รูปภาพ:

อาการที่บ่งบอกว่าเราอยู่ในภาวะเครียด

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความเครียดกันก่อนดีกว่า

อาการเครียด( Stress )คือสภาวะของความกังวล ความกดดัน หรือความตึงเครียดทางจิตใจที่เกิดจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งความเครียดมักจะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าไม่สามารถที่จะจัดการหรือควบคุมสถานการณ์บางสถานการณ์ได้ ความเครียดเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์ที่กระตุ้นให้เราจัดการกับความท้าทายและภัยคุกคามในชีวิตของเรา ซึ่งหากจัดการไม่ได้ก็อาจนำพาไปสู่ภาวะเครียดสะสม( Chronic stress )

โรควิตกกังวล( Anxiety disorder )หรือโรคซึมเศร้า( Depressive disorder )

ส่วนความเครียดที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหน มักมาจากความวิตกกังวล ความรู้สึกลบ ความกดดันเล็กๆน้อยๆในแต่ละวัน ที่เราไม่ได้จัดการกับมันสักที ส่งผลให้เราตกอยู่ในสภาวะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่รู้ด้วยว่าที่ตอนนี้เครียดอยู่เพราะอะไรกัน

เครียดแบบไม่รู้ตัว วิธีจัดการกับความเครียดที่มาจากไหนก็ไม่รู้

ความเครียดคืออะไร

วิธีจัดการกับความเครียด

สรุป

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความเครียดกันก่อนดีกว่า

อาการเครียด( Stress )คือสภาวะของความกังวล ความกดดัน หรือความตึงเครียดทางจิตใจที่เกิดจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งความเครียดมักจะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าไม่สามารถที่จะจัดการหรือควบคุมสถานการณ์บางสถานการณ์ได้ ความเครียดเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์ที่กระตุ้นให้เราจัดการกับความท้าทายและภัยคุกคามในชีวิตของเรา ซึ่งหากจัดการไม่ได้ก็อาจนำพาไปสู่ภาวะเครียดสะสม( Chronic stress )โรควิตกกังวล( Anxiety disorder )หรือโรคซึมเศร้า( Depressive disorder )

ส่วนความเครียดที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหนมักมาจากความวิตกกังวล ความรู้สึกลบ ความกดดันเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน ที่เราไม่ได้จัดการกับมันสักทีส่งผลให้เราตกอยู่ในสภาวะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่รู้ด้วยว่าที่ตอนนี้เครียดอยู่เพราะอะไรกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความเครียดกันก่อนดีกว่า

อาการเครียด (Stress) คือสภาวะของความกังวล ความกดดัน หรือความตึงเครียดทางจิตใจที่เกิดจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งความเครียดมักจะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าไม่สามารถที่จะจัดการหรือควบคุมสถานการณ์บางสถานการณ์ได้ ความเครียดเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์ที่กระตุ้นให้เราจัดการกับความท้าทายและภัยคุกคามในชีวิตของเรา ซึ่งหากจัดการไม่ได้ก็อาจนำพาไปสู่ภาวะเครียดสะสม (Chronic stress)

โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) หรือโรคซึมเศร้า (Depressive disorder)

ส่วนความเครียดที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหน มักมาจากความวิตกกังวล ความรู้สึกลบ ความกดดันเล็กๆน้อยๆในแต่ละวัน ที่เราไม่ได้จัดการกับมันสักที ส่งผลให้เราตกอยู่ในสภาวะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่รู้ด้วยว่าที่ตอนนี้เครียดอยู่เพราะอะไรกัน

นอนไม่หลับ

⋯♡⋯♡⋯♡⋯♡⋯♡⋯

ซึ่งอย่างแรกเลยเรามาสังเกตุอาการคร่าว ๆ ของอาการเครียดกันก่อนดีกว่าลองเช็คดูว่าใครเป็นตามนี้บ้าง ซึ่งถ้าหากเช็กลิสต์แล้วเข้าข่ายเกือบทุกข้อละก็ สงสัยต้องเริ่มจัดการความเครียดแบบจริงจังได้แล้ว

รูปภาพ:

อาการของภาวะเครียด

รูปภาพ:

1. อาการนอนไม่หลับหลายคนคงอาจจะไม่รู้ว่าสุขภาพการนอนเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์เราในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านอารมณ์ สังเกตได้จากหากวันไหนเรานอนไม่หลับเนี่ย ทั้งวันที่ไปทำงานหรือไปเรียนก็จะเกิดอาการหงุดหงิดหรือสภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์ได้ซึ่งแน่นอนว่าในหลาย ๆ ครั้งภาวะนอนไม่หลับสามารถเกิดจากความเครียดได้อย่างเช่น หลายคนที่ไม่สามารถข่มตาให้หลับในเวลากลางคืนเพราะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ กระโดดไปมาเป็นmonkey mindsจึงทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อน และอาการเหล่านี้ก็สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะเครียดสะสมได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีการเครียดสะสมก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยนอนมากเกินไป

1. อาการนอนไม่หลับ

รูปภาพ:

2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปความเครียดสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของเราได้โดยตรงอย่างเช่นไม่ร่าเริงเหมือนก่อนมีภาวะเศร้าหมอง เบื่อหน่าย หมดความสนใจในสิ่งที่เคยทำให้เรามีความสุข กินอาหารได้น้อยลง หรือมากจนเกินไป รู้สึกไม่อยากจะทำอะไรเลย และปิดกั้นตัวเองจากคนรอบตัว

รูปภาพ:

3. สภาวะไม่มั่นคงทางอารมณ์ความเครียดที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวสามารถสังเกตได้จากความไม่มั่นคงทางอารมณ์เคยเป็นไหมบางครั้งเวลาที่เจอสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มากระทบก็ทำให้เรามีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดภาวะโมโหง่าย ซึมเศร้าได้ง่าย เหมือนกับการอยู่บนรถไฟเหาะที่อารมณ์สามารถขึ้นและลงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายจะสังเกตได้ว่าเราจะมีสมาธิที่สั้นลงไม่สามารถโฟกัสกับอะไรบางอย่างได้นานเวลามีคนพูดอะไรก็จะกระทบกับเราหรือการตัดสินใจได้อย่างง่ายดายโดยที่เราอาจจะไม่ได้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน นี่อาจจะเป็นสัญญาณของความไม่มั่นคงทางอารมณ์ที่เป็นผลมาจากความเครียดได้

รูปภาพ:

4. การแสดงออกของร่างกาย

ความเครียดสามารถบ่งบอกผ่านทางร่างกายของเราได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการหายใจถี่หรือกลั้นหายใจโดยไม่รู้ตัว เหงื่อออกง่าย การไม่สามารถนั่งติดที่ คิ้วขมวด มือสั่น หรือตัวสั่น หรือแม้กระทั่งเสียงสั่น การแทะเล็บ สั่นขาหรือกระทืบเท้า รู้สึกเหนื่อยง่าย ปวดศีรษะและอาจจะถึงขั้นไมเกรนกำเริบได้ และประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิงเหล่านี้เองก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้เช่นกันว่าเรากำลังอยู่ในอาการเครียด

วิธีจัดการกับความเครียด

เราได้ทราบอาการคร่าว ๆ กันมาแล้วไหนดูซิว่ามีใครที่ได้เช็คลิสต์กันเกือบทุกข้อบ้างไหนลองมาดูวิธีรักษาอาการเครียดเบื้องต้นแล้วสามารถทำตามนี้ได้เลย

รูปภาพ:รูปภาพ:

1. หมั่นสังเกตตัวเอง

ขั้นแรกของการที่จะจัดการกับความเครียดคือเราต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตพฤติกรรมและความรู้สึกของตัวเองมันเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะว่าสุขภาพจิตก็เหมือนกลไกที่ขับเคลื่อนร่างกายและชีวิตของเรา เราต้องคอยสังเกตว่าสิ่งไหนที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ ถึงแม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ ก็ตามเพราะว่าสิ่งเล็ก ๆ นี่แหละที่ก่อให้เกิดความเครียดที่เราไม่รู้ว่ามันมาจากไหนในหลายกรณีความเครียดนั้นมาจากความรู้สึกหงุดหงิดเล็ก ๆ ในแต่ละวัน หงุดหงิดในตัวของบุคคลหรือหงุดหงิดในสิ่งที่เราพบเจอถ้าหากเรารู้ว่าอยู่ที่ไหนหรือกับใครแล้วไม่สบายใจก็ควรเลี่ยงที่จะไปพบหรือไม่ต้องนำมาใส่ใจมากมาย

รูปภาพ:รูปภาพ:

2. พักจากการเสพสื่อ

ในยุคสมัยที่อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่สำคัญ โซเชียลมีเดียที่นำเสนอแต่ด้านดีของทุกคนจึงทำให้บางครั้งใครหลายคนกลับเผลอเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นและนั่นก็อาจจะเป็นหนึ่งในต้นตอของความเครียดที่สะสมขึ้น การรู้สึกอิจฉาหรือความรู้สึกว่าเรายังดีไม่พอ ก็เป็นพลังงานลบ ๆ ที่ก่อตัวขึ้นในทุก ๆ วันซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นความเครียดที่เรากำลังเผชิญอยู่เพราะฉะนั้นการพักจากการเสพสื่อโซเชียลมีเดียจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและอาจจะเป็นก้าวแรกที่ต้องเริ่มทำด้วยซ้ำ

รูปภาพ:

3. หันมาดูแลตัวเอง

การดูแลตัวเองในที่นี้นั้นรวมไปถึงทางร่างกายและจิตใจ

ลองออกกำลังกายดูบ้าง อาจจะเริ่มจากการออกไปเดินเล่น ออกไปข้างนอก ไปเจอธรรมชาติ ออกจากห้องไปเจอท้องฟ้า

เพื่อจะได้ตระหนักรู้ว่าโลกใบนี้มันกว้างใหญ่แค่ไหน และเราก็เป็นแค่จุดเล็ก ๆ และปัญหาของเราก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายเราก็จะผ่านมันไปได้

หันมามาร์คหน้า ทาครีม ลองแต่งหน้าแต่งตัวใหม่ ๆ ลองทำอะไรใหม่ ๆ ลองวาดรูป อ่านหนังสือ หรือลองออกไปดูหนัง ไปดูงานศิลป์ ไปพิพิธภัณฑ์ พาตัวเองไปเจออะไรใหม่ ๆ บ้าง

พักเบรคจากสมองและความคิดอันยุ่งเหยิงของตัวเอง

เลือกกินอาหารดี ๆ ลองหันมากินผักดูบ้าง ให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ลองลดปริมาณน้ำอัดลม ของหวานและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญเลย

ลองงดดื่มกาแฟ จากงานวิจัยแล้วคนที่บริโภคคาเฟอีนเป็นประจำจะมีตารางการฝันที่ไม่เสถียรเหมือนกับคนที่ไม่บริโภค เพราะฉะนั้นการลดปริมาณคาเฟอีนจึงเป็นอีกเหตุผลที่จะทำให้คุณภาพการนอนเราดีขึ้น

และการผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างเช่นกีฬาโยคะก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีเช่นกัน

รูปภาพ:

4. ลองออกไปพบเจอผู้คน

บางทีความเครียดอาจจะเกิดจากการที่เราคิดวนอยู่ในสมองของตัวเอง เพราะฉะนั้นการได้พบปะและได้พูดคุยกับคนอื่นถึงเป็นสิ่งที่สำคัญลองออกจากโลกในหัวของตัวเองแล้วรับฟังคนอื่นบางทีการได้ท่องไปในโลกของคนอื่นก็อาจจะเป็นอีกวิธีที่ดีในการหยุดพักจากสิ่งที่ยุ่งเหยิงในโลกของตัวเองหรือลองเล่าให้คนอื่นฟัง อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยได้ ว่ากันว่าเมื่อเราได้ลองเล่าปัญหาของเราให้คนอื่นฟังนั่นคือทางรักษาที่ดี เหมือนกับการที่เราได้ปลดปล่อยบางอย่างออกไป อย่าเก็บมันไว้

รูปภาพ:

5. กำหนดออกมาเป็นข้อ ๆ

สำหรับใครที่รู้สึกว่าการเล่าให้คนอื่นฟังเป็นเรื่องที่ยาก เราขอแนะนำให้ลองเขียนมันออกมาเขียนใส่กระดาษหรือสมุดบันทึกเขียนมันออกมาหรือจะเขียนเป็นมายแมพก็ได้ว่าเรากำลังเครียดอะไรอยู่ เรากำลังกังวลอะไรเราอาจจะเครียดจากคนรอบตัวไหม ? คนในครอบครัว ? คนในที่ทำงาน ? หรือเป็นความกดดันจากคนอื่น ๆ ในสังคม ลิสต์ออกมาเป็นข้อ ๆ แล้วเราจะได้มองเห็นว่าเราควรจะแก้อะไรเป็นจุดเป็นจุดไปถ้าหากว่ามันมีอยู่เยอะมาก เราแนะนำว่าควรทำไปทีละอย่างเพราะว่าสมองมนุษย์มักไม่ชอบการที่ต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียว

รูปภาพ:

6. เรียนรู้ที่จะสร้างและเสพพลังงานบวก

เคยได้ยินไหมเวลาที่เราทำดีกับคนอื่นก็จะทำให้เรารู้สึกดีทำให้เรามีอารมณ์ที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นการเป็นพลังงานบวกให้กับตัวเองและคนอื่นถึงเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะในเวลาที่เรารู้สึกว่าเรากำลังเครียด อาจจะเป็นเรื่องที่ยากแต่ก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเซพพลังงานดี ๆ ก่อนดูคอนเทนท์ที่สร้างแรงบันดาลใจและพลังงานที่ดี ฟังเพลงที่ทำให้รู้สึกสบาย ๆ หรือการที่อยู่กับคนที่ทำให้เรารู้สึกได้รับพลังงานบวกก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเช่นกัน

รูปภาพ:

7. อย่ากดดันตัวเองหลายครั้งความเครียดของวัยรุ่นในทุกวันนี้ก็จะมาจากการกดดันตัวเองการคาดหวังในตัวเอง การพยายามเพื่อบางสิ่ง จนเราเผลอกดดันตัวเองมากจนเกินไปแม้ว่าการมีความหวังจะเป็นเรื่องที่ดีแต่เราต่างก็ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะควรหยุดพัก เพราะว่าการวิ่งหรือไขว่คว้าเพื่อบางสิ่งโดยที่ไม่รู้จักหยุดก็อาจจะทำให้เราเหนื่อยล้ามากจนเกินไป และส่งผลกระทบมากมายต่อทั้งร่างกายและจิตใจเราต้องเรียนรู้ที่จะไม่กดดันในตัวเอง เรียนรู้ที่จะหยุดคิดเรียนรู้ว่าถ้าหากคิดมากไปกว่านี้ก็จะทำให้เราตกไปอยู่ในวังวนของภาวะเครียดได้แล้วก็ตระหนักว่าความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตเองก็เป็นความสำเร็จเช่นกัน อย่างที่เขาว่ากันว่าดอกไม้บานในฤดูของมันเอง เพราะฉะนั้นเร่งรีบไปก็ไม่ได้อะไร จงอย่าเครียดไปเลยนะ

คุยกันก่อนจาก

รูปภาพ:

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน มีใครที่ค้นพบว่าตัวเองหรือคนรอบตัวตกอยู่ในภาวะเครียดบ้าง แต่ก็อย่าตื่นตระหนกไปเลยเพราะในบางครั้งความเครียดก็เป็นเหมือน challenge ในชีวิตที่เข้ามาเพื่อที่จะทำให้เราได้ก้าวข้ามอะไรบางอย่างอย่างไรก็ตามเราเองก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนและก็อย่าลืมนำทริคดี ๆ ในการจัดการกับความเครียดไปปรับใช้กันดูนะคะ หวังว่าทุกคนจะชอบบทความนี้น้าา หากใครที่พบว่าตัวเองไม่สามารถที่จะจัดการกับความเครียดได้เราแนะนำให้ลองปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาดู มันไม่ใช่เรื่องที่น่าอายที่จะไปพบจิตแพทย์เพราะทุกวันนี้ก็แทบจะกลายเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วหวังว่าทุกคนจะชอบ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะคะ

บทความแนะนำ ที่อยากส่งต่อให้ซิส