1. SistaCafe
  2. นอนนานแต่ยังง่วง ตอบคำถาม! นอนเยอะแต่ตื่นมาง่วง หรือเรากำลังเป็นโรค?

สวัสดีค่ะชาวซิส! ถึงเวลาอัปเดตเรื่องราวสุขภาพน่ารู้กันอีกแล้วค่ะ ซึ่งหัวข้อในวันนี้ทางเราเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนน่าจะกำลังประสบอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะมนุษย์วัยทำงานที่ก็รู้สึกว่านอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว แถมนอนมากถึง 10 ชั่วโมง แต่ตื่นมาก็ยังรู้สึกเพลียและง่วงนอนอยู่เหมือนเดิม เพื่อน ๆ รู้มั้ยคะว่าอาการแบบนี้เนี่ยอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพอยู่โดยที่รู้ตัวก็ได้นะคะ ! เพราะฉะนั้นในวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับอาการ นอนนานแต่ยังง่วง และมาแจกเทคนิคการนอนหลับอย่างมีคุณภาพให้อีกด้วย


ทำความรู้จัก Hypersomnia อาการง่วงนอนทั้งที่นอนมากแล้ว

Hypersomnia จะเป็นอาการที่มีความรู้สึกง่วงมาก ซึ่งอาการง่วงดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในกลางวันและกลางคืน โดยลักษณะอาการง่วง Hypersomnia จะรู้สึกนอนหลับแล้วรู้สึกตื่นตัวยาก หรือตื่นนอนมาแล้วมีความรู้สึกไม่สดชื่น แม้ว่าจะนอนแล้วมากกว่า 9 ชั่วโมง ก็ตาม แม้จะดูเป็นอาการง่วงนอนแบบธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เลยนะคะ




Hypersomnia มีอาการยังไง ?

แน่นอนค่ะว่าอาการของโรคนี้ก็คือ "การง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา" แต่เพื่อน ๆ รู้มั้ยคะจริง ๆ โรค Hypersomnia ยังมีอาการอื่น ๆ ที่ทางเราอยากให้เพื่อน ๆ ลองสังเกตกันด้วยค่ะ

  • ตื่นนอนยาก
  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา
  • หงุดหงิดง่ายตลอดทั้งวัน
  • ความจำไม่ค่อยดี มีการติดขัดเมื่อใช้ความคิด
  • วิตกกังวล หรือโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า
  • มีการงีบ หรือแอบหลับในระหว่างวันอยู่บ่อยครั้ง
  • สามารถหลับโดยไม่รู้สึกตัวในช่วงที่ไม่ควรจะนอนหลับ อาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายได้

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201959%2F9da8dff4-987b-4790-8c6b-f74de795f6d0?v=20240720040126

สาเหตุของอาการ Hypersomnia

สำหรับสาเหตุของอาการ Hypersomnia สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจค่ะ ซึ่งในวันนี้เราได้ทำการรวบรวมอาการต่าง ๆ มาให้แล้วตามด้านล่างเลยค่ะ

  • นอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
  • ปรับเวลานอนไม่ถูกต้อง
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย และการหลั่งของสารในสมองที่ผิดปกติ
  • ความผิดปกติทางระบบสมอง เช่น โรคทางสอง หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ
  • ความผิดปกติในช่วงเวลาของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือนอนกรน

  • aaaaa
  • aaaaa

ผลเสียของโรคนอนมากเกินไป Hypersomnia

ใคร ๆ ก็ชอบนอน แต่เพื่อน ๆ รู้มั้ยคะว่าจริง ๆ แล้วการนอนที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียกับร่างกาย และอาจทำให้เกิดโรคตามได้เหมือนกันนะคะ โดยวันนี้เราได้รวบรวมเอาปัญหาสุขภาพ และโรคอันตรายมาให้เพื่อน ๆ แล้วค่ะ

  • โรคอ้วน เพราะระบบการเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมของไขมัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • เกิดภาวะสมองล้า คิดอะไรไม่ค่อยออก ส่งผลให้บุคลิกภาพกลายเป็นคนเฉื่อยช้า เซื่องซึม
  • ภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน หรือโรคใหลตาย เนื่องจากสัญญาณของสมองที่ดับไปนานกว่าผิดปกติ ส่งผลให้เนื้อสมองตายได้
  • โรคกระดูกพรุน และปัญหาเกี่ยวกับข้อ เพราะการที่ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานจะส่งผลให้กระดูก และกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาตามมาได้
  • ภาวะมีบุตรยาก การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะส่งผลฮอร์โมนของเพศหญิงหลั่งออกมาเป็นปกติ
  • โรคซึมเศร้า เพราะการนอนที่มากเกินไปจะทำให้ การหลั่งของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) และเซโรโทนิน (Serotonin) ลดต่ำลง
  • เสี่ยงเสียชีวิตเร็วขึ้น เพราะร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จึงไม่มีออกซิเจนมาเพิ่มแก่อวัยวะภายในร่างกาย

เราได้เรียนรู้กันถึงเจ้าโรค Hypersomnia กันไปแล้วทั้งในเรื่องของอาการและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ซึ่งตอนนี้เพื่อน ๆ เองก็คงจะมองเห็นภาพกันแล้วว่าการนอนที่มากเกินไปนั้นส่งผลต่อร่างกายอย่างไร แล้วว่าแต่การนอนแบบไหนถึงจะดีต่อร่างกายกันน้า ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันด้วยค่ะ


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201959%2Ff1fd34ae-028c-47a8-9f4e-d5fac1549e27?v=20240720040249

ทริคนอนหลับยังไง ให้สุขภาพดี ?


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F201959%2F5e040597-dd01-4ec9-b1b8-63a78507cb1b?v=20240806084546

โดยข้อมูลจากองค์รอนามัยโลกได้ระบุไว้ว่า ปกติแล้วร่างกายของคนเรา ควรนอนให้พักผ่อนให้ได้อยู่ที่วันละ 7-9 ชั่วโมง โดยหลักง่าย ๆ ที่จะช่วยให้การนอนหลับของเพื่อน ๆ มีคุณภาพสามารถทำได้ตามนี้เลยค่ะ

  • ตื่นและนอนให้เป็นเวลาเป็นประจำทุกวัน
  • ไม่ควรออกกำลังกาย 4 – 6 ชั่วโมงก่อนเริ่มเข้านอน ทำให้ร่างกายตื่นตัว นอนหลับยากยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน ไม่ควรดื่มก่อนเวลาเข้านอน 6 ชั่วโมง
  • งดเล่นโทรศัพท์ ดูโทรทัศน์ ก่อนเวลาเข้านอน 30นาที
  • ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม เช่น ปิดไฟให้มืดพร้อมนอนหลับ

เป็นไงบ้างคะเพื่อน ๆ กับการไขข้อสงสัย นอนนานแต่ยังง่วง และทริคความรู้ที่เรามาฝากกันในวันนี้ เพื่อน ๆ คนไหนกำลังมีอาการตามที่เราพูดกันไปบ้างมั้ยน้า ? หากใครกำลังประสบปัญหาอยู่ก็รีบแก้ไขนะคะ อย่าปล่อยเรื้อรัง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายได้เหมือนกัน


ผู้เขียนนำภาพประกอบมาจาก Pinterest / instagram @nct127 ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทุกๆ แหล่งที่มาต้นฉบับ ณ ที่นี้


บทความที่ชาวซิสห้ามพลาด







เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้