1. SistaCafe
  2. กินข้าวไม่ตรงเวลาใช่ไหม! มารู้จักโรคกรดไหลย้อน ( GERD ) กันเถอะ

สวัสดีค่าาา สาวๆSistaCafeทุกคนนนนนนนนน



ยุคนี้เป็นยุคของความเร่งรีบ ทำให้สาวๆ หลายคนใช้ชีวิตไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ บางคนนอนดึกตื่นสาย กินไม่ครบมื้อ ( กินมื้อเช้าไม่ทัน กินอีกทีก็มื้อเที่ยงเลย ) ทำงานยาวไปจนดึก มีเวลากินข้าวก็กินๆๆๆๆ แล้วก็นอนเลย รู้ตัวอีกทีก็รู้สึกว่าอาหารไม่ย่อย แสบๆ อืดๆ ท้องชอบกล บางครั้งก็รู้สึกถึงรสเปรี้ยวย้อนขึ้นมาตามลำคอ เดี๋ยว นี่ฉันเป็นอะไรเนี่ย!?



ไม่ต้องไปหาคำตอบที่ไหน เราตอบให้เอง! เธอกำลังเป็นโรค ' กรดไหลย้อน ' หรือ GERD นั่นเอง โรคนี้เป็นกันบ่อยในสังคมเมืองแต่ไม่ค่อยมีใครสนใจรักษาจริงจัง หารู้ไม่ว่า หากปล่อยให้อาการหนักขึ้น อาจเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้เลยนะแกร๊!



มารีบรู้ตัว แล้วรักษาให้ทันเวลา เพื่อจะได้เป็นสาวสวยสุขภาพดี มีชีวิตที่สดใสไปนานๆ ~


พร้อมแล้วก็เลื่อนลงมาดูกันเลย



โรคกรดไหลย้อน ( Gastroesophageal reflux disease = GERD ) คืออะไร


Gastroesophageal reflux disease (GERD)คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะ ไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหาร ( esophagus )ทำให้หลอดอาหารระคายเคือง ทำให้รู้สึกแสบร้อนที่หน้าอกและอาการอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย



ใครที่กินอาหารเสร็จแล้ว รู้สึกมีอะไรไหลย้อนขึ้นมา แล้วเจ็บแปล๊บๆ นั่นแหละใช่เลย!

สาเหตุของการเกิดโรค


ตามปกติแล้ว หลังกินอาหารเสร็จ ชิ้นอาหารจะผ่านจากลำคอไปยังกระเพาะผ่านหลอดอาหาร จะมีอวัยวะหนึ่งซึ่งเป็นกล้ามเนื้อในหลอดอาหารส่วนล่าง เรียกว่า " หูรูด " ชื่อภาษาอังกฤษคือ lower esophageal sphincter (LES) จะเป็นตัวปิดไม่ให้อาหารหรือกรดใดๆ ย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร


เมื่อหูรูดไม่ปิดสนิททั้งหมด กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะจึงสามารถไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ นี่แหละอาการที่เรียกว่า " Reflux ( กรดไหลย้อน ) " ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการต่างๆ ที่ส่งผลร้ายกับร่างกายได้มากมายเนื่องจากกรดในกระเพาะนั้นรุนแรงมาก ( ย่อยอาหารได้ ก็ต้องย่อยเนื้อส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้! ) ถ้ากรดไหลย้อนบ่อยๆ เยื่อบุหลอดอาหารอาจอักเสบและเป็นแผลได้

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2Fd2555587-8baa-4de4-99a0-789a3ca3f213.jpeg?v=20240306181833&ratio=0.712

เอ....แล้วทำไมเราถึงเป็นโรค " กรดไหลย้อน " ได้ล่ะเนี่ย!?ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้1. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์2. ไส้เลื่อนกระบังลม ( hiatal hernia ) หรือการที่บางส่วนของกระเพาะอาหาร ตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมเข้าไปในช่องอก ทำให้กล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมมีความหย่อนยานได้3. โรคอ้วน, ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์4. อยู่ในช่วงตั้งครรภ์5. โรคหนังแข็ง ( Scleroderma ) หรือการที่ผิวหนังแข็งตัวขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะมีการสะสมของพังผืด คอลลาเจนที่ผนังหลอดเลือดและอวัยวะภายใน6. สูบบุหรี่

ยังไม่หมดแค่นี้...บางครั้งเราอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน จากการกินยาบางชนิด เช่น ยาแก้อาการเมาคลื่น เมาเรือ, ยาแก้โรคหอบหืด, แคลเซียมสำหรับรักษาโรคความดันในเลือดสูง, ยาโดปามีนรักษาโรคพาร์กินสัน, โพรเจสติน รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติหรือคุมกำเนิด, ยาแก้โรคนอนไม่หลับ เป็นต้นค่ะ

อาการของโรค

อาการทั่วไปของโรคกรดไหลย้อน ( GERD ) มีดังนี้1. รู้สึกว่าเศษอาหารยังอยู่ในกระดูกหน้าอก ( breastbone )2. แสบร้อนบริเวณทรวงอก เจ็บบริเวณหน้าอก3. วิงเวียน คลื่นเหียน อยากจะอาเจียนหลังกินอาหารเสร็จอาการอื่นๆ ที่อาจพบ ( แต่เจอไม่บ่อย ) มีดังนี้


1. สำรอกอาหารออกมา


2. ไอ, หายใจเป็นเสียงฮึดๆ หรือเสียงหวีดเบาๆ ( wheezing )


3. กลืนอาหารลำบาก


4. มีอาการสะอึก


5. เสียงเปลี่ยนไป


6. เจ็บคอ



อาการต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ ( หรือถ้าเป็นอยู่แล้ว อาการก็ยิ่งแย่ลงไปอีก ) เมื่อสาวๆ นอนหรือเอนตัวทันทีหลังกินอาหารเสร็จ และมักกำเริบในเวลากลางคืนค่ะ



ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2Ff0c22709-46cd-49e5-9485-4cd6d58e9a97.jpeg?v=20240306181833&ratio=0.752ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2F5982e48f-75f0-4d35-9619-c95ab9b8903a.jpeg?v=20240306181833&ratio=0.667

วิธีตรวจ / ทดสอบว่าเป็น " กรดไหลย้อน " หรือเปล่า

ถ้ามีอาการอ่อนๆ ก็อาจไม่ต้องตรวจสอบอะไร แต่ถ้าอาการกำเริบรุนแรง หรือเคยรักษาหายแล้วกลับมาเป็นอีก ให้ไปพบแพทย์ เพื่อรับการทดสอบที่เรียกว่า " การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร " หรือ upper endoscopy ( EGD )


การส่องกล้องครั้งนี้ เพื่อดูสภาพเยื่อบุในหลอดอาหาร, ดูสภาพกระเพาะอาหาร, และลำไส้เล็กโดยใช้กล้องขนาดเล็ก ( เป็นกล้อง endoscope ที่ยืดหยุ่นได้ ) ซึ่งจะเป็นท่อยาวลงไปในลำคอ ซึ่งอาจจะต้องทำการทดสอบอีก 1 อย่างหรือมากกว่า ดังนี้



1. ทดสอบว่ากรดในกระเพาะอาหาร เข้าไปในหลอดอาหารบ่อยแค่ไหน2. ทดสอบแรงกดดันในหลอดอาหารส่วนล่าง (esophageal manometry)3. การตรวจอุจจาระ ( stool occult blood test ) หากได้ผลเป็นบวก ( positive ) อาจวินิจฉัยได้ว่า ภาวะเลือดออกนั้นมาจากจุดไหน ( หลอดอาหาร, กระเพาะอาหารหรือลำไส้ )

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2F1ef86f78-ada8-4227-951e-a537e12fafb3.jpeg?v=20240306181834&ratio=0.562

วิธีรักษาโรค

ทางเดียวที่จะรักษาโรคกรดไหลย้อนได้ คือต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต ( lifestyle ) ของตัวเอง หากยังไม่รู้จะเปลี่ยนยังไง ลองดูตัวอย่างได้ดังนี้> ถ้าเธอมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักช่วยได้! ( ต้องไดเอทแล้วล่ะนะ อดทนค่ะเพื่อสุขภาพที่ดี )> หลีกเลี่ยงการกินยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น นาโพรเซ่น ให้ใช้ไทลินอลแทนหากต้องการบรรเทาปวด

> หากต้องกินยา ให้ดื่มน้ำเปล่าตามมากๆ ถ้าเป็นโรคอะไรแล้วหมอจ่ายยาชนิดใหม่ที่ไม่รู้จัก ให้ถามแพทย์ว่ายานี้มีผลกระทบ ทำให้แสบทรวงอกมากขึ้นหรือไม่


> เธอสามารถกิน ยาลดกรด หลังมื้ออาหารหรือหลังเข้านอนได้ แม้อาจจะบรรเทาอาการได้ไม่นาน ผลข้างเคียงคืออาจเกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้ค่ะ



*ยาชนิดอื่นๆ ก็ใช้ได้ แม้จะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาลดกรด แต่บรรเทาอาการได้ยาวนานกว่า


ปัจจุบันมีการรักษากรดไหลย้อนผ่านการส่องกล้อง endoscope ได้เช่นกันค่ะ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2F1c58a801-f694-42d7-ad7b-5269b462fb9d.jpeg?v=20240306181834&ratio=0.667

โรคแทรกซ้อนที่ตามมาหลังเป็น " กรดไหลย้อน "

บางครั้งโรคนี้อาจมีอาการแทรกซ้อนได้ ดังนี้> โรคหอบหืดอาการรุนแรง> เยื่อบุในหลอดอาหารเปลี่ยนไป ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้> ภาวะหลอดลมหดเกร็ง ( Bronchospasm )

> อาการไออย่างหนัก มีเสียงแหบลง


> ปัญหาเกี่ยวกับฟัน


> ฝี / แผลหนองในหลอดอาหาร


> หลอดอาหารตีบเพราะมีแผลเป็น


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2F01c7f41d-8e43-44a6-acb5-05f95c928b1c.jpeg?v=20240306181834&ratio=0.668

เมื่อไหร่ที่อาการรุนแรงจนต้องพบแพทย์

ถ้าเธอเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือกินยาแล้ว แต่โรคกรดไหลย้อนยังไม่หาย ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน*หากมีอาการต่อไปนี้ ยิ่งต้องรีบไปโรงพยาบาล*> มีเลือดออก> อาการสำลัก ( ไอ, หายใจติดขัด )> รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออกทันทีหลังกินอาหารเสร็จ> มีอาการอาเจียนบ่อยๆ> เสียงแหบลง> เบื่ออาหาร> กลืนอาหารลำบาก, กลืนอาหารแล้วเจ็บ> น้ำหนักลดฮวบโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2Fa3bb0f78-07cc-4630-b654-dfd9356661d7?v=20240306181834&ratio=1.000

การป้องกันโรค


1. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิด ' กรดไหลย้อน ' เช่น แอลกอฮอล์, คาเฟอีน ( ชา กาแฟ ), น้ำอัดลม โซดา, ช็อกโกแลต, ผลไม้และน้ำผลไม้รสเปรี้ยว, เปปเปอร์มินต์, อาหารที่มีรสจัดหรือไขมันสูง, ผลิตภัณฑ์ประเภทนมแบบ full-fat, มะเขือเทศและซอสมะเขือเทศ



2. เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เช่น อย่าเอนตัวลงนอนหรือออกกำลังกายทันทีหลังกินอาหารเสร็จ, กินอาหารให้เสร็จอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ให้กระเพาะอาหารย่อยให้เรียบร้อย เพราะการนอนทันทีหลังกินจะทำให้น้ำย่อยสูบฉีดต้านกับหูรูดหนักขึ้น, ลดจำนวนมื้อในแต่ละวัน



3. ไม่ใส่เสื้อผ้าหรือคาดเข็มขัดแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อึดอัดหน้าท้อง อาหารไม่ย่อยและก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ ถ้าน้ำหนักเกินก็ลดซะ เพราะไขมันหน้าท้องจะกดกระเพาะ ทำให้น้ำย้อยไหลย้อนเข้าหลอดอาหารได้


4. นอนให้หมอนสูงจากศีรษะประมาณ 6 นิ้ว การนอนให้หัวสูงกว่ากระเพาะ ทำให้อาหารไม่ไหลย้อนกลับ โดยวางหนังสือ ก้อนอิฐหรือท่อนบล็อกไว้ที่หัวเตียง หรือจะใช้หมอนรูปลิ่มใต้ฟูก อย่าใช้หมอนนิ่มๆ หลายใบซ้อนกัน เพราะหัวอาจจะลื่นหลุดจากหมอนระหว่างนอนหลับได้5. หยุดสูบบุหรี่ซะ! เพราะสารเคมีในบุหรี่ทำให้หลอดอาหารอ่อนแอลง6. ผ่อนคลายความเครียดด้วยการเล่นโยคะและทำสมาธิ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2F94e5121e-2efe-4d3d-9fa5-a17d027f9f77?v=20240306181834&ratio=1.000ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17485%2F4c419798-c7ee-4a75-88e5-090bcbf519bc.jpeg?v=20240306181834&ratio=0.667

==========================



จบลงไปแล้วกับความหมาย อาการ สัญญาณ วิธีรักษาและการป้องกันโรค ' กรดไหลย้อน ' เริ่มใส่ใจและรักษาตั้งแต่วันนี้ สังเกตอาการของตัวเองและคนรอบข้าง ถ้าใครส่อแววว่ากินอาหารไม่ตรงเวลา อดมื้อกินมื้อจนกระเพาะทำงานผิดปกติ อาจเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ รีบพาไปหาหมอหรือเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตซะ แสบร้อนที่อกบ่อยๆ ทรมานนะเออ TT



เพราะเราอยากให้สาวๆ ซิสต้าสวยและสุขภาพดีไปนานๆ ขอให้สุขภาพแข็งแรงทุกคนรับคริสต์มาสและปีใหม่นี้นะคะ วันนี้ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย ^^/



==========================




บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้