1. SistaCafe
  2. โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ สำรวจตัวเองมีลักษณะแบบไหน พร้อมวิธีเปลี่ยนแปลงตัวเอง

" อะไรคือความสมบูรณ์แบบ "ถ้าให้พูดถึงในยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างกลายมาเป็นความสมบูรณ์แบบที่ไม่ว่าจะมองทางไหนก็สามารถเห็นได้ เพราะด้วยกระแสของโซเชียลมีเดียที่เริ่มทำให้ผู้คนได้มีการออกมาเปิดเผยตัวตนในมุมของตัวเองมากขึ้น แชร์ถึงเคล็ดลับหรือความสำเร็จในสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงบนแพลตฟอร์มที่สามารถนำไปสู่สายตาของคนได้มากหลากหลาย และด้วยสิ่งที่เรียกว่าโซเชียลแน่นอนทุกคนย่อมต้องแสดงสิ่งที่เพอร์เฟกต์ที่สุด ส่วนอีกมุมมองหนึ่งหรือเบื้องหลังของความสำเร็จด้านต่างๆ นั้นก็เก็บไว้ในใจ พอเมื่อทุกคนเห็นแต่สิ่งที่เรียกว่าสมบูรณ์แบบก็นำสิ่งเหล่านั้นมาบั่นทอนตัวเองหรือกดดันตัวเองมากจนเกินไป จนกลายมาเป็นที่มาของโรคกลัวตัวเองไม่ดีพอหรือ Atelophobiaฉะนั้นhttps://sistacafe.com/ชวนมาเช็กถึงลักษณะอาการและพร้อมวิธีหาทางแก้ไขเมื่อเข้าข่ายโรคนี้กัน


•´¨`*:•. *.:。*゚‘゚・.。. ¯`°.•°•.★*


โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ คืออะไร ?

Atelophobiaมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Atelo แปลว่าไม่สมบูรณ์แบบ และ Phobia แปลว่าความกลัว เมื่อนำมารวมกัน 'Atelophobia' จึงแปลได้ว่าอาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบหรือกลัวตัวเองไม่ดีพอ นับได้ว่าเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง และยังเป็นรูปแบบหนึ่งของโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) อีกด้วย ซึ่งจะมีความแตกต่างจากโรคกลัวความล้มเหลว Atychiphobia นั่นเองโดยมีสาเหตุของการเกิดโรคนี้จากการกลัวหรือการฝังใจตั้งแต่เด็ก รวมถึงการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เด็กไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ดีพอ เช่น ครอบครัวที่ญาติพี่น้องมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ครอบครัวที่ตั้งความหวังกับลูกมากเกินไป ยังรวมไปถึงสภาพสังคมที่บิดเบี้ยวโดยเฉพาะในวัยรุ่นและวัยทำงาน เป็นต้น


Perfectionist VS Atelophobia ต่างกันยังไง ?

Perfectionistคือ พฤติกรรมของคนที่รักความสมบูรณ์แบบ และมีความสุขกับผลงานหรือการกระทำของตัวเองที่มีผลออกมาได้อย่างดีไร้ที่ติ โดยพฤติกรรมเช่นนี้นั้นมาจากการบ่มเพาะมาตั้งแต่วัยเด็ก ที่ได้รับความคาดหวังและความกดดันจากบุคคลใกล้ตัวเมื่อความเพอร์เฟกต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่หากอย่างที่ทุกคนรู้ว่าในโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่หาความสมบูรณ์แบบ 100% ไม่ได้ จึงทำให้ด้วยสิ่งนี้กลายมาเป็นความกดดันที่สะสมในจิตใจเป็นเวลานาน จนทำให้จิตใจของเราเริ่มรู้สึกถึงความกลัว กลัวถึงว่าตัวเองจะไม่ดีพอ กลัวตัวเองจะทำในสิ่งนั้นไม่เพอร์เฟกต์อีกต่อไป กลัวถึงเรื่องความผิดพลาดจนทำให้โดนด้อยค่า และอาการเหล่านี้จึงเรียกอีกอย่างว่าAtelophobia


รูปแบบไหนถึงจะเป็น Atelophobia

คนที่เป็นโรคนี้อาจจะมีลักษณะแบบใดแบบหนึ่ง หรืออาจจะทุกแบบ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความแตกต่างเฉพาะรายบุคคล ยกตัวอย่างเช่น- ให้ความสำคัญกับการทำสิ่งต่างๆ ให้สมบูรณ์แบบ เช่น แก้งานแล้วแก้งานอีก ใส่ใจรายละเอียดจนเกินเหตุ- อดทนเห็นอะไรที่ไม่สมบูรณ์แบบไม่ได้ เช่น ข้าวของวางเรียงไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ต้องจัดใหม่โดยอาจจะเป็นการเรียงสีหรือเรียงขนาด เป็นต้น- กลัวความล้มเหลว กลัวว่าจะทำไปแล้วผลออกมาไม่เป็นที่ตนเองหวัง ทำให้ไม่กล้าลองอะไรใหม่ๆ เข้ามาในชีวิต- มีมาตรฐานสูงและมีเป้าหมายที่ไม่ยึดกับความเป็นจริง เช่น อยากทำธุรกิจแต่ไม่ลงมือทำสักที เพราะกลัวถึงสิ่งที่ไม่ต้องการกลับมาแทน- เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นในทุกๆ ด้าน กลัวจะแพ้คนอื่น กลัวว่าจะไม่สมบูรณ์แบบเหมือนกันคนอื่นทำ


เช็กพฤติกรรมเข้าข่าย Atelophobia

✔ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเกิดข้อผิดพลาด ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจว่าจะทำได้อย่างสมบูรณ์แบบก็จะไม่ทำเลย✔ มีอาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น✔ มีความวิตกกังวลที่รุนแรง มีความคิดหมกหมุ่นว่าตัวเองจะทำผิดพลาดและกลัวว่าจะทำให้คนอื่นรู้สึกผิดหวัง✔ ความกลัวนี้ส่งผลกระทบในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิต ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนรอบตัว เป็นต้น✔ ตั้งมาตรฐานของการกระทำไว้สูงจนไม่มองถึงความเป็นจริงในปัจจุบัน✔ มองโลกในแง่ร้ายมากเกินไป✔ มีอารมณ์ทางลบ อาจจะเป็นความเศร้าและความโกรธ✔ มีอาการเหนื่อยล้าจนถึงขั้นหมดไฟ หมดแพสชั่นในชีวิต✔ ยอมรับคำติเตือนไม่ได้✔ โฟกัสสิ่งที่อยู่สถานการณ์ตรงหน้าไม่ได้เพราะมีอาการสั่นกลัวไปหมด


อาการที่จะเกิดขึ้นของ Atelophobia

คนที่เป็นโรค Atelophobia หรือกลัวความไม่สมบูรณ์แบบกลัวตัวเองไม่ดีพอ มักจะมีความวิตกกังวลว่าตัวเองจะทำในสิ่งที่ไม่ดีพอ ตื่นกลัวถึงความผิดพลาด มาตรฐานที่ตั้งไว้สูงเกินไป และมีความเครียด จนเข้าข่ายอาการซึมเศร้าได้ โดยอาการที่สามารถสังเกตด้วยตัวเองนั้นมีดังนี้- วิตกกังวลอย่างรุนแรง- หายในสั้น ถี่ หายใจหอบ- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ- เหงื่อแตก- คลื่นไส้ จนถึงอาเจียน- ปากแห้งและคอแห้ง- ขาดสมาธิ- ตัวสั่น อ่อนแรง อยู่ไม่สุข- สูญเสียการควบคุมอารมณ์และการกระทำ- เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม- ปวดศีรษะเมื่อพบว่ามีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานานควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะ Atelophobia นั้นสามารถเข้าข่ายอาการซึมเศร้า อาจจะนำพาการใช้สารเสพติดมากเกินไป และความตื่นตระหนกเมื่อมีความรู้สึกอ่อนแอจนส่งผลเป็นอัมพาตในที่สุด


วิธีรักษา Atelophobia หรือ โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ

① Cognitive Brhavioral Therapyเปลี่ยนความคิดเพื่อให้พฤติกรรมเปลี่ยน เน้นแก้ความคิดที่เป็นปัญหาหลัก ถ้าสำหรับโรคนี้คือจะต้องไปดูว่าเพราะอะไรถึงมองความผิดพลาดในแง่ลบ มากกว่าที่จะมองให้เป็นการเรียนรู้------------------------------------------② Exposure Therapyพอรู้ความคิดไปในทิศทางไหนที่ทำให้ตื่นกลัว ผู้บำบัดจะทำให้เกิดความคุ้นชินกับความคิดนั้น โดยนำสิ่งที่เรากลัวนำมาเผชิญและเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความชินไปทีละเล็กละน้อย------------------------------------------③ Lifestyle Modificationsปรับรูปแบบการใช้ชีวิต กินอาหารที่ชอบ ออกกำลังกายควบคู่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สิ่งเหล่านี้จะนำพาไปสู่การการเปลี่ยนแปลงความคิดด้านลบได้ นอกจากนี้การทำสมาธิก็สามารถช่วยในเรื่องของความวิตกกังวลและแพนิคได้อีกด้วย------------------------------------------④ Medicationการรักษาด้วยยา ตามจริงยังไม่มียาตัวไหนที่เจาะจงในเรื่องของความกลัว แต่ยาจะเข้าไปช่วยลดอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลที่เกิดจากการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ


•´¨`*:•. *.:。*゚‘゚・.。. ¯`°.•°•.★*


เป็นยังไงบ้างคะทุกคน การทำความรู้จักกับโรคกลัวตัวเองไม่ดีพอเมื่อสภาพสังคมหล่อหลอมให้เราเกิดความกลัวต่างๆ มากขึ้น จนส่งผลที่ไม่ดีต่อการใช้ชีวิต การรีบสังเกตตัวเองเพื่อนำพาไปสู่การรีบแก้ไขจะทำให้เรานั้นสามารถที่จะดำเนินความคิดและการกระทำต่างๆ อย่างมีเหตุและมีผลที่อยู่บนรากฐานของความเป็นจริงมากขึ้น เมื่อโลกใบนี้ไม่ได้สร้างมาให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบแล้วทำไมตัวเราจะต้องไปกังวลกับมันมากเกินไป ฉะนั้นลองนำเอาสิ่งที่เรากลัวด้านต่างๆ มาเป็นบทเรียนจะดีกว่าที่เราไม่ลองลงมือทำอะไรเลยเมื่อมีความผิดพลาดก็ต้องมีการแก้ไข แล้วสุดท้ายสิ่งเหล่านั้นจะกลายมาเป็นบทเรียนราคาแพงและไม่สามารถหาได้นอกจากตัวเราจะได้เริ่มเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งนั้นๆ


บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด

https://sistacafe.com/summaries/93625

https://sistacafe.com/summaries/93026

https://sistacafe.com/summaries/94208


เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้