1. SistaCafe
  2. หน้าหนาวมาแล้ว ดูแลตัวเองกันหน่อย ส่อง 6 โรคที่มากับลมหนาว เผลอไม่ได้ เดี๋ยวป่วยไม่รู้ด้วย!

โควิดก็ต้องระวัง ร่างกายก็ต้องดูแล โอ้ย! ปวดใจ แต่ก็อย่างว่าอะนะ ถึงยังไงก็ละเลยไม่ได้ ณ ตอนนี้ ประเทศไทยเข้าสู่หน้าหนาวอย่างเป็นทางการแล้วเนอะ ว่ากันว่าโรคโควิดจะค่อนข้างอันตรายในช่วงฤดูนี้ ยังไงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะแต่ไม่ใช่แค่โควิดค่ะซิส ที่เราควรระวังโรคอื่นๆ ที่มาพร้อมกับลมหนาว ก็ต้องระวังด้วยซึ่งเท่าที่เราไปอ่านมานั้นโรคที่มาพร้อมกับหน้าหนาวมีประมาณ6 โรควันนี้เราก็เลยหยิบมาแชร์ พร้อมบอกอาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกันเพื่อนๆ จะได้ดูแลตัวเองกันได้อย่างตรงจุด สุขภาพจะได้แข็งแรงตลอดหน้าหนาวเนอะจะมีโรคอะไรบ้าง เราไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

1. ไข้หวัดใหญ่

อาการ: โรคหวัดธรรมดาก็ว่าน่ากลัวแล้วนะ นี่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่อะ มันไม่ใช่เรื่องเล็กแล้วป่ะ โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส“อินฟลูเอนซา” (Influenza virus)ทางระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้เรามีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรงบางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรวมอยู่ด้วยก็ได้วิธีรักษา: ขั้นเบสิคที่สุดเลยคือ ดื่มน้ำให้เยอะๆ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ที่สำคัญที่สุดคือ เช็ดตัวทุกชั่วโมงด้วยน้ำอุ่น แล้วกินยาลดไข้ตามปกติ แต่ถ้าร่างกายไม่ฟื้นตัว กินยาลดไข้แล้ว ไข้ไม่ลด แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์ทันที!เพื่อตรวจเช็คอาการที่แน่ชัดและจะได้รักษาได้ทันทวงทีนะจ๊ะวิธีป้องกัน: วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้คือ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ค่ะ ซึ่งเราว่าทุกคนก็น่าจะฉีดกันหมดทุกคนอยู่แล้ว นอกเหนือจากนี้คืองดการใช้ของร่วมกับคนอื่นไปก่อนเลย เพราะเราไม่รู้ว่าใครป่วยไม่ป่วย ทำแบบนี้จะได้ช่วยป้องกันตัวเองได้ด้วย แล้วอย่าลืมหมั่นล้างมือให้สะอาดแถมช่วงนี้ก็รณรงค์ให้ใส่แมสกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าละเลยกันนะ

2. โรคปอดบวม

อาการ: โรคปอดบวม คือภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสจนทำให้มีหนองและสารปนเปื้อนภายในถุงลม เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวมากๆ คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไอ จาม มีเสมหะมาก ทั้งยังรู้สึกแน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก คัดจมูก หนาวสั่น มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วันแต่ก็ไม่ใช่ว่าปุบปับจะเป็นกันได้เลยนะโรคนี้มักจะเป็น หลังจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง และในผู้ป่วยโรคหอบหืดส่วนใหญ่มักจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 - 10 ปี

วิธีรักษา: จริงๆ แล้ว ไม่สามารถรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นได้นะหากพบว่ามีอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีซึ่งหากคุณหมอตรวจพบว่าเราเป็นโรคนี้ เขาก็จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ควบคู่ไปกับยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลมด้วย พร้อมกับมีคำแนะนำต่างๆ ให้กับผู้ป่วยโดยเฉพาะค่ะวิธีป้องกัน: เนื่องจากอาการนี้ มักเกิดหลังจากที่เราเป็นไข้หวัด เพราะงั้นเมื่อเพื่อนๆ รู้ตัวว่าเป็นไข้หวัด ให้รีบรับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน พยายามดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ อยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวกและหมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย สำหรับใครที่มีลูกเด็กเล็กแดง ก็อย่าลืมพาไปฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวมด้วยนะ

3. โรคหัด

อาการ: โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า"รูบีโอราไวรัส" (Rubeola virus)ส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็กอาการจะคล้ายๆ กับไข้หวัดเลยค่ะ มีไข้ มีน้ำมูก มักไอแห้งตลอดเวลา ตาและจมูกแดง อาจจะทำให้เรามีไข้สูงประมาณ 3 - 4 วันจากนั้นก็จะมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายของเรา โดยผื่นจะค่อยๆ โตขึ้นและมีสีเข้มขึ้นซึ่งอาการที่เราสามารถสังเกตได้ว่า คนคนนี้จะเป็นหัด อย่างแรกเลย ผู้ป่วยจะมีตุ่มใสๆ ขึ้นในปาก ตรงกระพุ้งแก้มและฟันกราม ซึ่งเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรคหัดเท่านั้น หลังจากผื่นออกประมาณ 2 - 3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ และหายได้เอง อาจจะดูไม่น่ากลัวใช่มั้ย แต่ต้องระวังพวกโรคแทรกซ้อนกันให้ดีๆ เลยนะ อันตรายมากวิธีรักษา: โรคหัดไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไรมากมาย ปัจจุบันนี้มีวัคซีนฉีดป้องกันแล้วนะ(เป็นวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) คือสามารถป้องกันโรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน)ยังไงก็พาเด็กๆ ไปฉีดกันได้นะคะ วิธีรักษาขั้นพื้นฐานเลยคือทานยาลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ แล้วอาการทุกอย่างมันจะทุเลาไปเอง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อน ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที!

วิธีป้องกัน: ด้วยความที่โรคหัดติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเด็กช่วงอายุ 5 - 9 ปี เพราะงั้นดูแลหนูๆ กันให้ดีๆ ทางที่ดีที่สุดคือ ควรฉีดวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมันและคางทูมซะ ก็จะช่วยป้องกันโรคหัดได้

4. โรคอุจจาระร่วง

อาการ

: โรคอุจจาระร่วงที่ว่านี้ สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส

“โรต้า” (Rotavirus)

ส่วนใหญ่มักจะ

พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดคือ เด็กอายุ 6 - 12 เดือน

อาจจะเพราะเด็กนั้นมีภูมิต้านทานที่ต่ำและมักมีพฤติกรรมชอบหยิบของเข้าปากมั่วไปหมด เพราะฉะนั้นผู้ปกครองต้องดูแลลูกหลานให้ดีๆ นะ


ซึ่งอาการของโรคนี้ จะ

มีไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียนอย่างหนัก จนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง ถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้

เพราะงั้น

หากพบว่าลูกหลานเรามีอาการดังกล่าว ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที!



วิธีรักษา

: ปัจจุบัน

มีวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัสแล้วนะ ยังไงก็พาเด็กไปรับวัคซีนซะ เด็กสามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน

วัคซีนจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค และลดความรุนแรงลงได้ ทั้งนี้ เราแนะนำว่า อย่าพยายามยื้ออาการด้วยตัวเอง หากพบว่าลูกหลานมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ




วิธีป้องกัน

: นอกจากรับวัคซีนแล้ว อีกปัจจัยสำคัญไม่แพ้กันคือ

ต้องรักษาสุขอนามัยภายในบ้าน

ด้วยนะ เพราะเด็กส่วนใหญ่ชอบหยิบของนู่นนี่นั่นเข้าปากไง ดังนั้นผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องระวังในจุดนี้ให้มากๆ เพื่อป้องกันเด็กหยิบจับสิ่งของแล้วติดเชื้อ ที่สำคัญคือ

หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัดหรือย่านชุมชน

ก็จะช่วยป้องกันโรคได้ส่วนหนึ่งแล้วค่ะ



5. ไข้สุกใส

อาการ

: โรคนี้เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักระบาดในหน้าหนาว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

"วาริเซลลา" (Varicella virus)

ซึ่ง

สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง หรือจากการสัมผัสจากของใช้ของคนที่ป่วยเป็นโรคนี้

เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำเข้าไป


โรคนี้ มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อาการแรกเริ่ม จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่เลยค่ะ ผู้ป่วยจะ

มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย

แต่จะต่างกันตรงที่ พวกเขาจะ

มีผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง

หลังจากนั้นจะแห้งและตกสะเก็ดภายใน 5 - 10 วัน และอาการไข้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น



วิธีรักษา

: จริงๆ แล้วต้องรักษาตามอาการ เมื่อมีไข้ ก็กินยาลดไข้ ที่สำคัญคือ

งดใช้ของร่วมกับคนอื่น

ด้วยนะ

ห้ามแคะแกะเกาบริเวณตุ่มเด็ดขาด!

เพราะอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและเป็นแผลเป็นได้ ส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์หรอก เพราะอาการไม่ได้ร้ายแรงมากมายนัก แถมไม่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนด้วย สามารถทุเลาลงเองได้ค่ะ



วิธีป้องกัน

:

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้สุกใส

แล้ว ยังไงก็พาเด็กๆ ไปฉีดกันได้เลย สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้ ก็สามารถไปฉีดป้องกันได้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือโรคนี้ติดต่อได้ง่ายมาก ผ่านการสัมผัส เพราะฉะนั้น

เมื่อพบผู้ที่เป็นโรคนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน หรือสัมผัสถูกตัว

แต่ถ้าใครเคยเป็นโรคนี้แล้ว ว่ากันว่าจะไม่เป็นซ้ำอีก เพราะงั้นคนที่เคยเป็นแล้ว สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนที่ป่วยได้ปกติเลยค่ะ แต่ยังไงก็เว้นระยะห่างสักหน่อย คงไม่เป็นไรหรอกเนอะ



6. โรคผิวหนังแห้ง ลอก และคัน

อาการ: สาเหตุของโรคนี้ เกิดได้ 2 ปัจจัย นั่นก็คือปัจจัยภายนอกอาจจะเกิดจากอากาศและสิ่งแวดล้อมเช่น ช่วงที่อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำ ความชื้นในอากาศน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้ผิวแห้งได้ ส่วนปัจจัยภายใน ส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากสุขภาพโดยรวม อายุ โรคประจำตัวเช่น มีประวัติเป็นผื่นแพ้ผิวหนังตั้งแต่เด็ก หรือคนที่มีภาวะการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ อาการส่วนใหญ่ที่สังเกตได้คือผิวจะมีความหยาบกร้าน จับดูแล้วไม่เรียบ อาจแห้งจนลอกเป็นขุย บางคนถึงขนาดแสบ แดง คันซึ่งตำแหน่งที่มักจะเกิดผิวแห้งได้บ่อย คือ ใบหน้า มือ แขน ขาล่างวิธีรักษา: พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ผิวแห้งเช่น การอาบน้ำร้อนจัด การใช้สบู่หรือสารทำความสะอาดที่รุนแรงเกินไป แล้วใครที่แพ้อากาศหนาว แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงอากาศหนาวจัดหรือร้อนจัดไปเลย จะดีที่สุดทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ครีม หรือสารที่อาจทำอันตรายต่อชั้นผิวด้วย หากรู้สึกว่า อาการที่กำลังเป็นอยู่รุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาในขั้นตอนต่อไปนะคะวิธีป้องกัน: อย่างแรกเลยคือพยายามดื่มน้ำให้เยอะๆนะ หรืออาจจะทานอาหารเสริมหรืออาหารบางอย่าง ที่มีวิตามินเอ บี ซี แร่สังกะสีก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ควรทาครีมบำรุงผิวที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอโดยครีมที่เลือกใช้ ควรปราศจากสารที่อาจทำให้ผิวมีการระคายเคืองเช่น Paraben, Alcohol, น้ำหอม และสารอันตรายอื่นๆ ด้วย

และทั้งหมดนี้ ก็เป็นโรคที่มากับหน้าหนาว เอาจริงๆ ไม่ใช่แค่ต้องระวังโควิดนะ แต่เพื่อนๆ ก็ต้องระวังโรคอื่นๆ ที่มาพร้อมกับฤดูกาลนี้ด้วย ดูแลสุขภาพให้ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็ถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพไปได้ระดับนึงแล้วหนาวนี้ ยังไงก็ดูแลสุขภาพด้วยนะ บ๊ายบาย

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้