่ยย ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้เพื่อนๆ ต้องระวังและรักษาสุขภาพกันให้ดีๆ เลยน้า
โดยเฉพาะเพื่อนๆ คนไหนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ หรือทำงานที่ต้องพบปะผู้คนมากหน้าหลายตานี่จะมีความเสี่ยงสูงมาก
ที่เราจะไปติดต่อหรือรับเชื้อโรคจากเขามา
การฉีดวัคซีนและดูแลสุขภาพควบคู่กันไป ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดและติดต่อโรคร้ายเพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาวได้
ดังนั้นสำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่เคยฉีดวัคซีนแต่ตอนเด็ก ก็ลองมาทำความรู้จักกับวัคซีนที่ควรฉีดตอนโตกันบ้างเลยดีกว่า ไปกันเล้ยย!!
7 วัคซีนที่ผู้หญิงควรฉีด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ʕ·ᴥ·ʔ
1. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ (HPV vaccine)
เชื้อ HPV คืออะไร: HPV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณปากมดลูกของเพศหญิง และทวารหนักของเพศชาย โดย HPV นั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ตัวที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งสามารถเกิดได้ที่ ปากมกลูกและช่องคลอดเลย ส่วน HPV ที่ไม่ทำให้เกิดโรคมะเร็งจะกลายไปเป็นหูดหงอนไก่งอกออกมาจากอวัยวะเพศหญิงแทน
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: ส่วนใหญ่คนที่ติดเชื้อ HPV จะเป็นผู้หญิงวัยกลางคนที่มีลูกหลายคนแล้ว แต่โอกาสที่ผู้หญิงในช่วงวัยอื่นจะสามารถติดเชื้อได้ก็มีอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการ เปลี่ยนคู่นอนหลายคน การตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ฯลฯ
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV:
อายุ < 14 ปี : ฉีด 2 เข็ม
อายุ > 14 ปี : ฉีด 3 เข็ม
2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)
เชื้อไข้หวัดใหญ่ คืออะไร: เวลาเราเป็นไข้นี่คือช่วงเวลาที่เลวร้ายของจริง เพราะร่างกายจะรู้สึกทรมานจากการที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น รู้สึกอ่อนเพลียและปวดเมื่อตามร่างกาย แต่มันก็จะมีหลายๆ คนที่แอบสงสัยกันว่า แล้วไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่นี่มันต่างกันยังไง ซึ่งเอาจริงๆ แล้วทั้งไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ก็คือ การติดเชื้อโรคผ่านทางระบบทางเดินหายใจเหมือนกัน เพียงแต่ไข้หวัดใหญ่จะมีผลกระทบอาการของโรคที่รุนแรงกว่า เช่นถ้าไข้หวัด จะมีไข้ไม่เกิน 38°เซลเซียส อ่อนเพลีย และไอจามเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไข้หวัดใหญ่จะทำให้คนไข้หนาวสั่น มีอุณหภูมิร่างกายสูง 39 องศาเซลเซียส คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และกล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนเพลียแบบเฉียบพลัน
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: กลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง และต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ อย่างเช่น สตรีมีครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ บุคคลที่มีโรคประจำตัว ฯลฯ
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่:
อายุ > 6 เดือน : ฉีด 1 เข็ม/ 1 ปี
3. วัคซีนป้องกันโรคสุกใส (Varicella vaccine)
โรคสุกใส คืออะไร: ไม่ว่าจะคุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิงคงไม่มีใครอยากติด โรคสุกใส หรือ อีสุกอีใส แน่นอน เพราะเวลาเป็นโรคสุกใสนี่มันทรมานมาก ไม่มีใครอยากเข้าใกล้เรา แถมหลังจากหายแล้วผิวเราก็อาจจะยังมีสะเก็ดแผลเป็นหลงเหลืออยู่ด้วย โรคสุกใส นั้นเป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อของเชื้อไวรัสผ่านระบบหายใจและสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ ที่ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดตุ่มน้ำขนาดเล็กขึ้นทั่วร่างกาย ซึ่งก่อนที่เราจะรู้ตัวว่าเป็น โรคสุกใส เพื่อนๆ อาจจะ มีไข้ ปวดศีรษะ หรือ อ่อนล้าร่วมด้วยได้
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: ไม่ว่าจะเป็นใครอายุเท่าไหร่ ถ้าได้ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคสุกใสก็สามารถติดเชื้อได้ทั้งนั้น แต่ส่วนใหญ่คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สุดจะเป็น เด็ก สตรีมีครรภ์ และ คนที่มีร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส:
เด็ก : ฉีด 2 เข็ม (เข็ม 1: อายุ 1 - 1 ½ ปี, เข็ม 2: อายุ 4 - 6 ปี)
ผู้ใหญ่ : ฉีด 2 เข็ม (ระยะห่างเข็ม 1 และ เข็ม 2 ทั้งหมด 2 เดือน)
4. วัคซีนป้องกันโรคหัด, คางทูม, หัดเยอรมัน (MMR vaccine)
โรคหัด, คางทูม, หัดเยอรมัน คืออะไร: โรคหัด, คางทูม และ หัดเยอรมัน เกิดการติดต่อกันผ่านเชื้อไวรัสที่ล่องลอยผ่านการหายใจ การสัมผัสผ่านสารคัดคลั่งและสัมผัสโดยตรง ซึ่งทั้ง 3 อย่างนั้นจะทำให้เรามีไข้เหมือนกันหมด เพียงแต่ คางทูมจะทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ, หัดทำให้ ไอ ตาแดง มีผื่น, ส่วนหัดเยอรมันทำให้คนป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต และมีผื่นร่วมด้วยนั่นเอง
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: กลุ่มคนที่สามารถติดโรคหัด, คางทูม, หัดเยอรมัน ได้ง่ายที่สุดก็คือ เด็กทุกคน และ ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องทุกคน ส่วนกลุ่มคนที่ควรให้หลีกเลี่ยงการฉีด MMR ไปก่อนก็คือ กลุ่มสตรีมีครรภ์ เพราะแม่สามารถส่งผ่านเชื้อไปที่ลูกได้ และอาจทำให้แท้งก่อนกำหนดนั่นเอง
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคหัด, คางทูม, หัดเยอรมัน:
เด็ก : ฉีด 2 เข็ม (เข็ม 1: อายุ 12 - 15 เดือน, เข็ม 2: อายุ 4 - 6 ปี)
ผู้ใหญ่ : ฉีด 2 เข็ม (ระยะห่างเข็ม 1 และ เข็ม 2 อย่างน้อย 28 วัน)
5. วัคซีนป้องกันโรคไอกรน, คอตีบ, และบาดทะยัก (Tdap vaccine)
โรคไอกรน, คอตีบ, และบาดทะยัก คืออะไร: โรคไอกรน, คอตีบ, และบาดทะยักเป็นโรคติดต่อที่เกิดการติดเชื้อผ่านแบคทีเรีย โดยที่ไอกรนจะทำให้เป็นไข้หวัด ไอรุนแรงได้, คอตีบจะทำให้เราเจ็บคอรุนแรง หอบเหนื่อยง่าย, ส่วนบาดทะยักจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าหากเกิดอาการแทรซ้อนก็สามารถทำให้ตายได้
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: ไม่ว่าจะเป็นวัยไหน การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคไอกรน คอตีบและบาดทะยัก เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะเด็ก, สตรีมีครรภ์, ผู้สูงอายุ และ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคไอกรน, คอตีบ, และบาดทะยัก:
อายุ > 11 ปี : ฉีด 3 เข็ม (ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี)
6. วัคซีนป้องกันเชื้องูสวัด (Shingles vaccine)
เชื้องูสวัด คืออะไร: งูสวัดเป็นโรคผิวหนังที่เป็นเหมือนตุ่มน้ำใสๆ ปวดแสบปวดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ ขึ้นตามแนวเส้นประสาทคล้ายกับงู โดยเชื้องูสวัดจะกำเริบได้ในคนที่เป็นโรคสุใสเวลาร่างกายอ่อนแอ ซึ่งถ้าเราไม่รีบเข้ารับการรักษา ผู้ปาวยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงได้เลย
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: คนที่เสี่ยงในการติดเชื้อโรคงูสวัดได้ง่ายที่สุดคือ คนที่เคยเป็นสุกใส ผู้สูงอายุ สตรีให้นมบุตร และ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้องูสวัด:
เด็ก : ฉีด 2 เข็ม (เข็ม 1: อายุ 12 - 15 เดือน, เข็ม 2: อายุ 4 - 6 ปี)
ผู้ใหญ่อายุ > 50 ปี : ฉีด 2 เข็ม (ระยะห่างเข็ม 1 และ เข็ม 2 อย่างน้อย 2 - 6 เดือน)
7. วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumonia vaccine)
โรคปอดอักเสบ คืออะไร: ปอดอักเสบหรือปอดบวม เป็นอาการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบริเวณเนื้อเยื่อรอบปอด ที่ทำให้คนไข้หายใจลำบาก มีไข้ มีเสมหะ และคลื่นไส้ได้ โดยถ้าเรารู้ตัวว่าเป็นแล้วไม่รีบเข้ารับการรักษา อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนกับปอดในระยะยาวได้เลย
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ: คนที่มีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอักเสบมากที่สุดคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
เกณฑ์การฉีดวัคซีนป้องกันการติดโรคปอดอักเสบ:
เด็กอายุ < 2 ปี : ฉีด 4 เข็ม
ผู้ใหญ่อายุ > 65 ปี : ฉีด 2 เข็ม
จบลงไปแล้วกับ
7 วัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ผู้หญิงควรฉีด
เพื่อนๆ คนไหนที่
อยากป้องกันโรคที่จะเกิดกับตัวเองไว้ก่อน ก็สามารถเลือกที่จะฉีดวัคซีนได้นะคะ
เพราะบางโรคเวลาเป็นแล้วลำบากมาก
อย่างโรคสุกใสและงูสวัด ที่เวลาเป็นแล้วทำให้ผู้หญิงแบบเราเสียความมั่นใจและใช้ชีวิตได้ยากขึ้นมาก
เพราะฉะนั้นแล้วยังไงการไม่เป็นโรคก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
ที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตสนุกสนาน
ได้อย่าง
เต็มที่
สำหรับวันนี้เราขอเอาบทความมาฝากไว้แค่นี้ก่อน ไว้คราวหน้ากลับมาเจอกันในบทความน่าสนใจอีกนะคะ บ๊ายบายย
5 Vaccines Every Woman Needs
https://www.arobgyn.com/5-vaccines-every-woman-needs/
Recommended Vaccines for Women
https://www.samitivejhospitals.com/article/detail/Recommended-vaccines-for-women-bangkok-thailand