Coming Outหรือเรียกอีกอย่างว่าการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของตนซึ่งเกิดขึ้นเพียงในกลุ่ม LGBTQ+ เท่านั้น ก่อเกิดเป็นความเจ็บปวดที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก หลายคนคงสงสัยใช่มั้ยคะว่าการเป็นตัวของตัวเองสร้างความเจ็บปวดได้ยังไง คำตอบไม่ยากเลยค่ะ เราเชื่อว่าทุกคนรู้กันอยู่แล้ว ก็เพราะว่า ตัวตนของคนกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าที่ควรค่ะ จึงเกิดเป็นการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม สิทธิและเสรีภาพครั้งยิ่งใหญ่ที่ยังดำเนินมาถึงตอนนี้ วันนี้เราเลยมีหนังเกี่ยวกับเกย์เรื่องหนึ่งที่อยากมาแนะนำให้ทุกคนได้ดูกันค่ะ เราเชื่อว่าทุกคนที่ดูเรื่องนี้จนจบจะต้องเข้าใจความกลัว ความอึดอัด และความกล้าหาญของชาว LGBTQ+ ไม่มากก็น้อยค่ะ และเรื่องที่เรากำลังพูดถึงนี้ก็คือหนังเรื่องLove, Simonอีเมลลับฉบับไซมอน นั่นเองค่ะ

Love, Simonเป็นหนังที่สร้างมาจากนิยายเรื่องSimon vs. the Homo Sapiens Agendaเล่าเรื่องราวของ ไซมอน นักเรียนวัยไฮสคูลที่ปิดบังว่าตัวเองเป็นเกย์ จนได้พบกับ บลู นามแฝงของบุคคลที่ประกาศตัวว่าเป็นเกย์ผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน ทั้งคู่ได้เริ่มทำความรู้จักกันผ่านอีเมลจนเกิดเป็นความรักแบบลับ ๆ แต่เมื่อมาร์ติน เด็กหนุ่มในโรงเรียนบังเอิญเจออีเมลนี้เข้าและใช้มันแบล็กเมลไซมอน ทำให้ไซมอนต้องเจอกับความกดดันครั้งใหญ่ในชีวิต เรื่องราวจะจบลงยังไง เราอยากให้ทุกคนได้ดูด้วยตัวเองดีกว่าค่ะเราพูดได้แค่ว่าเรื่องนี้เป็นหนังคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งเลยค่ะ ส่วนที่ทุกคนกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้เป็นประเด็นบางส่วนในแบ็กกราวนด์ของไซมอนที่เราอยากให้ทุกคนได้ลองอ่านกัน ไม่มีการสปอยล์เนื้อเรื่องแน่นอนค่ะ

รูปภาพ:

การปิดบังตัวตนของ ' เกย์ '

ไซมอนเป็นเด็กในครอบครัวชนชั้นกลางที่ชีวิตดูสมบูรณ์แบบ มีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นที่รักของเพื่อน ๆ และคุณครู มีชีวิตแบบวัยรุ่นทั่ว ๆ ไป แต่ในขณะเดียวกันเขาก็มีความลับที่ไม่กล้าบอกใคร คือ เรื่องที่เขาเป็น ' เกย์ '

ความจริงที่ว่าคนชอบเพศตรงข้ามไม่เคยถูกกีดกันและไม่เคยต้องประกาศให้ใครรู้ว่าเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย ต่างกับเกย์ที่มักมีภาพจำของความผิดปกติ ความรุนแรง หรืออะไรก็ตามที่กำลังผลักให้เกย์ดูแปลกแยกจากคนในสังคม ซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกย์หลาย ๆ คนต้องทำตัวเป็นผู้ชายเพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน เพราะเขาไม่มีทางรู้เลยว่าครอบครัวและเพื่อนจะยินดีที่เขาเป็นเกย์มากแค่ไหน

รูปภาพ:

ในขณะเดียวกันกรอบทุนนิยมก็อาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลาย ๆ ครอบครัวรู้สึกผิดหวังเมื่อลูกชายเป็นเกย์ เพราะยังยึดติดกับความคิดที่ว่าครอบครัวต้องมีลูกหลานสืบสกุล ช่วยทำมาหาเลี้ยงตอนแก่เฒ่า ทั้งนี้สังคมยังต้องการแรงงานจำนวนมากเพื่อตอบสนองระบบทุนนิยมและกลัวการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ข้างต้นค่ะ เช่น การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการจากรัฐ คนจึงมีลูกน้อยลง เพราะ แบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว เราเลยมองว่าการเป็นเกย์ไม่ใช่สาเหตุของเรื่องนี้และการเป็นเกย์ก็เป็นรสนิยมทั่วไปเหมือนความชอบอื่น ๆ ไม่ได้เกิดจากครอบครัวที่มีปัญหาหรือข้อบกพร่องอะไรค่ะ

รูปภาพ:

ความกล้าหาญเมื่อ Come Out

รูปภาพ:

ชีวิตของเกย์

การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 2 ไม่แบ่งแยก ระบุไว้ว่า

ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวงตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใดอาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น นอกเหนือจากนี้ จะไม่มีการแบ่งแยกใด บนพื้นฐานของสถานะทางการเมือง ทางกฎหมาย หรือทางการระหว่างประเทศของประเทศหรือดินแดนที่บุคคลสังกัด ไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดอธิปไตยอื่นใด

ความเจ็บปวดของเกย์ไม่ได้จบที่ Come Out ค่ะ ตอนที่ต้องปิดบังตัวเองก็กลัวว่าวันหนึ่งคนจะรู้และรับไม่ได้ พอตัดสินใจ Come Out ก็อาจจะต้องเจอคำล้อเลียนหรือดูถูกต่อ เป็นความเจ็บปวดที่ไม่จบไม่สิ้น แต่ถ้าถามกลับว่า ' เป็นเกย์แล้วยังไง? ' ส่วนตัวเราไม่เคยเห็นใครตอบคำถามนี้ได้เลยค่ะว่าแล้วยังไงต่อ เป็นเกย์ก็คือเป็นเกย์ค่ะ ซึ่งประเด็นนี้ก็อาจจะสอดคล้องกับประเด็นการถูกละเมิดและลดรอนสิทธิของชาว LGBTQ+ ที่ยังเกิดขึ้นในปัจจุบันค่ะ อย่างตัวไซมอนเองก็เป็นคนหนึ่งที่ถูกมาร์ตินละเมิดสิทธิโดยการแบล็กเมล ทำให้เห็นว่าสังคมยังมองว่าการเป็นเกย์เป็นจุดอ่อน เป็นสิ่งที่ไม่ควรแสดงออกและไม่ควรให้ใครรับรู้ แต่ถ้าย้อนไปเมื่อ 70 กว่าปีก่อน โลกเราเกิดสิ่งที่เรียกว่า

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ขึ้น เราขอยกมา 4 ข้อที่อยากให้ทุกคนได้ลองอ่านกันก่อนค่ะ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1 ทุกคนเกิดมาเท่าเทียม

มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 2 ไม่แบ่งแยก

ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวงตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใดอาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่น นอกเหนือจากนี้ จะไม่มีการแบ่งแยกใด บนพื้นฐานของสถานะทางการเมือง ทางกฎหมาย หรือทางการระหว่างประเทศของประเทศหรือดินแดนที่บุคคลสังกัด ไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดอธิปไตยอื่นใด

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 8 สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย

ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลที่มีอำนาจแห่งรัฐต่อการกระทำอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

ตามติดเทรนด์ฮิตไม่มีเอาต์! ไปกับพวกเราชาวซิส ได้ที่

https://www.facebook.com/SistaCafePage

https://www.tiktok.com/@sistacafe.official

https://www.instagram.com/sistacafe.ig

https://twitter.com/SistaCafePage

https://www.facebook.com/groups/SistacafeTalk

สอบถามได้ที่https://lin.ee/vl2chdO

หรือดาวน์โหลดแอปได้ที่https://bit.ly/3zaTnzH

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 19 เสรีภาพในการแสดงออก

ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกรวมทั้งอิสรภาพในอันที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง แสวงหา รับ และส่งข้อมูลข่าวสารตลอดจนข้อคิดผ่านสื่อใด โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ ยิ่งตอกย้ำเลยว่าการที่มาร์ตินบังเอิญไปรู้ความลับเข้าแล้วใช้มันแบล็คเมลไซมอน บังคับให้ไซมอนทำตามเงื่อนไขของตัวเองถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของไซมอน แม้จะดูเหมือนเป็นการล้อเล่นของเด็ก ๆ ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ทุกคนรู้มั้ยคะว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้ยังคงเกิดขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ตอนนี้จะเป็นปี 2023 แล้วก็ตาม ตั้งแต่การล้อเลียน การกลั่นแกล้ง จนถึงการมีโทษทางกฎหมาย อย่างเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาประเทศยูกันดาผ่านร่างกฎหมายที่ระบุให้การเป็น LGBTQ+ เป็นอาชญากรรม ถือเป็นความโหดร้ายที่ไม่ควรเกิดขึ้นมากที่สุดค่ะ และปัจจุบันมีเพียง 31 ประเทศจาก 193 ประเทศทั่วโลกที่รองรับการแต่งงานของเพศเดียวกัน ทำให้มีชาว LGBTQ+ จำนวนมากไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองตามกฎหมายที่ควรได้รับค่ะ

ในประเทศไทยเองก็เช่นกันค่ะ แม้ไทยจะมีภาพลักษณ์เป็นเมืองพหุวัฒนธรรม แต่ในด้านกฎหมายที่รองรับการแต่งงานของเพศเดียวกันอย่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมยังไม่ได้รับการขับเคลื่อนเท่าที่ควร เราหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไปประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีกฎหมายรองรับการแต่งงานของเพศเดียวกันและคืนสิทธิที่ควรได้รับอยู่แล้วให้กับกลุ่ม LGBTQ+ ค่ะ

รูปภาพ:

เหตุการณ์ที่ยังคงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในปี 2023 คือ การลดรอนสิทธิชาว LQBTQ+ อย่างเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาประเทศยูกันดาผ่านร่างกฎหมายให้ที่ระบุให้การเป็น  LQBTQ+ เป็นอาชญากรรม

เรื่อง Love, Simon หรือ อีเมลลับฉบับไซมอนเลยเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราอยากให้เพื่อน ๆ ได้ลองดูค่ะ นอกจากเรื่อง Coming Out ก็จะมีเรื่องปัญหาวัยรุ่น ความรักวัยเรียน และความคอมเมดี้ จังหวะน่ารัก ๆ ตลก ๆ ด้วยค่ะ หรือพูดอีกอย่างว่าเกย์ก็มีชีวิตธรรมดาทั่วไปนี่แหละค่ะ รัก ชอบ โกรธ หลง เป็นเรื่องธรรมชาติเราคิดว่าไม่มีใครต้อง Come Out หรือพิสูจน์ตัวเองให้สังคมยอมรับ ทำไมเราต้องได้รับการอนุญาตจากคนอื่นเมื่อเรากำลังจะเป็นตัวเอง ทำไมเราต้องใช้ชีวิตอย่างกังวลว่าความลับจะถูกเปิดเผย เราขอถือโอกาสนี้เป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคม รวมทั้งผลักดันพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมในประเทศไทย เพื่อรักษาสิทธิในการเป็นมนุษย์ สิทธิการได้รับความคุ้มครองที่พึงได้รับ อย่าให้ใครต้องเจ็บปวดกับบรรทัดฐานและความคิดแบบเดิมอีกเลยค่ะ เราหวังว่าหลังจากที่ทุกคนอ่านบทความนี้จบจะได้อะไรกลับไปไม่มากก็น้อยนะคะ ไว้เจอกันใหม่ในบทความหน้าที่https://sistacafe.com/ค่ะ :)


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ


ตามติดเทรนด์ฮิตไม่มีเอาต์! ไปกับพวกเราชาวซิส ได้ที่

https://www.facebook.com/SistaCafePage

https://www.tiktok.com/@sistacafe.official

https://www.instagram.com/sistacafe.ig

https://twitter.com/SistaCafePage

https://www.facebook.com/groups/SistacafeTalk

สอบถามได้ที่https://lin.ee/vl2chdO

หรือดาวน์โหลดแอปได้ที่https://bit.ly/3zaTnzH