1. SistaCafe
  2. กินเยอะแล้วรู้สึกผิด! โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ "Binge Eating Disorder"

สวัสดีค่ะสาวๆSistaCafeทุกคนนนน //ส่งจูบ



อย่างที่รู้กันเนอะว่า ผู้หญิงกับอาหารน่ะเป็นของคู่กัน ก็ผู้หญิงกินเก่งน่ะน่ารักจะตาย ประเทศไทยก็เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยของกิน คาเฟ่ขนมหวาน หรือร้านอาหารติดอันดับดาวกระจายทั่วประเทศ ไม่แปลกหรอกที่จะกินเยอะเกินความจำเป็นไปบ้าง ก็มันอร่อยนี่นา งื้ดดดดดดดดดด~



แต่เดี๋ยวก่อน! เธอเคยมีอาการ " กินไม่หยุดแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ ", " กินเสร็จแล้วจะรู้สึกผิดมาก " หรือเปล่าเอ่ย? เพราะนั่นไม่ใช่พฤติกรรมปกติแล้ว เธออาจเป็น " Binge Eating Disorder " หรือ " พฤติกรรมการกินผิดปกติ " ได้นะ

อย่าคิดว่านี่เป็นเรื่องเล่นๆ ลองสำรวจตัวเองดีๆ ว่าเธอควบคุมไม่ได้เพราะมันน่ากินม้ากกกกกกกก หรือเพราะเธอควบคุมสมองตัวเองไม่ได้จริงๆ ถ้าเป็นอย่างหลัง เลื่อนลงมาอ่านบทความข้างล่างนี่ด่วน!!!



แต่ไม่ต้องกลัวไปนะสาวๆ เพราะโรคนี้สามารถรักษาได้ เธอแค่ต้องหยุดวงจรการกินแบบผิดปกตินี้ซะ แล้วกลับมาทำความเข้าใจกับอาหารใหม่ เพื่อความสวยสุขภาพดีที่ยั่งยืนค่ะ



ถ้าพร้อมแล้ว...เลื่อนลงมาอ่านเล้ย



Binge Eating Disorder คืออะไร

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F4bfa226d-ddbd-4cd5-afec-26de402dc5ff?v=20240306165947&ratio=1.000

เรามารู้จักความหมายของโรคนี้กันก่อน " Binge Eating Disorder " คือชื่อโรคที่เรียกพฤติกรรมการกินที่ " ผิดปกติ " ค่ะ โดยมีอาการหลักๆ คือควบคุมการกินของตัวเองไม่ได้ กินเยอะผิดปกติ หลังกินเสร็จจะรู้สึกผิด เศร้า ซึ่งต่างจากโรคบูลิเมีย เพราะบูลิเมียจะอาการหนักกว่า ทั้งไปล้วงคอออก อดอาหารและออกกำลังกายอย่างหนักBinge Eating จะเกิดขึ้นในวัยรุ่นตอนปลาย-วัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นหลังไดเอทครั้งใหญ่ ( ไดเอทที่น้ำหนักลดฮวบมากๆ หรือหุ่นเปลี่ยนไปเลย ) คนเป็นโรคนี้อาจกินทั้งที่ไม่รู้สึกหิว แม้อิ่มแล้วก็ยังกินต่อได้เรื่อยๆ หรือบางรายกินเร็วมากจนไม่รู้ว่าตัวเองกินหรือลิ้มรสอะไรก็มีพฤติกรรมแบบนี้จะรู้สึก " ฟิน " แค่ชั่วขณะเดียว หลังจากนั้นจะรู้สึกผิดอย่างหนักว่า " ฉันกินอะไรเยอะแยะขนาดนี้เนี่ย!? " และรู้สึกเกลียดตัวเอง นำไปสู่การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วน ( ทำให้เกลียดหุ่นตัวเองเพิ่มเข้าไปอีก )สรุปคือ Binge Eating เป็นพฤติกรรมการกินที่วนลูป : กินให้รู้สึกดีขึ้น > กินเสร็จแล้วรู้สึกผิด > เศร้า > กินอีกรอบ #แบบนี้ไม่โอเคเลยนะเนี่ย

ลองเช็คดูซิ.. เธอเป็นโรค Binge Eating Disorder หรือเปล่า???

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2Fbab5950b-4d46-44b1-b522-5367b24365db?v=20240306165947&ratio=1.000

> กินอะไรสักอย่างแล้วหยุดไม่ได้> คิดถึงเรื่อง " อาหาร " ตลอดเวลา> แอบกินอาหารในซอกหลืบ ไม่อยากให้ใครเห็น> กินจนกว่าจะท้องอืด ปวดท้อง เดินไม่ไหว ฯลฯ> กินเพื่อหนีเรื่องกังวล กินคลายเครียด กินเพื่อทำให้ตัวเองผ่อนคลาย> รู้สึกขยะแขยง / รังเกียจตัวเอง / อับอายทุกครั้งหลังกินเสร็จ> ควบคุมการกินของตัวเองไม่ได้ แม้นึกอยากจะหยุดก็ทำไม่ได้ยิ่งตอบว่า " ใช่ " หลายข้อมากเท่าไหร่ แปลว่าเธอมีแนวโน้มจะเป็น " Binge Eating Disorder " มากขึ้นเท่านั้นค่ะ

สัญญาณ / อาการของ Binge Eating Disorder

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F0bcb454f-1305-43ad-aa9b-1cb746460458?v=20240306165947&ratio=1.000

อย่างที่บอกไปข้างต้น ผู้ป่วยโรค Binge Eating Disorder จะรู้สึกอับอาย ละอายใจตัวเองสุดๆ กับพฤติกรรมการกินของตัวเอง ทำให้คนเหล่านี้จะแอบกินอาหารในที่ลับๆ เช่น ในห้องส่วนตัว, ในห้องน้ำ, แอบกินตอนที่คนอื่นไม่เห็น บางรายแอบกินแบบ " เนียนๆ " จนพ่อแม่หรือเพื่อนๆ ไม่รู้ว่าพวกเขาป่วยอยู่ไม่ใช่คนอ้วนทุกคนจะเป็น Binge Eating เพราะดูจากรูปร่างภายนอกไม่ออก บางรายอาจเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่บางรายก็มีน้ำหนักตามเกณฑ์ทั่วๆ ไปค่ะสัญญาณหนึ่งที่จะรู้ได้ว่าคนใกล้ตัวเป็นโรคนี้หรือเปล่า ให้สังเกตว่ามีห่อ / กล่องอาหารจำนวนมากถูกทิ้งไว้ในถังขยะ, คนคนนั้นซื้ออะไรมาเยอะๆ ใส่ตู้เย็น แล้วหายแว้บ! ไปใน 2-3 วันหลังซื้อมาหรือเปล่า, ซื้อแต่อาหารขยะ ( จั๊งค์ฟู้ด ) หรืออาหารแคลอรี่สูง ไขมันสูงหรือเปล่า ถ้ามีสัญญาณที่ว่ามานี้ครบทุกข้อ เตรียมระวังไว้ได้เลยค่ะ

พฤติกรรมที่แสดงออก

> หยุดกินไม่ได้, คุมประเภทอาหารที่ตัวเองจะกินไม่ได้> กินอาหารปริมาณมากๆ ในเวลาอันรวดเร็ว> กินไปเรื่อยๆ แม้จะอิ่มแล้ว> ซ่อนอาหารไว้ในตู้ ในกล่อง แล้วแอบนำมากินในที่ลับที่ไม่มีใครเห็น> อยู่กับคนทั่วไปก็กินปกติ แต่ลับหลังเรียกได้ว่า " สวาปามจนกว่าพุงจะแตก "> กินได้เรื่อยๆ ทั้งวัน ไม่มีมื้ออาหารแน่นอน

สภาพจิตใจ

> รู้สึกเครียด ทรมาน ( ผ่อนคลายได้ด้วยการกินเท่านั้น )> ละอายใจกับปริมาณมหาศาลของอาหารที่กินเข้าไป> รู้สึกมึนๆ งงๆ เบลอๆ เวลากินเยอะ เหมือนไม่มีสติ> ไม่รู้สึกพอใจจริงๆ สักที แม้จะกินเยอะขนาดไหนก็ตาม> รู้สึกผิด ขยะแขยงตัวเอง ซึมเศร้าหลังจากกินเยอะ> น้ำหนักเพิ่มขึ้น คุมน้ำหนักตัวเองไม่ได้ คุมพฤติกรรมการกินของตัวเองไม่ได้

สาเหตุของการเป็น Binge Eating Disorder

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F2201d577-cd04-4661-a82b-8fc39dc44ca7.png?v=20240306165947&ratio=0.531

มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม สภาพอารมณ์และประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมในชีวิตค่ะ เช่นแรงกดดันในสังคมและวัฒนธรรม : " วัฒนธรรมคลั่งผอม " ส่งผลให้รู้สึกผิดหลังจากกินเยอะ พ่อแม่บางรายใช้อาหารเป็นตัวล่อให้ลูกรู้สึกดี ผ่อนคลาย เป็นของรางวัลเวลาลูกทำดี ทำให้เกิดอาการ Binge Eating โดยไม่รู้ตัว เด็กๆ บางคนถูกวิจารณ์ร่างกายและน้ำหนักอย่างเปิดเผย, ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้จิตใจบอบช้ำ นำมาสู่โรคนี้

สภาพจิตใจ : อาการซึมเศร้ามักก่อให้เกิดโรคนี้ *ขีดเส้นใต้ตัวโตๆ* บางรายรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง มีความนับถือในตัวเองต่ำ ( low self-esteem ) เหงาหงอยไม่มีใครให้คุยด้วย หรือไม่พอใจในร่างกายของตัวเอง

สภาพทางกาย : บางรายอาจเป็นจากสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ เช่น ต่อมไฮโปทาลามัสที่ช่วยควบคุมความหิวไม่ทำงาน ทำให้แยกความหิวกับความอิ่มออกจากกันไม่ได้ นักวิจัยบางคนพบว่ายีนบางตัวเกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เสพติดอาหาร! หรือสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกันค่ะ


ผลกระทบของการเป็น Binge Eating Disorder


โรคนี้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย ทั้งทางกาย ทางจิตใจ และปัญหาเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เพราะจะเกิดโรคมากมาย เช่น ความเครียด นอนไม่หลับ หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตายมากกว่าคนปกติ มีอาการของโรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือใช้สารเสพติดบางอย่าง แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ไปถึงขั้นนั้น แค่น้ำหนักเกินแบบคุมไม่ได้เสียมากกว่า



วิธีรักษา / ฟื้นฟูตัวเองจากโรค

1. สร้างพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2Fe128aff4-c321-4ac0-97f1-3cfd3eddfa5d.jpeg?v=20240306165947&ratio=1.000

อยากหายจากโรคนี้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับ " อาหารการกิน " เสียใหม่ กินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กินของมันๆ ทอดๆ แคลอรี่สูงเพื่อสนองความอยากของตัวเองอย่างเดียว



หลีกเลี่ยงต่อสิ่งเย้ายวนใจทั้งหลาย อย่าซื้ออาหารจั๊งค์ฟู้ด ขนมกรุบกรอบหรือของหวาน ของทอดเข้าบ้าน หากมีวางไว้ในตู้เย็น เคลียร์ทิ้งไปให้หมด ปฏิบัติ!



ฟังความต้องการของร่างกายตัวเอง แยกให้ออกระหว่าง " แค่อยากกิน " กับ " หิวจริงๆ " ถ้าเธอเพิ่งกินไป กระเพาะไม่ส่งเสียงประท้วง แปลว่าเธอยังไม่หิวหรอกค่ะ

มีสมาธิกับสิ่งที่กิน อย่ากินแบบไม่มีสติ ค่อยๆ เคี้ยวช้าๆ ลิ้มรสเนื้อสัมผัสและรสชาติของอาหารชิ้นนั้น เธอจะมีความสุขกับสิ่งที่กิน และกินได้น้อยลงอีกด้วย

กินให้เป็นเวลา อย่ารอจนหิวจัดค่อยกิน เพราะเธอจะ " ตบะแตก " แล้วสวาปามเกินความจำเป็นอย่างแน่นอน กำหนดเวลาไว้เลยว่าจะกินกี่โมง กินกี่มื้อในแต่ละวัน หากมื้อไหนมักหลุดกินเยอะบ่อย ก็กินให้พออิ่มและไปทำกิจกรรมอื่นซะ

อย่าหลีกเลี่ยงไขมัน ไขมันที่มีประโยชน์ทำให้เธออิ่มเป็นเวลานาน ไม่กินจุกจิก ทำให้น้ำหนักลดลงได้ พยายามกินอาหารที่มีไขมันดีเข้าไว้ แต่พอประมาณ เช่น ถั่วอัลมอนด์ อโวคาโด เป็นต้น

อย่าปล่อยให้ตัวเองเบื่อ หากืจกรรมอื่นทำ เช่น เดินเล่น โทรคุยกับเพื่อน ไปดูหนัง อ่านหนังสือ หรือหางานอดิเรกเพื่อให้จิตใจไม่จดจ่ออยู่แต่กับของกินค่ะ

ความสำคัญในการตัดสินใจว่าจะ " ไม่อดอาหาร "

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F4fd5363f-d429-4ff1-b191-f0f691bd6ebb?v=20240306165947&ratio=1.000

อย่าคิดว่าจะไดเอทหรืออดอาหาร เพื่อชดเชยความรู้สึกผิดหลังกินเยอะ เพราะมันไม่ช่วยอะไรนอกจากทำให้่ " ตบะแตก " แล้วกินเยอะเพิ่มไปอีก แค่กินอาหารปริมาณพอดีๆ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่จำเป็นต้องงดขนม ของทอดไปเลย กินพอให้รู้รสก็พอ

อย่าห้ามตัวเองกินอาหารประเภทนั้น ประเภทนี้มากเกินไป เพราะเธอจะเกิดความเครียด อึดอัด อยากกินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลับไปลูปเดิม แทนที่เธอจะคิดว่า " ไม่กินอีกแล้ว " ให้คิดว่า " ค่อยกินตอนโอกาสพิเศษ " จะดีกว่าค่ะ


2. หาวิธีอื่นในการ " เยียวยาจิตใจ " นอกเหนือจากการกิน

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F0c1a6af3-0086-4ffa-96a3-7f11a156f15a?v=20240306165947&ratio=1.000

อย่าใช้การกินเป็นวิธีเดียวในการเยียวยาอาการซึมเศร้า ความเหงา ความกลัวหรือวิตกกังวล ถ้าวันนี้เธออารมณ์ไม่ดีมาจากเรื่องแย่ๆ เช่น เจ้านายด่า ทะเลาะกับเพื่อน แมวข่วนใส่หน้า etc. ให้เบี่ยงเบนความสนใจตัวเองไปเรื่องอื่น เช่น เล่นเกม อ่านหนังสือ วาดรูป แทน ช่วยได้มากเลยล่ะ



แยกให้ได้ว่า " หิวจริงๆ " หรือ " แค่อยากกิน "

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F4c0df956-ec31-408d-897a-144035653acf?v=20240306165947&ratio=1.000

ทางเดียวที่จะแยกแยะความอยากกับความหิวออกจากกันได้ คือ! ให้ตั้งสติ ลืมอารมณ์ตัวเองสักพัก แล้วคิดว่าตัวเองหิวจริงๆ หรือไม่ หรือถ้าเป็นไปได้ จดบันทึกให้เป็นหลักฐานเลยก็ดีค่ะเขียนชื่ออาหารที่กินเข้าไป ( หรืออยากจะกิน ) เวลาอารมณ์ไม่ดี , สาเหตุที่ทำให้อารมณ์ไม่ดี, รู้สึกยังไงก่อนกิน, รู้สึกยังไงระหว่างกิน และรู้สึกยังไงหลังกินเสร็จแล้ว การเขียนแบบนี้อาจดูแปลกๆ ตลกๆ แต่เชื่อเถอะว่า เธอจะเริ่มเห็นรูปแบบการกินของตัวเอง ทำให้เธอหยุดวงจรเหล่านี้และหายจากโรคได้ค่ะ


เรียนรู้ที่จะอดทนต่อ " แรงกระตุ้น " ที่จะก่อให้เกิด binge eating

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F8e2b012c-1900-44d4-a459-a81065241e75?v=20240306165947&ratio=1.000

ไม่ว่าจะเกิดแรงกระตุ้นอะไรก็ตามที่ทำให้เกิด Binge Eating เช่น วิตกกังวล อับอาย สิ้นหวัง โกรธ เหงา กลัว หรือแค่ความว่างเปล่าในจิตใจ ยอมรับมันซะ! การหนีปัญหายิ่งทำให้อารมณ์เหล่านั้นปะทุมากขึ้น พยายามคิดว่าทำไมจึงรู้สึกแบบนั้น


แยกแยะตัวเองหน่อย! เธอเป็นเจ้าของร่างกายตัวเอง อย่าปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้ครอบงำจิตใจ อารมณ์พวกนี้เข้ามาแล้วก็ผ่านไป แน่นอนว่าการจมอยู่กับอารมณ์ทางลบนานๆ จะอึดอัดสุดๆ ในช่วงแรก ( บางรายอาจทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ) แต่ถ้าเธออดทนได้ เธอจะ " บรรลุ " ตัวเองว่าไม่ควรไปสนใจ แค่ยอมรับ ปล่อยวางแล้วเดินผ่านไป ทุกอย่างก็จบ



จำไว้นะคะ เธอมีสิทธิ์เลือกวิธีตอบสนองตัวเองได้ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้อง " กิน " อย่างเดียว จริงไหมล่ะ



3. ควบคุมตัวเองต่อ " ความอยาก "

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2Fbe934bd9-1612-4672-a05a-89571f341b62.jpeg?v=20240306165948&ratio=0.625

บางครั้งก็ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่รู้สึก " อยากกินเจ้านี่ม้ากกกกก " ( เราเข้าใจ ) จงยอมรับมันและหาทางเบี่ยงเบนความสนใจซะ ทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ วาดรูป โทรคุยกับเพื่อน เล่นกับสุนัข ทำสวน etc. ทำไปเรื่อยๆ เพลินๆ รู้ตัวอีกทีอาจจะลืมหิวแล้วก็ได้แต่ถ้าผ่านไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ท้องเริ่มร้อง อาการอยากกินยังอยู่ ก็แปลว่าเธอหิวจริงๆ แล้วล่ะ ไปหาอะไรกินเถอะค่ะ

4. เปลี่ยนพฤติกรรมการกินเป็น " การกินเพื่อสุขภาพ " แทน

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F17484%2F1ec6dceb-c92e-4fa1-9373-9ddcbc8c69e5?v=20240306165948&ratio=1.000

เมื่อร่างกายของเธอแข็งแรง ผ่อนคลายและได้พักผ่อนเพียงพอแล้ว เธอจะเริ่มรับมือกับปัญหาแย่ๆ ที่เข้ามาได้ดีขึ้น ทำให้เกิดอารมณ์ทางลบน้อยลง แต่ในทางกลับกัน ถ้าร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย ก็ทำให้อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้นจงออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้พอ 8 ชั่วโมงต่อวัน และแน่นอน " กินอาหารที่มีประโยชน์ "!สาวๆ หลายคนนอนดึก ตื่นเช้า ทำให้ร่างกายโหยหาการพักผ่อน และอยากกินของหวานในปริมาณเยอะเพื่อให้ได้พลังงานอย่างรวดเร็ว ทำให้อ้วนง่าย เปลี่ยนพฤติกรรมตรงนี้ซะ รับรองว่าเธอจะหิวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดอาหารก็สำคัญ! ลดของมัน ของทอด ของหวานลง ศึกษาว่าอาหารชนิดไหนมีประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วเพิ่มเข้าไปในมื้ออาหาร เช่น ข้าวกล้อง อกไก่ ผักผลไม้สด นอกจากจะอิ่มนานแล้ว ยังทำให้สุขภาพดีอีกด้วยนะเออ

===================ก็จบลงไปแล้วสำหรับความหมาย อาการ และวิธีรักษาพฤติกรรมการกินผิดปกติ ( Binge Eating Disorder ) หวังว่าสาวๆ จะได้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ไปพอสมควรแล้วเนอะ ><หากเธอไม่ได้มีอาการเหล่านี้ แต่มีคนใกล้ตัวเป็น เช่น เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว เข้าไปคุยให้ความช่วยเหลือซะ! ครั้งแรกพวกเขาอาจตกใจ โกรธ ไม่ยอมรับ แต่ค่อยๆ เกลี้ยกล่อมไปเรื่อยๆ ให้เขาค่อยๆ ยอมรับปัญหาของตัวเอง ถ้าเขาเริ่มมีใจที่จะปรับปรุง จึงเสนอทางออกให้เขา ให้กำลังใจและชื่นชมเขาเมื่อเขาอาการดีขึ้นค่ะทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าแสดงอารมณ์ในทางลบกับพวกเขาเด็ดขาด! เช่น ดูถูก เยาะเย้ยว่า " อย่างเธอคงอยู่ในวงจรแบบนี้ไปตลอดนั่นแหละ ไม่มีทางหายหรอก " เขาจะเสียใจและทำอย่างที่เธอพูดจริงๆ เพราะเขามีอาการทางจิตใจเป็นทุนอยู่แล้ว อย่าซ้ำเติมแล้วจับมือเดินไปด้วยกัน เพื่อให้เขาหายขาดจากโรคนี้กันนะคะ ^^===================


บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้