1. SistaCafe
  2. ชอบเขย่าขา พฤติกรรมชวนเสียบุคลิกที่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรค

สวัสดีค่ะ มีเพื่อน ๆ ชาวซิสคนไหนที่ ชอบเขย่าขา หรือมีคนใกล้ตัวที่ชอบเขย่าขาจนเรารู้สึกรำคาญบ้างไหมคะ? บางทีก็อาจเป็นวิธีแก้เครียดปกติเหมือนที่คนส่วนใหญ่ทำกัน หรืออาจจะทำขึ้นมาโดยที่ไม่รู้ตัว มองเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นการเขย่าขาเพลิน ๆ ธรรมดาใช่ไหมล่ะคะ แต่เพื่อน ๆ รู้กันไหมคะว่าจริงๆแล้วพฤติกรรมนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคหลายโรคเลยทีเดียวค่ะ ซึ่ง CutenessCorner เลยขอชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับพฤติกรรมนี้ไปพร้อม ๆ กัน!!


ชอบเขย่าขาเกิดจากอะไร ทำไมบางครั้งไม่รู้ตัว?


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201266%2F509e162f-beb1-4c1c-8118-240c69187257?v=20240627083241
ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก Canva

  1. ความเบื่อ ในบางครั้ง พฤติกรรมชอบเขย่าขาของเราก็สามารถเกิดจากความเบื่อได้ค่ะ เพราะเมื่อเรารู้สึกเอื่อย เฉื่อยชา เบื่อ ๆ สมองก็จะมองหาสิ่งกระตุ้นเพื่อให้ตื่นตัว ดังนั้น การเขย่าขาจึงเป็นการกระตุ้นร่างกายและจิตใจ คล้ายๆ กับการเคี้ยวหมากฝรั่ง ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก นักเรียนที่นั่งเรียนนาน ๆ หรือพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ ค่ะ
  2. กำลังใช้สมาธิ การเขย่าขามีส่วนช่วยให้เพื่อน ๆ บางคนจดจ่อและมีสมาธิมากขึ้นค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูง เช่น การเรียน การทำงาน หรือการอ่านหนังสือ หรือในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ เมื่อต้องจดจ่อกับงาน หรือกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนออกมา กระตุ้นให้สมองทำงาน กล้ามเนื้อตึง การเขย่าขาจึงเป็นการระบายพลังงาน คลายความตึงเครียด ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พฤติกรรมนี้มักพบในนักเรียนที่กำลังสอบ นักกีฬาที่กำลังแข่งขัน หรือพนักงานที่กำลังทำงานสำคัญค่ะ
  3. ความเครียด เมื่อเรารู้สึกเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด กล้ามเนื้อตึง การเขย่าขาเป็นการระบายความเครียด คล้ายๆ กับการกัดเล็บ หรือดึงผม พฤติกรรมนี้มักพบในผู้ที่เผชิญกับปัญหา หรืออยู่ในสถานการณ์ที่กดดันค่ะ
  4. อาการสมาธิสั้น (ADHD) อาการนี้มักพบในเด็ก แต่บางครั้งก็พบในผู้ใหญ่เช่นกันค่ะ ผู้ที่มีอาการนี้มักมีสมาธิสั้น มักจะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ซึ่งการเขย่าขาเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่แสดงออกถึงอาการนี้ค่ะ นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อยู่ไม่นิ่ง ขี้ลืม หุนหันพลันแล่น ใจร้อน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
  5. ความตื่นเต้น เมื่อรู้สึกตื่นเต้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนออกมา ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายอยู่ในภาวะพร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ การเขย่าขาจึงเป็นการคลายความตื่นเต้นโดยไม่รู้ตัวค่ะ

ชอบเขย่าขาส่งผลเสียอย่างไร

จริง ๆ แล้ว การเขย่าขาก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมปกติที่พบได้ทั่วไปค่ะ มักเกิดจากความเครียด เบื่อ เซ็ง หรือต้องการกระตุ้นตัวเอง แต่ถ้าหากเราเขย่าขาบ่อย ๆ เป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อหลายทางเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราด้วยค่ะ

  • ดูเป็นคนอยู่ไม่นิ่ง เมื่อเราเขย่าขา จะทำให้เราดูเป็นคนไม่สงบ นั่งไม่นิ่ง ยุกยิก เหมือนเป็นคนที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ค่ะ
  • ขาดความเป็นมืออาชีพ การชอบเขย่าขาส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพค่ะ โดยเฉพาะการทำธุรกิจ ประชุม หรือนำเสนองานจะทำให้ดูขาดความน่าเชื่อถือและขาดความมั่นใจค่ะ
  • สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น การเขย่าขาสามารถสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่นที่อยู่ใกล้เราด้วยค่ะ โดยเฉพาะเมื่อเราอยู่ในพื้นที่สาธารณะ และอาจถูกมองว่าเป็นคนไม่มีมารยาท ไม่สุภาพ อาจผู้อื่นเสียสมาธิ แล้วก็ส่งผลต่อการสื่อสารในการทำงานร่วมกันได้ค่ะ สำหรับในบางวัฒนธรรมนะคะการเขย่าขาก็อาจถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ดูไม่ดีเลยก็ว่าได้ค่ะ
  • ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การเขย่าขาส่งผลต่อสุขภาพมากมายเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เพราะถ้าเราเขย่าขาเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดอาการชา ปวดเมื่อย หรือบวมบริเวณขา หรือส่งผลต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อค่ะ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201266%2F62937a5f-1991-48d4-ada0-17fbb28ee673?v=20240627083203
ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก Canva

ชอบเขย่าขาเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

  • โรคสมาธิสั้นหรือ โรค ADHD ผู้ที่เป็นสมาธิสั้นจะมีปัญหาในเรื่องการจดจ่อและควบคุมพฤติกรรมของตัวเองค่ะ มักจะมีอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งการเขย่าก็เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยค่ะ
  • โรควิตกกังวล ความวิตกกังวล อาจกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ ทางร่างกาย รวมถึงการเขย่าขาค่ะ ซึ่งการเขย่าขาอาจเป็นวิธีหนึ่งในการปลดปล่อยความตึงเครียดและความวิตกกังวลที่สะสมอยู่นั่นเอง
  • อาการทางจิตเวช การเขย่าขาอาจเป็นสัญญาณของอาการทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคจิต อาการนี้มักเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ความคิดแปลก ๆ หรือพฤติกรรมแปลก ๆ ค่ะ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ โดยไทรอยด์จะมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระบบเผาผลาญ ถ้าไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือทำงานน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ รวมถึงการเขย่าขาค่ะ
  • โรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันเป็นภาวะที่เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหว การเขย่าขาอาจเป็นหนึ่งในอาการแรก ๆ ของโรคนี้เลยค่ะ
  • โรคปลอกประสาทเสื่อม โรคปลอกประสาทเสื่อมเป็นกลุ่มโรคที่ส่งผลต่อปลอกไมอีลิน ซึ่งเป็นฉนวนที่ห่อหุ้มเส้นประสาท การเขย่าขาอาจเป็นสัญญาณของความเสียหายของปลอกไมอีลิน และอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ขาอ่อนแรงและชาค่ะ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201266%2Fc9356185-4614-4db4-8627-12333271b2e8?v=20240627083129
ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก Canva

วิธีแก้พฤติกรรมชอบเขย่าขา?

การที่เรามีพฤติกรรมเขย่าขาส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและสุขภาพจิตได้อย่างมาก แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ! มีวิธีที่สามารถช่วยให้เราเริ่มต้นการแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันเลยว่าทำอย่างไรบ้าง!

  1. เปลี่ยนอิริยาบถ การเปลี่ยนอริยาบถเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ เพราะการนั่งในท่าเดิมนาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าและกระตุ้นให้เรารู้สึกอยากเขย่าขา ดังนั้นควรพยายามเปลี่ยนท่านั่งหรือยืนขึ้นบ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักและฟื้นฟู เช่น การยืดเหยียดขา ลุกขึ้นเดินรอบ ๆ หรือเปลี่ยนท่าทางในการนั่ง การทำเช่นนี้ไม่เพียงช่วยลดการเขย่าขา แต่ยังช่วยปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิตและลดความเมื่อยล้าได้อีกด้วยค่ะ
  2. จัดการความเครียด อย่างที่เราทราบกันว่าความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมชอบเขย่าขาค่ะ การจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อน ๆ ลองหากิจกรรมที่ช่วยให้เราผ่อนคลายและลดความเครียดทำดูสิคะ รับรองว่าช่วยได้อย่างแน่นอน
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมชอบเขย่าขาได้ค่ะ ดังนั่นควรการหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่พอเหมาะจึงเป็นวิธีที่ช่วยลดการเขย่าขาได้ นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ อย่างชาสมุนไพรหรือน้ำผลไม้ ก็สามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดพฤติกรรมขย่าขาได้เช่นกันค่ะ
  4. นวด การนวดเป็นวิธีลดพฤติกรรมชอบเขย่าขาที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งเลยค่ะ ซึ่งการนวดจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดด้วยนั่นเอว

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201266%2Fde971cdc-6826-41ef-92a0-e51c690dafba?v=20240627083355
ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก Canva

สรุปส่งท้าย


อาการ ชอบเขย่าขา ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรงหรืออันตรายมากเท่าไหร่ค่ะ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อใช้ชีวิตอยู่เหมือนกัน ดังนั้น เพื่อนๆชาวซิสคนไหนที่มีพฤติกรรมนี้ก็สามารถสังเกตและลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง หรืออาจจะหาเวลาไปพบคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำและวิธีการรักษาต่อไปได้ค่ะเอาล่ะค่ะถึงเวลาที่ต้องบอกลากันแล้ว สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ที่ Sistacafe เช่นเดิมนะคะ บ๊ายบาย


บทความแนะนำที่ซิสไม่ควรพลาด







เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้