1. SistaCafe
  2. PCOS เช็กด่วน! ถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคฮิตผู้หญิงที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

" อันตรายใกล้ตัว " พูดถึงเรื่องที่เป็นโรคภัยใกล้ตัวอย่างผู้หญิงเรานั้น สามารถพบเจออาการหรือความเปลี่ยนแปลงของตัวเองได้จากความผิดปกติ ที่แสดงอาการต่างๆ ออกมาให้เราเริ่มที่จะสงสัย ยกตัวอย่างอาการที่ทำให้เราสามารถกังวลได้เลยคือรอบเดือนประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวเหอไม่หยุดทั้งที่ปกติไม่เคยเป็นหนัก เป็นต้น ทำให้อาการเหล่านี้ที่แสดงออกมาก็ทำให้ผู้หญิงหลายๆ คนเริ่มที่จะตระหนักถึงความผิดปกติในครั้งนี้ ฉะนั้นแล้วเรามาดูถึงความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้กัน คือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ( PCOS ) เสี่ยงต่อสุขภาพแบบไหนและส่งผลกระทบอะไรบ้างไหนชีวิต เพื่อทีจะรีบเข้ารับการปรึกษาพร้อมรักษาโดยด่วน


⇄ ⇅ ⇆ ⇇ ⇈ ⇉ ⇊


ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS คืออะไร ?

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย โดยจะพบเป็นชีสต์หรือถุงน้ำหลายใบในรังไข่ของผู้หญิง เมื่อชีสต์หรือถุงน้ำไปเบียดรังไข่ส่งผลให้การทำงานของรังไข่เกิดความผิดปกติ ทำให้การตกไข่เกิดความไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่มักจะพบในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยพบความชุกประมาณร้อยละ 5-10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ทั้งอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือความผิดปกติของหลายระบบในร่างกาย อาทิเช่น ต่อมใต้สมอง รังไข่ ต่อมหมวกไต เป็นต้น


ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96066%2FlMLNiZC9Rd3Ku4Yv8tDNuhdNpYARTeIKPsJ3yHJV.jpg?v=1732077129

อาการเสี่ยงเข่าข่ายภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้นั้น เป็นอาการเบื้องต้นที่เพศหญิงสามารถสังเกตความผิดปกตินี้ได้ เมื่อพบเจอความผิดปกติต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อที่จะทำการรักษาโดยอาการที่จะแสดง มีดังนี้

  • ประจำเดือนเว้นช่วงนาน ห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิด 6-8 ครั้งต่อปี
  • รอบประจำเดือนขาด 6 เดือนในผู้หญิง ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
  • ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย หรืออาจจะมามากเกินไป มานานติดต่อกันจนผิดปกติ รวมไปถึงเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติด้วย
  • ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเพศชายที่มีอยู่ในร่างกายทั้งของผู้ชายและผู้หญิง เมื่อพบว่าฮอร์โมนเพศชายมีมากในเพศหญิงเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะขนหนาและขนดก สิวขึ้นมากกว่าเดิม ผิวมัน และหนังศีรษะเริ่มล้าน เป็นต้น
  • น้ำหนักมากเกินไป หรืออ้วนขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว ทำให้ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน ทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสอาการภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้


PCOSกับความอ้วนในผู้หญฺิง

ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติโดยเฉพาะอาการอ้วนที่ลงพุง (Metabolic Syndrome) มีผลมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตไขมันออกมามากเกินไป เมื่อไขมันมีมากการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงเกิดความผิดปกติขึ้น ส่งผลให้รังไข่นั้นไม่สามารถตกไข่ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย เป็นผลให้ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย ประจำเดือนทิ้งช่วงนานหรือขาดหาย ผลสุดท้ายอาจจะส่งผลเรื่องการมีลูกยากไปด้วยในอนาคต ไม่เพียงเท่านั้นอาการอ้วนลงพุงยังเป็นอันตรายต่อร่างกายและเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างเช่น เกิดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เพราะระดับไขมันที่สูงมากเกินจนผิดปกติ และยังเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจได้


ความรุนแรงของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

หากเมื่อพบแล้วว่าเจอภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS แล้วไม่รีบรักษาสิ่งที่จะตามมานั้นก็ส่งผลร้ายแรง ดังนี้

  • มีบุตรยาก เนื่องจากภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง และหากเกิดการตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะแท้งลูกในช่วง 3 เดือนแรกได้
  • เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ด้วย เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
  • เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุในโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งเต้านม

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96066%2FXJW2yc8O6cdOtISFMyiu1U4D4786QwjDRoWWbxkx.jpg?v=1732076320

แนวทางการรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

  1. ในรายที่ยังไม่ต้องการมีบุตร แพทย์จะใช้ยาฮอร์โมนเพื่อให้มีระดูสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัว หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูก โดยยาฮอร์โมนที่ใช้อาจเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย เพื่อให้มีระดูตามรอบยาและลดอาการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกินไป เช่น สิว หน้ามัน ผมร่วง ขนดก และคุมกำเนิดได้ด้วย ในกรณีนี้จะใช้้ฮอร์โมนชนิดใดแพทย์จะมีการพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล
  2. ในรายที่ต้องการมีบุตร อาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตร เพื่อร่วมประเมินและให้การรักษา โดยมีวิธีรักษาได้แก่- ใช้ยากระตุ้นไข่ชักนำให้เกิดการตกไข่ แล้วทำการฉีดเชื้อ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือความผิดปกติของโรคในสตรีแต่ละบุคคล- การรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้แค่เฉพาะกลุ่มสตรีที่มีลูกยาก โดยจะทำการผ่าตัดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
  3. ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนักควบคู่ไปกับการกินอาหาร เมื่อสามารถลดน้ำหนักได้ตามเกณฑ์ การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายก็สามารถที่จะกลับมาใกล้เคียงจนถึงปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
  4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่ รักษาภาวะดื้ออินซูลิน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เป็นต้น

วิธีดูแลตัวเองของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ เลี่ยงแป้งและอาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส เพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ
  • ใช้ยาฮอร์โมนตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือลดยาเอง หรือปรับเปลี่ยนยาเอง
  • ไปตรวจติดตามตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

ภาพประกอบบทความ:sistacafe-assets:____%2Fc%2F96066%2FO8D0R6tnQxmm4KTDwCsVcrChujU2A5i9MvHKkRCK.jpg?v=1732076399

⇄ ⇅ ⇆ ⇇ ⇈ ⇉ ⇊


เมื่อเกิดความผิดปกติสิ่งที่เราสามารถทำได้เลยคือรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคและทำการวินิจฉัยให้ชัดเจนเพื่อที่จะได้หาทางรีบแก้ไขหรือรักษา ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กับทั้งก่อนและหลังจากรู้ถึงความเสี่ยงของตัวเองที่เข้าข่าย ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS นั้นคือการใส่ใจในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและใส่ใจการทานผักผลไม้มากขึ้น สังเกตตัวเองเพื่อที่จะได้รับรู้ความผิดปกติที่แสดงออก ฉะนั้นแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพกับด้วยนะคะ


ขอขอบคุณภาพจาก katemangostar, Freepik on Freepik



บทความแนะนำ ที่ซิสต้องไม่พลาด

เว็ปไซต์นี้ใช้คุกกี้

SistaCafe ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา และ นโยบายการใช้คุกกี้