หลายคนคงพอรู้จักกองทุนรวม SSF ซึ่งเป็นกองทุนตัวใหม่ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกันไปแล้วhttps://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/money-lifestyle/money/financial-investment/ssf-and-rmfซึ่งกองทุนรวม SSF นี้สามารถลดหย่อนภาษีได้ ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท หลายคนเลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า หากต้องการลงทุนกองทุนรวมให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ควรลงทุนอะไรระหว่าง SSF กับ RMF และเร็วๆ นี้ก็มีการประกาศกองทุน SSF พิเศษออกมา รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง เราไปหาคำตอบกับบทความนี้กันเลยค่ะ=======================

เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกลงทุน อาจแบ่งได้ดังนี้

1. ระยะเวลาในการลงทุน

เราทราบกันอยู่แล้วว่าเงื่อนไขการลงทุนของ SSF ผู้ลงทุนจะต้องถือครองหน่วยลงทุนไป 10 ปีแบบวันชนวัน และหากลงทุนใน RMF อย่างเร็วสุดที่จะขายได้คือ ต้องถือครองหน่วยลงทุนจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น หากพิจารณาระยะเวลาในการลงทุนจากอายุของผู้ลงทุนจะพบว่ามีจุดตัดอยู่ที่ 45 ปี ซึ่งเป็นอายุที่มีสิทธิ์เลือกว่าจะลงทุนใน SSF หรือ RMF เพราะมีระยะเวลาถือครองใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น

ตัวอย่างที่ 1 : หากคุณอายุ 30 ปี คุณอาจเลือกลงทุนใน SSF เพราะถือครองหน่วยลงทุนไป 10 ปีก็สามารถขายคืนได้ที่อายุ 40 ปี (นับแบบวันชนวัน) แต่หากคุณลงทุนใน RMF คุณจะต้องถือครองไปอีกถึง 25 ปี เพราะจะขายคืนได้ เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

ตัวอย่างที่ 2 : หากคุณอายุ 50 ปี อาจเหมาะที่จะลงทุนใน RMF เพราะถือครองและลงทุนต่อเนื่องอีกแค่ 5 ปี เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก็สามารถขายได้ แต่หากเลือกลงทุนใน SSF จะต้องถือครองไปอีก 10 ปี ซึ่งจะขายคืนได้เมื่ออายุประมาณ 60 ปี

2. วัตถุประสงค์ในการลงทุน

กองทุน SSF จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว และสำหรับ RMF จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณที่สำคัญ โดยผู้ลงทุนในกองทุน 2 ตัวนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วยอีกต่อหนึ่ง การเลือกว่าจะลงทุนอะไร คุณอาจใช้วัตถุประสงค์ในการลงทุนของคุณเป็นเกณฑ์พิจารณาได้ เช่น หากคุณต้องการลงทุนเพื่อเป็นเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ คุณอาจเลือกลงทุนใน RMF แม้จะต้องถือครองถึงอายุครบ 55 ปี เพราะคุณมองว่าเป็นการสร้างวินัยการออมในระยะยาว แต่หากคุณต้องการลงทุน เพื่อเป็นทุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแก่บุตรหลาน คุณอาจเลือกลงทุนใน SSF ซึ่งมีระยะเวลาถือครองแค่ 10 ปี หรือ หากคุณต้องการได้รับเงินปันผลจากการลงทุน อาจเลือกลงทุนในกองทุน SSF ที่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น

3. ประเด็นอื่นๆ ที่ต้องติดตาม

เนื่องจาก SSF เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ยังมีเงื่อนไขอีกหลายส่วนที่ต้องติดตามการประกาศ เช่น ประเด็นบทลงโทษกรณีซื้อเกินสิทธิ์และกรณีขายคืนผิดเงื่อนไข ประเด็นการเสียภาษีในกรณีกองทุน SSF ไปลงทุนในตราสารหนี้ หรือ กรณีที่กองไปลงทุนแล้วได้เงินปันผลว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งหากเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ของ SSF มีการประกาศออกมาแตกต่างจาก RMF ก็อาจเป็นเกณฑ์หนึ่งที่ใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนได้

และสำหรับกองทุน SSF แบบพิเศษ ที่เพิ่งมีประกาศซื้อแบบ IPO ไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563 ที่ผ่านมานั้น ถือนโยบายที่ส่งเสริมการออมในระยะยาวของภาครัฐ ผ่านการมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกต่างหากจากวงเงินลดหย่อนภาษีของกองทุนรวม SSF ปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวม 500,000 บาท ของการลงทุนเพื่อเป็นแหล่งเงินยามเกษียณตัวอื่นๆ และยังไม่กำหนดยอดการซื้อขั้นต่ำอีกด้วย สำหรับรายละเอียดกองทุน SSF พิเศษอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามรายละเอียดด้านล่าง

รูปภาพ:https://media.kiatnakin.co.th/image/2020/Apr/SSF%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0RMF02_table.jpg

=======================และสำหรับบทความในนี้ คงทำให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างการลงทุนในกองทุน SSF กับ กองทุน RMF ที่ชัดเจนขึ้น และช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกลงทุนได้ง่ายขึ้นแล้วนะคะ แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจการลงทุนในทุกครั้งอ่านคอนเทนต์ทางด้านการเงิน การลงทุนดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญได้ที่https://kkpadvicecenter.kiatnakin.co.th/th/home