" อันตรายอยู่ใกล้ตัวเรา "เข้าสู่ช่วงหน้าฝนอย่างเป็นทางการ แน่นอนว่าอากาศที่เริ่มเย็นชุ่มฉ่ำ กับเสียงฝนที่ฟังแล้วรู้สึกเคลิ้มตลอดเวลาก็นำพาโรคร้ายมาให้ด้วยได้นะ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงมากเท่ากับวัยผู้ใหญ่สามารถติดต่อโรคได้อย่างง่ายดาย และโรคที่น่าเป็นกังวลสำหรับใครที่มีเด็กเล็กในบ้านนั่นก็คือ" โรคมือเท้าปาก "เป็นโรคที่เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วในเด็กเล็กเป็นอย่างมาก หากผู้ปกครองไม่คอยระวังและสังเกต ฉะนั้นเราต้องสังเกตพฤติกรรมและอาการก่อนเกิดโรคนี้กัน แล้วถ้าเด็กติดโรคนี้จะมีทางรักษาแบบไหนhttps://sistacafe.com/จะพาไปศึกษากันด่วนๆ กับภัยใกล้ตัวที่อันตรายอย่างโรคมือเท้าปากกันดีกว่า
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
ทำความรู้จักกับ " โรคมือเท้าปาก "
โรคมือเท้าปากสามารถพบได้กับเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยโรคนี้นั้นมักจะในช่วงฤดูฝน โดยสาเหตุเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มของเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus)ที่ค่อนข้างมีหลากหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ที่พบอาการจะไม่รุนแรง มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสในฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว แม้ว่าอาการไม่ถึงกับรุนแรงแต่ก็สามารถสร้างความน่าเป็นห่วงและความกังวลใจให้กับผู้เป็นพ่อแม่ได้โดยโรคนี้นั้นส่วนมากจะพบกับเด็กแต่ใช่ว่าจะไม่เกิดกับผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่ก็สามารถพบ ' โรคมือเท้าปาก ' ได้เช่นกันแต่จะพบได้น้อยมาก และหากพบว่าเป็นก็จะมีอาการไม่รุนแรงเท่าเด็กเล็ก
อาการของโรคมือเท้าปาก
การสังเกตอาการของโรคนี้นั้นคือจะมีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย มีแผลในปาก เป็นผื่นขึ้นตามจุดต่างๆ สีแดงๆเช่น ที่มือ เท้า หรืออาจจะมีผื่นตามลำตัว แขนและขาร่วมด้วย โดยเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคมานั้นจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 3-7 วันจึงจะแสดงอาการไข้สูงขึ้นมาสูงได้มากถึง 38-39 องศาเซลเซียสทีเดียวจากนั้นอาการอื่นๆ ก็จะแสดงผลตามมา ภายใน 1-2 วัน ได้แก่ อาการเจ็บคอ เริ่มไม่ค่อยอยากอาหาร ร่างกายรู้สึกเริ่มเพลียอ่อนแอไม่ร่าเริง และเริ่มมีตุ่มผืนขึ้น หรือบางครั้งเป็นแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนัง บริเวณที่พบมักจะเป็นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณปากมีทั้งภายนอกและภายในปากร่วมด้วยเช่นกัน เป็นต้นโดยผู้ที่พบอาการนี้มักจะป่วยอยู่ 2- วันแรก หลังจากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายประมาณ 1 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก
ส่วนใหญ่ที่เกิดอาการของโรคมือเท้าปากมักจะหายได้เอง แต่ในขณะเดียวกันนั้น ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยถึงขั้นรุนแรงมากๆ อย่างการเป็นก้านสมองอักเสบแต่อย่าพึ่งกังวลไปค่ะ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้น้อยและพบได้น้อยมากๆ เพราะจากการพบภาวะแทรกซ้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แค่ 1-5 รายต่อปีเท่านั้นโดยหากพบนั้นสามารถทำให้เกิดโอกาสที่จะเสียชีวิตได้สูงดังนั้นหากพ่อแม่ท่านไหนที่พบว่าลูกเป็นโรคมือเท้าปากและกลัวภาวะแทรกซ้อน สังเกตได้จากอาการของลูกๆ ได้ดังนี้ คือเด็กจะมีอาการซึมลงอย่างเห็นได้ชัด หายใจหอบและหายใจเร็ว มีอาการชัก เกร็ง หมดสติ หรือมีอาการมือสั่น ขาสั่น เดินเซหากพบว่าเด็กมีอาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาตัวเด็กไปพบแพทย์โดยด่วน
วิธีป้องกันเมื่อเกิดโรคมือเท้าปาก
อย่างที่บอกว่าสามารถหายได้เอง หรืออาการก็จะดีขึ้นตามลำดับ โดยการรักษาของแพทย์นั้นก็จะเป็นการรักษาตามอาการเช่น การให้ยามากินอย่างยาลดไข้ หรือถ้าหากกรณีที่เด็กมีอาการอ่อนเพลียเป็นอย่างมาก หมอจะให้นอนรักษาเพื่อติดตามอาการโดยการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับการให้ยาลดไข้และยาแก้ปวด ยารักษาแผลในปาก และให้ยาปฎิชีวนะในกรณีที่จำเป็น ร่วมกับการเฝ้าระวังอาการที่อาจจะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โรคมือเท้าปากสามารถติดต่อได้ไหม?
การติดต่อของโรคนี้นั้นสามารถเกิดได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคโดยส่วนใหญ่ที่พบและติดต่อกันเป็นทอดๆ เลยคือการแพร่ระบาดในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก ดังนั้นแล้วการเกิดโรคนี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำอีกได้ ถ้าได้รับเชื้อคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิดก่อนหน้านี้ได้เช่นกัน เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนั้นหายจากการติดเชื้อไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่ง อาจไม่สามารถปกป้องอีกสายพันธุ์หนึ่งได้ แม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไวรัสเอนเทอโร เช่นเดียวกันก็ตาม
การป้องกันของโรคมือเท้าปาก
❣สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกนอกบ้าน❣เพิ่มการสอนการล้างมือที่ถูกต้องให้กับเด็กๆ โดยต้องให้เด็กๆ ล้างมือด้วยสบู่หรือการใช้เจลแอลกอฮอล์ร่วมด้วย❣ทำความสะอาดของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ❣ดูแลความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม ห้ามให้มีเชื้อโรคปะปน❣หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกันอย่างแก้วน้ำ เป็นต้น❣งดการพาเด็กๆ ไปในที่แออัด เช่น สนามเด็กเล็ก ห้างสรรพสินค้า โดยที่เด็กยังอยู่ในช่วงที่เกิดโรคอยู่❣หากว่าเด็กเป็นโรคมือเท้าปาก ควรมีการหยุดเรียนและรักษาให้อาการขาดหายก่อน หรือหากว่าอาการดูผิดปกติอย่างมากควรมีการพบแพทย์เพื่อตรวจโรคแทรกซ้อน
เสริมเกราะป้องกันด้วย การฉีดวัคซีนโรคมือเท้าปาก
ปัจจุบันโรคมือเท้าปาก สามารถป้องกันได้จากการ" ฉีดวัคซีนโรคมือเท้าปาก (EV71) "โดยการฉีดนั้นควรเข้ารับวัคซีนได้ตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี เพื่อให้เสริมเกราะป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งยังรวมไปถึงการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงด้วย โดยจะเป็นการฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือนซึ่งวัคซีนโรคมือเท้าปากจะมีประสิทธิภาพดังนี้- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมือเท้าปากที่มาจากการติดเชื้อ EV71 ได้ 97.3%- ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV71 ที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 88.0%- ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากรุนแรงจากเชื้อ EV71 ได้ 100%*ทั้งนี้ วัคซีนไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันโรคมือเท้าปาก ที่มีสาเหตุจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น (รวมถึง Coxasackie Virus A16 และอื่นๆ)
✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿
โรคมือเท้าปากภัยใกล้ตัวที่อันตรายต่อลูกเล็กเด็กแดงสุดๆ โดยสาเหตุนั้นก็สามารถพบและเกิดขึ้นได้ง่ายๆ หากไม่ระวัง แต่ถึงจะเกิดขึ้นได้ก็สามารถรักษาและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ซ้ำอีกการเลือกทางเลือกโดยรับวัคซีนตั้งแต่ยังเด็กนั้นคือสิ่งที่ควรพึง เพื่อที่จะให้เด็กนั้นมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และป้องกันอาการรุนแรงที่สามารถแทรกซ้อนเข้ามาได้ ฉะนั้นเราควรเฝ้าระวังอาการและคอยที่จะเช็กเรื่องของความสะอาดต่างๆควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ลูกหรือหลานๆ ปลอดภัยหายห่วงนั่นเอง
Cr. โรคมือ เท้า ปาก รับมืออย่างไรดี? สังเกตอาการและวิธีป้องกัน
https://www.sikarin.com/health/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A2
Cr. โรคมือเท้าปาก โรคระบาดในเด็กที่ต้องระวัง
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คุณแม่หลังคลอด รวม 6 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ควรรู้ !
https://sistacafe.com/summaries/92725
#SisGuru คู่มือสกินแคร์สำหรับ " คุณแม่มือใหม่ " ข้อควรรู้เพื่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็ก
https://sistacafe.com/summaries/90620
ป้องกันไว้ดีกว่าแก้! วิธีเช็กอาการ ' มะเร็งเต้านม ' ด้วยตัวเองง่ายๆ ควรทำเป็นประจำ
https://sistacafe.com/summaries/92042
เช็กเลย ! ทำความรู้จัก 5 สัญญาณอันตรายภายในของผู้หญิงที่ควรเฝ้าระวัง
https://sistacafe.com/summaries/93942