1. SistaCafe
  2. 8 เหตุผลทีพฤติกรรมการกิน ทำให้เป็น "โรคซึมเศร้า"

สาวซิสต้าเคยมีอาการ “ ซึมเศร้า ” โดยไม่รู้ตัวบ้างไหมคะชีวิตปกติก็มึความสุขดี สุขภาพก็ไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่บางครั้งก็จะมีอารมณ์เซ็ง เบื่อ อยากตายขึ้นมาซะอย่างนั้นแหละจนบางครั้งก็แอบคิดว่าเราผิดปกติหรือเปล่าเนี่ยควรจองคิวไปเช็คสมองที่โรงพยาบาลไหม เขาจะเอาไฟฟ้ามาช็อตไหม ระแวงรัวๆ

ใจเย็นค่ะใจเย็น! คำตอบของโรคซึมเศร้าที่หาสาเหตุไม่พบก็คือ“ อาหารการกิน ”ของเธอนี่แหละ!ความจริงก็คือ อาหารส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราไม่ทางตรงก็ทางอ้อมเช่นถ้าเธอได้กินไอศกรีมหรือเค้กของโปรด เธอจะรู้สึกสบายใจ มีความสุข แต่ถ้าเธอกินแหลกเพราะห้ามใจไม่อยู่ เธอจะรู้สึกผิด ละอาย อยากไปล้วงคอออกบางคนอาจโกรธและโมโหตัวเองจนแทบบ้าเลยทีเดียว

วันนีเรามีบทความ“สาเหตุที่พฤติกรรมการกินทำให้เป็นโรคซึมเศร้า”มาให้สาวซิสต้าลองตรวจดูว่าข้อไหนตรงกับตัวเองบ้างบางทีคำตอบของปัญหาอาจอยู่ใกล้แค่นี้เองก็ได้!ไปอ่านกันเล้ย

1. กินอาหารไม่มีประโยชน์ซ้ำๆ วนไปมา

การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร หรืออีกชื่อว่า “ จั๊งค์ฟู้ด ” อย่างเค้ก คุกกี้ ไอศกรีม เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซ้ำๆ โดยไม่กินอาหารชนิดอื่นเลยทำให้เกิดสัญญาณของภาวะซึมเศร้ายิ่งกินเยอะก็ยิ่งทำให้อาการกำเริบหนักขึ้น

บางคนมีไลฟ์สไตล์ที่อดนอน และเครียดอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องพึ่งอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมถุง และกาแฟซองๆ เป็นประจำทำให้ร่างกายสะสมคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงลิบลิ่วเมื่อร่างกายผิดปกติก็เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายเลยค่ะ

2. ขาดอาหารประเภทโปรตีน

อาหารประเภทโปรตีน เช่น นม ไข่ เนื้อและถั่วต่างๆ ไม่ได้มีประโยชน์สำหรับเหล่านักกล้ามเท่านั้น แต่หากคนธรรมดาอย่างเราๆ ขาดโปรตีนอย่างหนัก จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงได้นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่าอาหารที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณต่ำ ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางในร่างกายผิดปกติ ระบบการทำงานในสมองทำงานผิดเพี้ยน และทำให้ซึมเศร้าและมีอาการก้าวร้าวได้

กรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น ทีโรซิน [tyrosine] และทริปโตแฟน [tryptophan] ) เหล่านี้มีส่วนช่วยผลิตสารสื่อประสาทที่ทำให้ “ รู้สึกดี ” อย่างโดปามีนและเซโรโทนินดังนั้นพยายามกินโปรตีนกันเยอะๆ นะคะ

3. กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ( Trans Fats ) มากเกินไป

หลายครั้งที่สาวๆ รู้สึกเซ็ง นอยด์ เลยหาทางออกด้วยการจ้วงกินไอศครีมถังโตๆ หรือมันฝรั่งทอดเป็นกระบะ แต่การกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรอไขมันทรานส์มากเกินไปไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน!

ประเทศสเปนมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายปี งานวิจัยได้ตีพิมพ์ในห้องสมุดแพทย์ของสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองกับกลุ่มๆ หนึ่งเพื่อดูว่าปริมาณไขมันอิ่มตัว ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้มากแค่ไหน ผลการทดลองพบว่าผู้ถูกทดลองคนกินอาหารมีไขมันอิ่มตัวเยอะ จะมีอัตราเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพค่ะ

4. ไม่กินอาหารที่มี “ ไขมันดี ” เลย

แม้อาหารที่มีไขมันชนิดเลว ( ไขมันอิ่มตัว ) จะทำให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้าสูงขึ้น ในทางกลับกัน

ไขมันดีอย่างกรดโอเมก้า 3 กลับลดความเครียดและความหดหู่ในจิตใจของเราได้



อ้างอิงจากการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ Maryland ยืนยันว่า

ควรกินอาหารที่มีกรดไขมันในชีวิตประจำวัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริ่ง ปราเทราท์ วอลนัทและถั่วเหลืองเพื่ออายุที่ยืนยาวนะคะ



5. ไม่กินอาหารจำพวก “ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ”

สาวๆ บางคนใช้โปรแกรมไดเอท “ ลดแป้ง ( low-carb diet ) ” ด้วยการกินแป้งน้อยมากจนแทบจะไม่กินเลยนอกจากจะไม่ผอมลงอย่างถาวรแล้ว เธอจะได้ภาวะซึมเศร้า ขี้เกียจเอื่อยเฉื่อย และอาการโหยจนตบะแตกมาเป็นของแถม!

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนช่วยหลั่งสารเซโรโทนิน หรือ “ สารหลั่งความสุข ” ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้อารมณ์คงที่ ไม่แปรปรวน ช่วยให้หลับเต็มอิ่ม และเป็นเชื้อเพลิงให้ร่างกาย ช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสมดุลไม่ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดแกว่งจนกินแหลกนั่นเอง!

อย่าอดแป้งให้ทรมานเลย มากินขนมปังโฮลวีต หรือข้าวกล้องเพื่อความผอมที่ยั่งยืนกันดีกว่าค่ะ

6. กินอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป

เอามือออกจากถุงมันฝรั่งทอดเดี๋ยวนี้เลย หยุดเลียผงชูรสที่ติดนิ้วนั่นด้วย!

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวว่า

การกินอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้!



มีการทดลองกับกลุ่มผู้ใหญ่ กำหนดชนิดอาหารเป็นเวล่า 5 ปี ค้นพบว่า

อาหารสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการจากโรงงานอย่างขนมหวาน ของทอด เนื้อสำเร็จรูป ขนมกินเล่นที่มีแป้ง และซีเรียลกล่อง ทำให้มีภาวะซึมเศร้าสูงขึ้นค่ะ


7. ร่างกายขาดวิตามิน B

อาหารที่มีวิตามินบี โดยเฉพาะวิตามิน B12 และโฟเลต ทำให้ร่างกายและสมองทำงานได้ดี ทำให้เธอมีความสุขและสุขภาพแข็งแรงวิตามิน B12 ช่วยทำให้สารเคมีในสมองทำงานเป็นปกติ ในขณะที่โฟเลตช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใหม่ๆ ในสมองเติบโตได้ดีและป้องกันสารสื่อประสาทอย่างโดปามีน และเซโรโทนิน ค่ะ

ข้อดีของสองอย่างนี้ ช่วยทำให้ไม่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ มีผลการศึกษาค้นพบว่าผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักมีอาการขาดโฟเลตร่วมด้วยค่ะ

8. ไม่กิน “ ผักและผลไม้สดๆ ” เลย

ถ้าเธอเอาแต่กินแป้งกับเนื้อสัตว์ แต่กลับเบือนหน้าหนีผักและผลไม้สดๆ แล้วล่ะก็ สุขภาพของเธอต้องมีปัญหาในเร็วๆ นี้แน่นอน!มีงานวิจัยเรื่องโภชนาการจาก Mayo Clinic และการศึกษาจากองค์การสุขภาพอื่นๆ ค้นพบว่าถ้าเธอกินผักผลไม้สด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไขมันดีและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปังโฮลวีต อาหารเหล่านี้มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จะลดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่า

เทียบกับอาหารประเภทขนมหวาน ไขมันอิ่มตัว ( ไขมันทรานส์ ) และคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ขนมปังหรือข้าวขาว มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงเถอะ!

=============================แม้อาหารปกติ ( ที่ไม่ใส่ยาพิษ ) จะไม่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าโดยทันที แต่พฤติกรรมการกินอาหารซ้ำๆ เดิมๆ  โดยเฉพาะอาหารประเภทที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันอิ่มตัวทั้งหลายไม่รับสารอาหารดีๆ อย่างวิตามินบีและกรดไขมันโอเมก้า 3 บ้างเลย อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้!

คนเราควรกินอาหารหลากหลายประเภทเพื่อให้อวัยวะในร่างกายทำงานเป็นปกติ อย่างที่สอนกันมาแต่เด็กว่า เราต้องกินอาหารครบ 5 หมู่นั่นแหละค่ะนั่นคือคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่และไขมันหากกินอย่างหลากหลายและอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ร่างกายจะตอบสนองด้วยอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สุขภาพแข็งแรง

อย่างที่ฝรั่งเขามีคำกล่าวว่ากินอะไรก็เป็นแบบนั้นเลือกอาหารที่ดีกับสุขภาพเพื่อหุ่นสวยกันเถอะค่ะสาวๆ !=============================

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้