แน่นอนว่าหน้าที่การงานของเรานั้นเป็นสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบ แต่สำหรับการที่ทุ่มเททำงานหามรุ่งหามค่ำมากเกินไป จนทำให้เรารู้สึกเหนื่อยและชีวิตไม่มีความ balance ในการหาความสุขให้กับตัวเอง ก็อาจจะส่งผลต่อชิ้นงานของเราได้ เพราะด้วยสปิริตหรือศักยภาพของเรานั้นลดลงจากการที่เราทำงานหนักมากเกินไป เพราะใช้ทั้งร่างกายและสมองของเราหนักจนทำให้เกิดภาวะต่างๆ ขึ้นมาหรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิม บรรยากาศทำงานที่เรานั้นมาทำก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้รู้สึกว่าไม่อยากมาทำงาน เกิดการอึดอัดระหว่างที่ทำงาน ดังนั้นเราควรรีบเช็กกับอาการตัวเองด่วนๆ กับ7 ข้อที่บ่งบอกว่าเรา ทำงานหนักเกินไป แถมยังเสี่ยงเกิดเป็นภาวะคาโรชิด้วย


Karoshi Syndrome หรือภาวะคาโรชิ คืออะไร ?

เป็นภาวะที่เกิดจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจนเกิดความเครียดสะสม ทำให้กระตุ้นสมองหลั่งฮอร์โมนแคททีโคลามีน (Catecholamine) และฮอร์โมนคาร์ติซอล (Cortisol) ออกมาในเลืด การที่ฮอร์โมนเหล่านี้ระดับสูงในเลือดตลอดเวลาจะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งหนาตัวและตีบตัน จนเกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองจนทำให้เสียชีวิตได้


รวมลิสต์พฤติกรรมเสี่ยงเป็นภาวะคาโรชิ

  1. ทำงานเกินเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน เริ่มงานเร็วแต่กลับบ้านช้า
  2. เครียดจากการทำงาน คิดหมกมุ่นเรื่องงาน ไม่มีเวลาคิดเรื่องอื่น
  3. ทำงานที่มีความกดดันสูง
  4. ไม่มีโอกาสลางาน หรือไม่สามารถลางานได้
  5. ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย หรือใส่ใจตัวเอง
  6. ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนรอบตัวเช่น ครอบครัว เพื่อน และคนรัก
  7. นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท ชอบตื่นมากลางดึก และคิดเรื่องงานจนติดไป
  8. รู้สึกอ่อนเพีย ไม่มีแรง

━✿✿✿✿✿✿✿✿━


เช็กให้ดี 7 อาการที่บ่งบอกว่า ทำงานหนักเกินไป สังเกตไว้ให้รู้ทัน

ทำงานหนักเกินไป ข้อสังเกตที่ 1. ความสัมพันธ์กำลังแย่

รูปภาพ:

บอกเลยว่าการทำงานหนักนั้นสามารถส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเราได้สุดๆ เพราะด้วยเวลาที่เราทุ่มเทไปกับการทำงานและมักที่จะมองข้ามปัญหาสำหรับคนรอบข้างออกไปโดยไม่รับรู้ปัญหาต่างๆ ก็สามารถทำให้ความสัมพันธ์นั้นค่อยๆ พังลงได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะกับคู่รักเพราะจะมีการตั้งคำถามขึ้นว่า “ยังสำคัญสำหรับกันอยู่ไหม”

จนทำให้เรานั้นเริ่มวิตกกับความสัมพันธ์ทั้งกับคนรัก ครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนสนิท แต่เมื่อรู้ว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นแล้วเราไม่สามารถที่จะแก้ไขอะไรได้แต่เราจำเป็นต้องผลักมันออกไป เพราะมีความเชื่อว่าเดี๋ยวเวลาจะช่วยเยียวยาเองเมื่องานเสร็จแล้วทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งในความจริงนั้นมันไม่ใช่ ฉะนั้นแล้วลองสังเกตความสัมพันธ์ของตัวเองกับคนรอบข้าง คนในครอบครัว หรือคนรักกันดู เพราะมันจะคล้ายกับอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรทางอารมณ์ที่แปรปรวน ที่ไม่มีใครมาหยุดรอเราท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนี้


ข้อสังเกตทำงานหนักเกินไป 2. ดื่มเป็นลิตร สูบจัดเป็นซอง

รูปภาพ:

ภายใต้ความกดดัน การหาวิธีผ่อนคลายที่รวดเร็วที่สุดคือการออกไปสูบบุหรี่สักม้วน แต่ในความจริงมันนั้นไม่จบแค่ม้วนเดียวเพราะบ่อยครั้งถึงกับสูบจนหมดซอง โดยจำนวนบุหรี่จะเพิ่มไปตามจำนวนไฟแช็กที่วางทิ้งไว้กับที่ต่างๆ เพื่อให้สามารถหยิบใช้ได้สะดวก อีกทั้งปริมาณบุหรี่ที่สูบนั้นสามารถเป็นตัวบ่งบอกว่ากำลังเกิดภาวะความเครียดหรือวิตกกังวลอะไรอยู่ ทั้งไม่สามารถที่จะจัดการได้

นอกจากการสูบบุหรี่แล้วก็มีการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มคนที่ทำงานนั้นมีการใช้การดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบำบัดความเครียดมากที่สุด โดยเฉลี่ยคือผู้ชาย 21 แก้วต่อสัปดาห์ ในขณะผู้หญิงคือ 14 แก้วต่อสัปดาห์



อาการทำงานหนักเกินไป 3 ป่วยกันยาวๆ

รูปภาพ:

เมื่อการทำงานหนักของเรานั้นส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อนจนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลงเรื่อยๆ แม้กระทั่งหวัดเล็กน้อยก็สามารถเป็นได้ อีกอย่างโรคสุดฮิตสำหรับพนังงานออฟฟิศคือ ออฟฟิศซินโดรม ที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ จากกิริยาและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม



อาการบ่งบอกทำงานหนักเกินไป 4 ฉุนเฉียว

รูปภาพ:

ลองสังเกตอารมณ์ของตัวเองกันว่ามีความอ่อนไหวมากขึ้น หรือจุดเดือดต่ำกว่าที่เคยเป็นไหม เพราะถ้าแค่เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์จากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้อารมณ์เรานั้นเกิดการฉุนเฉียวขึ้นมาได้แม้กระทั่งสิ่งเหล่านั้นจะดูไม่หนักหนามาก แต่ถ้าเทียบกับการที่เรานั้นเริ่มมีพฤติกรรม “คุกคามตัวเอง (Offence to Self)” แล้วก็น่ากลัว เพราะด้วยไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือทำได้ตามที่ควรจะเป็นจากนั้นก็ลงโทษจากความผิดเช่น ไม่นอน ไม่กินจนกว่างานจะสมบูรณ์ที่สุด จนกระทั่งบางคนพร้อมมีพฤติกรรมถ่ายทอดความเกลียดชังไปสู่คนอื่นเหมือนไฟลามน้ำมัน



พฤติกรรมทำงานหนักเกินไป 5 ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

รูปภาพ:

ใครๆ ก็สามารถผิดพลาดได้ แต่ถ้าหากบ่อยเกินไปแสดงว่าความเหนื่อยล้าทำให้เรานั้นประเมินสภาพแวดล้อมบิดเบือนหรือไม่สามารถอ่านมันออกได้อย่างชัดเจน เช่น ได้รับคำสั่งมาแบบผิดๆ ถูกๆ แต่ไม่กล้าสอบถามความเห็น หรือไม่เข้าใจความรู้สึกคนรอบข้างที่พยายามจะสื่อสาร ทำให้เรานั้นหลุดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในชิ้นงาน



ทำงานหนักเกินไป 6 หนึ่งจุดประสงค์ที่แท้จริง

รูปภาพ:

ทำให้เรานั้นตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำงานนี้ไปทำไม? อะไรคือจุดประสงค์ที่แท้จริง?



อย่างงานวิจัยของมหาลัย lllinois พบว่าคนที่ทำงานหนักเป็นเวลานานจะสูญเสียทักษะการมองเห็นภาพรวม และมีประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง ถูกดูดกลืนไปกับเนื้องานจนมองข้ามปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จด้านอื่นๆ งานที่ออกมามักต่างจากความคาดหวังในจุดเริ่มต้น เพราะขาดเวลามานั่งถามตัวเองว่าเรานั้นทำอะไรอยู่ และนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด



7 : จะโทษใครดี บริษัทหรือตัวเอง

รูปภาพ:

โทษบริษัทที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ ที่ทำให้เชื่อมต่อกับสำนักงานอยู่ตลอดเวลา และแม้ว่าจะเป็นการลาพักร้อนก็สามารถถูกการรบกวนได้ โดยอาจจะเป็นหัวหน้างาน



แต่ถ้าหากเป็นการโทษตัวเองแน่นอนว่ามีน้อยมากที่จะโทษตัวเอง แต่การทำงานหนักๆ มาเป็นเวลานานทำให้แรงผลักดันบางอย่างในตัวเราที่อาจจะคิดได้ว่าการได้รับเลื่อนตำแหน่งจากโปรเจ็คนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากเกินไป จนทำให้รู้สึกว่าไม่อยากถูกทิ้งหรือรั้งท้ายไว้ในองค์กร



━✿✿✿✿✿✿✿✿━

รีบเช็คตัวเองก่อนที่จะรู้สึกไม่ไหวกับ 7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรานั้นทำงานหนักมากเกินไปเพื่อที่จะทำให้เรานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองก่อนจะเกิดภาวะความเสี่ยงต่างๆ ขึ้นมานั้น จนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นแล้วควรทำจัดสรร Work Life Balance ให้ดีและรับผิดชอบในหน้าที่ตัวเองแบบพอดีและไม่ฝืนทำมากเกินไป

บทความแนะนำ ที่ซิสไม่ควรพลาด