เนเชอรัลไม่เท่ากับออร์แกนิก!! แว่นขยายนิยาม “ออร์แกนิก”และสิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดจากการตลาด

รูปภาพ:

ปัจจุบันกระแสการตระหนักทางสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงแซงทางโค้ง ทำให้หลายคนหันมาใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากเทรนด์cruelty free หนังสั้น “Save Ralph” แคมเปญรณรงค์ยกเลิกการใช้เครื่องสำอางทดลองกับสัตว์ซึ่งไวรัลทางโซเชียลมีเดียไปเมื่อช่วงต้นปีแน่นอนว่าความปลอดภัยในเครื่องสำอางไร้สารเคมีก็ยังคงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ เนื่องจากชีวิตประจำวันก็มีความเสี่ยงจะได้รับสารพิษจากมลภาวะทางอากาศหรือแม้แต่จากน้ำและอาหารที่เราทาน เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสกับสารพิษเหล่านั้นจึงทำให้กระแสออร์แกนิกยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องและดูท่าว่ามีแนวโน้มที่จะเติบโตเรื่อยๆ อีกด้วย

ในยุคที่ผู้คนเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเหล่าผู้ผลิตจึงคว้าโอกาสนี้ในการปล่อยผลิตภัณฑ์มากมายออกสู่ท้องตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แปะป้ายว่าเนเชอรัลตัวโตลงบนสินค้าสร้างความสับสนให้กับชาวสายเขียวต้องมาถกเถียงกันว่า ‘เนเชอรัลเท่ากับออร์แกนิกหรือไม่’ วันนี้แพรจะมาขยายคำนิยามออร์แกนิกและไขข้อสงสัยให้ได้รู้ถึงความแตกต่างกันค่าาา

รูปภาพ:

ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ( Natural product )

หากพูดคำนี้ออกมาแน่นอนว่าหลายๆ คนคงคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ถ้าเราไปเดินห้างสรรพสินค้าก็มักจะเห็นคำว่าเนเชอรัลปรากฎอยู่บนสินค้ามากมาย เนเชอรัลนั้นเป็นส่วนผสมที่ได้มาจากธรรมชาติโดยมักจะมาจากพืชที่ไม่ผ่านการเพาะปลูกแบบออร์แกนิค ผ่านกระบวนการทางเคมีให้น้อยที่สุดและยังคงคุณค่าทางธรรมชาติอยู่

ต้องเล่าก่อนว่าการเคลมเนเชอรัลนั้นไม่ได้ถูกควบคุมทางกฎหมายจากหน่วยงานใดดังนั้นหากในผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมจากธรรมชาติรวมถึงมีส่วนผสมอื่นซึ่งไม่ได้มาจากธรรมชาติประกอบรวมอยู่ด้วยก็สามารถเคลมว่าเนเชอรัลได้ ทำให้นี่กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางของเหล่าผู้ผลิตหัวใสในการเลือกแปะคำว่าเนเชอรัลไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจจากเหล่าลูกค้า

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วไหนใครเคยตกเป็นเหยื่อการตลาดบ้างยกมือขึ้นน

รูปภาพ:

ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ( Organic product )

ออร์แกนิก

จะอยู่ภายใต้การ

ควบคุมทุกขั้นตอนผลิต


ริ่มตั้งแต่ขั้นต้นของการเตรียมดิน การเพาะปลูกโดยปราศจากยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยเคมีจากฟาร์ม ปราศจากการดัดแปลงทางพันธุกรรม การแปรรูปโดยไร้สารเคมี

และมีรายละเอียดยิบย่อยแถมยังเข้มงวดมากๆ อธิบายอย่างง่ายๆ ว่าเป็นการปลูกพืชบนผืนดินบริสุทธิ์และควบคุมทุกขั้นตอนการผลิตจนกว่าจะถึงมือของผู้บริโภคนั่นเองค่ะ

♡♡♡♡♡


การแบ่งเกณฑ์ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

-100%ออร์แกนิก: ส่วนผสมทั้งหมดต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน-Organic:95%ของส่วนผสมผ่านการรับรองมาตรฐาน อีก5%เป็นส่วนผสมที่อนุญาตให้ใช้ได้จาก National listเท่านั้น-Made with Organic: ส่วนผสมอย่างน้อย70%ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน-Specific Organic ingredients list: มีส่วนผสมน้อยกว่า70%ผ่านการรับรองมาตรฐานไม่สามารถเคลมว่าออร์แกนิกได้แต่สามารถระบุได้ว่าส่วนผสมใดเป็นออร์แกนิกและต้องใส่%กำกับ

♡♡♡♡♡


ทำไมผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ( Organic product ) ถึงราคาสูงลิ่ว?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมผลิตภัณฑ์จากออร์แกนิกเนี่ยราคามันถึงแพงได้ขนาดนั้นล่ะ ก็ต้องบอกเลยว่าการเคลมออร์แกนิกนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและมีต้นทุนที่สูงมากกก

อีกทั้งส่วนผสมทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ยัง

ต้องผ่านกฏเกณฑ์มากมายตามมาตรฐาน ( National Organic Program – NOP )


ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ( United States Department of Agriculture – USDA )


จึงจะได้เครื่องหมายรับรอง Certified organic

ออกมา ทำให้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกมักมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปนั่นเอง ตัวอย่างเครื่องหมายรับรอง เช่น USDA Organic, ECOCERT Cosmos Organic

รูปภาพ:

ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ( Organic product ) ดียังไง

แล้วออร์แกนิกนี่มันดีตรงไหน แพงหูฉีก คุ้มค่ากับที่ต้องจ่ายยังไงล่ะ อะๆ ใจเย็นๆ สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วมาดูข้อดีกันค่า

ข้อดีของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

-มั่นใจได้ว่าไม่ผ่านการทดลองกับสัตว์ จะไม่มีน้องๆตัวไหนต้องเสียสละชีวิตเพื่อความต้องการอันแสนจะสิ้นเปลืองของมวลมนุษย์อย่างแน่นอน

-ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีจึงมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการแพ้หรือระคายเคือง

-ส่วนผสมผ่านการรับรองด้วยมาตรฐานอันเข้มงวดจึงทำให้ผู้บริโภคสามารถวางใจในเรื่องความปลอดภัยได้

♡♡♡♡♡

เป็นยังไงกันบ้างคะ ตอนนี้เข้าใจความแตกต่างระหว่างเนเชอรัลและออร์แกนิกกันมากขึ้นรึยังเอ่ยย หรือยังมีความงงๆ เกาหัวกันอยู่ บ่นกับตัวเองว่ายากไปไหมอะไรกันเนี่ยยยแบบนี้แพรแนะนำวิธีที่ง่ายที่สุดให้ดูที่เครื่องหมายรับรองออร์แกนิก แค่นี้เราก็จะเมคชัวร์ได้ว่าเราจะไม่เด๋อด๋าหยิบผลิตภัณฑ์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ออร์แกนิกมาแล้วค่ะ

♡♡♡♡♡