อายุไม่เคยรอใครแต่หวานใจก็ไม่มีเหมือนใครเค้า! ซิสพาทำความรู้จักกับขั้นตอน

“ การฝากไข่ ”

เก็บไข่เอาไว้ก่อนในตอนที่ยังไหว เผื่อในอนาคตเจอหวานใจแล้วอยากมีเบบี๋

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้ผู้หญิงอย่างเราๆ ตัดสินใจเลือกที่จะแต่งงานช้าลง รวมถึงมองไม่เห็นภาพอนาคตของการมีลูก ชะลอแพลนสร้างครอบครัวออกไปไว้ไกลตัว เพราะการเอาตัวให้รอดในแต่ละวันก็ยากพออยู่แล้ว แต่ในขณะที่เวลาผ่านไป ร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ ทั้งถดถอยและค่อยๆ เสื่อมลงทุกวัน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นว่ามีเบบี๋ไม่ได้ไปซะแล้วอย่างนั้น

ความกังวลใจนี้จะหมดไป! ไม่ว่าตอนนี้จะเป็นสาวโสด หรือคนมีคู่ ซิสพามาดู ขั้นตอนการ

"ฝากไข่"

ที่ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด รวบรัดรายละเอียดและทุกขั้นตอนมาให้ จะเป็นยังไงกันบ้าง ไปดูเล้ยย~

ฝากไข่ คืออะไร?ใครสามารถฝากไข่ได้บ้าง?การเตรียมความพร้อมก่อนฝากไข่ขั้นตอนการฝากไข่ : การพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา /การกระตุ้นรังไข่ /ติดตามขนาดไข่ /ฉีดกระตุ้นให้ไข่ตก /เก็บไข่

การฝากไข่ คืออะไร?

รูปภาพ:

ฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation หรือ Egg Freezing)

เป็นวิธีที่ช่วยรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ผู้หญิงด้วยการการแช่แข็งเซลล์ไข่ เพื่อให้สามารถเก็บไข่เอาไว้ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ โดยแพทย์จะทำการดูดเอาไข่ออกมาจากรังไข่ และนำไปแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส และเมื่อถึงเวลาที่พร้อมที่จะมีลูกแล้ว ก็จะนำไข่มาผสมกับอสุจิ (เป็นการปฏิสนธิภายนอก) แล้วก็นำกลับไปฝังที่ผนังมดลูก

ทำไมถึงต้องฝากไข่?ยิ่งเราอายุมากขึ้นเซลล์ไข่ก็ยิ่งเสื่อมคุณภาพและมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ และยิ่งถ้าเราเข้าสู่อายุในช่วง 40 ปี หรือที่เรียกกันว่าช่วงวัยทอง (Menopause) ซึ่งเป็นวัยที่หมดประจำเดือนแล้วล่ะก็ รังไข่ของเราก็จะเริ่มหยุดการทำงาน ทำให้เกิดปัญหามีลูกยากและเด็กที่เกิดมาไม่แข็งแรงตามไปด้วย เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงหลายๆ คนหันมาวางแผนการมีลูกและเริ่มฝากไข่มากขึ้น เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ แต่มีแพลนว่าอยากจะมีลูกในอนาคต

ต่อให้เรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็ยังสามารถใช้ใข่ในช่วงอายุที่น้อยกว่าได้เช่น ถ้าเราเข้ามาฝากไข่ตอนอายุ 30 ปี แต่ยังไม่มีแพลนตั้งครรภ์ ก็สามารถเก็บไข่แช่แข็งในช่วงอายุ 30 ปีไว้ได้ พออายุ 40 ปี เกิดอยากแต่งงานสร้างครอบครัวขึ้นมา ก็สามารถนำไข่ในตอนที่เราอายุ 30 ปี มาใช้เพื่อตั้งครรภ์ได้ ยิ่งเราฝากไข่เร็วเท่าไหร่ ไข่ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ด้วยเช่นกัน

ใครสามารถฝากไข่ได้บ้าง?

⋆ ผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์

โดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 30 - 35 ปี

⋆ กำลังรักษาโรคมะเร็ง

ซึ่งกระบวนการรักษามะเร็งเช่น เคมีบำบัด หรือการฉายแสง จะส่งผลกระทบต่อจำนวนและคุณภาพของเซลล์ไข่ การฝากไข่ก็จะทำให้เราสามารถวางแผนการมีลูกได้หลังรักษามะเร็งสิ้นสุดลงแล้ว

⋆ ครอบครัวมีประวัติประจำเดือนหมดเร็ว

คือหมดเร็วกว่าอายุ 47-50 ปี ซึ่งถ้าหากมีประวัติในครอบครัวแบบนี้ เราเองก็มีโอกาสที่ประจำเดือนจะหมดเร็วด้วย ซึ่งทำให้ระยะเวลาที่สามารถตั้งครรภ์จะสั้นกว่าคนอื่นๆ

⋆ ต้องเข้ารับการผ่าตัดรังไข่

เช่น การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ช็อกโกแลตซีสต์

⋆ มีปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์

เช่น มีโอกาสเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) มีช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst)

⋆ ใช้วิธีเด็กหลอดแก้ว (IVF) แล้วไม่ได้ผล

กรณีใช้วิธีเด็กหลอดแก้วแล้ว ฝ่ายชายไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อ ไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อ หรือจำนวนอสุจิไม่เพียงพอ แพทย์ก็จะแนะนำให้ใช้วิธีฝากไข่แทน

การเตรียมความพร้อมก่อนฝากไข่

รูปภาพ:

ก่อนจะฝากไข่ การเตรียมร่างกายให้พร้อมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิง


เพื่อให้ร่างกายเราผลิตไข่ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด ก่อนการเก็บไข่จะมีวิธีดูแลตัวเองยังไงบ้าง มาดูกัน

♥︎ ไม่ควรเครียดหรือกังวล

ทำจิตใจให้ผ่อนคลายเข้าไว้ เพราะความเครียดจะส่งผลต่อฮอร์โมนโดยตรง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีส่วนช่วยในการผลิตไข่ ความเครียดหรือกังวลจะไปรบกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไข่ไม่ตกตามที่ต้องการ และยังทำให้ไข่ไม่มีคุณภาพ

♥︎ พักผ่อนให้เพียงพอ

ก่อนการเก็บไข่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ วันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ในระหว่าง 1-2 วันก่อนการเก็บไข่ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตไข่ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น

♥︎ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ควรเลือกทานอาหารที่มีสารอาหารโดยตรงที่จะช่วยบำรุงให้ไข่มีความสมบูรณ์ และแข็งแรง พร้อมต่อการปฏิสนธิเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น อาหารที่เน้นโปรตีน เพราะทำให้ไข่มีความสมบูรณ์ รวมทั้งลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่

ขั้นตอนการฝากไข่

การพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา /การกระตุ้นรังไข่ /ติดตามขนาดไข่ /ฉีดกระตุ้นให้ไข่ตก /เก็บไข่

ดถึงว่าการฝากไข่เป็นขั้นตอนที่ช่วยรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ของผู้หญิง เพื่อสามารถนำไปใช้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ ไม่ใช่แค่มีประโยชน์กับการวางแผนครอบครัวแต่มีประโยชน์สำหรับคนที่มีลูกยาก รวมถึงเหมาะกับสาวยุคใหม่ พร้อมเป็นคุณแม่ในเวลาที่ใช่ด้วยเช่นกัน

รูปภาพ:

⋆ พบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาเมื่อตัดสินใจฝากไข่แล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย วัดระดับฮอร์โมน ซักประวัติ และวางแผนการรักษา รวมถึงอัลตร้าซาวด์ตรวจดูสภาพรังไข่และจำนวนไข่ตั้งต้น เพราะในผู้หญิงแต่ละคนก็จะมีจำนวนไข่ที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเข้ามาฝากไข่ จึงควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่าสภาพการทำงานของรังไข่ตั้งต้นของเราว่าเป็นอย่างไร⋆ การกระตุ้นไข่

หลังจากที่ผ่านขั้นตอนแรกกันมาแล้ว แพทย์ก็จะวินิจฉัยว่าเราควรได้รับปริมาณยากระตุ้นในปริมาณเท่าไหร่ และระยะยาวแค่ไหน รวมถึงแนะนำวิธีการฉีดยากระตุ้นไข่ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเริ่มวันที่ 2 หรือ 3 ของการมีประจำเดือน เพื่อกระตุ้นให้มีการตกไข่ในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะกระตุ้นทุกวันเป็นเวลา 9-12 วัน จำนวนในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกับการทำงานของรังไข่เราด้วย

⋆ ติดตามขนาดไข่ในระหว่างที่ฉีดยากระตุ้นไข่ แพทย์จะนัดตรวจติดตามทุก 2-3 วัน เพื่อดูการตอบสนองของรังไข่ เช็กจำนวนไข่ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายแล้วหรือยัง หลังจากกระตุ้นจนได้ไข่ที่โตได้เต็มที่ ไข่จะมีขนาดประมาณ 17-20 มิลลิเมตร⋆ ฉีดกระตุ้นให้ไข่ตก

หลังจากตรวจความสมบูรณ์ของขนาดไข่ ตรวจดูตำแหน่ง และมีจำนวนไข่อยู่ที่ประมาณ 10-20 ใบแล้ว ก็จะทำการฉีดยากระตุ้นการตกไข่ (36 ชั่วโมงก่อนการเก็บไข่) เพื่อเตรียมตัวสู่กระบวนการการดูดเก็บไข่ในขั้นตอนต่อไป

⋆ การเก็บไข่

ในการเก็บเซลล์ไข่ แพทย์จะให้ยาสลบ จากนั้นจะทำการดูดเก็บไข่โดยใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปทางช่องคลอดและดูดไข่ออกมาจากรังไข่ ซึ่งจะต้องทำในช่วงเวลาก่อนไข่ตกเท่านั้น

⋆ การแช่แข็งไข่ การฝากไข่

หลังจากแพทย์เก็บไข่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เซลล์ไข่ก็จะถูกนำไปแช่แข็ง ด้วยเทคนิคการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว หรือ Vitrification และเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส จนกว่าจะตัดสินใจนำไข่มาใช้ในอนาคต

ข้อเสียของการฝากไข่

แน่นอนว่าข้อเสียหลักๆ ที่เรารู้กันก็คือ เทคโนโลยีที่ดีเค้าก็มาพร้อมกับราคาค่อนข้างสูงไปด้วย เรทราคาก็จะต่างกันไปตามมาตรฐานโรงพยาบาล เรียกได้ว่าเพิ่มความสบายใจแต่อาจจะไม่สบายกระเป๋าซักเท่าไหร่ ฮือๆ

นอกจากนั้นในช่วง Process ก็อาจทำให้ผู้หญิงเกิดความรู้สึกกังวลเนื่องจากต้องมีการฉีดยากระตุ้นไข่และเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอด และการฝากไข่อาจส่งผลข้างเคียงในด้านของฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดอาการท้องอืด น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ หรือมีอารมณ์แปรปรวนจนควบคุมไม่อยู่ได้เช่นกันจ้า เพราะฉะนั้นควรปรึกษาร่วมกันกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ดีก่อนตัดสินใจนะคะ

รูปภาพ:

"การฝากไข่"

เรียกว่าเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวข้ามไปอีกขั้น และไข่ที่ถูกแช่แข็งไว้ในไนโตรเจนเหลวนั้นสามารถเก็บได้นานเป็น 10 ปีเลยค่ะ คงคุณภาพของไข่เราไว้ให้เหมือนเดิม เพื่อรอจนกว่าจะถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่พร้อมจะมีเจ้าตัวเล็กมาแต่งเติมให้ชีวิตคู่มีสีสันมากขึ้น

เพราะฉะนั้นถ้าเรายังอยู่ในช่วงอายุที่สามารถเก็บไข่สมบูรณ์ได้ มีแพลนในอนาคตและมีงบถึง การเก็บไข่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยให้เราได้สัมผัสถึงความรู้สึกของการเป็นแม่โดยไร้กังวล ทั้งกับสุขภาพทางกายและจิตใจตัวคุณแม่เองและไม่ต้องเครียดกับความสมบูรณ์ของเด็กที่จะเกิดมาได้เช่นกันค่ะ นอกจากนั้น ไม่ใช่แค่มีประโยชน์กับการวางแผนครอบครัวหรือมีประโยชน์สำหรับคนที่มีลูกยาก จริงๆ แล้วการฝากไข่ก็เหมาะกับสาวยุคใหม่ ที่พร้อมจะเป็นคุณแม่ในเวลาที่ใช่ด้วยเช่นกันนะ

- - - - - - - - - - - - - - -

Designer :tt.

Writer :BabyPeachy

อ่านบทความเพิ่มเติมจาก

https://sistacafe.com/

ได้ที่นี่

https://sistacafe.com/summaries/93605

https://sistacafe.com/summaries/92724

https://sistacafe.com/summaries/96066

https://sistacafe.com/summaries/93754

https://sistacafe.com/summaries/91793

https://www.bnhhospital.com/th/fertility-center/egg-freezing/#:~:text=%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%20(Oocyte%20Cryopreservation%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD,%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2

https://www.genesisfertilitycenter.co.th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88/