ณ เวลานี้จะกระแสไหนก็ต้องหลบไปก่อน! เปิดทางให้แม่เดินเพราะ

กระแสการเมืองในโลกโซเชียลฯ เรียกว่ามาแรงแซงไม่หยุดฉุดไม่อยู่

ถึงแม้ว่าเราจะผ่านหน้าประวัติศาสตร์การเลือกตั้งในรอบ 8 ปีมาแล้วก็ตามแต่

แต่เชื่อว่าหลายๆ คนก็ยังเกาะติดผลการนับคะแนน และเรื่องราวร้อนระอุต่างๆ ในการเลือกตั้งแบบไม่ได้หยุดพักกันเลยค่ะ

( แด่ชาวทวิภพที่ยังไม่ได้นอนน♩♪♫ ทั้งหลายยย )

แต่ด้วยเรื่อ

การเมืองเป็นอะไรที่เจาะจงเฉพาะสุดๆ


เวลาเราตามข่าวสารต่างๆ ก็มักจะเจอคำคัพท์เฉพาะหลายคำมากๆ

เด็กรุ่นใหม่อย่างเราแถมบางคนก็เพิ่งจะหันมาสนใจในเรื่องการเมือง แน่นอนว่าพออ่านข่าวเจอศัพท์เฉพาะรัวๆ ก็ต้องมีมึนหัวตามกันอยู่บ้างแหละ ถูกไหมจ๊ะ ?

บทความนี้

Sista

Cafe

เลยจะขอมาแบ่งความรู้ ไปดูความหมายศัพท์เฉพาะต่างๆ ในการเลือกตั้งกับ

" รวมคำศัพท์ #เลือกตั้ง62 เข้าใจง่าย "อ่านแล้วอ๋อเลยวัยรุ่น งานนี้ไม่งงกันแล้วรับรอง!

(●≧ω≦)9(●≧ω≦)9

รูปภาพ:https://campus.campus-star.com/app/uploads/2018/12/Elections-N05.jpg

【 1. บัตรดี 】

บัตรดี


ก็คือบัตรที่ถูกต้องสามารถนับเป็นคะแนนได้ค่ะ

บัตรดีจะเป็นบัตรที่ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องได้อย่างถูกต้องโดยกากบาทชัดเจนเพียงช่องเดียว

โดยที่การทำเครื่องหมายกากบาทที่ถูกต้อง จะต้องทำอยู่ภายในช่องและมีจุดตัดเพียงจุดเดียว

【 2. บัตรเสีย 】

บัตรเสีย

ก็คือ

บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากการกากบาท เช่น เครื่องหมายถูก หรือแม้แต่ทำเครื่องหมายนอกช่องสี่เหลี่ยม , มีการทำเครื่องหมายมากกว่าหนึ่งอันในช่องคำถาม , ไม่มีการทำเครื่องหมายกากบาทลงไปบนบัตร หรือแม้แต่มีการเขียนตัวหนังสือใดๆ บนบัตร

แม้เพียงส่วนเดียว จะถือเป็นบัตรเสียทั้งหมดและไม่ถูกนับคะแนนเลยค่ะ

รูปภาพ:https://static.posttoday.com/media/content/2019/03/22/CE26E4EE842B4459A3438F0A1AA8D7DE.jpg

【 3. นิวโหวตเตอร์ 】

เชื่อว่าพวกเธอคงได้ยินคำนี้มาหาหูมาก เพราะนิวโหวตเตอร์ก็คือพวกเรานี้แหละค่ะ

เขาคือเหล่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหน้าใหม่ ( new voter )

นั่นเอง ซึ่งในทางกฎหมายคือบุคคลที่มีอายุครบ 18 ปีในวันเลือกตั้ง

แต่เนื่องจากไทยไม่มีการเลือกตั้งมานานถึง 8 ปี ทำให้ชาวไทยผู้มีอายุตั้งแต่ 18-26 ปี กลายเป็นกลุ่มคนที่เพิ่งมีโอกาสได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี 2562 ด้วย

【 4. โหวตโน , โนโหวต 】

โหวตโน และ โนโหวตบอกก่อนว่าสองคำนี้ความหมายไม่เหมือนกันนะจ๊ะพวกเธอ

- โหวตโน หมายถึง การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่กาช่อง “ ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด ”

ลือกใคร แต่กติกาใหม่กำหนดให้ผู้สมัครที่จะได้เป็น ส.ส. ต้องได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนน “ โหวตโน ” (vote no) พูดง่ายๆ ก็คือถ้าใครชนะเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 แต่ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนโหวตโน ก็หมดสิทธิเป็น ส.ส. และต้องจัดการเลือกตั้งกันใหม่ในเขตนั้นไปเลยจ้าแม่

- โนโหวต หมายถึง การไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า “ นอนหลับทับสิทธิ์ ” ( no vote )

ไม่ดีเลยน้า ถ้าเราทำแบบนี้จะถูกตัดสิทธิเป็นข้าราชการการเมืองและผู้บริหารท้องถิ่นในอนาคตด้วยนะ

【 5. การจัดตั้งรัฐบาล 】

อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าเราเลือกตั้งเพื่อนจะหารัฐบาลมาบริหารดูแลประเทศของเราถูกต้องไหมคะ

หลังการเลือกตั้งก็จะมี" การจัดตั้งรัฐบาล "ตามมา ซึ่งจะเกิดจากการตั้งขึ้นของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งนี้แหละค่ะ

โดยวิธีการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองอาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบการปกครอง

อาจจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลในรูปของรัฐบาลโดยพรรคเดียว หรือ รัฐบาลผสม ที่มีพรรคการเมืองมากกว่า ๑ พรรคเข้าร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล

ขึ้นอยู่กับพรรคที่มีโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลว่า มีเสียงข้างมากในสภามากน้อยเพียงใด และต้องการเสียงสนับสนุนจากพรรคอื่นหรือไม่ อย่างในกรณีของเราตอนนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลแบบรัฐบาลผสมนั่นเองค่ะ

รูปภาพ:https://c1.staticflickr.com/5/4309/35598530050_97b713da13_b.jpg

【 6. ฝ่ายค้าน 】

ฝ่ายค้าน


ก็คือบรรดาพรรคการเมืองหรือ ส.ส. ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล จะต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาลในรัฐสภา

โดยปริยายค่ะ

หน้าที่หลักๆ ของฝ่ายค้านก็คือ การตรวจสอบการบริหารประเทศของฝ่ายรัฐบาล คัดค้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาล

ฝ่ายค้านจะทำหน้าที่ได้ดีมากแค่ไหน ส่วนนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเราค่ะ

【 7. ส.ส. แบบแบ่งเขต 】

ปกติการเลือก ส.ส. เราจะมีการเลือกตั้งได้ 2 แบบค่ะ แบบแรกเราจะเรียกว่า

" ส.ส. แบบแบ่งเขต "

ก็คือ

ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน

ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงไม่เลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.

【 8. ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 】

ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือที่เราคุ้นหูกันตอนนี้ว่าปาร์ตี้ลิสต์

ก็คือวิธีการเลือก ส.ส. อีกแบบหนึ่งค่ะ โดยพรรคการเมืองจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละหนึ่งบัญชี ซึ่งรายชื่อไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

โดยเราจะต้องเลือก ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์จากพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง คะแนนที่ประชาชนเลือก ส.ส. จากพรรคต่างๆ ทั้งประเทศ จะนำมาคำนวณจำนวน ส.ส. ของพรรคการเมืองที่จะได้รับในการเลือกตั้งอีกทีค่ะ

รูปภาพ:https://teen.mthai.com/app/uploads/2019/02/elections-3.jpg

【 9. จัดสรรปันส่วนผสม 】

เพื่อนๆ น่าจะได้ยินคำนี้ผ่านหูกันมาบ้างในการเลือกตั้ง 62 ของเรา

" จัดสรรปันส่วนผสม "

คือระบบเลือกตั้งใหม่เพิ่งใช้เป็นครั้งแรก โดยการกำหนดให้มี ส.ส. 2 ประเภทคือแบบแบ่งเขต 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อ ( ปาร์ตี้ลิสต์ ) 150 คน แต่มีบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวให้พวกเรากาเลือกผู้สมัคร

( จากเดิมจะมี 2 ใบนะจ๊ะ เลือกคนที่ชอบ เลือกพรรคที่ใช่ )

ทุกคะแนนที่ผู้สมัคร ส.ส. เขตได้รับจะถูกนำไปนับรวมกันทั้งพรรค ก่อนคำนวณเป็นจำนวน

“ ส.ส. พึงมี ”

ทั้งหมดของพรรคนั้น ๆ เช่น พรรค ก. คำนวณแล้วได้ยอด ส.ส. พึงมี 200 คน หากชนะเลือกตั้ง 180 เขต ก็จะเหลือโควต้า ส.ส. บัญชีรายชื่ออีก 20 คน เป็นต้นจ้า

【 10. นายกคนใน 】

นายกคนใน

คือผู้สมัครที่มีชื่ออยู่ในบัญชีที่พรรคการเมืองเตรียมเสนอต่อสภาผู้แทนฯ เพื่อพิจารณาเป็นนายกฯ โดยจะเสนอได้พรรคละไม่เกิน 3 รายชื่อ และต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง หรือที่เราได้ยินบ่อยๆ ว่า

"แคนดิเดต นายก"

นี้แหละจ้า

【 11. นายกคนนอก】

นายกคนนอก แปลง่ายๆ ก็คือนายกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

ก็คือคนที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ หลังสมาชิกรัฐสภามีข้อยกเว้นการใช้ชื่อนายกฯ ในบัญชีของพรรคการเมือง กรณีเกิดปัญหาจนไม่สามารถตั้ง “ นายกฯ คนใน ” ได้

แต่การมี “ นายกฯ คนนอก ” จะเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีนี้เท่านั้น และต้องได้เสียงสนับสนุนมากกว่ากึ่งหนึ่งในรัฐสภา หรือ 376 จาก 700 เสียง

รูปภาพ:https://s.isanook.com/ns/0/rp/r/w700/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL25zLzAvdWQvMTU0MS83NzA1ODgyLzYuanBn.jpg

【 12. ดีเบต 】

‘ ดีเบต ’ ( debate ) ก็คือการประชันวิสัยทัศน์และนโยบายของแต่ละพรรค

เพื่อให้พวกเราได้รับรู้นโยบายของแต่ละพรรค และเห็นวิธีคิดไหวพริบของผู้ที่จะมาบริหารประเทศว่ามีความสามารถปฏิบัติได้จริงไหมการดีเบตจะทำให้เราเห็นทักษะต่างๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของแต่ละพรรค เป็นสิ่งที่จะทำให้เราตัดสินใจลงคะแนนได้ง่ายขึ้น

【 13. ใบเหลือง , ใบส้ม , ใบแดง 】

รูปภาพ:https://farm8.staticflickr.com/7807/32513454087_5b5502d046_b.jpg

__________________________________________________________


อ่านทันไม่งงแล้วนะแม่ แค่นี้ก็ตามใส่ใจข่าวการเมืองแบบไม่มึนได้แล้ว ดูถ้าว่าพวกเราจะยังต้องเกาะกระแสนี้ไปอีกสักพักใหญ่ๆ และไม่รู้ว่าผลจะออกมาในทิศทางไหนเช่นกัน ( พนมมือ )

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่เพื่อนๆ ก็ควรเสพข่าวแต่พอประมาณ และทำอะไรบนพื้นฐานประชาธิปไตยในสิ่งที่ถูกต้องต่อไปนะคะ

วันนี้ต้องไปแล้ว สุดท้ายอย่าอยู่ในทวิภพมากเดี๋ยวขอบตาจะดาไป ( ด้วยรักและห่วงใยนะเธอ )

┗(^o^ )┓三