" เพื่อน "เป็นสิ่งมีชีวิตที่เราเลือกคบได้ แต่บางทีก็เลือกคบไม่ได้ด้วยสถานการณ์บางอย่าง เช่น จำเป็นต้องทำงานกลุ่มด้วยกัน, เรียนร่วมคลาสเดียวกัน, ทำงานที่เดียวกัน, อยู่หอพักที่เดียวกัน, เป็นญาติกัน, มีอาการป่วย ทำให้ทนคบกันไป อึดอัดไป เพราะอยากจะใช้อารมณ์วีนแตกบ้างก็ไม่ได้ เดี๋ยวเรื่องจะบานปลายไปอีก
อยากหายอึดอัดกับคนประเภทนี้มั้ย ? เรามีวิธี
หมายเหตุ
บทความนี้ไม่อนุญาตให้คัดลอกลงเว็บไซต์อื่นนะคะ หากต้องการเผยแพร่ ทำได้แค่กดไลค์และแชร์จากโพสต์นี้ค่ะ ^^
1. ตามน้ำไป ไม่ให้ความสนใจอะไรมาก ( เมื่อต้องเจอหน้ากันอย่างเลี่ยงไม่ได้ )

คนเรียกร้องความสนใจมักจะทำตัวให้เด่น คุยโม้โอ้อวด ทำสารพัดวิธีที่คนธรรมดาเขาไม่ทำกันเพื่อดึงดูดความสนใจจากคนอื่นให้ตัวเองรู้สึกมีค่า ถ้าเราไม่อยากปวดหัวอะไรมาก ก็แค่เออออ ตามน้ำไป คุยอะไรมาก็ยิ้ม เล่นด้วยพอเป็นพิธี ให้เขารู้สึกว่าเราก็มีความสำคัญ ( มีค่า ) ต่อเขาบ้าง ถ้าเริ่มอึดอัด ไม่ค่อยสบายใจนิดๆ ก็แค่ปลีกตัวออกมาเงียบๆ สวยๆ ก็พอ
2. รับฟังปัญหา แต่ไม่อินมาก

คนเรียกร้องความสนใจมักจะมีมุมที่โอเวอร์กว่าคนอื่นเสมอเมื่อเขามาปรึกษาอะไรก็ตาม เตือนสติตัวเองเสมอว่านั่นเป็นเรื่องเล่าในมุมของเขาเพียงด้านเดียว มันอาจมีอีกด้านที่เรานึกไม่ถึงก็ได้ ฟังหูไว้หู แค่นี้ก็ถือว่าทำหน้าที่ของเพื่อนที่ดีได้โอเคแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้สึกตาม เช่น สงสาร หดหู่ โกรธแค้นตาม วางใจเป็นกลาง รับฟังไว้เป็นเรื่องเล่าอย่างหนึ่งก็พอ
3. หัดปฏิเสธ หัดทำตัวไม่ว่างบ้าง

ถ้าไม่อยากบ่นว่า"อะไรๆ ก็ฉันตลอด"ก็หัดทำปฏิเสธ อ้างโน่นอ้างนี่ทำเป็นไม่ว่าง เพื่อให้เขาได้ไปพึ่งพาคนอื่นบ้าง ไม่ใช่ว่าเอะอะก็พึ่งเราคนเดียวตลอด เขาควรมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่หลากหลาย หรือพึ่งพาตัวเองสักหน่อย และเราก็ควรมีเวลากับสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่แค่เพื่อนคนนี้อย่างเดียว
4. อย่าทำเป็นเรื่องตลก ถ้าไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เพื่อนเป็นทุกข์/ประชด แค่เรียกร้องความสนใจหรือเป็นโรคทางจิต

แค่รับฟังก็ช่วยคนรอดจากการฆ่าตัวตายได้คนที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ส่วนหนึ่งก็เพราะแรงผลักดันจากคนที่หัวเราะเยาะหรือไล่ให้ไปทำจริง (เพราะคิดว่าไม่ทำหรอก) เพื่อป้องกันโศกนาฏกรรมแบบนี้ซ้ำรอย อย่าเพิ่งขบขัน ทำเป็นเรื่องเล่น แต่ก็อย่าถึงกับสงสารจนไม่เป็นอันทำอะไรซะเอง ทำอย่างข้อ 2. รับฟังปัญหาเขาไว้ ไม่อิน ไม่แสดงความคิดเห็นหรือท่าทีที่อาจจะกระทบความรู้สึกเขาหากต้องการแนะนำให้เพื่อนไปพบจิตแพทย์ อย่าพูดในเชิงติดตลกหรือประชด แต่ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่ดี มีเหตุผล นึกถึงคนฟังเข้าไว้มากๆ เพราะถ้าคิดในมุมกลับกัน เป็นเรา เราก็ไม่ชอบใจหรอกที่ปรึกษาใครแล้วจู่ๆ โดนหัวเราะใส่หรือไล่ให้ไปหาหมอไป๊! โดยขาดเหตุผล ขาดน้ำเสียงที่ห่วงใยอย่างแท้จริง
5. เตือนอย่างมีเหตุผล ในกรณีที่เริ่มรู้สึกได้ว่าเขากำลังทำให้เราหรือคนอื่นไม่สบายใจ
การบลัฟกัน หักหน้ากันกลางที่ประชุม อาจทำให้เขาอายได้แค่ชั่วคราว หรือรู้สึกเป็นศัตรูกับเราในทันที เพื่อลดความรุนแรงลงมาหน่อย เราควรแอบมาตักเตือนเขาเป็นการส่วนตัว อย่างน้อยก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า" เราซีเรียสนะเรื่องนี้ ค่อนข้างไม่ชอบ และยอมรับตามตรงว่ารำคาญ "อย่าลืมแสดงเหตุผลด้วย มิฉะนั้น จะเหมือนการเรียกเขาไปด่าเอาสะใจเพียงอย่างเดียว
6. เพิกเฉย ทำเป็นไม่เห็นบ้างก็ได้

อะไรที่ไม่เข้าท่า ไม่เข้าที เราเห็นแต่ทำเป็นไม่เห็น ไม่ทักบ้างก็ได้ เขาจะได้หันไปทักคนอื่นแทน เราจะได้สบายใจมากขึ้น
หรือสมมติว่าเรากำลังคุยเรื่องงาน แล้วจู่ๆ เขาก็แต่งตัวโดดเด่น กะจะให้เราทัก ก็มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา คุยแต่เรื่องงานก็พอ เขาจะเงียบไปเอง เพราะตราบใดที่เราสนใจ เขาก็จะสรรหามานำเสนออยู่นั่นแหละ
7. อยู่ห่างๆ กันไว้

สุดท้าย ถ้ารู้สึกว่าการเข้าใกล้ทีไรต้องมีเรื่องให้ปวดหัว เดือดร้อนตัวเองทุกที ก็เฟดตัวเองออกไปให้ห่างๆ กันเข้าไว้ ไปเกาะกลุ่มเพื่อนคนอื่น หรือทำวิธีไหนก็ได้ที่ไม่ต้อง" เอะอะก็เราคนเดียว "ถ้ายังแอบเป็นห่วง ก็สังเกตการอยู่ห่างๆ นานๆ ทีจะทักถามทุกข์สุขกันบ้างก็แล้วกัน
หวังว่าวิธีที่เรานำมาฝากกันวันนี้ สาวๆ จะสามารถนำไปปรับใช้กับเพื่อนสาวรอบกายได้นะคะ ค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ แก้ ใจเย็นๆ คุยกันด้วยเหตุและผลก็จะทำให้สุดท้ายแล้วทุกอย่างออกมาดีแน่นอนค่ะ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง

ไปเกาหลีซื้ออะไรดี รวมรีวิวของฝากยอดนิยมที่เกาหลี จาก Pantip
https://sistacafe.com/summaries/6802

8 เพลงเพราะๆ จาก 'Troye Sivan' ฟังสบายในวันพักผ่อน
https://sistacafe.com/summaries/7930