ในปัจจุบันนี้การพูดถึงเรื่องเพศนั้นเป็นสิ่งที่เปิดกว้างและสามารถพูดคุยเพื่อปรึกษากันได้อย่างสบายใจ เพราะด้วยการเข้าสู่ยุคที่ทุกคนต่างมองว่าเป็นเรื่องที่ธรรมชาติและปกติ อีกทั้งสื่อทางออนไลน์โดยทั่วไปก็สามารถทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงรสนิยมทางเพศ เครื่องมือป้องกันประเภทต่างๆ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อพูดถึงการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นคู่รัก คู่นอน หรือความสัมพันธ์แบบอื่นๆ หากมีเพศสัมพันธ์กันแล้วต้องคำนึงถึงหลายสิ่งหลายอย่างควบคู่ไปด้วย เพราะด้วยความเปิดกว้างที่มากขึ้นทำให้เราต้องมีการป้องกันตัวเองมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มักพบเจอบ่อยๆ จากคู่นอน เพื่อให้เราเข้าใจอย่างมากขึ้นเกี่ยวกับ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เราควรรู้ถึงที่มาว่าเกิดจากอะไร มีโรคติดต่อประเภทไหนบ้าง พร้อมหาวิธีป้องกันไปด้วยนั่นเอง
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากอะไร ?
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease)คือกลุ่มโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน หรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อชนิดต่างๆ โดยไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการร่วมเพศระหว่างชายและหญิงตลอดจนเพศสัมพันธ์จากกลุ่ม LGBT ด้วย โดยสามารถติดต่อจากการสัมผัสทางใดทางหนึ่ง ได้แก่ ทางปากช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และโรคกลุ่มนี้สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ หากพบว่าติดโรคมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างถูกต้องและปฏิบัติตนให้ถูกวิธีเพื่อการหลีกเลี่ยง
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?
1. HPV
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มักพบเจอและคุ้นหูอย่าง HPV ซึ่งโรคนี้นั้นมีสาเหตุสำคัญที่สามารถทำให้ก่อมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนักหรือมะเร็งช่องปากในผู้ชายได้ รวมถึงยังเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ตามบริเวณอวัยวะเพศทั้งภายในและภายนอกรวมบริเวณใกล้เคียงต่างๆ อย่างเช่น ขาหนีบ หรือทวารหนักได้อีกด้วย ซึ่งเชื้อนี้นั้นเกิดจากไวรัสHuman Papilloma Virusที่มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 3 เดือนไปจนถึงหลายปีซึ่งอาการมักแสดงออกมาได้ 2 แบบ คืออาการของหูดหงอนไก่ที่จะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำปลีขึ้นบริเวณอวัยวะเพศทวารหนักและง่ามขา และอาการที่ 2 ของโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะเพศ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องปาก เป็นต้น
2. เริม
ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simplex Virus (HSV) ที่มีระยะฟักตัวครั้งแรกประมาณ 2-20 วัน โดยจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ HSV (Type 1) ที่ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ HSV (Type 2) ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นโรคที่ใช้เวลาในการฟักตัวซักพักถึงจะแสดงอาการ เมื่อหายดีแล้วเชื้อชนิดนี้ก็มักจะแอบซ่อนอยู่ในปมประสาทใต้ผิวหนังของเราและพร้อมแสดงอาการได้ทุกเมื่อหากร่างกายของเราอ่อนแอหรือมีการพักผ่อนน้อยโดยการแสดงอาการของโรคเริมที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นมักจะเริ่มจากการมีแผลบวมแดง มีตุ่มพองใสๆ ขึ้นบริเวณที่ได้รับเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ง่ามขา หรือปาก ซึ่งบางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วย หลังจากนั้นตุ่มพองใสจะแตกและทำให้มีอาการเจ็บ ปวดแสบปวดร้อนก่อนจะค่อยๆ แห้งตกเป็นสะเก็ดประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยบางคนนั้นอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือเกิดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้ผิวหนังที่ติดเชื้อโตได้
3. ซิฟิลิส
ซิฟิลิสมาจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema Pallidum โดยมีระยะฟักตัว 1-90 วัน แต่ส่วนมากจะเฉลี่ยอยู่ที่ 21 วัน โดยเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เนื่องจากโรคซิฟิลิสนั้นสามารถติดต่อได้ผ่านทางแผลเล็กๆ บนผิวหนัง โดยส่วนมากเกิดได้ที่บริเวณช่องคลอด ทวารหนัก และปาก จึงทำให้พบโรคนี้ได้มากในกลุ่มวัยรุ่นตลอดจนช่วงมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย หรือเยาวชนที่มีอายุเพียง 15-24 ปีโดยอาการของซิฟิลิสนั้นจะเกิดอาการเป็น 4 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 จะมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นตามบริเวณอวัยวะเพศ ริมฝีปาก ลิ้น และหัวนม จากนั้นจะแตกเป็นแผลมีน้ำหนองไหลแต่ไม่มีอาการเจ็บร่วมกับอาการต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต ซึ่งอาการในระยะนี้สามารถหายได้เองภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์แม้ไม่ได้ทำการรักษาใดๆ แต่เชื้อของซิฟิลิสจะยังคงอยู่ต่อไปและหลบซ่อนอยู่ในร่างกายอีกด้วย
- ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เรียกว่า “ระยะออกดอก” ซึ่งมักจะเกิดจากการติดเชื้อจากระยะแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยเชื้อนั้นจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองทำให้เริ่มเข้าสู่กระแสเลือดจนมีอาการไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้นโดยเฉพาะฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบางคนอาจไม่พบอาการแสดงใดๆ เกิดขึ้นก็ได้
- ระยะที่ 3 เป็นระยะแฝงซึ่งมักจะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายซึ่งสามารถตรวจพบได้ผ่านการตรวจเลือดเท่านั้น
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ทำลายระบบสมองและอวัยวะต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งเชื้อซิฟิลิสนี้จะแฝงอยู่ในระยะนี้จนทำให้ผิวหนังเป็นก้อนนูนแตกเป็นแผล ตาบอด หูหนวก สมองพิการ เส้นเลือดหัวใจโป่งพอง ซึ่งเป็นระยะที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุด
4. หนองในแท้และหนองในเทียม
โรคชนิดนี้ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งโรคหนองในสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ หนองในแท้และหนองในเทียม อีกทั้งสองชนิดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคนละชนิดกันโดยหนองในแท้นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae ที่มีระยะฟักตัว 2-7 วัน ส่วนหนองในเทียมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Trachomatis โดยมีระยะฟักเฉลี่ย 7 วัน
- อาการของหนองในแท้ ในผู้ชายอาจมีหนองขาวขุ่นหรือเขียวไหลออกมาจากท่อปัสสาวะร่วมกับอาการเจ็บลึกๆ หรือแสบขัดขณะปัสสาวะ ในขณะที่ผู้หญิงอาจไม่มีอาการหรืออาการแสดงน้อย เช่น ตกขาวผิดปกติ ท่อปัสสาวะและปากมดลูกอักเสบ มีหนองไหลออกมาจากปากมด
- อาการหนองในเทียม มักจะแสดงคล้ายกับหนองในแท้แต่รุนแรงน้อยกว่า โดยในผู้ชายนั้นมักจะมีคราบเหลืองติดที่กางเกงใน ส่วนผู้หญิงจะมีอาการคล้ายตกขาวแต่เป็นสีเหลืองตลอดเวลาและมักจะเป็นเรื้อรัง
5. HIV
HIV มาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อที่สามารถติดต่อได้จากการผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ ช่องคลอด หรือน้ำนม เป็นต้น โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและทำให้เกิดโรคเอดส์(AIDS) ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป เพียงแต่หากติดเชื้อเอชไอวีแล้วเชื้อจะอยู่ในร่างกายตลอดไปอีกทั้งเชื้อเอชไอวีนี้สามารถติดต่อผ่านแม่สู่ลูกได้ในระยะการคลอดหรืออาจได้รับเชื้อจากน้ำนมแม่ด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจนแต่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ 7 วันขึ้นไปตามเทคนิคการตรวจเพาะเชื้อด้วยวิธีต่างๆ ของแพทย์
โดยมีลักษณะอาการในระยะแรกคือไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อภูมิคุ้มกันลดลงร่างกายเกิดอ่อนแอจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงมะเร็งชนิดต่างๆ และหากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำจนกระทั่งภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเจ็บป่วย โดยลักษณะนี้อาจเรียกว่าผู้ป่วยเอดส์ได้
วิธีป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วิธีที่ดีที่สุดคืองดการมีเพศสัมพันธ์และปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และเมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องสวมเครื่องป้องกัน อย่างเช่น ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อเป็นการป้องกันขั้นต้น
- ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งโดยเฉพาะกรณีที่มีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า
- ห้ามร่วมเพศหากมีประจำเดือนอยู่ เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงของการติดโรคได้มากยิ่งขึ้น
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย
- ควรตรวจเลือดประจำปีทุกครั้ง เพื่อหาเชื้อโรคในกลุ่มที่มีความเสี่ยงโดยเฉพาะคู่ที่แต่งงานใหม่ การพบแพทย์เป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหากเป็นระยะแรกก็สามารถรักษาได้ทันท่วงที
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ควรงดร่วมเพศรวมทั้งสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคออกไป
- ไม่ควรซื้อยารักษาด้วยตัวเองควรเข้าตรวจรักษากับแพทย์เท่านั้น เพราะอาจทำให้เชื้อเกิดการดื้อตัวยาได้
- ยารักษาไม่หาย การเข้ารักษากับแพทย์โดยตรงจะส่งผลดีกับตัวเองและได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการรักษามากกว่า
- ไปตรวจรักษาตามนัดทุกครั้งและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ควรแจ้งให้สามีภรรยาทราบและควรพาคู่นอนไปตรวจรักษาโดยเร็วที่สุดเมื่อทราบว่าตนเองเป็นโรค
- เมื่อตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรเจาะเลือดตรวจหาเชื้อเอชไอวี
- ในกรณีเกิดหนองในผู้ชายไม่ควรรีดอวัยวะเพศเพื่อดูหนอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบได้มากยิ่งขึ้น• รักษาอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
- ควรงดดื่มเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ทุกชนิด
สรุป
การมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ผิด อย่างที่บอกว่าเป็นสิ่งที่เปิดกว้างและเป็นเรื่องที่เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่สิ่งที่ควรคำนึงหรือใส่ใจมากๆ หากมีเพศสัมพันธ์ต้องอย่าลืมป้องกันอย่างการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อลดโอกาสการเกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นคนรัก คู่นอนแปลกหน้า โดยเฉพาะคู่ที่จะเริ่มแต่งงานใหม่อย่าลืมจับมือกันไปตรวจโรคเพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่ายกันด้วย เพระหากเกิดการติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์ขึ้นมาเรียกได้ว่าไม่คุ้มกับตัวเราเองสุดๆ ฉะนั้นป้องกันตั้งแต่แรกๆ อย่างการสวมถุงยางอนามัยและโดยเฉพาะผู้หญิงหลังการมีเพศสัมพันธ์เสร็จควรไปปัสสาวะออกให้เร็วที่สุดและทำความสะอาดเพื่อลดการเสี่ยงติดโรคนั่นเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก : Freepik
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีโรคอะไรบ้าง? อ่านเลย! - intouchmedicare
https://www.intouchmedicare.com/sexual-disease-treatment-clinic
403 Forbidden
https://www.vimut.com/article/sexually-transmitted-diseases
บทความอื่นๆ ที่แนะนำ
สนุกแบบปลอดภัยด้วยวิธี " Safe Sex " 👍🏻✨ กับ มุมมองที่เปลี่ยนไปในความสัมพันธ์แบบ One Night Stand 💞 | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/93390
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “ การช่วยตัวเอง ” ที่ไม่ใช่เรื่องผิด และนำไปสู่การ Safe Sex ที่ดีที่สุด | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/93594
รู้ก่อนชัวร์กว่า! ' 7 ข้อควรรู้ก่อนมี Sex ครั้งแรก ' First Time ยังไงให้ปลอดภัยไร้กังวล ✨❤ | SistaCafe ครบเครื่องเรื่องบิวตี้
https://sistacafe.com/summaries/93410