มีอยู่หลายโรคเหมือนกันนะที่เราไม่เคยเห็น หรืออาจต้องบอกว่า"ไม่คิดว่าจะมีโรคนี้ด้วย"น่าจะถูกกว่ากับโรคแปลกๆที่คิดว่าไม่มี แต่กลับมีอยู่จริงเพื่อนๆ คิดว่ามีโรคอะไรบ้าง ? เอาจริงๆ ต้องบอกก่อนว่าส่วนใหญ่แล้วโรคแปลกนั้นมักจะจัดอยู่ในหมวดของโรคจิตเวชชนิดหนึ่งบางโรคก็น่ากลัว บางโรคก็ไม่น่ากลัว แต่อย่างไรก็ตามหากเราเช็กอาการแล้วพบว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรคดังกล่าว ก็จะได้รักษาได้ทัน ลดโอกาสเผชิญกับปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว วันนี้เราเลยได้ทำการรวบรวม10 โรคแปลกแต่มีอยู่จริงที่เพื่อนๆ อาจจะเคยหรือไม่เคยรู้จักมาแชร์ งั้นเราไปดูพร้อมๆ กันเลย
เช็กหน่อยก็ดี! เรามีอาการเข้าข่าย โรคแปลกๆ แต่มีอยู่จริง เหล่านี้ไหม ?
โรคแปลกๆ ที่ 1. โรคนอนมากเกินไป (hypersomnia)
โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)พออ่านชื่อโรคแล้ว ดูไม่ได้น่ากลัวนะ แต่จะชะล่าใจไม่ได้เด็ดขาดค่ะ เพราะโรคนี้ก็อันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน ว่ากันว่ามักจะพบมากในผู้หญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหรือวัยเริ่มทำงาน อาการของโรคนี้ เพื่อนๆ จะรู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติมีอาการง่วงผิดปกติอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยไม่สามารถฝืนตัวเองให้ตื่นได้ ทั้งๆ ที่ได้นอนเพียงพอแล้วโดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เลย จะนอนเกิน 10 ชั่วโมง! และมีการงีบหลับหลายครั้งในเวลากลางวัน มีอาการงัวเงียมากหลังตื่นนอนในตอนเช้า ตื่นยาก หรืองัวเงียมากแม้กระทั่งหลังตื่นจากการงีบหลับกลางวัน ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น เพลีย ไม่มีแรง และอารมณ์หงุดหงิดสาเหตุ1. อดนอนเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง จนทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ2. นาฬิกาชีวิตแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศที่มีช่วงเวลาต่างกันมาก3. ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองผิดปกติ ทำให้นอนมากเกินไป4. นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ5. สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง*** กรณีการวินิจฉัยของคุณหมอ ถ้าเพื่อนๆ มีอาการรนอนหลับเพิ่มในวันเดียวกัน ระยะเวลาการนอนหลับยาวนานมากขึ้น และมีอาการอ่อนเพลียหลังจากตื่นนอนแล้ว รวมไปถึงตื่นยาก ปลุกยังไงก็ไม่ตื่น เอะอะจะนอนมันอย่างเดียว นอนมากกว่า 10 ชั่วโมง หากมีอาการดังกล่าวอยู่อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันในช่วง 3 เดือน มีโอกาสที่จะเป็นโรคนอนหลับมากเกินไปได้วิธีการรักษาแบ่งเป็น 2 วิธี วิธีแรกคือ การใช้ยา หากเราไปพบแพทย์ หลังจากคุณหมอมีการวินิจฉันออกมาแล้ว ว่าเราเป็นโรคนี้ การรักษาจะแบ่งเป็น 2 วิธี หนึ่งในนั้นคือการใช้ยาช่วย และอีกหนึ่งวิธีคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยปรับการนอนให้เป็นเวลา บรรยากาศห้องต้องเหมาะสมกับการนอนหลับ งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนตอนบ่าย งดออกกำลังกายหนักหรือกินมื้อใหญ่ก่อนเวลาเข้านอน งดนอนกลางวันใกล้เวลานอน เป็นต้น
โรคแปลกที่ 2. โรคศพเดินดิน (Walking corpse Syndome)
อีกหนึ่งโรคแลก ที่ไม่คิดว่าจะมีจริงๆ ถ้าใครเคยดูหนังแนวซอมบี้ แนวแบบศพเดินได้ จะเก็ทโรคนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งนั่นก็คือ
โรคศพเดินดิน (Walking corpse Syndome)
ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะทางจิตเวชที่พบไม่บ่อย ว่ากันว่าเกิดจากความเชื่อผิดๆ ที่
ผู้ป่วยเข้าใจว่าร่างกายของตนเองเกิดความผิดปกติ กำลังจะตาย หรือคิดว่าร่างกายของตนเองไม่มีอยู่จริง
มักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง และโรคจิตบางประเภท หรืออาจมาพร้อมกับสภาวะทางระบบประสาทอื่นๆ อ่านแล้วอาจจะรู้สึกร้ายแรง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาได้นะ
อาการของโรคนี้ สังเกตได้ว่า
ผู้ที่เป็นโรคศพเดินได้มักจะเข้าสังคมน้อยลงบางคนจะได้ยินเสียงที่บอกว่าตนเองกำลังจะตายหรือตายไปแล้ว หรืออาจไม่กินอะไร และบางคนอาจพยายามทำร้ายตนเอง นอกจากนี้ยังมีอาการวิตกกังวล หมกมุ่นอยู่กับความตายและการสูญสลายของชีวิตซึ่งโรคนี้จะมีความใกล้เคียงกับโรคซึมดเศร้าอยู่ ว่ากันว่าคนที่ป่วยเป็นโรคศพเดินได้ส่วนใหญ่นั้น มีอาการซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย
สาเหตุ
สาเหตุหลักๆ ของโรคศพเดินได้นั้น อาจจะมีสาเหตุมาจากการกระทบกระเทือนทางจิตใจหรือสมอง เรื่องที่ทำให้รู้สึกกลัวหรือฝังใจ จนทำให้เกิดการหลงผิด ทั้งนี้โรคศพเดินได้ ยังมีผลพวงมาจากโรคทางจิตเวชและโรคอื่นๆ อีกด้วยนะ ยิ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการของโรคไบโพลาร์ ซึมเศร้า การติดเชื้อในสมอง และอื่นๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ เพราะโรคศพเดินได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากอาการของปัญหาที่เกี่ยวกับภาวะทางระบบประสาท หรือภาวะสุขภาพจิตนั่นเอง
วิธีรักษา
แม้จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่เอาจริงๆ ก็แอบน่ากลัวเหมือนกันนะ แต่ว่าโรคนี้มีวิธีการรักษาอยู่ค่ะ ใครที่พบว่าคนใกล้ชิดมีอาการน่าเป็นห่วง ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที ซึ่งแพทย์จะใช้การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านโรคซึมเศร้า ยาต้านอาการทางจิต หรือยาควบคุมอารมณื เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีการบำบัดควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยค้นหาวิธีการคิดที่ถูกต้องและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตต่อไปอย่างดีมากยิ่งขึ้น
โรคแปลกที่ 3. โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland syndrome)
นี่มันเรื่องจริงๆ ไม่ใช่เทพนิยายใดๆ มีอยู่จริงกับ
โรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice in Wonderland syndrome)
ถ้าเพื่อนๆ นึกไม่ออก ให้นึกถึงตัวละครอลิซเลยค่ะ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายๆ แบบนั้น ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการผิดปกติคือ มองเห็นภาพบิดเบี้ยว ผิดสัดส่วน คล้ายๆ กับเวลาเข้าสวนสนุก แล้วเจอบ้านกระจกที่กระจกบิดๆ เบี้ยวๆ เห็นตัวเองบิดไปบิดมา พูดง่ายๆ ก็คือ
การมองเห็นและการประมวลผล ไม่ไปในทิศทางที่ควรจะเป็น มักจะมองเห็นสิ่งของ รูปร่างต่างๆ ผิดไปจากเดิม นอกจากนี้การรับรู้ก็ผิดปกติและการเคลื่อนไหวก็ผิดแปลกไปจากปกติด้วย
สาเหตุ
จริงๆ แล้วการวินิจฉัยแบบชัดๆ ยังไม่ค่อยมี แต่ว่ากันว่า มีกลุ่มอาการบางอย่าง ที่อาจจะส่งผลให้เราสามารถป่วยเป็นโรคของอลิซในแดนมหัศจรรย์ได้ นั่นก็คือ การปวดศีรษะไมเกรนบ่อยครั้ง แม้กระทั่งอาการของโรคจิตเภท การติดเชื้อ mononucleosis ซึ่งมีผลต่อส่วนต่างๆ ของสมองอาการชักลมชัก พร้อมกับสภาวะประสาทหลอน และเนื้องอก มะเร็งในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงอีกหนึ่งอย่าง ที่อาจส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้ก็คือ การใช้ยาเสพติด รวมไปถึงความเครียดที่ฝังลึก ก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
วิธีรักษา
วิธีการรักษาที่เริ่มจากตัวเอง คือการลดความตึงเครียดและอย่าใช้สารเสพติด รวมทั้งต้องใส่ใจและดูแลตัวเองให้ดีๆ แต่ถ้าหากพบว่า เราเริ่มมีอาการแปลกๆ แล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งแนวทางรักษาก็จะมีทั้งการบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม การให้ผู้ป่วยได้เข้าบรับการพักฟื้น รวมไปถึงการทำความเข้าใจกับคนรอบข้าง ให้เข้าใจในตัวของผู้ป่วย นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย
โรคแปลกที่ 4. โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)
อีกหนึ่งโรคที่เรามักจะได้เห็นและได้ยินกันบ่อยๆ
โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)
เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม อาการของผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่เลย มักจะ
รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ บางคนถึงขั้นเป็นลม หมดสติกะทันหัน
ซึ่งถือว่ามีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากๆ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคนี้ อาจเกิดผู้ป่วยเจอกับเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ เช่น การถูกลวนลาม การถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายและการถูกกักขัง นอกจากนี้ การโดนบูลลี่ โดนดูถูกเรื่องรูปร่าง หน้าตา ก็มีส่วนที่ก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
วิธีรักษา
วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การเอาชนะความกลัว พูดเหมือนง่าย แต่ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น วิธีแรกคือ การเข้ารับการบำบัด พูดคุย ทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมไปถึงกระบวนการคิด วิธีที่สอง การปรับตัว ให้ผู้ป่วยได้ลองใกล้ชิด หรือลองสัมผัส และอีกหนึ่งวิธีคือ การใช้ยาบางชนิดที่ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล
โรคแปลกที่ 5. โรคกลัวเชื้อโรค (Mysophobia)
รักความสะอาดเป็นเรื่องที่ดี แต่มากไปก็ไม่ดี เพราะเพื่อนๆ อาจเสี่ยงเป็น
โรคกลัวเชื้อโรค (Mysophobia)
พูดง่ายๆ คือ กลัวเชื้อโรคเข้าเส้นเลือด!
กลัวความสกปรก กลัวพื้นที่ที่ไม่สะอาด กลัวการปนเปื้อนต่างๆ รวมไปถึงการติดเชื้อ
จะรู้สึกไม่โอเคมากๆ ที่ต้องอยู่ร่วมหรือใช้ของร่วมกับใคร คำว่ากลัวในที่นี้คือ กลัวแบบมากๆ กลัวที่สุด กลัวจนจะตายได้
ซึ่งอาการของคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ อย่างแรง ชัดเจนอยู่แล้ว เขาและเธอจะ
กลัวเชื้อโรคและความสกปรกขั้นรุนแรง
ถึงขั้นเสียอาการเมื่อต้องสัมผัสหรือเข้าใกล้ความสกปรก และ
มักจะมีปฏิกิริยาในแง่ลบอย่างผิดปกติ เช่น ร้องไห้ โวยวาย เหงื่อแตก ตัวสั่น เมื่อต้องเจอกับความสกปรก บางคนถึงขั้นป่วย หน้ามืดเลยก็มี
ทั้งนี้คนที่เป็นโรคนี้ จะชอบล้าง เช็ด อาบ ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อบ่อยๆ ในทุกๆ สถานการณ์ ไม่ว่าจะหยิบ จับอะไรก็แล้วแต่ และที่สังเกตได้ชัดอีกข้อคือ เขาจะ
ไม่ใช่ของร่วมกับใคร
ไม่ใช่แค่สิ่งของ แต่รวมไปถึงห้องน้ำสาธารณะ รถสาธารณะ บลาๆ และจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายคนอื่นด้วย
สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากพฤติกรรมของคนในครอบครัว หรือเกิดกับคนที่ผ่านเหตุการณ์รุนแรงที่มีความรู้สึกกลัวนี้เกี่ยวข้อง หรือมีปมกับการสัมผัสเชื้อโรค สัมผัสความสกปรกมาก่อน แม้แต่กับคนที่รักสะอาดมากๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกันและอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดโฟเบียด้วย
วิธีรักษา
โรคนี้สามารถรักษาได้ วิธีแรกคือการบำบัด ซึ่งผู้ป่วยที่จะรับการรักษา จะต้องให้ความร่วมมือด้วยมากๆ เพราะจะต้องฝึกให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัวของตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนบรรลุเป้าหมายในการรักษา วิธีที่สองคือ รักษาด้วยยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ก็จะเป็นยาลดอาการวิตกกังวล ยาระงับอาการสั่นซึ่งวิธีการใช้ยาก็จะใช้ควบคู่ไปกับการบำบัดนั่นแหละ โดยยาจะช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวน้อยลงและกล้าที่จะเข้าบำบัดนั่นเอง
โรคแปลกๆที่ 6. โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Impostor Syndrome)
โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง คือการคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถจริงๆ ปัจจุบันพบผู้ป่วย
โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Impostor Syndrome)
ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนที่เพิ่งเปลี่ยนงานใหม่ หรือในคนทั่วๆ ไปมากขึ้นด้วย ซึ่งอาการของโรคนี้ อาจจะสังเกตได้หรือไม่ได้ แล้วแต่บุคค
ล
บางคนภายนอกดูมั่นใจในตัวเอง แต่ลึกๆ แล้วจะไม่เชื่อว่าตัวเองมีความสามารถ
บางคน
อินกับความสมบูรณ์แบบ มีความคาดหวังที่สูงลิ่ว และเมื่อผลไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ก็จะรู้สึกผิดหวัง
และโทษตัวเอง
งั้นงี้ บางคนกลัวความผิดพลาดมากๆ เพราะงั้นจึงพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาทักษะของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตัวเองดูไร้ความสามารถ คือถ้าพูดรวมๆ เลยคือ
ผู้ป่วยมักจะคิดว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่สมบูรณ์แบบ แม้จะไม่มีข้อผิดพลาด แต่ก็พยายามหาข้อผิดพลาดของตัวเอง เพื่อตำหนิตัวเองอยู่ตลอด
สาเหตุ
โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ขาดความทะเยอะทะยานและไม่สามารถทำตามแบบแผนที่ถูกกำหนดได้ หรือบางครั้งอาจพบในคนที่มีนิสัยรักความสมบูรณ์แบบก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก แรงกดดัน ความคาดหวังต่างๆ ก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน รวมไปถึงปัญหาสุขภาพจิต อย่างโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจทำให้สภาพจิตใจของบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน
วิธีรักษา
วิธีการรักษาที่ดูที่สุดเริ่มจากตัวเรา หยุดจับผิวตัวเอง หยุดโทษและตำหนิตัวเอง หันกลับมามองตัวเองในด้านบวก นึกถึงตนเองในสิ่งดีๆ วันละ 1 อย่าง ทำต่อเนื่องทุกวัน วิธีที่สองคือ ฝึกการรับรู้และรู้จักความสามารถของตนเอง คนเราต้องรู้จักประมาณตน มนุษย์ทุกคนมีทั้งข่อดีและข้อผิดพลาด การรับรู้ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง รวมถึงการรู้จักความสามารถของตนเอง จะส่งผลให้ชีวิตของเราไม่สับสน รู้ว่าเรามีจุดแข็งหรือข้อดีอะไร และได้กลับมาภูมิใจในตนเองในแบบที่เราเป็นจริง แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว รู้ว่าตัวเองทำไมได้ ลองไปปรึกษาแพทย์ดู อย่าปล่อยให้อะไรๆ แย่ไปมากกว่านี้
โรคแปลกๆที่ 7. โรคกลัวรู (Trypophobia)
ดรคที่เราได้ยินบ่อยมากอย่าง
โรคกลัวรู (Trypophobia)
มันคืออะไร
โรคนี้คือความรู้สึกกลัวและกระอักกระอ่วนเมื่อเห็นภาพหรือวัตถุต่างๆ ที่มีรูจำนวนมากรวมอยู่ด้วยกัน
เช่น ฝักเมล็ดบัว รังผึ้ง เมล็ดทับทิม สตรอเบอร์รี่ หรือปะการัง เป็นต้น แต่สำหรับการวินิจฉัยของแพทย์ พบว่าอาการกลัวรู จริงๆ แล้วผู้ป่วยไม่ได้รู้สึกกลัวรูอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จะรู้สึกกระอักกระอ่วนเมื่อเห็นรูปภาพของรูกลวงมากมายรวมอยู่ด้วยกัน หรือรูปภาพอวัยวะของสัตว์มีพิษซึ่งมีลักษณะคล้ายรูเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นนั้น อาจสัมพันธ์กับประสบการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในวัยเด็กมาก่อนนั่นเอง ซึ่ง
อาการส่วนใหญ่ที่พบเห็นง่ายๆ จะมีทั้งรู้สึกกระวนกระวาย กรีดร้อง ร้องไห้ โวยวาย
หรือบางคนอาจมีอาการตกใจ จนแน่นิ่งไปเลยก็มี
สาเหตุ
สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคนี้ อาจเกิดมาจากในอดีตผู้ป่วยอาจเคยผชิญหน้าหรือมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับวัตถุที่มีรู หรืออาจมีความผิดปกติทางสมอง หรือการทำงานของสมองที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ การป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลทั่วไป ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
วิธีรักษา
วิธีที่จะช่วยให้เพื่อนๆ รับมือกับโรคนี้ได้คือ การฝึกผ่อนคลายร่างกาย เมื่อตกอยู่ในอาการกลัว เช่น ควบคุมการหายใจ ขยับร่างกายช้าๆ อย่างเป็นจังหวะ และพยายามเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว ควบคู่กับการผ่อนคลาย เพื่อให้ร่างกายเกิดการเรียนรู้ใหม่ และบรรเทาความกลัวลง แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นปัญหารบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาได้
โรคแปลกที่ 8. โรคกลัวความรัก (Philophobia)
สำหรับโรค
โรคกลัวความรัก (Philophobia)
ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวการมีความรักหรือความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้อื่นจนไม่กล้าเริ่มต้น หรืออาจรุนแรงถึงขั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิต ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ได้ แม้ตัวผู้ป่วยเองก็ตระหนักได้ว่าความกลัวที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความกลัวดังกล่าวได้ อาการของโรคนี้
มีทั้งตื่นกลัว มีเหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก คลื่นไส้ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการสานต่อความสัมพันธ์ด้วย
สาเหตุ
สาเหตุของโรคนี้อาจเกิดจากการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ถูกทำร้าย หรือถูกทอดทิ้งในวัยเด็กมาก่อน หรืออาจเกิดจากผิดหวังกับความรักมากหลายครั้ง จนทำให้ไม่กล้าที่จะรักใครได้อีก
วิธีรักษา
สำหรับการรักษาโรคนี้ จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ วิธีแรก จะเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลองทำกิจกรรมคลายเครียดดู อาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสบายใจยิ่งขึ้น วิธีที่สองคือ การบำบัดให้หายจากความกลัว โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้การรับมือกับความกลัวที่เกิดขึ้นด้วยการพูดคุย พร้อมแนะนำให้เริ่มสร้างความสัมพันธ์จากจุดเล็กๆ น้อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือแนะนำให้เริ่มจากการสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนและคนใกล้ชิด เพื่อขจัดความกลัวไปทีละน้อย และวิธีสุดท้ายคือ การใช้ยา เพราะถ้าหากผู้ป่วยดันมีความผิดปกติทางจิตชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านซึมเศร้าหรือยาคลายความวิตกกังวลควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยการพูดคุยนั่นเอง
โรคแปลกๆที่ 9. โรคลืมใบหน้า (Prosopagnosia)
ไม่ใช่แค่จำไม่ได้ แต่ลืมไปโรค
โรคลืมใบหน้า (Prosopagnosia)
เป็นความผิดปกติทางสมองที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำและแยกความแตกต่างของใบหน้าได้ หลายคนอาจจะคิดว่า นี่มันโรคของผู้สูงอายุรึเปล่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนหนุ่มสาวเช่นกัน ซึ่งอาการที่แน่ชัดที่สุดของโรคนี้คือ
ไม่สามารถจดจำและจำแนกความแตกต่างของใบหน้า การแสดงออกทางสีหน้า อายุหรือเพศของผู้อื่นได้
โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้พบหน้ากันในสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยมาก่อน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาในการจดจำวัตถุ สถานที่ และเส้นทางด้วย
สาเหตุ
สาเหตุจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท อย่างแรกคือ ภาวะลืมใบหน้าแต่กำเนิด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะนี้ โดยเชื่อกันว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากมักพบคนในครอบครัวมีอาการของภาวะลืมใบหน้าเช่นเดียวกัน และอีกหนึ่งสาเหตุคือ ภาวะลืมใบหน้าจากการได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง หรือที่เรารู้จักกันดีอย่างโรคสมองเสื่อม ความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
วิธีรักษา
ปัจจุบันโรคลืมใบหน้ายังไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพา ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยจดจำคนอื่นด้วยลักษณะเด่นอื่นๆ แทนการจดจำใบหน้า เช่น เสียง ทรงผม เสื้อผ้า ส่วนสูง บุคลิกส่วนตัวอันเป็นลักษณะเด่นของบุคคลนั้นๆ แทน หรืออาจจะมีการจด ถ่ายรูป ทำบันทึกความจำไว้กับตัวเองก็ได้ แต่ถ้าหากผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ ดันเป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลร่วมด้วย ก็อาจจะมีการใช้ยาเข้ามาช่วยควบคู่กันไป ทั้งนี้ก็จะมีวิธีอื่นๆ อีก เช่น ตรวจเช็คการทำงานของดวงตา ตรวจสมองโดยการทำ CT Scan หรือ MRI รวมถึงการทำแบบทดสอบสมรถภาพสมอง เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ละเอียดยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ
โรคแปลกๆที่ 10. โรคกลัวทะเลลึก (Thalassophobia)
และโรคสุดท้ายที่เราหยิบมาแนะนำในวันนี้
โรคกลัวทะเลลึก (Thalassophobia)
ไม่ใช่แค่ทะเลลึก แต่บางคนแค่เห็นทะเลก็กลัวแล้ว กลัวน้ำเค็ม กลัวคลื่นขนาดใหญ่ กลัวความลึก กลัวระยะห่างจากชายฝั่ง กลัวสิ่งที่ไม่มีรากฐานให้ยึดเกาะ และในบางเคสอาจรู้สึกกลัวความเวิ้งว้างที่ดูไร้ซึ่งขอบเขตของท้องทะเลหรือแม่น้ำที่กว้างใหญ่ ซึ่งอาการที่พบบ่อยๆ จะมีทั้ง
ตัวสั่น เหงื่อแตก ใจเต้นไม่เป็นส่ำ
เมื่อมองเห็นคลื่นทะเล หรือแม่น้ำที่มีความลึกและกว้างใหญ่บางคนแค่เห็นรูป สารคดี หนัง ที่มีฉากการตายในทะเล ฉากเรือล่ม มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก หรือเห็นภาพข่าวเหตุการณ์สึนามิจะรู้สึกกลัวแทบหยุดหายใจแล้ว!
และเมื่อไหร่ที่ต้องเข้าใกล้หรือต้องอยู่ท่ามกลางท้องทะเล จะรู้สึกตัวชา ใจสั่น ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เสียอาการแบบสุดๆ ไปเลย
สาเหตุ
โรคกลัวทะเลอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฝังใจกลัวจากภาพ หนัง ข่าว สารคดีที่เห็น หรือบางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับทะเล เคยจมน้ำ เคยสำลักน้ำ แม้กระทั่งเด็กที่โดนผู้ใหญ่สั่งสอนแบบผิดๆ ในทำนองขู่ให้กลัว เช่น อย่าเข้าใกล้ทะเล เดี๋ยวโดนคลื่นซัดหายไป อย่าลงเล่นน้ำ เดี๋ยวจมหาย เป็นต้น ก็อาจฝังใจจนทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
วิธีรักษา
วิธีรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือการสะกดจิตบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาความกลัวด้วยการที่นักจิตวิทยาจะขุดรากถอนโคนถึงสาเหตุของความกลัวนั้นๆ แล้วค่อยๆ เคลียร์ต้นเหตุของความกลัวออกไปทีละอย่าง และอีกหนึ่งวิธีคือ การจัดพฤติกรรมของสมองและจิตใต้สำนึก ด้วยการค่อยๆ ปรับความเข้าใจกับผู้ป่วยให้เขาหลุดออกจากโลกแห่งความกลัวที่สร้างขึ้นมาหลอนตัวเอง
เป็นไงบ้างคะทุกคนโรคแปลกๆเหล่านี้น่ากลัวมั้ย? โดยส่วนใหญ่แล้วโรคเหล่านี้จะถูกจัดเป็นโรคทางจิตเวช โอกาสหายขาดจะค่อนข้างยาก ก็จะต้องรักษาด้วยการใช้ยาบ้าง พบแพทย์บ้างใครที่อ่านแล้วรู้สึกว่า"ฉันมีอาการแบบนี้เลย"และเริ่มมีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน แนะนำให้ลองไปตรวจดูนะคะไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกังวลนะ รู้เนิ่นๆ ดีกว่ารู้ตอนอาการรุนแรงนะคะ สำคัญคือการไปพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่าอายพูดง่ายๆ คือ จิตใจของเราก็เหมือนกับร่างกายส่วนอื่นๆ ที่เมื่อไม่สบายก็สามารถไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและหาทางรักษาได้ ฉะนั้นไม่ต้องกลัวนะคะแล้วมาติดตามhttps://sistacafe.com/summariesสุดว้าวแบบนี้ได้ใหม่ที่https://sistacafe.com/เลยน้าสำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนแล้ว บ๊ายบาย
Cr. 10 โรคแปลกๆที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่มีอยู่จริง
https://nursesoulciety.com/2022/02/23/strange-disease/
Cr. โรคแปลกที่พบในซีรี่ย์มีจริงหรือ
https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4186/
รูปหน้าปก
https://drive.google.com/drive/folders/1q_VzuGj-QkoH8PjLO4obBL6IErOB4gix?usp=sharing
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สังเกตอาการ Post-vacation Blues รับมือกับภาวะโรคฮิตหลังหยุดยาว!
https://sistacafe.com/summaries/93445
อยากมีแฟน แต่ก็ชอบอยู่คนเดียว เกี่ยวกันไหมกับ Philophobia โรคกลัวความรัก ?
https://sistacafe.com/summaries/92030
โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ สำรวจตัวเองมีลักษณะแบบไหน พร้อมวิธีเปลี่ยนแปลงตัวเอง
https://sistacafe.com/summaries/96042
ชวนมาทำความรู้จัก ‘Bibliomania’ อาการเป็นยังไง ยังอ่านไม่หมดเลย ซื้อใหม่อีกแล้วเหรอ!?
https://sistacafe.com/summaries/94297
เช็กให้ชัวร์! รู้จักกับภาวะ "Smiling Depression" สดใสยิ้มง่าย แต่ภายในกลับเศร้า
https://sistacafe.com/summaries/94650