ทักทายค่าเพื่อน ๆ ชาวซิส

สำหรับบทความนี้เราจะชวนเพื่อน ๆ มา Talk เกี่ยวกับเรื่องของความรักกันหน่อย เพื่อน ๆ

เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเวลาเราตกหลุกรักมักจะมีอาการหน้าแดง หัวใจเต้นแรง หรืออย่างอาการผีเสื้อบินในท้องที่ใครเขาว่ากันมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง?

อยากจะบอกว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการที่เรามโนขึ้นมาเฉย ๆ กันเอง

เพราะความจริงแล้วการตกหลุมรัก เป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง และอาการตกหลุมรักสามารถอธิบายจากหลักของวิทยาศาสตร์ได้ด้วยนะ

ส่วนวิทยาศาสตร์แห่งการตกหลุมรักจะเป็นยังไง ส่งผลต่ออวัยวะใดในร่างกายเราบ้าง ลองตามไป Talk กันในบทความนี้เลย

แต่บางครั้ง "รัก" ก็ทำร้ายตัวเอง

⠀⠀⠀แม้โดปามีนจะขึ้นชื่อว่าเป็นสารแห่งความสุข และสารตัวนี้ยังช่วยให้เรามีสมาธิ มีความมั่นใจ กระตือรือร้น นำมาซึ่งแรงบันดาลใจ ไปจนถึงสร้างกำลังใจในการตั้งเป้าหมายชีวิต แต่โดปามีนก็มีข้อเสียในตัวเองด้วยเช่นกัน

มีผลการศึกษาวิจัยพบว่าโดปามีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสพติด เพราะเมื่อกระทำสิ่งใดแล้วได้รับความพึงพอใจ ร่างกายและจิตใจจะยิ่งเรียกร้องโหยหาต้องการสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น หากตกหลุมรักใครแล้ว ก็จะมาพร้อมความรู้สึกโหยหา ต้องการไขว่คว้า และต้องการที่จะรู้สึกรักอย่างนั้นซ้ำ ๆ ซึ่งหากมีสิ่งใดมาขัดขวาง ก็จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโห หรือเซื่องซึมได้ เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นอาการhttps://www.facebook.com/hashtag/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81?__eep__=6&__cft__[0]=AZU2JvGu8h1fmGXAv9D7on9fkXCoP6Ts9AmQCpwkzK7DB-PcB7s64E2eC1UvYMBlETW4EOXbNs6XXBrVqpl3rEAbsf9aDoK1kCotvV4kw2vFYR-HVeWl7MhE0DZ1jA2T22OPYi_Rj4RVLiFVZEN-W82fM628rwYfL3IyEWTnMMWBG9tI5Td-kJXxDQBSi2eX4J-XE3AY-hbPbjYrexPZj5Mx&__tn__=*NK-y-Rนั่นเอง

นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่เราตกหลุมรัก จะส่งผลกระทบต่อการทำงานบางส่วนของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (Cortex) ที่กลีบหน้าผากส่วนหน้า ซึ่งคอยควบคุมบุคลิก การรับรู้ที่ซับซ้อน และการตัดสินใจ ทำให้ในบางครั้งเราก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นตัวของตัวเองออกไป มีความเชื่อที่แปลกไป หรือตัดสินใจบางเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คล้ายกับอาการhttps://www.facebook.com/hashtag/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81?__eep__=6&__cft__[0]=AZU2JvGu8h1fmGXAv9D7on9fkXCoP6Ts9AmQCpwkzK7DB-PcB7s64E2eC1UvYMBlETW4EOXbNs6XXBrVqpl3rEAbsf9aDoK1kCotvV4kw2vFYR-HVeWl7MhE0DZ1jA2T22OPYi_Rj4RVLiFVZEN-W82fM628rwYfL3IyEWTnMMWBG9tI5Td-kJXxDQBSi2eX4J-XE3AY-hbPbjYrexPZj5Mx&__tn__=*NK-y-Rอย่างที่เรา ๆ ชอบแซ็วกันนั่นล่ะ

ผลข้างเคียงเหล่านี้มองเผิน ๆ อาจไม่ได้ดูหนักหนาหรืออันตรายนัก แต่หากมีมากเกินไป จะส่งผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างได้อีกด้วย

..

⠀⠀⠀อย่างไรก็ตาม แม้เราจะรู้ว่าอาการทั้งหลายที่ยกมาทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นด้วยกลไกของสมองซึ่งสามารถหาคำตอบได้ด้วยคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเป็นเรื่องของhttps://www.facebook.com/hashtag/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81?__eep__=6&__cft__[0]=AZU2JvGu8h1fmGXAv9D7on9fkXCoP6Ts9AmQCpwkzK7DB-PcB7s64E2eC1UvYMBlETW4EOXbNs6XXBrVqpl3rEAbsf9aDoK1kCotvV4kw2vFYR-HVeWl7MhE0DZ1jA2T22OPYi_Rj4RVLiFVZEN-W82fM628rwYfL3IyEWTnMMWBG9tI5Td-kJXxDQBSi2eX4J-XE3AY-hbPbjYrexPZj5Mx&__tn__=*NK-y-Rคนเราก็เลือกที่จะอนุญาตให้ตัวเองมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป และปล่อยให้ความรู้สึกเป็นตัวนำทางโดยมักไม่มองหาเหตุผลจากมัน นั่นคือความพิเศษของความรัก

ในเทศกาลแห่งความรักที่กำลังจะมาถึงนี้ ขอให้ทุกคนได้พบเจอแต่ความรัก ไม่ว่าจะจากครอบครัว คนรัก เพื่อน สัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ในตัวคุณเอง Happy Valentine’s Day


ตามหลักวิทยาศาสตร์ "การตกหลุมรัก" เกิดขึ้นได้ยังไง


เฮเลน ฟิเชอร์ นักมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยรัตเกอร์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ และผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความรักหลายเล่ม รวมถึงเรื่อง

ทำไมเรามีความรัก

:


ธรรมชาติและสารเคมีของความรักแบบโรแมนติค

(

Why We Love: The Nature and Chemistry of Romantic Love

)

เธอกล่าวว่า การตกหลุมรักอะไรบางอย่างเกี่ยวข้องกับสมอง 3 ระบบที่แบ่งแยกกันชัดเจน

ความใคร่ (แรงขับทางเพศ)

ฮอร์โมนเพศเป็นตัวขับเคลื่อนความใคร่ในมนุษย์และสัตว์ ทั้งฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) ที่ผลิตโดยอัณฑะ และฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) ที่ผลิตโดยรังไข่ มีศูนย์การควบคุมอยู่ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส จากการศึกษาทางวิวัฒนาการพบว่า เทสโทสเตอโรนไม่เพียงแต่เป็นแรงขับทางเพศในผู้ชายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในแรงขับทางเพศของผู้หญิงด้วย ฟิเชอร์กล่าวและเสริมว่า “ฮอร์โมนเพศทำให้คุณอยากออกไปค้นหาทุกสิ่งอย่าง รวมถึงพฤติกรรมหาคู่ผสมพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์”


ทฤษฎี " การตกหลุม " อธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ไว้ว่ายังไง?

พูดถึงเรื่องการตกหลุมรัก ไม่ได้เป็นแค่เรื่องโรแมนติกที่มโนขึ้นมา แต่ในจังหวะตกหลุมรัก เวลาที่เราเห็นใครบางคนแล้วหัวใจเต้นแรง หน้าแดงขึ้นมา สามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ด้วยนะ ตามหลักของวิทยาศาตร์

" การตกหลุมรัก "

เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีในสมองส่วนไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus )

เกี่ยวข้องกับสารเคมีหลัก ๆ 3 อย่าง นั่นก็คือ โดปามีน ( Dopamine ) เซโรโทนีน ( Serotonin ) และอะดรีนาลีน ( Adrenaline ) สารเคมีที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขและตื่นตัวเวลาเจอคนที่เรารู้สึกสนใจ

ถ้าพูดในเชิงนักเคมี ความรัก ไม่ใช่เรื่องของโชคชะตาหรือความโรแมนติก แต่มันคือการเล่นตลกของสารเคมีในสมองของเราครับ หรือเราอาจจะเรียกมันเท่ๆว่า Cocktail of love ก็ได้ เพราะมันคือการผสมกันของสารเคมีจำนวนนึง มิกซ์กันอย่างกลมกล่อมจนออกมาเป็นการตกหลุมรักอันหอมหวาน

.● หลายคนอาจจะถามต่อว่า “แล้วถ้ามันเป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง ทำไมถึงเป็นเธอคนนี้หรือเขาคนนั้นเท่านั้นล่ะ ทำไมไม่ตกหลุมรักไปซะทุกคนเลย?”.ต้องตอบอย่างนี้ครับ คนเราทุกคนมีสเป็คในใจกันทั้งนั้น เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมคุณถึงชอบผู้หญิงผมดำยาวนักนะ เห็นทีไรใจเต้นทุกที.เพราะเรามักมีสเป็คที่เกิดจากภูมิหลัง / ประสบการณ์ในอดีต / ความเชื่อ / สิ่งที่เราขาดและเราต้องการมัน / สิ่งที่เหมือนกับเรา (ที่บอกว่าเนื้อคู่มักหน้าตาคล้ายกัน จริงๆแล้ว คุณมักจะมองหาคนที่มีบางสิ่งคล้ายคุณต่างหาก) หรือ สิ่งที่ทำให้เรานึกถึงบุคคลที่เราชื่นชม (เช่น ชอบผู้ชายอบอุ่น เพราะพ่อเป็นคนอบอุ่น).● คุณปฏิเสธการตกหลุมรักไม่ได้! : ถึงคุณจะเป็นหนุ่มโสดบ้างานหรือสาวแกร่งไม่ง้อความรัก แต่ถ้าคุณได้เจอกับคู่ที่ตรงกับสเป็คในใจแล้วล่ะก็ยังไงก็คุณก็ต้องรู้สึกใจเต้นและอยากเข้าไปคุยกับเธอ.ถ้าเธอไม่ผ่านสเป็ค คุณอาจจะตัดสินในใจว่า ‘คนๆนี้ไม่น่าสนใจ(ที่จะตกหลุมรัก) คงเป็นได้แค่เพื่อนหรือพี่น้อง’ ซึ่งบางครั้งมันใช้เวลาน้อยกว่า 3 นาทีด้วยซ้ำ Friendzone กันตั้งแต่สบตาเลยทีเดียว..● ตกหลุมรักได้ แม้ยังไม่ได้คุยกัน :บางทีสเป็คของคุณอาจจะเป็นเรื่องของรูปร่างหน้าตา, ท่าทาง, พฤติกรรมที่เขาแสดงออกมาภายนอกก็เป็นได้ โดยคุณมีโอกาสจะตกหลุมรักบ่อยกว่าเพื่อน หากสเป็คของคุณเป็นเรื่องของภายนอกเป็นหลัก..● จะเช็คยังไงว่าคุณตกหลุมรักจริง :คุณอยากลองอะไรใหม่ๆที่เขาชอบ (เห็นว่าเขาชอบฟังเพลงแจ๊ส ก็ไปหามาฟัง ทั้งๆที่ปกติคุณฟังร็อค แถมยังแอบคิดว่า อืม มันก็เพราะดีนะเนี่ย) / รู้สึกอยากเจอเขาบ่อยๆ / คิดมาก กังวลใจ เครียดง่าย (เพราะฮอร์โมน) / พยายามสืบหรือศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเขา / ใบหน้าและเรื่องราวของเขามักโผล่มาในหัวคุณ (เพราะสารเซโรโทนินหลั่ง).สารเซโรโทนินเป็นตัวควบคุมความรู้สึกและความคิดที่รุนแรงในหัวคุณ มันจะทำให้คุณคิดถึงเธอบ่อยเป็นพิเศษ ความรู้สึกนี้รวมไปถึงตอนที่คุณโดนปฏิเสธด้วย เคยเป็นมั้ย โดนใครปฏิเสธหรือหักอกแล้วเราจะคิดถึงเธอบ่อยกว่าปกติ อยากได้เธอมากกว่าเดิม ก็ความผิดไอ้สารนี้แหละ..● LOVE NEED TO BE BLINDED : ในช่วงนี้ เป็นเรื่องธรรมชาติมากๆที่คุณจะมองเห็นแต่ข้อดีของเขา และเลือกมองข้ามข้อเสียไป (หรือถึงแม้จะเจอ ก็จะหาข้ออ้างมาตอบได้ทุกเรื่อง) มันถึงเป็นช่วงของความ Romantic Love ที่อะไรๆก็ดูเพอร์เฟ็คไปเสียหมด..● แต่เสียใจด้วยเพราะสารเคมีเหล่านี้อาจจะอยู่กับคุณแค่ 2 เดือน – 2 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นสิ คือของจริง!.พอไม่มีสารเคมีเหล่านี้แล้วคุณก็จะคิดถึงเขาน้อยลง เริ่มเจอข้อเสียที่คุณปิดตาไปตอนแรกและก็อาจจะเริ่มรับไม่ได้ คุณพยายามทำทุกวิธีทางให้ความรักกลับมาเป็นดั่งช่วง Romantic Love ไม่ว่าจะเป็นการพยายามเปลี่ยนให้เขากลับมาเป็นคนในอุดมคติคุณเช่นเดิม หรือ หนักไปจนถึงขั้นโทษตัวเอง โทษเขาว่า คุณเปลี่ยนไป! คุณไม่รักฉันแล้วใช่มั้ย?.ยินดีต้อนรับครับ คุณกำลังเข้าสู่ด่านต่อไปแล้วตอนหน้ามาต่อว่า เราจะทำยังไงดี เมื่อรักเราจืดจาง…

“รักแรกพบ” เกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาที

ความประทับใจจากรักแรกพบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 7 วินาทีแรกที่เราได้พบกับใครบางคน ซึ่งหมายความว่าระยะเวลาดังกล่าว แทบจะตัดสินใจได้ทันทีว่าเขาคนนั้นมีอะไรที่สามารถดึงดูดใจเราได้หรือไม่ ซึ่งความรู้สึกที่ต่างฝ่ายต่างมีแรงดึงดูดเข้าหากันนั้น ถือว่าเป็นรักแรกพบที่สามารถพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งได้

ทั้งนี้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาทีที่เรากำลังพิจารณาว่าเขาคนนั้นดึงดูดใจเราได้หรือไม่ สมองจะหลั่งสาร “อ็อกซิโทซิน” ที่มักถูกเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ออกมา ซึ่งหากสมองบอกว่าเรากำลังมีความรัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะตกหลุมรักตั้งแต่แรกพบเข้าให้แล้ว

“การสบตา” ส่งผลต่อรักแรกพบ

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยชิคาโกเคยทำการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการสบตาว่าสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกรักแรกพบได้หรือไม่ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของดวงตา รวมถึงการหาความแตกต่างด้วยว่าระหว่างความรักกับความใคร่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างไร

จากการทดลองให้ดูภาพที่เกี่ยวกับความรักโรแมนติก และภาพที่กระตุ้นให้เกิดความอารมณ์หรือความรู้สึกทางเพศ พบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับใบหน้าของคนที่พวกเขากำลังมีความรักมากกว่า ขณะที่การเคลื่อนสายตาไปโฟกัสที่ร่างกายในภาพอื่น ๆ นั้น ก็สนับสนุนแนวคิดเรื่องรักแรกพบด้วยเช่นกัน

ผลพลอยได้จาก “ภาพลวงตาเชิงบวก”

ขณะที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน เมื่อปี 2017 ระบุว่ารักแรกพบอาจเป็นผลพลอยได้จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ภาพลวงตาเชิงบวก” (Positive Illusion) เมื่อคนรักสองคนเชื่อว่าตนเองตกหลุมรักกันและกันตั้งแต่แรกพบ ก็ทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับความทรงจำในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปในเชิงบวก

นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังพบด้วยว่าคนส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์รักแรกพบมักจะลงเอยด้วยความสัมพันธ์ระยะยาว และการหวนรำลึกถึงความทรงจำเมื่อครั้งที่พบกันครั้งแรกของทั้งคู่ก็สามารถส่งผลในเชิงบวกให้ต่างฝ่ายต่างรู้สึกผูกพันและรักกันมากขึ้นด้วย

(http://www.ngthai.com/science/5367/why-we-kiss/)

ความหลงใหล (การหลงรัก)

งานวิจัยหลายชิ้นรายงานว่า เมื่อมนุษย์อยู่ในอาการ “ตกหลุมรัก” เรามักจะหลงลืมอะไรหลายๆ อย่างในชีวิต พวกเขาอาจจะมีความสุขจนลืมกินอาหารในบางมื้อ หรือบางครั้งก็เศร้าจนนอนไม่หลับ และใช้เวลานึกฝันถึงคนรักได้หลายๆ ชั่วโมง

การทำงานของสมองเรื่องความหลงใหลเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า “โมโนเอมีน” ได้แก่

– โดปามีน (Dopamine) สารแห่งความสุขและความพึงพอใจที่หลั่งออกมาเมื่อร่างกายเราได้รับสิ่งที่เราปรารถนา นอกจากนี้ โดปามีนยังถูกกระตุ้นด้วยสารเสพติดอย่างโคเคน และนิโคตินในบุหรี่

– อีพิเนฟริน (Epinehrine) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ อะดรีนาลีน คุณคงเคยมีอาการเขินอายจนหน้าแดง และหัวใจเต้นแรงเมื่อคุณได้พบกับใครสักคนที่คุณหมายตา นั่นเป็นเพราะคุณถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนชนิดนี้

– เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารชีวเคมีที่สำคัญต่อกลไลการตกหลุมรัก ที่ส่งผลต่ออารมณ์และการแสดงออกของเรา ในขณะที่สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน เราสามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาแบบไม่รู้ตัว ในขณะที่เรารู้สึกรักใครสักคน

(http://www.ngthai.com/science/5354/why-we-cry/)

ความผูกพัน (ความสัมพันธ์ระยะยาว)

ความผูกพันมักจะเกิดขึ้นเมื่อเราประสบความสำเร็จจากขั้นตอนการหลงรัก ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะคบกันในระยะยาว สมองของมนุษย์จะปรับเข้าสู่โหมดการสร้างความสัมพันธ์ เนื่องจากสมองไม่ต้องการถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนแห่งความหลงใหลตลอดไป เพื่อให้ทั้งคู่ปรารถนาจะอยู่ด้วยกันและพร้อมดูแลทารกที่จะเกิดมา สิ่งกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ระยะยาวเกิดจากฮอร์โมนสองชนิด ได้แก่

– ออกซิโตซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระดับความลึกซึ้งในความสัมพันธ์ เช่น กิจกรรมทางเพศ การคลอด และการให้นมแก่ทารก เป็นต้น การศึกษาทางสังคมวิทยารายงานว่า ออกซิโตซินมีผลต่อระดับความลึกซึ้งในความสัมพันธ์ของคู่รัก กล่าวคือ คู่รักที่มีปฏิสัมพันธ์หรือทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกหลั่งออกมาบ่อยครั้งกว่าคู่รักที่ไม่ค่อยได้ใช้เวลาร่วมกัน

– วาโสเปรสซิน (Vasopressin) จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่า กลุ่มของหนูทดลองตัวผู้ที่ได้รับวาโสเปรสซินมีพฤติกรรมปกป้องตัวเมียและใช้เวลาอยู่กับตัวเมียมากกว่ากลุ่มตัวผู้ที่ไม่ได้รับฮอร์โมน ดังนั้น ฮอร์โมนชนิดนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อคู่รัก ส่งผลให้คู่รักปรารถนาจะใช้ชีวิตร่วมกัน

นอกจากฮอร์โมนที่กล่าวมาแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้คนเราตกหลุมรักคือ “ยีน” จากการศึกษาในเชิงวิวัฒนาการพบว่า เพศเมียมักจะเลือกเพศผู้ที่ดูแข็งแรงและสง่างาม เนื่องจากเป็นเครื่องแสดงออกถึงความแข็งแรงของยีนที่จะถ่ายทอดต่อไปยังรุ่นลูก และทำให้ทารกมีอัตราการรอดสูงกว่า

แม้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายกลไกพื้นฐานการเกิดความรักได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นเรื่องที่แปรผันไปตามบริบทของแต่ละคนและสังคม

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการตกหลุมรักแบบวิทยาศาสตร์

การตกหลุมรักกับการรักกันแตกต่างกัน

แต่การตกหลุมรัก กับ การรักกันเป็นคนละเรื่องกันเลย

เมื่อคุณตกหลุมรักใคร สารเคมีในสมอง (โดปามีน, อดรีนาลีน, เซโรโทนิน) จะหลั่งออกมา สารเหล่านี้ออกฤทธิ์ไม่ต่างจากเวลาคุณติดยาเสพติด – จนถึงขั้นมีคนแซวว่า ข้อแตกต่างระหว่างการตกหลุมรักกับการติดยา อาจจะมีแค่ถ้าคุณติดยา คือคุณทำผิดกฏหมายแค่นั้นแหละ!.สารเหล่านี้จะกระตุ้นให้คุณ : มีพลังงานเยอะกว่าปกติ / หิวน้อย – ไม่ค่อยง่วง (ได้เจอหน้าเธอก็อิ่มใจแล้ว) / ชอบสังเกตและจดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยของเธอ / อยากจะทำอะไรดีๆให้เธอประทับใจ (เพื่อที่คุณจะรู้สึกดี เพราะคุณเสพติดความรู้สึก ‘ดี’ นี้/ คิดถึงบ่อย / หัวใจเต้นแรง หน้าแดงทุกที

รูปภาพ:https://media.giphy.com/media/v1.Y2lkPTc5MGI3NjExY2U4MzlhM2U4OGMzMTZlMDNlZTZiNzg2ZjRjYzg1MjdkZGQ1MDQ2OSZjdD1n/Tv9aneRJ8MOBPt5Otl/giphy.gif

ซึ่งสารเคมีในสมอง 3 ตัวนี้

พอหลั่งออกมาจะส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายด้วย อย่างอาการเขินอายหน้าแดง หัวใจเต้นแรง หรือคำพูดที่บอกไว้ว่าเวลาเราตกหลุกมรัก มักจะมีผีเสื้อบินวนอยู่ในท้อง ก็ไม่ได้เป็นคนพูดเปรียบเปรยขึ้นมาลอย ๆ

หรอกนะ

แต่อาการเหล่านี้สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาตร์ได้ด้วย การตกหลุมรักส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง?

ทำไมเราถึงมีอาการหัวใจเต้นแรง หน้าแดงทุกที นอนไม่หลับกระสับกระส่าย และอิ่มอกอิ่มใจ คิดถึงอยากเจอหน้าทุกวัน ลองตามไป Talk ต่อกันได้เลย


การตกหลุมรักส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง?

สมองปราดเปรื่อง



ผลจากการสแกนสมองพบว่า เมื่อเราตกหลุมรักใครสักคน เลือดจะมาหล่อเลี้ยงบริเวณสมองมากขึ้น ทำให้ความจำดีและเกิดความรู้สึกปลาบปลื้มและเป็นสุขได้มากขึ้น



แต่อย่างไรก็ตาม ดร.มัมป์ได้ให้คำแนะนำว่า หากเรามีความรักที่มากเกินพอดี อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากทำให้ระดับสารเซโรโทนินในร่างกายผิดปกติ และอาจกลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder : OCD) และโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด


แค่มีความรักเกิดขึ้นในหัวใจก็นับเป็นเรื่องที่ดีมากพออยู่แล้ว­ ยิ่งมารู้ประโยชน์ด้านสุขภาพของความรักแบบนี้เข้าไปอีก ขอสารภาพตามตรงเลยว่าอยากแปลงร่างเป็นคิวปิด ยิงศรรักให้ทุกคนมีโลกเป็นสีชมพูกันถ้วนหน้าเชียวล่ะ

เมื่อเกิดความรักขึ้นแล้ว สมองล่ะเป็นอย่างไรบ้าง



เมื่อคนเรามีความรัก สมองของเราในส่วนความพึงพอใจจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหน­­­ึ่งที่ชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารความสุขออกมา ทำให้ความเครียดลดลงและทำให้เรามีความสุขมากขึ้น โดยมีการศึกษาหนึ่งที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสมองพบว่า เมื่อให้อาสาสมัครดูภาพของคนที่รัก ระบบประสาทจะกระตุ้นสมองส่วนความพึงพอใจให้ทำงานมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อระดับโดปามีนสูงขึ้น ระดับของเซโรโทนิน (Serotonin) สารความสุขอีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์จะทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย และว้าวุ่นใจในช่วงเวลาที่มีความรักค่ะ


เมื่อเกิดความรักขึ้นแล้ว สมองล่ะเป็นอย่างไรบ้าง



เมื่อคนเรามีความรัก สมองของเราในส่วนความพึงพอใจจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหน­­­ึ่งที่ชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารความสุขออกมา ทำให้ความเครียดลดลงและทำให้เรามีความสุขมากขึ้น โดยมีการศึกษาหนึ่งที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสมองพบว่า เมื่อให้อาสาสมัครดูภาพของคนที่รัก ระบบประสาทจะกระตุ้นสมองส่วนความพึงพอใจให้ทำงานมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อระดับโดปามีนสูงขึ้น ระดับของเซโรโทนิน (Serotonin) สารความสุขอีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์จะทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย และว้าวุ่นใจในช่วงเวลาที่มีความรักค่ะ


สมองกำลังทำอะไร เมื่อเกิดความรู้สึกรักแรกพบ



เรื่องของรักแรกพบแม้จะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผล แต่สำหรับทางวิทยาศาสตร์นั้น ความรู้สึกรักแรกพบเกิดจากการที่ประสาทการรับรู้กลิ่นสัมผัสได้­­­ถึงฟีโรโมนของเพศตรงข้าม และส่งสัญญาณไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกสนใจและหลงใหลในทันที­­­ทันใด นอกจากนี้กลิ่นยังช่วยทำให้บรรเทาความรู้สึกคิดถึงและสร้างความ­­­พึงพอใจให้คนรักได้อีกด้วย อย่างเช่น การที่อีกฝ่ายนำเสื้อผ้าของอีกฝ่ายมาสวมใส่เพื่อให้ตนเองรู้สึก­­­คลายความคิดถึงเมื่อต้องอยู่ห่างกันค่ะ

♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "สมอง"

หัวใจเป็นสุข



เมื่อเราตกหลุมรักใครสักคน ร่างกายจะหลั่งสารเคมีออกมาโดยเฉพาะสารโดพามีน (Dopamine) ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างเป็นจังหวะ ร่างกายจึงรู้สึกกระชุ่มกระชวยและมีความสุขสดชื่น

แม้ว่าความจริงแล้วความรู้สึกทั้งหลายของเรา ไม่ว่าจะเป็นความชื่นชม การตกหลุมรัก ความประทับใจแรกพบ จะเกิดขึ้นที่สมองทั้งสิ้น แต่ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่สมองหลั่งออกมา เช่น อะดรีนาลีนและนอร์เอพิเนฟรีนเมื่อเรามีความสุข หรือออกซิโทซินมื่อเราตกหลุมรัก ล้วนแต่มีฤทธิ์กระตุ้นเชิงชีววิทยาในตัว ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น หลอดเลือดขยาย การสูบฉีดเลือดดี สุดท้ายแล้วการทำงานของหัวใจจึงดีขึ้นตามไปด้วย


การตกหลุมรักอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ไว้ ว่าเป็นอาการที่เกิดจากสารเคมีในสมอง

แน่นอนว่าการตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง และยังมีส่วนทำให้หัวแล่น สมองปราดเปรื่องได้ด้วยนะ

เพราะเมื่อเราตกหลุมรักจะหลั่งสารโดปามีน สารแห่งความสุขออกมา

ซึ่ง

โดปามีนมีส่วนช่วยทำให้ความเครียดลดลง และความสุขเพิ่มขึ้น และระบบประสาทจะกระตุ้นสมองส่วนความพึงพอใจให้ทำงานมากขึ้นด้วย

และจากการศึกษาสแกนสมองเมื่อเราตกหลุมรักใครสักคน พบว่ามีเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณสมองมากขึ้น

ส่งผลให้เกิดความปลาบปลื้มมีความสุขมากขึ้น และยังทำให้ความจำดีขึ้นอีกด้วย


รูปภาพ:https://media.giphy.com/media/dkdbtuQjjLBJXPOkmI/giphy.gif

ระบบไหลเวียนเลือด

และหากในช่วงเวลานั้น เรามีอาการเขินอายจนหน้าแดงและหัวใจเต้นแรงร่วมด้วย นั่นแปลว่าสมองของเราได้หลั่งอีพิเนฟริน (Epinehrine) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อะดรีนาลีน ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเราตื่นตัว เลือดสูบฉีด และหัวใจเต้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความรู้สึกสุขใจและเคลิบเคลิ้มได้เช่นกัน

แต่ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่สมองหลั่งออกมา เช่น อะดรีนาลีนและนอร์เอพิเนฟรีนเมื่อเรามีความสุข หรือออกซิโทซินมื่อเราตกหลุมรัก ล้วนแต่มีฤทธิ์กระตุ้นเชิงชีววิทยาในตัว ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น หลอดเลือดขยาย การสูบฉีดเลือดดี สุดท้ายแล้วการทำงานของหัวใจจึงดีขึ้นตามไปด้วย

♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "หัวใจ"


แล้วการตกหลุมรักส่งผลให้หัวใจของเราเป็นยังไงบ้าง? ทำไมถึงใจเต้นแรง เมื่อเจอกับคนที่เรารู้สึกสนใจ ที่ใจเราเต้นเป็นจังหวะ EDM ตอนตกหลุมรัก

นั่นก็เพราะเจ้าสารเคมีในสมองโดปามีนตัวเดิมนี่แหละ ที่ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือด ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย มีความสุขขึ้นมา


และนอกจากโดปามีน ยังมีสารเคมีในสมองหลายตัวที่หลั่งออกมาเมื่อเราตกหลุมรัก อย่างเช่น

อะดรีนาลีน นอร์เอพิเนฟรีน และออกซิโทซิน สารเคมีในสมองที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกาย ทำให้หัวใจเต้นแรงเมื่อตกหลุมรัก ส่งผลให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นตามไปด้วยนะ

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/e6/9e/4e/e69e4e98bb76145edeae169f765f940d.jpg

เคยสบตาใครแล้วรู้สึกคล้าย "มีผีเสื้อบินอยู่ในท้อง" ไหม เมื่อไหร่ที่มีอาการนี้ เรามักตอบตัวเองได้ทันทีว่ามันคือ "การตกหลุมรัก"

⠀⠀⠀สำหรับวิทยาศาสตร์https://www.facebook.com/hashtag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81?__eep__=6&__cft__[0]=AZU2JvGu8h1fmGXAv9D7on9fkXCoP6Ts9AmQCpwkzK7DB-PcB7s64E2eC1UvYMBlETW4EOXbNs6XXBrVqpl3rEAbsf9aDoK1kCotvV4kw2vFYR-HVeWl7MhE0DZ1jA2T22OPYi_Rj4RVLiFVZEN-W82fM628rwYfL3IyEWTnMMWBG9tI5Td-kJXxDQBSi2eX4J-XE3AY-hbPbjYrexPZj5Mx&__tn__=*NK-y-Rเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีในสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกับระบบประสาทของมนุษย์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งดึงดูด ไฮโปทาลามัสก็จะผลิตและหลั่งโดปามีน (Dopamine) ออกมา ส่งผลให้เรามีความสุขจนท้องไส้ปั่นป่วน เหมือนมีผีเสื้อบินวนในท้องแน่นอนเวลาที่เรามีความรัก เราจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเป็นพิเศษ ยิ่งเวลาเห็นหน้าคนที่ชอบสารในร่างกายอย่างโดปามีนยิ่งหลั่ง ยิ่งส่งผลต่อความตื่นเต้นและความประหม่าของเรา ยังไม่นับรวมกับออกซิโตซินและเซโรโทนิน ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นสารแห่งความรักที่ทำให้เราเสพติด.Dr.Daniel Amen จิตแพทย์อเมริกาผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของสมอง ได้อธิบายว่าจริง ๆ อาการผีเสื้อบินอยู่ในท้อง ถ้าเกิดขึ้นสำหรับคนที่กำลังมีความรักเป็นไปได้ว่า อาการเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความต้องการทางเพศของเราร่วมด้วยที่เกิดขึ้นกับคนนั้น อยากกอด อยากจูบ อยากสัมผัสไปจนถึงอยากมีเซ็กส์.ซึ่งมันเกิดขึ้นจากปมประสาทในสมองถูกกระตุ้น (สมองส่วนลิมบิกหรืออารมณ์กระตุ้นเส้นประสาทวากัสที่ไปจากสมองไปยังลำไส้ผ่านเซลล์ประสาทของระบบประสาทในลำไส้ หรือ ENS) ถ้ามันกระตุ้นมาก ๆ ดร.อาเมนบอกว่ามันเหมือนว่าท้องของเราตีลังกาได้.แต่ว่าก็ไม่ใช่แค่คนที่แค่คนที่กำลังมีความรักเท่านั้น มันยังรวมถึงสถานการณ์อื่นด้วย อย่างเวลาเราวิตกกังวลกับเรื่องบางเรื่องมาก ๆ เช่น พูดหน้าชั้นเรียน สัมภาษณ์ หรือเข้าทำงานวันแรก เป็นต้น เราก็สามารถมีอาการผีเสื้อบินในท้องได้เหมือนกัน แล้วก็ดูเหมือนว่าหลัก ๆ แล้วจะเป็นเพราะอาการเหล่านี้มากกว่าด้วย.เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้ ในทางจิตวิทยามันคือการเข้าสู่สภาวะกดดันและมีความเครียดที่ส่งผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติกที่เป็นส่วนตอบสนองต่อสภาวะแรงกดดันต่าง ๆ เพื่อเตรียมร่างกายในต่อสู่หรือหนี ความน่าสนใจก็คือเมื่อเราอยู่ภาวะที่กดดัน เคร่งเครียด หรือตื่นตัว มันจะทำให้ร่างกายเราเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ม่านตาขยาย อะดรีนาลีนหลั่ง กลูโคสในตับสูง หัวใจเต้นเร็วจึงทำให้เราเสียวและรู้สึกปั่นป่วนที่หน้าท้องนั่นเอง.นอกจากนี้อาการผีเสื้อบินอยู่ในท้องยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่ภาวะเกี่ยวกับสมองด้วย ใน Neuropsychiatric Disease and Treatment ได้ตีพิมพ์ว่าไออาการโหวง ๆ หวิว ๆ ที่ท้อง ไปจนลำไส้แปรปรวนนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล โรคออทิสติก โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) และโรคลำไส้อักเสบ (IBD) เพราะว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะมีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่แตกต่างจากคนที่มีสุขภาพดีทั่วไปด้วยเหมือนกันอาการอิ่มทิพย์มีจริงนะ เมื่อโดปามีนทำงาน ฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของเรา รวมไปถึงความอยากอาหารจะลดลง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมทุกครั้งที่เราตกหลุมรัก มักจะมาพร้อมอาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ระส่ำระส่าย และไม่เป็นตัวของตัวเอง

ระบบทางเดินอาหาร ผีเสื้อบินในท้อง

การตกหลุมรัก ในมุมมองวิทยาศาสตร์

เคยสบตาใครแล้วรู้สึกคล้าย "มีผีเสื้อบินอยู่ในท้อง" ไหม เมื่อไหร่ที่มีอาการนี้ เรามักตอบตัวเองได้ทันทีว่ามันคือ "การตกหลุมรัก"

⠀⠀⠀สำหรับวิทยาศาสตร์https://www.facebook.com/hashtag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81?__eep__=6&__cft__[0]=AZU2JvGu8h1fmGXAv9D7on9fkXCoP6Ts9AmQCpwkzK7DB-PcB7s64E2eC1UvYMBlETW4EOXbNs6XXBrVqpl3rEAbsf9aDoK1kCotvV4kw2vFYR-HVeWl7MhE0DZ1jA2T22OPYi_Rj4RVLiFVZEN-W82fM628rwYfL3IyEWTnMMWBG9tI5Td-kJXxDQBSi2eX4J-XE3AY-hbPbjYrexPZj5Mx&__tn__=*NK-y-Rเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีในสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกับระบบประสาทของมนุษย์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งดึงดูด ไฮโปทาลามัสก็จะผลิตและหลั่งโดปามีน (Dopamine) ออกมา ส่งผลให้เรามีความสุขจนท้องไส้ปั่นป่วน เหมือนมีผีเสื้อบินวนในท้องเกิดอะไรขึ้นกับสมอง เมื่อเจอคนที่แอบปิ๊งอาการวาบหวิวคล้ายกับมีผีเสื้อนับร้อยตัวบินวนเวียนอยู่ในท้อง เวลาที่เราเจอหน้าคนที่แอบปลื้มเนี่ย เป็นอาการที่สมองสั่งการมานั่นเองค่ะ เพราะเมื่อเราเจอหนุ่มหรือสาวคนนั้น สมองจะผลิตฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง รู้สึกร้อนผ่าว และท้องไส้ปั่นป่วน หรือที่มีคนเปรียบเปรยว่ามีผีเสื้อบินอยู่ในท้องนี่แหละ แถมบางคนยังมีอาการเหงื่อออก ปากแห้ง และพูดผิด ๆ ถูก ๆ ตะกุกตะกักอีกด้วยนะขณะเดียวกันเมื่อโดปามีนทำงาน ฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของเรา รวมไปถึงความอยากอาหารจะลดลง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมทุกครั้งที่เราตกหลุมรัก มักจะมาพร้อมอาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ระส่ำระส่าย และไม่เป็นตัวของตัวเอง

♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "ระบบไหลเวียนเลือด"

ส่งผลต่อสมอง

ต่อหัวใจ

ต่อระบบไหลเวียนเลือด

ต่อระบบทางเดินอาหาร

ต่อพฤติกรรม


นอกจากการตกหลุมรักจะทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น ยังส่งผลมาถึงระบบไหลเวียนเลือดที่มีความเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจอีกด้วย เพราะ

เมื่อตกหลุมรัก ร่างกายได้หลั่งสารอะดรีนาลีน นอร์เอพิเนฟรีน และออกซิโทซิน สารเคมีในสมองที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายออกมา ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงแล้ว


ยังทำให้หลอดเลือดขยาย การสูบฉีดเลือดดีอีกด้วย และก็เป็นสาเหตุอาการที่ว่าทำไมเวลาตกหลุมรักเราถึงมีอาการเขินอายจนหน้าแดง

อีกด้วย

รูปภาพ:https://media.giphy.com/media/dURwrGC76A3a4ftS3y/giphy.gif

“สารเคมีในสมอง”ส่งผลต่อความรัก

การที่คนเราตกหลุมรักใครสักคน และมีความรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วนเหมือนผีเสื้อบินอยู่ในท้อง เป็นเพราะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในสมอง จากการที่สมองหลั่งสาร “โดพามีน” และ “เซราโนนิน” ออกมา จึงเกิดความรู้สึกอบอุ่น และความผูกพันกับอีกฝ่าย

โดยนักประสาทวิทยา ดร. Trisha Stratford อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า โดพามีนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจและรู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่ใกล้คนที่เรารัก ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวเปรียบเสมือนการให้รางวัลของสมองเวลาที่เกิดความรู้สึกถูกใจสิ่งใด จนทำให้สมองเกิดการเสพติดสิ่งนั้นไปโดยปริยาย

ขณะที่เซโรโทนินจะถูกปล่อยออกมาหลังจากได้พบกับใครบางคนที่เราคิดว่าน่าสนใจ น่าดึงดูดใจ ซึ่งในระยะเริ่มแรกของความสัมพันธ์ ฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราอย่างมาก ว่ากันว่าสามารถรบกวนจิตใจได้มากถึงขนาดที่วันทั้งวันเขาคนนั้นจะวนเวียนอยู่ในความคิดของเราได้มากถึง 65 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว!

ซึ่งในระยะเริ่มแรกของความสัมพันธ์ ฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราอย่างมาก สามารถรบกวนจิตใจเราได้มากถึง 65 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ การที่เราตกหลุมรักใครแล้วคิดถึงตลอดเวลา อยากเจอหน้าเขาทั้งวัน จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลยสักนิด

.

ส่งผลต่อพฤติกรรม

นอกจากผลทางชีววิทยาแล้ว ความรักยังส่งผลต่อพฤติกรรมด้วยเช่นกัน ผลการวิจัยของ ดร.จูเลียน โฮลท์-ลันสแตท นักจิตวิทยาและประสาทวิทยา จากมหาวิทยาลัยบริงแฮม ยัง สหรัฐอเมริกา ซึ่งศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 300,000 คน และตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ PLOS Medicine พบว่าคนสนิทหรือคนรู้ใจของเราเป็นแรงผลักดันพฤติกรรมเชิงบวกที่ดีอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการให้กำลังใจยามเจ็บป่วย สนับสนุนให้ออกกำลังกาย หรือทานอาหารที่มีประโยชน์ จนสามารถพูดได้ว่าการมีความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเป็นปัจจัยสุขภาพเชิงบวกในระดับใกล้เคียงกับการเลิกสูบบุหรี่เลยทีเดียว


♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการทำงานของ "ระบบทางเดินอาหาร"


เพื่อน ๆ เคยได้ยินประโยคที่ว่า

เวลาตกหลุมรักใคร แล้วเหมือนมีผีเสื้อบินอยู่ในท้องกันบ้างมั้ยคะ

จะบอกว่าอาการผีเสื้อบินอยู่ในท้อง สามารถอธิบายจากหลักวิทยาศาสตร์ได้ด้วยนะ

อาการแบบนี้เกิดจากปมประสาทส่วนลิมบิกกระตุ้นเส้นประสาทวากัสจากสมองผ่านไปยังลำไส้

ผ่านเซลล์เส้นประสาทของระบบประสาทในลำไส้ ( ENS ) ถ้าในทางจิตวิทยาจะเรียกอาการนี้ว่ากำลังเข้าสู่ภาวะกดดันและมีความเครียด ส่

งผลให้ร่างกายเพิ่มการไหลเวียนเลือด ม่านตาขยาย หัวใจเต้นเร็วเป็นสาเหตุให้เกิดอาการวูบวาบปั่นป่วนในท้องด้วยนั่นเอง

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/cb/9c/10/cb9c10f69aa6ecd173065b4af11fedfc.jpg

และนอกจากอาการผีเสื้อบินในท้อง เพื่อน ๆ ที่กำลังตกหลุมรักหรือมีความรัก เคย

รู้สึกอิ่มทิพย์ แค่เห็นหน้าเธอก็อิ่มอกอิ่มใจ

ข้าวปลาไม่จำเป็นต้องกินบ้างรึเปล่า อาการแบบนี้

ก็มีสาเหตุมาจากสารเคมีในสมองอย่างเซโรโทนินที่แหละเป็นเหตุ เพราะสารเคมีตัวนี้มีหน้าที่ควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว ความอิ่ม ความอยากอาหาร เมื่อเห็นหน้าเธอแล้วเซโรโทนินหลั่ง

เลยทำให้อิ่มทิพย์ข้าวปลาไม่กินไปโดยไม่รู้ตัว


คำกล่าวที่ว่า “ความรักคือยาวิเศษ” อาจฟังดูโรแมนติกเหมือนหลุดมาจากนิยาย แต่ทราบหรือไม่ว่า มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นที่ชี้ชัดว่าการมีความรักและสัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าจะกับคนรัก เพื่อนฝูงคนรอบข้าง หรือสัตว์เลี้ยงคู่ใจ ล้วนช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นได้ โดยเฉพาะ “สุขภาพใจ” ด้วยการลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและอัตราการเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ

♡ การตกหลุมรักส่งผลต่อการแสดงออกทาง "พฤติกรรม"


การตกหลุมรักไม่ได้ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายแค่นั้นนะ แต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมของเราด้วย

สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังสงสัยว่าเมื่อเราตกหลุมรักใครสักคน ทำไมถึงเอาแต่คิดถึงเขา อยากเจอหน้าเขาทุกวัน ฮอร์โทนโดปามีนให้คำตอบเพื่อน ๆ ได้เพราะเจ้าสารเคมีในสมองตัวนี้นี่แหละจะส่งผลรบกวนจิตใจของเราถึง 65% เลยทีเดียว

เป็นตัวการทำให้คนที่กำลังตกหลุมรัก เกิดอาการคลั่งรักขึ้นมาได้

และนอกจากนั้น

อาการตกหลุมรัก หรืออาการคลั่งรัก ยังสามารถเปลี่ยนแปลงเราจากอีกคนให้กลายเป็นคนใหม่ได้เลยด้วยนะ

เพราะผลวิจัยหนึ่งพบว่

าเมื่อคนสนิทหรือคนรู้ใจที่คอยให้กำลังใจเมื่อเราเจ็บป่วย เป็นแรงพลักดันที่ดีให้เรามีพฤติกรรมในเชิงบวก

อย่างการทำให้เราอยากจะทานอาหารดี ๆ หรือออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพอีกด้วย

รูปภาพ:https://media.giphy.com/media/v1.Y2lkPTc5MGI3NjExMTQ5YzJlNjFlYWIwOWRmZTE4ZGQ2OTNhYzE1Yjk1ZjJjZTc1ZDVjMSZjdD1n/k8cmsit8PcJ2fyJPjI/giphy.gif

Talk Talk

ชวนเพื่อน ๆ ไปเมาท์มอยเรื่องรักในทางสายวิทย์มาแล้ว รู้สึกคลั่งรักแบบมีสาระขึ้นมาเลยนะเนี่ย

และจากที่ได้ตามไปส่องข้อมูลเรื่องรักจากหลักวิทยาศาสตร์มาแล้ว

บอกเลยว่าการตกหลุมรักหรือการมีความรักเนี่ย ส่งผลดีหลายอย่างให้ทั้งจิตใจและร่างกายเราด้วยนะเนี่ย

เพราะฉะนั้นมารักกัน ๆ แบ่งปันความรักให้กันเยอะ ๆ เลยเนอะ

ส่วนคนที่มีคู่ไม่รู้จะแบ่งปันความรักให้ใคร ก็ไม่ต้องน้อยใจไป เพราะความรักและความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นความรักจากครอบครัว เพื่อนฝูง สัตว์เลี้ยง จากศิลปินคนโปรด หรือแม้แต่จะรับความรักจากตัวเองก็ยังได้ ส่วนบทความนี้ขอแบ่งปันความรักให้กับคนอ่านไปด้วยเลย


รักคนอ่านมาก ๆ นะค้าาา มารับความรักไปเร็วว ปิ้วๆๆ

♡

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/70/b4/9c/70b49c4141c34cd765d0190a386dc769.jpg

Designer :lilybaecon

Writer :chollychon




ลิ้งก์รูปภาพ

https://drive.google.com/drive/folders/1qO94imNE4g26e3VJU5ilWruYtjexw7Pc?usp=sharing

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ