กลับมาอีกครั้งในปีนี้กับหนังแนวแฟนตาซีสุดอลังการจัดเต็ม CG ใครที่รู้สึกเหมือนห่างหายไปนานห้ามพลาดเด็ดขาด! เพราะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพ่อมดแม่มดที่หลายคนอาจตั้งตาคอย ปีนี้มาเให้สิร์ฟเลยกับเรื่อง Wicked ที่จะพาไปท่องโลกของพ่อมดแม่มด พร้อมกับตัวละครสุดเซอร์ไพรส์อย่าง Ariana Grande นักร้องสาวที่กลับมามีบทบาทสำหรับนักแสดงอีกครั้งแถมยังมารับบทหลักในเรื่องนี้อีกด้วย แต่ไม่ใช่แค่เนื้อเรื่องที่น่าติดตามเพียงเท่านั้น แค่ตัวอย่างของเรื่องก็ทำให้เห็นถึงความเข้มข้นเนื้อหา มิตรภาพ การชิงดีชิงเด่น และสุดท้ายปมปัญหาที่เราต้องไปดูกันว่าที่จริงแล้วเรื่องนี้จุดประสงค์ต้องการสื่ออะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ เลยคือเราจะได้อะไรมากมายจากเรื่องนี้แน่นอน โดยเฉพาะเนื้อหาหลักที่เราจะเอามาพูดถึงในวันนี้หรือ Smiling Depression แสร้งว่าไหวแต่ในใจแตกสลาย กัน เรามาดูกันว่าSmiling Depression ทำไมถึงกลายมาเป็นหัวข้อหลักที่เราจะพูดถึงแล้วเกี่ยวอะไรกับภาพยนตร์ Wicked ฉะนั้นเราก็ไปดูและไขข้อสงสัยกันได้เลย
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
ภาพยนตร์แฟนตาซี Wicked
เป็นเรื่องราวที่ไม่เคยได้รับการบอกเล่าของแม่มดแห่งออซ เอลฟาบา หญิงสาวผู้ถูกเข้าใจผิดเพราะผิวสีเขียวที่ผิดธรรมชาติและยังเป็นคนที่ยังไม่ค้นพบพลังที่แท้จริงของตัวเอง และกลินดา หญิงสาวยอดนิยมที่เปี่ยมล้นด้วยอภิสิทธิ์และความทะเยอทะยานแต่ยังไม่ค้นพบหัวใจที่แท้จริงของตัวเอง ทั้งคู่ได้พบกันตอนเป็นนักศึกษาที่มหาลัยซิซในดินแดนมหัศจรรย์แห่งออซ จนก่อเกิดเป็นมิตรภาพที่เหลือเชื่อแต่ลึกซึ้งขึ้นมา
แต่ก่อนที่ความสัมพันธ์นั้นจะกลายมาเป็นมิตรภาพนั้นก็ได้ก่อให้เกิดหลายเหตุการณ์มากมายขึ้นมาเป็นอย่างมาก และหนึ่งในนั้นคือ ความผิดธรรมชาติของเอลฟาบา ที่เธอตัวสีเขียว แน่นอนว่าความผิดแปลกไปนั้นย่อมมีเรื่องที่คนนำไปพูดถึงทั้งต่อหน้าและลับหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กจนโต จนปัจจุบันเริ่มกลายมาเป็นความชินชากับตัวเอง เพราะเธอถูกสังคมกดทับ แต่ก็พยายามที่จะเข้มแข็งฝืนยิ้มออกมาทั้งที่ในใจก็รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกน้อยใจมาตลอด และเพื่อการเข้าสังคมไม่ว่าจะต้องใช้พลังงานมากแค่ไหนเธอก็ยอมแม้ในตอนนั้นจะรู้สึกอึดอัดก็ตาม อย่างตัวอย่างในภาพยนตร์ฉากนี้
สิ่งนี้คือสิ่งที่เอลฟาบาต้องเจอมาทั้งชีวิต ได้แต่รับไปด้วยรอยยิ้มของเธอเท่านั้น
ในสองประโยคข้างต้นนี้เพื่อนๆ ตีความหมายเป็นแบบไหนกันบ้าง? ในส่วนของเรานั้นอยากบอกเลยว่าเป็น ความรู้สึกที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกจริงๆ เพราะการที่เราต้องทำบางอย่างเพื่อให้สังคมยอมรับในตัวเรา หรือเราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำในสถานการณ์ที่บังคับเป็นอะไรที่รู้สึกลำบากใจ และรู้สึกสูบพลังชีวิตไปมากๆ เลยทีเดียว ซึ่งจะเห็นจากตัวละครเลยว่าแม้ผู้คนมากมายจะพยายามทำให้เธอเป็นตัวตลกมากแค่ไหน สิ่งที่ตัวเธอเองสามารถปกป้องตัวเองจากภายนอกได้นั้นมีเพียงการฝืนยิ้มยอมรับไปเพียงเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าข้างในคงแตกสลายซ้ำๆ แน่นอน ซึ่งตัวละครก็ได้แสดงมุมมองภายนอกที่ดูมีแข็งแกร่งออกมา ไม่สนคำพูดใครๆ แต่ในใจอ่อนแอสุดๆ การที่มีคนพยายามมองเห็นนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งกลินดาก็เห็นมันและไม่ปล่อยให้เอลฟาบาต้องโดดเดี่ยวต่อไป ซึ่งหากมองในแง่ชีวิตก็เหมือนกับเราเวลาที่ไม่สบายใจการมีคนที่คอยรับฟังเรา เพียงเท่านั้นก็เป็นวันที่ดีขึ้นได้นั่นเอง
เพราะฉะนั้นแล้วฉากนี้จึงเป็นสิ่งที่เราอยากจะนำมาบอกต่อเพื่อนๆ ในแง่มุมที่หลายๆ คนอาจจะกำลังเป็นหรือเผชิญกันอยู่ ในสถานการณ์ที่ต้องสูบพลังชีวิตแบบนี้ เพราะปัจจุบันอาการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะอาจจะส่งผลในระยะยาวกับอนาคตของตัวเราเองได้ เพราะความชินชาที่เราสั่งสมมา ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้พฤติกรรมของเราค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง แถมยังส่งผลต่อความคิดที่คิดลบกับตัวเองเข้าไปเรื่อยๆ อีกได้ ถ้าไม่รีบหาทางแก้อาจจะรับมือกับอาการนี้ไม่ทัน
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
Smiling Depressionคืออะไร ?
Smiling Depression แสร้งว่าไหวแต่ในใจแตกสลาย เป็นอีกลักษณะอาการอย่างหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ใช้กล่าวถึงกลุ่มที่มีอาการเศร้า ไม่มีความสุข รู้สึกไร้ค่า แต่บางครั้งก็ไม่สามารถแสดงออกมาแบบนั้นได้ เพราะความคิดที่ว่าการเป็นโรคซึมเศร้านั้นดูอ่อนแอ กลัวว่าตัวเองจะเป็นภาระผู้อื่นหรือพยายามจะรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ ให้ได้ตามปกติ พยายามที่จะมีรอยยิ้มบนใบหน้าแต่ทุกครั้งนั้นต้องใช้พลังงานเยอะมากเป็นพิเศษ จึงทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มนี้นั้นมักจะมีอาการที่ฝืนยิ้ม หรือแสดงว่าตัวเองมีความสุขต่อหน้าผู้คนหรือบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ
อาการของ Smiling Depression
- สามารถดำเนินการใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ข้างในรู้สึกเศร้า
- หงุดหงิดง่าย กระวนกระวายใจ
- ไม่อยากทำกิจกรรมที่ชอบทำ เพราะรู้สึกทำแล้วไม่สนุกเหมือนเคย หรือต้องใช้พลังงานอย่างมากในการทำ
- รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเกี่ยวกับการตาย หรือพยายามทำร้ายตัวเอง
- อ่อนเพลีย
- ไม่อยากพบเจอผู้คน รู้สึกใช้พลังงานเยอะมาก
- ไม่อยากอาหาร หรือกินมากเพื่อระบายความเครียด
- ต้องพึ่งสารเสพติดไม่ว่าจะเป็นบุหรี่หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- นอนไม่หลับหรือมากเกินไป
- สมาธิและความจำลดลง
สาเหตุของSmiling Depression
- ไม่อยากเป็นภาระ หรือทำให้คนรอบข้างรู้สึกไม่ดี
- ถูกคาดหวังจากคนรอบข้างหรือครอบครัวมากเกินไป
- ไม่ชอบแสดงความรู้สึกของตัวเองให้คนอื่นได้รับรู้
- ไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
- ถูกตัดสินจากคนอื่น หรือคนในครอบครัว
- ไม่อยากให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อหน้าที่การงาน
แบบทดสอบอาการ Smiling Depression เราเข้าข่ายรึเปล่า ?
แบบประเมินนี้ได้นำมาจากคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้นโดยเป็น แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย (Patient Health Questionnaire: PHQ-9) ซึ่งผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ ได้ดังนั้นแล้วเป็นเหมือนการตรวจเบื้องต้นหากต้องการเพิ่มเติมนั้นสามารถ เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติมได้
**ทุกคนสามารถใส่คะแนนตามข้อต่างๆ ได้โดยการให้คะแนนนั้นคือ
ไม่เลย = 0
มีบางวันหรือไม่บ่อย = 1
มีค่อนข้างบ่อย = 2
มีเกือบทุกวัน = 3
- เบื่อ ทำอะไรก็ไม่สนุก
- ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้
- หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือนอนหลับมากเกินไป
- เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง
- เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป
- รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลวหรือเป็นคนทำให้ตัวเองหรือครอบครัวผิดหวัง
- ไม่มีสมาธิจดจ่อเวลาทำอะไร เช่น ดูทีวี ฟังเพลว หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
- พูดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นสังเกตเห็น หรือกระสับกระส่ายจนอยู่ไม่นิ่งเหมือนเคย
- คิดทำลายตัวเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี
เมื่อผลรวมคะแนนออกมาแล้ว ลองไปสำรวจดูคำตอบที่ออกมาเลยว่าเราอยู่ในเกณฑ์ไหนกัน
- ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 0-4
ไม่มีอาการซึมเศร้าหรือมีก็เพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรักษา
- ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 5-8
มีอาการซึมเศร้าระดับเล็กน้อย ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควรออกไปทำกิจกรรมเพื่อให้ผ่อนคลายพบปะเพื่อนฝูง และควรกลับมาทำประเมินอีกครั้งใน 1 สัปดาห์
- ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 9- 14
มีอาการซึมเศร้าระดับปานกลาง ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย เช่น พบปะเพื่อนฝูง หรือการขอคำปรึกษาจากคนที่รู้สึกไว้ใจ ไม่จมอยู่กับปัญหาต้องรีบมองหาทางออก หรือหากมีอาการแล้วรู้สึกกระทบต่อการทำงานแล้วรู้สึกว่ามีอาการมานาน 1-2 สัปดาห์ แล้วยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อรักษา
- ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 15-19
มีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรงค่อนข้างมาก ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองคือ ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การรักษา ในช่วงระหว่างนี้ก็ควรที่จะพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบาๆ ทำกิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เก็บตัว และอาจจะขอคำปรึกษาจากคนที่ไว้วางใจหรือคนใกล้ชิดได้
- ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 20-27
มีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรงมาก ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองคือ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อประเมินอาการและให้การรักษาโดยเร็วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
วิธีการรักษาของอาการSmiling Depression
- พูดคุยหรือเปิดใจกับคนที่รู้สึกสบายใจ
การที่เราบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่กำลังรู้สึกเครียด หรือทุกข์ใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน ครอบครัว เพื่อน ลองแชร์ให้กับใครสักคนได้ฟังก็สามารถทำให้เรารู้สึกสบายใจและทำให้ปัญหานั้นเบาลงได้
- ออกไปเที่ยวเปิดหูเปิดตา
การลองออกไปเปิดหูเปิดตาหรือไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ก็เหมือนเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและรีแล็กซ์ตัวเองอยู่กับตัวเองมากขึ้น เป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยทำให้ตัวเราเองรู้สึกสดชื่นและลดความเครียดลงได้
- ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
การเลือกออกกำลังกายนั้นถือเป็นอีกกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยปรับให้ร่างกายหลังฮอร์โมนแอนดอร์ฟินหรือที่เรียกว่า สารแห่งความสุข นั้นออกมา เพราะจะช่วยลดความเครียดได้ และยังส่งผลต่อการนอนหลับที่เพียงพอก็จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจนั้นเหมือนได้พักผ่อน และยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยลดอารมณ์ด้านลบได้
- พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อลองทำทุกๆอย่างแล้ว แล้วรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้นสิ่งที่ควรทำต่อมาคือควรเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคและเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที
วิธีการดูแลอาการSmiling Depression
- ครอบครัวหรือคนใกล้ชิด ควรทำความเข้าใจอาการเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจ
- เป็นผู้รับฟังที่ดี ไม่บังคับให้พูด หรือเล่าเรื่องที่ไม่อยากพูดถึง
- รับฟังโดยไม่ตัดสิน
- คอยสังเกตสัญญาณเตือนหากมีพฤติกรรมแยกตัว
- ชวนทำชวนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อคลายความเครียด
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
สรุป
จะเห็นได้เลยว่าอาการSmiling Depression เป็นอีกประเภทอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้าที่มีหลายระดับซึ่งอยู่ที่ว่าเราทำประเมินออกมาอยู่ในระดับไหน 0-4, 5-8, 9-14, 15-19 และ 20-27 ซึ่งแน่นอนว่าความรุนแรงของโรคนี้นั้นจำเป็นที่จะต้องรีบเข้าปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที เพราะจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราทำให้ในแต่ละวันนั้นเรารู้สึกไม่สบายใจกับตัวเองและอาจจะส่งผลกับคนรอบข้างจนสังเกตได้ ซึ่งการนำหัวข้อเรื่องนี้มาพูดเชื่อมโยงเกี่ยวกับภาพยนตร์ Wicked นั้น จะเห็นได้เลยว่ามีช่วงหนึ่งของในตัวอย่างภาพยนตร์ที่เราพูดถึงช่วงแรกนั้นตัวละครหลักนั้นได้มีอาการประเภทนี้คือ Smiling Depression แสร้งว่าไหวแต่ในใจแตกสลาย (หรือช่วง 1.49-1.58) ที่ตัวละครได้พูดว่า “นางไม่สน คนจะคิดไง” “สนสิ แค่แกล้งทำไม่สน” ซึ่งประโยคนี้คือเกี่ยวกับอาการ Smiling Depression นั่นเอง ฝืนยิ้มทั่งที่ในใจไม่ได้อยากยิ้ม หรือมีความสุขจริงๆ เรียกได้ว่าทั้งทัชใจและให้ข้อคิดได้หลากหลายมุมมองเลยทีเดียว แต่เพียงตัวอย่างคงยังไม่จุใจใครหลายคนและคำตอบที่แท้จริงในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องไปดูภาพยนตร์เต็มๆ กันแล้วว่าSmiling Depression ที่ตัวละคร 1 คนที่ต้องเจอตั้งแต่เด็กจนโตนั้น พฤติกรรมค่อยๆ เปลี่ยนยังไงกับบ้าง เราไปดูพัฒนาการความสัมพันธ์ของตัวละคร และความเข้มข้นของเนื้อหาได้ในโรงภาพยนตร์เร็วๆ นี้ นั่นคือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นี้!!! บอกเลยว่าห้ามพลาด ไขข้อข้องใจในบทความนี้แล้วก็ไปต่อที่ภาพยนตร์เรื่อง Wicked กันต่อรับรองอ่อถึงบางอ้อเลย
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/smiling-depressionยิ้มง่ายแต่ภายในแตกส/
https://www.rama.mahidol.ac.th/th/depression_risk
https://movie.kapook.com/view285087.html#google_vignette
บทความอื่นๆ ที่แนะนำ
เช็กให้ชัวร์! รู้จักกับภาวะ "Smiling Depression" สดใสยิ้มง่าย แต่ภายในกลับเศร้า | บทความของ ManooFK | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-Smiling-Depression-%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2-id=94650
Smiling Depression กับอาการที่น่าเป็นห่วงยิ้มเก่งแต่ในใจไม่มีความสุข | บทความของ ช้างสีฟ้า | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/94921
Passive Death Wish ชวนรู้จักภาวะเฉยชา ก่อนกลายเป็นซึมเศร้า | บทความของ Yoong Peskyy | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/what-is-passive-death-wish-202326
10 วิธีออกกำลังกายเยียวยาโรคซึมเศร้า Part 2 | บทความของ Ammy | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/10-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2-Part-2-id=87243
ทำยังไงดี ถ้าคนใกล้ตัว เป็นโรคซึมเศร้า | บทความของ icecream | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2-id=73559