สาวซิสต้าเคยมีอาการ “ ซึมเศร้า ” โดยไม่รู้ตัวบ้างไหมคะ ชีวิตปกติก็มึความสุขดี สุขภาพก็ไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่บางครั้งก็จะมีอารมณ์เซ็ง เบื่อ อยากตายขึ้นมาซะอย่างนั้นแหละ จนบางครั้งก็แอบคิดว่าเราผิดปกติหรือเปล่าเนี่ย ควรจองคิวไปเช็คสมองที่โรงพยาบาลไหม เขาจะเอาไฟฟ้ามาช็อตไหม ระแวงรัวๆ
1. กินอาหารไม่มีประโยชน์ซ้ำๆ วนไปมา

2. ขาดอาหารประเภทโปรตีน

นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า อาหารที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณต่ำ ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางในร่างกายผิดปกติ ระบบการทำงานในสมองทำงานผิดเพี้ยน และทำให้ซึมเศร้าและมีอาการก้าวร้าวได้
3. กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ( Trans Fats ) มากเกินไป

4. ไม่กินอาหารที่มี “ ไขมันดี ” เลย

แม้อาหารที่มีไขมันชนิดเลว ( ไขมันอิ่มตัว ) จะทำให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้าสูงขึ้น ในทางกลับกัน ไขมันดีอย่างกรดโอเมก้า 3 กลับลดความเครียดและความหดหู่ในจิตใจของเราได้
อ้างอิงจากการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ Maryland ยืนยันว่าควรกินอาหารที่มีกรดไขมันในชีวิตประจำวัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริ่ง ปราเทราท์ วอลนัทและถั่วเหลือง เพื่ออายุที่ยืนยาวนะคะ
5. ไม่กินอาหารจำพวก “ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ”

6. กินอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป

เอามือออกจากถุงมันฝรั่งทอดเดี๋ยวนี้เลย หยุดเลียผงชูรสที่ติดนิ้วนั่นด้วย! นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวว่าการกินอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้!
มีการทดลองกับกลุ่มผู้ใหญ่ กำหนดชนิดอาหารเป็นเวล่า 5 ปี ค้นพบว่าอาหารสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการจากโรงงานอย่างขนมหวาน ของทอด เนื้อสำเร็จรูป ขนมกินเล่นที่มีแป้ง และซีเรียลกล่อง ทำให้มีภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นค่ะ
7. ร่างกายขาดวิตามิน B

ข้อดีของสองอย่างนี้ ช่วยทำให้ไม่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ มีผลการศึกษาค้นพบว่าผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักมีอาการขาดโฟเลตร่วมด้วยค่ะ
8. ไม่กิน “ ผักและผลไม้สดๆ ” เลย

แม้อาหารปกติ ( ที่ไม่ใส่ยาพิษ ) จะไม่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าโดยทันที แต่พฤติกรรมการกินอาหารซ้ำๆ เดิมๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันอิ่มตัวทั้งหลาย ไม่รับสารอาหารดีๆ อย่างวิตามินบีและกรดไขมันโอเมก้า 3 บ้างเลย อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้!
=============================
Comments