" รีบสังเกตก่อนจะเป็นอันตราย " บอกเลยว่าปัจจุบันปัจจัยหลายๆ อย่างสามารถส่งผลต่อร่างกายของเราได้ง่ายๆ โดยเฉพาะปัญหาจากความเครียดที่เกิดขึ้นได้กับตัวของเรา ซึ่งความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่สามารถถูกกระตุ้นด้วยสภาพแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การทำงาน รวมไปถึงปัญหาของเรื่องชีวิต สิ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ใครหลายๆ ต้องเผชิญ และเกิดเป็นโรคร้ายโดยไม่รู้ตัว ลองสังเกตง่ายๆ จากพฤติกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของเรา จะเห็นได้ว่าเมื่อก่อนกิจกรรมที่เราทำสามารถส่งผลให้น้ำหนักลดลงได้ แต่ปัจจุบันแค่กินนิดหน่อยก็อ้วน หรือออกกำลังกายเท่าไรก็ไม่ลง นอนเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังไม่เพียงพอต่อการพักผ่อน ซึ่งอาการเบื้องต้นนี้ก็สามารถกลายเป็นสาเหตุที่ส่งต่อไปถึง ภาวะต่อมหมวกไตล้าได้ ดังนั้นแล้วเรามาทำความรู้จักกับ ' Adrenal Fatigue หรือ ภาวะต่อมหมวกไตล้า 'กัน
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
Adrenal Fatigue หรือภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นยังไง?
ภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ โดยมักจะถูกมองข้ามไป จนกลายเป็นโรคร้ายที่อาจถูกลืม ซึ่งสามารถส่งผลให้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้านั้นล้าช้าได้ โดยเหตุผลอีกส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมาจากอาการที่แสดงให้เห็นก่อนจะเกิดโรค ที่ยังไม่มีโรคหรือสิ่งร้ายแรงอะไร จึงทำให้ใครหลายๆ คนไม่ได้เกิดความเข้าใจและไม่รู้จัก นั่นเอง แต่อาการที่สามารถแสดงให้เห็นถึงโรคนี้คือ สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตให้ลดลงได้ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรง ไม่มีแรง ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นได้ การตรวจนั้นต้องมีการนำไปวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ
ต่อมหมวกไตล้า เกิดจากอะไร? มีอาการอะไรบ้าง?
เนื่องจากในร่างกาย หน้าที่ของต่อมหมวกไตคือเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมน ที่มีหน้าที่ตรวจดูเพื่อช่วยขจัดและต่อสู้กับความเครียดเพื่อให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุล แต่ถ้าร่างกายมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการออกกำลังกายเกินพอดี จนทำให้ต้องผลิตฮอร์โมนติซอลออกมาเพื่อจัดการความเครียด จนต้องส่งผลทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว ถ้าร่างกายมีการหลั่งคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่องหรือมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้โดยนอกจากความเครียดทางจิตใจแล้ว ความเครียดทางร่างกายก็เกี่ยวด้วยที่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้เช่นกัน ความเครียดทางร่างกายอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนอนดึก การไม่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ การรับประทานของหวานหรือน้ำตาลมากเกินไป เป็นต้น
มาเช็กอาการที่เข้าข่ายมีโอกาสเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า
- ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
- ง่วงแต่นอนไม่หลับ
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
- อยากของหวาน หรือของเค็ม
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- ปวดประจำเดือนบ่อย
- เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ท้องผูก
- เครียด ซึมเศร้า
- คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลง
- รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อกินน้ำตาลเข้าไป
- ผิวแห้งและแพ้ง่าย
ฮอร์โมนสำคัญจากต่อมหมวกไต
ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่หุ้มอยู่บริเวณขั้วไตทั้งสองข้าง โดยเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
- ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเครียด โดยปกติร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมาในตอนเช้า เพื่อทำให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างวัน โดยฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
- ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) ฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนทั้งหญิงและชายต่อไป (Pre-sex hormones) เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน โดยมีหน้าที่กระตุ้นการสร้างกล้ามเนืิ้อ ลดไขมัน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลังและ DHEA เป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกายเรา ในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ทั้งมีการชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เป็นต้น
- ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกาย
ต่อมหมวกไตล้ารักษาด้วยตนเองได้ไหม?
ภาวะต่อมหมวกไต และภาวะ burn out สามารถรักษาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีรักษาสามารถทำได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม และพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ แต่หลัง 10.00 น. ระดับ cortisol จะลดลงทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย)
- รับประทานมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนการทานอาหารมื้อหลักๆ เพียง 1-2 มื้อ
- ออกกำลังกายไม่หนักจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
- เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น หางานอดิเรกทำ หรือจัดห้องให้น่าอยู่
- เดินทางไปเที่ยว หรือหาสถานที่พักผ่อน ลดความเครียด
- รับประทานอาหารเสริมที่ต่อมหมวกไตต้องการ
- หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม
วิตามินที่ต่อมหมวกไตต้องการ
- วิตามิน C ช่วยเสริมภูมิต้านทาน พบมากในผักและผลไม้สด
- วิตามิน B3 ช่วยเผาผลาญพลังงาน ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารและผลิตฮอร์โมนทางเพศและสุขภาพผิวหนัง พบมากในตับ อะโวคาโด ปลา ถั่ว เห็ด และบล็อคโคลี เป็นต้น
- วิตามิน B5 ช่วยเรื่องการทำงานของต่อมหมวกไต สร้างภูมิต้านทาน พบมากในเนื้อสัตว์ หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว และผักสีเขียว
- วิตามิน B6 ช่วยเรื่องระบบประสาทในสมอง ควบคุมและปรับสมดุลฮอร์โมน พบมากในไข่ไก่ ตับสัตว์ นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ และกะหล่ำปลี
การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า
การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาสู่สภาวะสมดุลนั้น อาจจะต้องใช้เวลามากถึง 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น เพราะต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของผู้เข้ารักษาเป็นหลัก ซึ่งกรณีแบบนี้นั้นทำให้ในหลายคนไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ เพราะไม่สามารถฝืนทนต่อพฤติกรรมที่เราเคยชิน พร้อมมาด้วยความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย จึงจำเป็นต้องเข้ารักษาหรือปรึกษากับแพทช์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ให้ร่างกายกลับไปสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้าและภาวะ burn out ได้อีกครั้ง
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
Check list ภาวะ Adrenal Fatigue หรือต่อมหมวกไตล้า กันแล้วเป็นอย่างไรกับบ้างคะ มากกว่า 5 ข้อ หรือมี 5 ข้อเป๊ะๆ บอกเลยว่าเรานั้นมีมากกว่า 5 ข้อเลยทีเดียว ด้วยความที่เป็นพฤติกรรมที่ทำมาอย่างต่อเนื่องและอาจจะคิดว่าเราแค่พักผ่อนไม่เพียงพอเลยไม่ได้รู้สึกว่าเข้าข่ายภาวะต่อมหมวกไตล้าแล้ว แต่พอมาดูและสังเกตจริงๆ อาการที่เราเป็นนั้นมันค่อนข้างตรงและเหนื่อยง่าย จนส่งผลต่อความเครียดของเรา บางครั้งอาจไปกระทบชีวิตประจำวันหรือการทำงานของเราเลยทีเดียว ฉะนั้นแล้วเพื่อนๆ ชาวซิสอย่าลืมเช็กตัวเองกันด้วยนะคะ เพราะถ้าเราละเลยมากเกินไปอาจจะทำให้ส่งผลร้ายแรงในอนาคตของเราได้ อย่างไรก็ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วยหรือรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันด้วยน้า เราก็ด้วยเช่นกัน ><
บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด
#อย่าคิดว่าแค่เหนื่อย! 7 สัญญาณน่ากังวลของ ' ภาวะต่อมหมวกไตล้า ' จากความเครียด เสี่ยงโรคร้ายไม่รู้ตัว | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/82440
#พักก่อนร่างจะพัง! 7 สัญญาณบอกว่าเธอ 'ออกกำลังกายหนักเกินไป' สุขภาพเสีย น้ำหนักลดยากกว่าเดิม (×﹏×) | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/81320
ปั้นหุ่นสวยไม่สำเร็จสักที! 7 สาเหตุที่ทำให้ “ เหนื่อยง่าย ” ระหว่างออกกำลังกาย หมดแรงจนต้องหยุดกลางคัน | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/86144
เช็กลิสต์ 4 โรคอันตรายที่สาว ๆ ควรระวัง ! | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/93916
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำคัญยังไง ? ควรตรวจแบบไหนบ้าง เช็กเลย ! | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/98257
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
Adrenal Fatigue หรือ ภาวะต่อมหมวกไตล้า
https://www.thrivewellnessth.com/post/adrenal-fatigue-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2
กลางวันไม่ตื่น กลางคืนไม่หลับ โรคร่าเริงของภาวะต่อมหมวกไตล้า
https://www.thrivewellnessth.com/adrenal-fatigue