" โยเกิร์ต "

เป็นอาหารที่รู้กันดีในกลุ่มคนรักสุขภาพว่า หากเลือกกินให้ถูกชนิดและในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้น้ำหนักลดลงได้!

โยเกิร์ตเป็นของว่างในยามท้องหิวได้ดีเพราะเป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เธอรู้สึกอิ่มได้นาน อย่างน้อยก็เป็นชั่วโมงๆ เลยแหละ ทั้งยังมีชนิดไร้ไขมัน ไม่ใส่น้ำตาลมากมายให้เลือกสรร ทำให้กินได้ต่อเนื่องโดยไม่เบื่ออีกด้วย

แต่เดี๋ยวก่อน มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย! สาวๆ บางคนคิดว่า

" โยเกิร์ต "

เป็นยาลดความอ้วน เป็นอาหารชนิดพิเศษที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จึงกินรัวๆ จนน้ำหนักพุ่งกระฉูด นี่คือบทความ

" 6 ข้อผิดพลาดในการกินโยเกิร์ต "

จากกินให้ผอมกลายเป็นกินให้อ้วนขึ้นซะงั้น


รีบอ่านตั้งแต่ตอนนี้จะได้แก้ไขพฤติกรรมการกินทันนะคะ

ว่าแล้วก็ไปกันเลย!


1. หมกมุ่นกับปริมาณแคลอรี่ในโยเกิร์ต " มากเกินไป "

รูปภาพ:http://cdn2.curejoy.com/content/wp-content/uploads/2014/01/15115832_l.jpg

การไดเอทด้วยการ " นับแคลอรี่ " ช่วยได้เมื่อเธอคิดจะควบคุมอาหาร สาวๆ หลายคนใช้สูตรไดเอทด้วยการกินแต่โยเกิร์ตด้วยเหตุผลว่าพลังงานต่ำ กินเยอะๆ ก็ไม่อ้วน แต่ความจริงคือโยเกิร์ตเหล่านั้นมีสารอาหาร ( โปรตีน ) ไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร เมื่อสารอาหารน้อยก็กินเพิ่ม ในที่สุดก็อ้วนขึ้นรัวๆ

ทางแก้ปัญหาคือ แทนที่จะสนใจ หมกมุ่นแต่จำนวนแคลอรี่ของโยเกิร์ต จงดู " โปรตีน " ในฉลากสารอาหารด้วย โยเกิร์ตบางยี่ห้อมีพลังงาน 100 แคลอรี่แต่มีโปรตีนแค่ 6 กรัม ทำให้กินได้ไม่นานก็กลับมาหิวอีกเพราะไม่อิ่มท้อง ควรเลือกยี่ห้อที่ให้พลังงานเยอะกว่านี้ แต่ได้โปรตีน 12-15 กรัมเพื่อให้อิ่มนานขึ้นจนกว่าจะถึงมื้อถัดไปค่ะ


2. ไม่ชั่ง / ตวงปริมาณ

รูปภาพ:http://www.leonardoromanelli.it/wp-content/uploads/2013/03/Yogurt01_450CFR.jpg

สาวๆ บางคนกินโยเกิร์ตเป็นประจำอยู่แล้ว บางคนทำโยเกิร์ตแบบโฮมเมดไว้กินเอง บางคนซื้อโยเกิร์ตแบบยกโหลแล้วเทใส่กล่องหรือขวดใหญ่ๆ เพื่อแบ่งตักกินในแต่ละมื้อซึ่งประหยัดได้มากโข แต่เพราะขวดมีขนาดใหญ่นี่แหละทำให้เธอเผลอกินเยอะ เพราะไม่ได้ชั่งหรือตวงปริมาณเหมือนตอนกินถ้วยเล็กๆ  กว่าจะรู้ตัวอีกที โยเกิร์ตก็หายไปเกือบหมดแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ " บวมอืด " รัวๆ

อย่าประเมินปริมาณโยเกิร์ตด้วยสายตาเท่านั้น เพราะอาจผิดพลาดได้!  หาซื้อถ้วยตวงไว้เพื่อจำกัดส่วนในแต่ละมื้อ หาถ้วยที่มีมาตรวัดเป็นตัวเลขชัดเจน เพราะหากกะมั่วๆ เธออาจกินโยเกิร์ตไปเป็นขีดๆ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้ Y^Y


3. ใส่ " เครื่องเคียง " เยอะมากเกินไป

รูปภาพ:http://www.dvo.com/recipe_pages/ultimate/Watermelon-_Grape-_Kiwi-_and_Yogurt_Parfait.jpg

การซื้อโยเกิร์ตรส " ธรรมชาติ " แบบไม่แต่งสีเติมกลิ่นเพื่อนำมาเติมซอสหรือเครื่องเคียงตามใจชอบ อาจทำให้ของว่างมื้อนั้นอร่อยขึ้นและดูไม่น่าเบื่อก็จริง แต่ในทางปฏิบัติ เธอจะเผลอประโคมเทน้ำผึ้ง ราดครีม ใส่ผลไม้รสหวานจนอาหารสุขภาพกลายเป็น " อาหารเพิ่มน้ำหนัก " แทน

คนส่วนใหญ่ใส่น้ำผึ้งเพิ่มความหวานให้โยเกิร์ต เทซีเรียลกรุบกรอบ ถั่วและผลไม้ต่างๆ ซึ่งนี่แหละวัตถุดิบเพิ่มแคลอรี่ชั้นยอด จากของว่างจะกลายเป็นมื้อหลักทันทีถ้าใส่เยอะเกินไป ถ้าเธอคิดว่าจะกินโยเกิร์ตเป็น " ของว่าง " ในมื้อไหนก็ตาม จำกัดพลังงานให้ไม่เกิน 200 แคลอรี่นะคะ

หากอยากเติมเครื่องเคียงจริงๆ ก็สามารถทำได้ แต่โรยนิดหน่อยให้พอรู้รสจะดีที่สุดค่ะ ถ้าเทลงไปแบบกลัวไม่อิ่ม ระวังน้ำหนักบนตาชั่งจะร้องขอชีวิตนะเออ T_T


4. เลือกกินโยเกิร์ตชนิดไร้ไขมัน ( Fat-free )

รูปภาพ:http://media2.popsugar-assets.com/files/2015/02/03/117/n/4852708/ec4e89bcffbf5793_shutterstock_1053760490Mx2vz.xxxlarge_2x/i/Half-Cup-Greek-Yoghurt.jpg

ก่อนอื่นทำความเข้าใจใหม่ซะ! โยเกิร์ตชนิด " ไร้ไขมัน " ไม่ได้หมายความว่าพลังงานต่ำนะคะ! ในทางกลับกัน โยเกิร์ตที่ขาดไขมันจะเติมแป้งและน้ำตาลมากขึ้นกว่าเดิม ( เพื่อให้รสชาติยังอร่อยอยู่ ) เผลอๆ จะอ้วนกว่าชนิดปกติเสียด้วยซ้ำไป

ปกติโยเกิร์ตจะมีน้ำตาล ทำให้เกิดรสหวานโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม แต่ผู้ผลิตบางยี่ห้อจะใส่เพิ่มเพื่อให้ถูกปากผู้บริโภค ถ้าปริมาณน้ำตาลต่อหนึ่งถ้วยเกิน 18 กรัมคือหวานมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ค่ะ!

หนทางแก้ไขคือ ซื้อโยเกิร์ตชนิด " ไร้ไขมัน " แต่อย่าลืมดูส่วนประกอบของโปรตีนและน้ำตาล หากสูงเกินที่กำหนดไว้ในใจก็วางคืนกลับบนชั้นเสีย! อันที่จริงแล้ว เธอจะกินโยเกิร์ตชนิดใดก็ได้ แบบใส่ผลไม้เชื่อมก็ยังได้ ตราบใดที่น้ำตาลโดยรวมไม่เกินเกณฑ์ค่ะ


5. เลือกกินแต่โยเกิร์ตชนิดที่เป็น " โพรไบโอติก ( Probiotics ) "

รูปภาพ:http://media2.s-nbcnews.com/i/newscms/2015_45/844381/yogurt-stock-today-151102-tease_960699424e671b294ef1fc76b3540cc2.jpg

งานวิจัยหลากชิ้นเปิดเผยว่า แบคทีเรียชนิด " โพรไบโอติก ( probiotics ) " หรือแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ช่วยย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารและสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนั้น ถ้ากินเยอะๆ ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกันนะ

การที่โยเกิร์ตชนิดใดชนิดหนึ่งแปะยี่ห้อว่า " ชนิดโพรไบโอติกส์ " ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้สุขภาพดีเสมอไป เพราะในส่วนประกอบอาจมีน้ำตาลเยอะจมหูเลยก็ได้! แม้แบคทีเรียชนิดนี้จะมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่ก็ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นสารอาหารดีๆ อาจกลายร่างเป็นยาพิษได้ง่ายๆ เลยล่ะค่ะ


6. ดัดแปลงเป็นพาร์เฟ่ต์ ใส่ไอศกรีม ผลไม้จนเต็มแก้ว

รูปภาพ:http://www.prettyorganized.com/wp-content/uploads/2013/06/kashi-parfait.jpg

ลองนึกถึงโยเกิร์ตที่ใส่ไอศกรีม ราดผลไม้ โรยถัว บีบวิปปิ้่งครีมจนขึ้นฟู โรยเกล็ดน้ำตาลหลากสีที่เรียกว่า " พาร์เฟ่ต์ " สิ! ทั้งอร่อย หอม หวาน มัน แถมยังได้ประโยชน์จากโยเกิร์ตอีก ( อันนี้คิดเอาเอง ) แต่การที่ใส่เครื่องปรุงเยอะจนแทบหารสโยเกิร์ตไม่เจอ ยิ่งทำให้อ้วนขึ้นได้ง่ายกว่าเดิมอีกนะ

โยเกิร์ตที่นำมาทำพาร์เฟ่ต์ มักเป็นแบบชนิดไขมันอิ่มตัว และมักมีซีเรียล กราโนล่าโรยเสริมมาให้ ชั้นของซีเรียลที่โรยมาจะมีโยเกิร์ตแทรกอยู่ข้างใน ทำให้เธอคิดว่ากินน้อยกว่าความเป็นจริง ( ทั้งที่จริงแคลอรี่อัดแน่นอยู่ในซีเรียลที่เคลือบโยเกิร์ตอยู่นั่นแหละ )

ทางที่ดีกินแค่โยเกิร์ตถ้วยธรรมดา จะดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่ถ้าเบื่อมากจริงๆ สละเวลาหาส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพ แล้วทำพาร์เฟ่ต์ในรูปแบบของตัวเองแทนไปซื้อตามร้านเลยค่ะ

==================================

อ่านข้อผิดพลาด 6 ข้อนี้จบแล้ว มีข้อไหนตรงกับพฤติกรรมการกินโยเกิร์ตของเธอในขณะนี้บ้างไหมเอ่ย! บางข้ออาจไม่ใช่ความผิดเสียทีเดียว แต่ " พลาด " ที่มองข้ามไปเพราะยึดติดแต่ทฤษฎีที่ว่าโยเกิร์ตมีประโยชน์เสมอ! อันที่จริงแล้ว เนื้อโยเกิร์ตที่หมักเองมีประโยชน์มากมาย แต่เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิต เติมสีแต่งกลิ่น เพิ่มแป้งและน้ำตาล ทำให้โยเกิร์ตถ้วยเดิมแคลอรี่พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ ถ้าไม่สังเกตฉลากสารอาหาร ก็อ้วนขึ้นอย่างไม่รู้ตัวเลยล่ะ

หนทางแก้ไขก็ง่ายนิดเดียว มีสายตาคอยสอดส่องส่วนประกอบในฉลากอาหาร หากมีส่วนผสมที่ทำให้อ้วนง่ายอย่างน้ำตาลเยอะเกินไปก็อย่าซื้อ จำกัดปริมาณโยเกิร์ตที่กินในแต่ละวัน เท่านี้ก็หุ่นสวยอย่างมีสุขภาพดีได้แล้วล่ะค่ะ

==================================


บทความที่เกี่ยวข้อง