สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ หลังจากพิ้งไปตรวจสุขภาพประจำปีมาแล้ว ก็พบโรคหนึ่งที่พิ้งเองสงสัยมานาน นั่นคือ" นิ้วล็อค "พราะพิ้งเป็นคนที่ติดมือถือ หรือ สมาร์ทโฟนมาก  เพื่อนๆ คงสงสัยว่าอาการเป็นหนักมั้ย หรือ มีลักษณะยังไง ติดตามกันได้เลยค่ะ


รูปภาพ:http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/ssru-NEW/2_05/offsd/ofsd4.jpg

ภาวะนิ้วล็อค เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เกิดในกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานอย่างหนัก ก็จะพบว่ามีอาการเจ็บและมีเสียงดังกึกทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว แต่เมื่อมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาทำให้ลอดผ่านห่วงลำบาก จึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการ

นิ้วล็อค

ตามมา ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้าน ส่วนในผู้ชายมักจะพบในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้มือหนักๆ เช่นพนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ

รูปภาพ:http://awesomelytechie.com/wp-content/uploads/2014/07/Typing.gif

ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด พอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้น เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึกต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค คือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วจากประสบการณ์ตรง หากมีอาการปวด พิ้งแนะนำให้เพื่อนๆ รีบพบแพทย์เลยนะคะ เพื่อเวลารักษาจะได้หายขาด

รูปภาพ:http://www.ovolva.com/uploaded/contents/thumbnail/image/trigger-finger1.jpg

ในแต่ละกิจกรรมจะใช้งานแต่ละนิ้วไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดนิ้วล็อคที่ตำแหน่งนิ้วต่างกันด้วย เช่น

- คุณครู หรือนักบริหาร มักเป็น

นิ้วล็อค

ที่นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมาก

- คุณแม่บ้าน ซักบิดผ้า มักเป็นที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา แต่ภาวะดังกล่าวไม่มีอันตรายใดๆเพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

รูปภาพ:https://marketingchristianbooks.files.wordpress.com/2013/05/hand-signing-petition-lg.jpg

แม้คุณอาจจะอายุไม่ถึง 45 แต่ก็สามารถเสี่ยงเป็นได้ถ้าหากคุณติดสมาร์ทโฟน !!!!โดยเฉพาะนิ้วโป้งข้างที่คุณถนัด( ตอนนี้พิ้งเป็นที่นิ้วโป้งอยู่ T^T ) เนื่องจากมีการใช้น้ำหนักมาก และ ใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ว่าคุณจะพิมพ์แชท เล่นเกมส์ ก็สามารถเป็นได้ทั้งนั้น

รูปภาพ:http://thaimobilecenter.com/home/img_stock/2015102_40724.jpg

วิธีทำกายภาพมือแบบง่ายๆ เพื่อลดอาการเสี่ยงเป็นแบบถาวร

1. ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น - ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1 - 10 แล้วปล่อยทำ 6 - 10 ครั้ง / เซ็ต

รูปภาพ:http://health2u.exteen.com/images/blog2009f/090712rubbe4bc.jpg

2. บริหารการกำ - แบมือ โดยฝึกกำ - แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำ 6-10 ครั้ง / เซ็ต

รูปภาพ:http://www.shaolinherb.com/wp-content/uploads/2015/04/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%84-3.jpg

3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ - เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1 - 10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง / เซ็ต

รูปภาพ:http://srehra.com/wp-content/uploads/2015/11/00022.jpg

ถ้าหากมีอาการเริ่มเจ็บนิ้ว ปวด หรืองอนิ้วไม่ได้ เพื่อนๆ ควรรีบพบแพทย์ด่วนเลยนะคะ จะรักษาหายได้ทัน เพราะนิ้วของเรานั้นสำคัญมาก อย่าทิ้งไว้นะคะ

วันนี้พิ้งข้อนำข้อมูลดีๆ มาฝากเพียงเท่านี้ หวังว่าคงจะมีประโยชน์นะคะ :)))) ขอบคุณที่ติดตามค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง