1. SistaCafe
  2. เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายนะเธอ! 'โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)' อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน ✧


เคยมีเพื่อนทักไหม ว่าเธอมีอารมณ์เหมือน ' รถไฟเหาะ ' ??



ไม่ใช่รถไฟเหาะในสวนสนุก ที่สร้างรอยยิ้มเฮฮาแต่อย่างใด แต่หมายถึงอารมณ์ขึ้นสุดลงสุดของเธอต่างหากล่ะคะซิส!


บทจะดีใจ ก็แฮปปี้เหมือนจะไม่เจอความสุขอีกแล้ว ฉลองสามวันสามคืน แต่พอบทจะดาวน์ ก็นอนเหม่อติดเตียงได้เป็นวันๆ เปิดเพลงวนซ้ำไปมา ไม่อยากจะคุยกับใคร หรือเวลาโกรธ ก็กลายเป็นแม่เสือจนทุกคนถอยกรูด ใครๆ ก็เดาใจไม่ถูกว่าเธอคิดอะไรอยู่ จนเพื่อนไม่กล้าเข้าหาแล้ว? #แงงงง TT^TT



ถ้าสาวๆ

SistaCafe

คุ้นๆ ว่าทั้งหมดที่กล่าวมา ค่อนข้างตรงกับตัวเธอเกือบ 99% เราว่าเธอเข้าข่ายจะเป็น

โรค ' อารมณ์สองขั้ว ' ( Bipolar Disorder )

แล้วล่ะค่ะ ลองอ่านบทความแปลนี้ แล้วเช็คดูว่าตรงหรือไม่ เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขได้ทันเวลา

อย่าปล่อยให้อารมณ์ด้านลบ ทำลายชีวิตของเธอ จนไม่เหลือใครซะก่อนนะ!

ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลื่อนลงมาอ่านกันเลยค่า



*เตือนไว้สักนิด : บทความนี้เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นเท่านั้นนะคะ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม แนะนำให้ปรึกษาหมอจะดีที่สุดค่ะ



โรคอารมณ์สองขั้ว ( Bipolar Disorder ) คืออะไร?

Bipolar disorder  ( เมื่อก่อนเรียกว่า Manic Depression หรือภาวะแมเนีย ผสมกับภาวะซึมเศร้า ) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง โดยจะเปลี่ยนไปมาระหว่างอารมณ์ดีเกินปกติ ( mania หรือ hypomania ) กับอารมณ์ซึมเศร้า ( depression ) นั่นเองเมื่อสาวๆ เกิดภาวะซึมเศร้า เธอจะซึม หม่น สิ้นหวัง ไม่สนใจอะไร ไม่อยากทำกิจกรรมอะไรทั้งนั้น แต่เมื่ออารมณ์สลับไปอยู่โหมด mania หรือ hypomania ก็จะกลับมาแฮปปี้ดี๊ด๊า พลังงานเต็มสูบอีกครั้ง ซึ่งอารมณ์เหล่านี้กระทบทั้งกิจกรรมการนอน พลังงาน ความคิด พฤติกรรม การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพของเธอค่ะ

แม้ว่าโรคนี้จะเป็นตลอดชีวิต รักษาไม่หายขาด แต่เธอก็สามารถจัดการอารมณ์ที่ผิดปกติ และอาการอื่นๆ ให้ดีขึ้นได้ ด้วยการหาหมอ รับแผนการรักษา หรือวิธีอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะรักษาได้ด้วยยา และการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาค่ะ


อาการที่บ่งบอกว่าเป็น Bipolar Disorder

โรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วมีหลายประเภท อาจรวมทั้งอาการ mania, hypomania และ depression ไว้ด้วยกัน อาจเป็นอาการที่ทำให้อารมณ์และพฤติกรรมของสาวๆ เปลี่ยนโดยไม่รู้ตัว ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก และส่งผลกระทบต่อผู้อื่นด้วยค่ะ ดังนี้Bipolar I disorder :เธอจะมีอารมณ์ช่วง manic  อย่างน้อย 1 ครั้ง ตามด้วย hypomanic หรือ major depressive บางกรณี mania อาจกระตุ้นให้หลุดจากโลกแห่งความเป็นจริงไปเลย ( โรคจิต )Bipolar II disorder :เธอจะมีอารมณ์ช่วง major depressive และ hypomanic สลับกันไปอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่เธอจะไม่เคยเข้าสู่ช่วงอารมณ์ manic หรืออารมณ์ดีเลย

Cyclothymic disorder :เธอจะเข้าข่ายนี้ ต่อเมื่อเธออารมณ์สวิงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 ปี ( หรือ 1 ปี หากเป็นเด็กหรือวัยรุ่น )

Other types :อาการอื่นๆ อาจมาจากการใช้ยาเสพติด, แอลกอฮอล์ หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาเส้นโลหิตตีบBipolar II ไม่ใช่อาการที่เบากว่า Bipolar I แต่เป็นการวินิจฉัยแยกกัน ในขณะที่ manic ของไทป์ I อันตรายและรุนแรงกว่า แต่ไทป์ II ก็อาจมีภาวะซึมเศร้ายาวนานกว่าเช่นกัน

แม้โรคอารมณ์สองขั้ว จะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่มักตรวจพบในช่วงวัยรุ่น หรืออายุ 20 ต้นๆ ซะมากกว่า โดยอาการอาจต่างกันไปในแต่ละคน และแต่ละช่วงเวลาค่ะ



Mania and hypomania

Mania และ hypomania เป็นช่วงอารมณ์ที่แตกต่างกัน แต่มีอาการเหมือนกัน ( mania จะร้ายแรงกว่า hypomania และมีผลกระทบกับชีวิตประจำวันมากกว่า ) mania อาจเป็นตัวกระตุ้นให้หลุดจากความเป็นจริง และต้องนำตัวไปรักษาในโรงพยาบาลค่ะทั้งสองช่วงอารมณ์นี้ ต้องมีอาการอย่างน้อย 3 อย่างดังนี้1. กระวนกระวาย, ท้อแท้, วิตกกังวล2. มีพลังงานทำสิ่งต่างๆ มากกว่าปกติ วุ่นวาย ก่อกวนไปทั่ว3. มีความสุขมากเกินไป มั่นใจในตัวเองเกินปกติ4. ต้องการพักผ่อนน้อยลง5. พูดมากขึ้นผิดปกติ6. ไม่มีสมาธิ วอกแวกตลอดเวลา7. ตัดสินใจไม่ได้อย่างถูกต้อง หรือตัดสินใจแบบไม่มีสติ


Major depressive episode

Major Depressive ( ภาวะซึมเศร้า ) รวมถึงอาการที่ร้ายแรงมากพอจะส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน เช่น ที่ออฟฟิศ ที่บ้าน กิจกรรมทางสังคมและความสัมพันธ์กับผู้อื่นช่วงอารมณ์นี้จะมีอาการไม่ต่ำกว่า 5 อย่าง ดังนี้1. ภาวะซึมเศร้า เช่น อารมณ์เศร้า ว่างเปล่า สิ้นหวัง ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ( ในเด็กและวัยรุ่น จะเป็นอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย )

2. ไม่สนใจ ไม่ยินดีทำอะไรทั้งสิ้น3. น้ำหนักลดทั้งที่ไม่ได้ไดเอท, น้ำหนักขึ้นผิดปกติ, ความอยากอาหารผิดปกติ

4. มีอาการนอนไม่หลับ, นอนเยอะผิดปกติ


5. กระสับกระส่าย, ขยับตัวช้าลงผิดปกติ


6. สูญเสียพลังงาน, เหนื่อยล้า


7. รู้สึกไร้ค่า, รู้สึกผิด ( ทั้งที่ไม่มีอะไร )8. ตั้งสมาธิได้แย่ลง ไม่กล้าตัดสินใจ9. คิด หรือตั้งใจจะฆ่าตัวตาย

อาการที่มักพบใน ' เด็กและวัยรุ่น '

อันที่จริงแล้ว อาการซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น มักตรวจพบแบบชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าเป็นอารมณ์ฉุนเฉียวปกติของวัยรุ่น หรือเป็นภาวะซึมเศร้าทางจิตกันแน่หากคนกลุ่มนี้เป็น ก็จะมีแพทเทิร์นต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่ อารมณ์ต่างๆ จะสวิงได้เร็วกว่า ช่วงเปลี่ยนอารมณ์แต่ละช่วง ก็อาจไม่มีปัญหาอารมณ์มาคั่นกลางเหมือนผู้ใหญ่สัญญาณเด่นๆ ของโรคอารมณ์สองขั้วในกลุ่มนี้ คืออารมณ์สวิงขั้นรุนแรง ซึ่งแตกต่างจาก ' อารมณ์เหวี่ยงตามปกติ ' ของวัยรุ่นทั่วไปค่ะ


เมื่อไหร่ที่ : ควรไปหาหมอ?

นอกจากอารมณ์สุดขั้วแล้ว ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่รู้ว่า ' ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ' รบกวนชีวิตและส่งผลต่อคนที่รักไปถึงขั้นไหนแล้ว และมักถูกละเลย ไม่ได้รับการรักษาเท่าที่ควรถ้าเธอเข้าข่ายเป็นโรคนี้ เธอจะรู้สึกร่าเริง แฮปปี้สุดๆ ในช่วง mania แต่ก็จะไม่ถาวร เพราะมันจะเป็นวงจรที่ตามมาด้วย ' อารมณ์ซึมเศร้ารุนแรง ' ตามลำดับ และส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ใช้ชีวิตลำบากขึ้นหากเริ่มรู้สึกผิดปกติ ไม่ว่าจะซึมเศร้าเกิน, แฮปปี้เกิน ควรรีบไปพบหมอ หรือจิตแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยด่วน โรคนี้ไม่สามารถหายได้เอง ควรได้รับการรักษาโดยคนที่มีประสบการณ์ เพื่อคุมอารมณ์ตัวเองให้อยู่ อย่าปล่อยไว้จนทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้ตัวนะคะ


สาเหตุของ ' Bipolar Disorder '

สาเหตุที่แท้จริงเลยนั้น ทางการแพทย์ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น1. ความแตกต่างทางชีวภาพ : ผู้ป่วยโรคนี้มักมี ' สมอง ' ที่สั่งการผิดปกติจากคนอื่น อาจไม่ชี้เฉพาะได้แน่ชัด แต่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่2. พันธุกรรม : หากใครมีพ่อแม่ หรือพี่น้องเป็นโรคนี้ ก็มีแนวโน้มสูงที่ตัวเองจะเป็นด้วย


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ' Bipolar Disorder '

ปัจจัยเสี่ยงมากๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ขึ้น มีดังนี้1. มีพ่อแม่ พี่น้อง หรือคนในสายเลือดทางตรง ที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว2. ความเครียดจัด เช่น เหตุการณ์สูญเสียคนที่รัก หรือได้รับอุบัติเหตุ เจ็บป่วยรุนแรง3. ใช้ยาเสพติด และแอลกอฮอล์อย่างหนัก

ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยไว้ไม่รักษา

หากปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ยอมรักษา อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตของเธอเกินกว่าจะคาดคิด เช่น1. ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและแอลกอฮอล์2. การพยายามฆ่าตัวตาย หรือฆ่าตัวตาย3. ปัญหาทางการเงิน หรือคดีความทางกฎหมาย4. ปัญหาความสัมพันธ์ที่แตกหัก ( ในครอบครัว, เพื่อน, แฟน )

5. ความสามารถในการทำงาน / เรียน ตกต่ำ


อาการที่มักเกิดขึ้นร่วมกัน1. อาการวิตกกังวล2. พฤติกรรมการกินผิดปกติ3. โรคสมาธิสั้น ( ADHD )4. ปัญหาเกี่ยวกับยา และแอลกอฮอล์5. ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ ปวดหัว หรือความอ้วน

การป้องกัน ไม่ให้เกิดโรค ' Bipolar Disorder '

อาจดูใจร้ายไปนิด แต่คงต้องบอกตามตรงว่า ไม่มีวิธีที่ป้องกันโรคอารมณ์สองขั้วได้ 100%แต่เราสามารถรักษาสัญญาณแรกเริ่มของการเป็นโรคนี้ได้ เพื่อไม่ให้อาการเลวร้ายลงไปกว่าเดิมค่ะถ้าสาวๆ ถูกวินิจฉัยว่าเป็นไบโพลาร์ สิ่งที่จะช่วยบรรเทาได้มีดังนี้1. ใส่ใจกับสัญญาณเฝ้าระวังที่เกิดขึ้น : ถ้ารู้สึกว่าตัวเองผิดปกติ อารมณ์สวิงเป็นช่วงๆ ทุกครั้งที่เกิดการกระตุ้น รีบไปพบแพทย์ได้ทันที หากไม่แน่ใจ ลองให้เพื่อนหรือพ่อแม่ช่วยสังเกตก็ได้ค่ะ2. ไม่ใช้ยาเสพติด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง3. กินยาให้ครบตามที่หมอสั่ง อย่าหยุดหรือลดยาเอง เพราะอาการอาจแย่ลงกว่าที่คิดอีกหลายเท่าค่ะ

-------------------เป็นยังไงบ้างคะสาวๆ หลังจากอ่านบทความเกี่ยวกับ ' โรคอารมณ์สองขั้ว ( Bipolar Disorder ) ' แล้ว เธอมีอาการเข้าข่ายโรคนี้บ้างหรือไม่ หากเธอรู้สึกว่าอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยเสถียร มีอะไรกระตุ้นนิดเดียวก็สวิงได้ทันที ทั้งที่ไม่ได้เป็นรอบเดือน เราแนะนำให้เธอไปหาจิตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำจะดีกว่า อย่าปล่อยให้แย่ลง และภาวนาว่ามันจะหายไปเอง เพราะมันไม่หายค่ะซิส แต่จะยิ่งทำให้ชีวิตเธอดิ่งลงเหวมากขึ้นเรื่อยๆ รีบไปหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษา ก่อนที่จะสายไปนะคะยุคนี้ สาวๆ ไม่ต้องกลัวการไปพบจิตแพทย์แล้วนะคะ ใครๆ ก็เกิดปัญหาทางจิตได้ ใครๆ ก็ไปหาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ต้องเขิน ไม่ต้องอาย ทำใจกล้าๆ ไว้ แล้วไปรักษา ให้กลับมาเป็นคนที่สดใสเหมือนเดิมกันดีกว่าเนอะ ^^ วันนี้เราขอตัวลาไปก่อน แล้วกลับมาพบกันใหม่คราวหน้าน้า บ๊ายบายค่า

-------------------


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้