1. SistaCafe
  2. computer vision syndrome ชวนรู้จักโรคสายตาที่คนทำงานต้องระวัง !

ฮัลโหลเพื่อน ๆมาเมาท์มอยกันหน่อยเร็ว ไหน ๆ มีใครเป็นสายออฟฟิศชีวิตติดจอบ้างมั้ยเอ่ย สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์บ่อย ๆ ต้องจ้องนาน ๆ ทุกวัน ขอเตือนว่าให้ระวังอาการComputer Vision Syndrome( CVS )กันด้วยนะเป็นอาการที่มาจากพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ของเรา ส่งผลให้มีปัญหาทางสายตาแล้วอาการ CVS เป็นยังไง? สาเหตุมาจากอะไร? ต้องป้องกันยังไง?ลองตามไปทำความรู้จักอาการ Computer Vision Syndrome ( CVS )  ในบทความนี้เลย


computer vision syndrome ชวนรู้จักโรคสายตาที่คนทำงานต้องระวัง !

✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪


Computer Vision Syndrome ( CVS ) เป็นยังไง ?

Computer Vision Syndrome ( CVS )

คือ

กลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการใช้งานหรือระยะเวลาในการจ้องจอคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง

จากผลการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันมักจะมีอาการ Computer Vision Syndrome ( CVS )




Computer Vision Syndrome ( CVS ) กับสาเหตุของอาการที่เราต้องระวัง


สาเหตุของอาการ

Computer Vision Syndrome ( CVS )

มาจากหลายปัจจัยด้วยกันอย่าง ภาวะแสงในขณะทำงานไม่เพียงพอ

ได้รับแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตำแหน่งของหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการจัดท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ทำงานหน้าใกล้จอมากเกินไป มีภาวะสายตาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะสายตายาวและสายตาเอียง

การที่ตัวอักษรบนคอมพิวเตอร์ไม่ชัดหรือไม่นิ่ง ทำให้ต้องพยายามโฟกัสมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดอาการ Computer Vision Syndrome ( CVS ) ด้วยเหมือนกัน





อาการของ Computer Vision Syndrome ( CVS )

สำหรับอาการของ Computer Vision Syndrome ไม่ได้ส่งผลแค่อาการทางสายตาเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปยังร่างกาย อย่างระบบกล้ามเนื้ออีกด้วย อย่างเช่น

อาการตาแห้ง แสบตา เคืองตา ปวดกระบอกตา ตาล้า ตาสู้แสงไม่ได้ ตาพร่ามัว โฟกัสได้ช้า ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดศีรษะ

และนอกจากยังมีการศึกษาพบว่าระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ มีผลทำให้เกิดความเสี่ยงคาสายตาเพิ่มขึ้นด้วย




Computer Vision Syndrome ( CVS ) และการป้องกัน

ปรับระดับการมองเห็นและปรับที่นั่งให้เหมาะสม



เวลานั่งหน้าจอคอมควรให้


หน้าจอคอมพิวเตอร์ห่างจากตาประมาณ 20 - 28 นิ้ว ควรจัดแป้นพิมพ์อยู่ระดับต่ำกว่าจอ

เวลาพิมพ์ให้ข้อศอกตั้งฉาก ข้อมือและแขนขนาดนาบไปกับพื้น เวลานั่งก็ควรให้เท่าตั้งฉาก ต้นขาขนานกับพื้น ฝ่าเท้าวางราบไปกับพื้น


เป็นท่านั่งทำงานในลักษณะที่ถูกต้อง



ใช้คอมพิวเตอร์ในจุดที่มีแสงเพียงพอ



เวลาใช้คอมพิวเตอร์ควรใช้ในพื้นที่ที่มีแสงส่องถึงเพียงพอ ไม่มืดจนเกินไป และสามารถเห็นหน้าจอได้ชัดเจน ไม่เห็นแสงสะท้อนเงาอื่น ๆ แล

ควรปรับความสว่างหน้าจอให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่มืดและสว่างจ้าจนเกินไป หรืออาจจะติดแผ่นกันแสงที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ไปด้วยก็ได้


เพื่อให้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างคมชัดและสบายตาที่สุด



พักสายตาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์



เมื่อจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ แน่นอนว่าอาจจะทำให้เกิดอาการตาพร่า ตาล้าได้


ควรหาเวลาพักสายตาเลี่ยงจากหน้าจอคอมไปมองต้นไม้ หรือมองออกไปให้ไกล ๆ

อย่างน้อย 20 วินาทีต่อทุก ๆ 2 ชั่วโมง และควรหาเวลาพักผ่อนจากการทำงานหรือการจ้องคอมพิวเตอร์ ประมาณ 15 - 20 นาที


แล้วค่อยกลับมาใช้งานคอมพิวเตอร์อีกครั้ง



ใส่แว่นกรองแสง กระพริบตาให้บ่อยขึ้น



สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน


ควรใช้แว่นกรองแสง โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

เพื่อถนอมสายตา และควรกระพริบตาบ่อย ๆ หรือหยอดน้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดอาการตาแห้ง


และช่วยทำให้สบายตามากยิ่งขึ้น



พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสายตาเป็นประจำ



หมั่นสังเกตความผิดปกติของดวงตาหรือสายตา ด้วยการปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองความปกติและความชัด พักสายตาแล้วทำสลับกัน


สำหรับคนที่มีอาการตาพร่า ปวดกระบอกตา หรืออื่น ๆ ลองเข้าไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจและดูอาการ และควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ


เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนอยู่เสมอค่า





✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪ ✪


ทำความรู้จักกับอาการComputer Vision Syndrome( CVS )มาแล้ว ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรระวังอยู่เหมือนกันนะคะเนี่ยสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีพฤติกรรมจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ ใช้คอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงต่อวัน ลองหาเวลาพักผ่อนสายตากันบ้างนะคะป้องกันไม่ให้เกิดอาการ CVS ขึ้นมาได้บ้างเหมือนกัน ว่าแล้วก็ขอตัวไปพักสายตาบ้างแล้วค่า แล้วพบกันใหม่ที่https://sistacafe.com/นะคะ บ๊ายบาย


บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้